วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Korea Food News_ไข่เกาหลีใต้ราคาลดลง หลังฝ่าวิกฤติไข้หวัดนก และไข่ปนเปื้อน

องค์กรการค้าเกษตรและประมงของเกาหลีใต้ รายงาน ล่าสุดราคากลางจำหน่ายไข่ไก่ในเกาหลีใต้เริ่มปรับลดลง  จากที่เคยมีราคาสูง ในช่วงที่เริ่มเกิดวิกฤติไข้หวัดนกอย่างรุนแรง และพบไข่ไก่ปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก  
                ล่าสุดในเดือน กันยายน 2560 ราคาไข่ไก่ขายปลีกในเกาหลีใต้อยู่ที่ 5,655 วอน/ 30 ฟอง จากราคา 7,233 วอน/30 ฟอง ช่วงเดือนสิงหาคม ลดลงถึงร้อยละ 20 ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาไข่ไก่ในเกาหลีใต้เคยมีการผันผวนอย่างรุนแรง ตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา และเคยวางขายภายในซุปเปอร์มาร์เก็ตกว่า 60 แห่งทั่วประเทศด้วยราคาที่สูงถึง 9,096 วอน/30 ฟอง
               ทั้งนี้ แม้เกาหลีใต้จะแก้ปัญหาไข้หวัดนกระบาดแล้วก็ตาม แต่ยังคงพบปัญหาไข่ไก่ปนเปื้อน Fipronil ซึ่งทำให้ขณะนี้ราคาไข่ไก่โดยเฉลี่ยยังคงมีราคาสูงถึง 7000 วอน/ 30 ฟอง โดยตามร้านค้าปลีกวางจำหน่ายไข่ไก่มีราคาอยู่ที่ 7,600 วอน/30 ฟอง และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก และกลางอาจมีราคาสูงถึง 10,000 วอน/ 30 ฟอง
 
ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช.

EU Food News_EU ใบเหลืองเวียดนาม เหตุทำประมงผิดกฎหมาย

ด้วย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้แถลงการณ์ให้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยง “ที่ไม่ให้ความร่วมมือ” หรือ “ใบเหลือง”  ในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย IUU โดยสาเหตุที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ใบเหลือง IUU จาก EU  ในครั้งนี้ เนื่องจาก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีความรับผิดชอบที่ดีพอในฐานะ Flag State, Port State, Coastal State และ Market State ในการต่อต้านการทำประมง IUU  และไม่เคารพต่อข้อกำหนดสากล โดย EU พบว่า ทางการสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีระบบควบคุมและกำหนดบทลงโทษกองเรือที่ชักธงสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่ลักลอบไปทำประมงในเขตน่านน้ำของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงพบว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามยังคงขาดการควบคุมการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเพื่อแปรรูปและส่งออก ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้ใบเหลือง IUU กับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                     ทั้งนี้ DG MARE ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามแล้วมาตั้งแต่ปี 2555 โดยคาดว่า ขณะนี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจะต้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการต่อต้านการทำประมง IUU ให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวก่อนที่ DG MARE จะประเมินผลอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดย DG MARE พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในเรื่องนี้ด้วย   
                     สรุปสถานะล่าสุดของกลุ่มประเทศใบเหลือง – ใบแดง :
                    1. กลุ่มประเทศใบเหลือง : ปัจจุบัน มี 9 ประเทศ (รวมประเทศไทย) ที่ยังคงสถานะใบเหลือง คือ                  
                          1.1 เซนต์คิตส์และเนวิส (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557)
                          1.2 ตูวาลู (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557)
                          1.3 ไต้หวัน (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558)
                          1.4 คิริบาส (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.5 เซียร์ราลีโอน (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.6 ตรินิแดดและโตเบโก (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.7 ไทย (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558)
                          1.8 สาธารณรัฐไลบีเรีย (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560)
                          1.9 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560)
                      2. กลุ่มประเทศใบแดง : ปัจจุบัน มี 3  ประเทศ คือ
                          2.1 กัมพูชา (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555)                                                                                                                   
                          2.2 คอโมโรส (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560)
                          2.3 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐)
                                                
 โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

German Food News_เยอรมนีเร่งตรวจเข้ม หลังพบอาหารปนเปื้อน Fipronil

หลังจากเยอรมนี รายงานพบไข่ปนเปื้อนสาร Fipronil ตั้งแต่ช่วงเดือน กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเริ่มพบการปนเปื้อนของสารดังกล่าวในอาหารที่มีส่วนประกอบของไข่แล้ว
                โดยล่าสุด กระทรวงเกษตรเยอรมนีได้ดำเนินตรวจสอบ และเก็บตัวอย่างอาหารกว่า 473 ตัวอย่าง เพื่อดำเนินการทดสอบภายในห้องปฏิบัติการ ซึ่งพบว่ามีตัวอย่างอาหารปนเปื้อนสาร Fipronil จำนวนกว่า 103 ตัวอย่าง และพบการปนเปื้อนของสารดังกล่าวในอาหารหลายประเภททั้ง เหล้า (ที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ) , สลัดไข่ และขนมเบเกอรี่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้เริ่มดำเนินการทดสอบ ในช่วงเดือน สิงหาคม 2560 หลังจากมีรายงานเรียกคืนไข่กว่า 900,000 ฟองจากเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากพบการปนเปื้อนของสาร Fipronil ในระดับสูงกว่ามาตรฐาน พร้อมเตรียมตรวจสอบเพิ่มเติมและเรียกคืนไข่ภายในประเทศกว่า 12 – 16 รัฐ ซึ่งภาครัฐ เผยจะดำเนินตรวจสอบตัวอย่างสินค้าอาหารเสร็จสิ้นไม่ต่ำกว่า 800 ตัวอย่าง ภายในสิ้นเดือน ตุลาคม 2560 นี้
                ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์เยอรมนี พาดข่าว ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหารหลายรายกล่าวหาว่าภาครัฐปกปิดไม่เปิดเผยข้อมูลการปนเปื้อนสาร Fipronil ในอาหารให้ประชาชนทราบอย่างชัดเจน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเรียกคืนสินค้าด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันผล กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมอาหาร

ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช.

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Allergen- อาหารก่อภูมิแพ้ 1

ตอนที่ 1
จะคุยเรื่อง อาหารแพ้อาหารกันก่อนนะคะ เป็นเรื่องเล็กๆน้อยที่เราอาจมองข้ามสำหรับผู้บริโภค แต่เป็นเรื่องหใญ่สำหรับคนเกิดอาการแล้วเจ้าตัวไม่รู้ว่าป่วยเป็นอะไร
บังเอิัญเจอ infographic ดีๆเข้าใจง่ายเลยเอามาฝากกันกอน ภัยแฝงกับอาหารมีเยอะจริงๆค่ะ



วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Food Law Update EU_เห็นชอบต่ออายุการอนุญาตใช้สาร imazamox

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1531 of 7 September 2017 renewing the approval of the active substance imazamox, as a candidate for substitution, in accordance with Regulation (EC) No. 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No. 540/2011 ใน EU Official Journal L232/6 สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ต่ออายุการอนุญาตใช้สาร imazamox ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักพืช ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 – วันที่ 31 ตุลาคม 2567 และให้ยกเลิกการจำกัดการใช้เพียงเป็นยากำจัดวัชพืช
2. สาร imazamox มีระยะครึ่งชีวิต (half-life) ในน้ำจืดและตะกอนมากกว่า ๑๒0 วัน ซึ่งถือว่าเป็นสารที่มีความคงทนในดินสูง นอกจากนี้ สารดังกล่าวยังมีความเป็นพิษ โดยปริมาณความเข้มข้นของสารที่ไม่ส่งผลกระทบต่อพืชน้ำควรอยู่ที่ ๐,๐045 มิลลิกรัม/ลิตร ดังนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรกำหนดให้สาร imazamox อยู่ในบัญชีรายการ Candidate for Substitution (CfS) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณายกเลิกการใช้สารดังกล่าวเมื่อพบว่ามีสารตัวอื่นที่สามารถใช้ทดแทนได้
3. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 8 กันยายน 2560) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
4. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update EU_ขยายเวลาการอนุญาตชั่วคราวให้สารออกฤทธิ์ในระหว่างรอผลประเมินต่ออายุใช้งาน

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1527 of 6 September 2017 amending Implementing Regulation (EU) No 540/2011 as regards the extension of the approval periods of the active substances cyflufenamid, fluopicolide, heptamaloxyloglucan and malathion ใน EU Official Journal L 231/3 สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้
                     1. เนื่องจากการอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substances) จำนวน 4 รายการ ได้แก่สาร cyflufenamid สาร fluopicolide สาร heptamaloxyloglucan และสาร malathion จะสิ้นสุดลงในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2562 – 2564 ซึ่งการขอต่ออายุการอนุญาตใช้งานสารดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ และ EU จำต้องใช้เวลาในการพิจารณา ดังนั้น เพื่อมิให้การใช้สารดังกล่าวได้รับผลกระทบก่อนการประกาศผลพิจารณาอนุญาตการต่ออายุของคณะกรรมาธิการยุโรป จึงเห็นควรให้ขยายเวลาการใช้สารทั้ง 4 รายการ เป็นการชั่วคราว ดังนี้
                        1.1 สาร heptamaloxyloglucan ขยายเวลา 1 ปี ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
                        1.2 สาร malathion ขยายเวลา 2 ปี ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2565
                        1.3 สาร cyflufenamid และ fluopicolide ขยายเวลา 3 ปี ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
                    2. คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมการขยายเวลาตามมาตราที่ 17 ย่อหน้าที่ 1 ของ Regulation (EC) No 1107/2009 ดังนี้
                        2.1 ในกรณีไม่มีการยื่นคำร้องเกี่ยวกับสารข้างต้นเพิ่มเติมภายใน ๓๐ เดือน ก่อนวันสิ้นสุดการอนุญาตตามกฎระเบียบฉบับนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะอนุญาตให้ใช้สารนั้น ๆ ต่อไปได้จนถึงวันสิ้นสุดการอนุญาตเดิม หรือช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับวันดังกล่าว
                        2.2 ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นว่า สารรายการใดไม่สมควรได้รับการต่ออนุญาต คณะกรรมาธิการยุโรปสามารถปรับร่นให้ใช้วันสิ้นสุดการอนุญาตเดิมได้ หรือวันที่กฎระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ แม้ผลการพิจารณาจะแล้วเสร็จหลังจากการขยายการอนุญาตชั่วคราวนี้แล้วก็ตาม
                        2.3 ในกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้ต่ออายุการใช้สารนั้น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปจะดำเนินการกำหนดวันที่มีผลปรับใช้โดยเร็วที่สุด
                    3. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 7 กันยายน 2560)
                    4. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
                              โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update EU_ไม่อนุญาตต่ออายุให้สาร beta-cypermethrin เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1526 of 6 September 2017 concerning the non-renewal of active substance beta-cypermethrin in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the markets ใน EU Official Journal L 231/1 ว่าด้วยการไม่อนุญาตต่ออายุให้สาร beta-cypermethrin เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substances) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประกาศยกเลิกการใช้สาร beta-cypermethrin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2560 เป็นต้นไป เว้นแต่จะมีการยื่นขอให้พิจารณาต่ออายุการใช้สารดังกล่าวอีกครั้ง
2. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority) ได้แจ้งผลการวิจัยต่อคณะกรรมาธิการยุโรปว่า beta-cypermethrin มีความเสี่ยงสูงสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ ผึ้ง สัตว์ขาปล้อง นอกจากนี้ ผลการประเมินความเสี่ยงในสิ่งมีชีวิตในดิน สิ่งมีชีวิตในน้ำ และน้ำบาดาลยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากขาดข้อมูลด้านปฏิกิริยาของ cyclopropyl ring moiety ของ beta-cypermethrin รวมทั้งยังขาดข้อมูลด้านเมตาบอไลต์ของโค-กระบือ ซึ่งจำเป็นในการพิจารณาค่าสารตกค้างในสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ และยังขาดข้อมูลด้านความเป็นพิษของเมตาบอไลต์ PBA ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงต่อผู้บริโภค จึงเห็นควรไม่อนุญาตให้ต่ออายุสารดังกล่าว ต่อไป
3. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2560)
4. สำหรับรายละเอียดของกฎดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
                                โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update EU_สหภาพยุโรปต่ออายุการอนุญาตใช้สาร maleic hydrazide

 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1506 of 28 August 2017 renewing the approval of the active substance maleic hydrazide in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ใน EU Official Journal L 222/21สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้
                   1. คณะกรรมธิการยุโรปเห็นชอบให้ต่ออายุการอนุญาตใช้สาร maleic hydrazide ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 – วันที่ 31 ตุลาคม 2575 และให้ยกเลิกการจำกัดการใช้เพียงเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโต และกำหนดปริมาณการใช้สาร maleic hydrazide สูงสุดไว้ที่ระดับ 0,028 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   2. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 29 สิงหาคม 2560) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ทั้งนี้ อนุโลมให้การปรับใช้ค่าบริสุทธิ์ (purity) ตามภาคผนวก I มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
                   3. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
                   โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

USA Food News_มะกันเตรียมวางขายแอปเปิ้ล GM

 สหรัฐอเมริกาเตรียมวางจำหน่ายแอปเปิ้ลดัดแปรพันธุกรรมสายพันธุ์ที่เรียกว่า Arctic apple ในรูปแบบแอบเปิ้ลหั่นชิ้นบรรจุถุงกว่า 400 ร้านค้าในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยไม่มีการติดฉลาก GMO หรือมีข้อความระบุว่าเป็นสินค้าที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมแต่อย่างใด แต่มี QR code ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลและแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ในขณะที่กลุ่มต่อต้าน GMO ได้ออกมาประท้วงและกดดันไม่ให้ผู้ประกอบการอาหารวางจำหน่ายแอปเปิ้ลสายพันธุ์ดังกล่าว
                แอปเปิ้ลสายพันธุ์ดังกล่าวถูกดัดแปรพันธุกรรมโดยใช้เทคนิค gene silencing ให้ผลิตเอนไซม์ที่ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล (Polyphenol oxidase : PPO) ได้น้อยลง ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลช้าลงและสามารถวางจำหน่ายได้ถึง 3 สัปดาห์ อีกทั้งผู้พัฒนาสายพันธุ์ยังกล่าวด้วยว่าแอปเปิ้ลของตนจะช่วยเพิ่มยอดขายแอปเปิ้ลและลดปริมาณขยะได้
ที่มา: businessinsider.com สรุปโดย: มกอช.
การตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อให้แอ๊บเปิ้ลมีสีน้ำตาลช้าลงเพื่อลดขยะชีวภาพที่ย่อยสลายได้ แล้วเพิ่มความเสี่ยงเรื่องผลกระทบเรื่องพันธุกรรมกับคนกิน....คิดได้เนาะ ส่วนประเทศไทยก้าวหน้ากว่า ปอกแอ๊บเปิ้ล ล้างด้วยน้ำเกลือบ้าง(อันนี้ปลอดภัย-เค็มแต่ดี) สารเคมีอันตรายบ้าง เกิดสีน้ำตาลช้าลงตามประเภทสาร แต่ก็รับความเสี่ยงเรื่องมะเร็งไป ถ้าใช้สารอันตราย T^T

อันนี้ลิงค์ต้นทาง
https://www.technologyreview.com/s/609080/gm-apples-that-dont-brown-to-reach-us-shelves-this-fall/
อันนี้ลิงค์คนคิดค้น ยังคงถกเถียงกันอยู่ ดีไม่ดี ฮะ!
https://www.arcticapples.com/how-did-we-make-nonbrowning-apple/

Turkey Food News_ตุรกีเลื่อนบังคับใช้ระบบติดฉลากใหม่อีกครั้ง (Thai& Eng version)

ตุรกีประกาศเลื่อนกำหนดการบังคับใช้ระบบการตรวจติดตามสินค้า (Product verification monitoring system : PVMS) ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่จะบังคับใช้วันที่ 2 ตุลาคม 2560 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2560
                ระบบ PVMS เป็นระบบการตรวจติดตามสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่จะกำหนดให้สินค้าทุกชิ้น รวมถึงสินค้านำเข้าที่จำหน่ายในท้องตลาดจะต้องติดสติกเกอร์ตัวเลขเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลของผลิตภัณฑ์ โดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 6 กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำผึ้ง เครื่องดื่มชูกำลัง ชาดำ น้ำมันพืช อาหารทารกและอาหารเสริมโภชนาการสำหรับทารก ทำให้เกิดความกังวลด้านค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มสูงขึ้น และประเด็นด้านความปลอดภัยอาหารเนื่องจากต้องเปิดกล่องและบรรจุภัณฑ์สินค้าเพื่อติดฉลากดังกล่าว รวมถึงพื้นที่ในการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าที่มิได้เว้นช่องว่างเตรียมไว้อีกด้วย
                ทั้งนี้ การประกาศเลื่อนกำหนดบังคับใช้ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 7 นับจากมีการเริ่มเตรียมบังคับใช้ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2556

ที่มา: USDA GAIN สรุปโดย: มกอช. 

Turkey: Turkey Again Delays Implementation of New Labeling System

Turkey has delayed the implementation of a Product Verification Monitoring System (PVMS) for another three months. The system which targets six food categories was scheduled to go into effect on October 2, 2017, but has been postponed until December 31, 2017. The categories include food supplements, honey, energy drinks, black tea, vegetable oil, infant formulas, follow-on formulas and supplementary baby foods. It has been postponed six times before.

click this link below for USDA Gain pdf file ไปดูต้นฉบับที่

Turkey: Turkey Again Delays Implementation of New Labeling System PVMS




Ecuador Food News_เอกวาดอร์ ส่งออกกุ้งแวนนาไมพุ่ง อาจทะลุเป้า 4 แสนตัน

ปี 2560 เอกวาดอร์สามารถผลิตกุ้งแวนนาไมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีปริมาณมากถึง 400,000 ตัน โดยสถิติการส่งออกกุ้งของเอกวาดอร์จนถึงช่วงเดือน สิงหาคม พบว่ามีปริมาณการส่งออก 619.55 ล้านปอนด์ (ประมาณ 281,000 ตัน) ตั้งแต่ต้นปี 2560 (เฉลี่ยมีปริมาณการส่งออก 77.44 ล้านปอนด์ หรือ 35,000 ตัน/เดือน) พร้อมคาดว่าหากยังรักษาระดับปริมาณส่งออกดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2560 เอกวาดอร์จะมีปริมาณการส่งออกรวมทั้งสิ้นกว่า 929.32 ล้านปอนด์ หรือกว่า 400,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 และการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตจริงในประเทศอาจสูงกว่าปริมาณที่แสดงไว้ เนื่องจาก ในอดีตเอกวาดอร์มีการผลิตกุ้งไว้หัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันหันมาผลิตกุ้งกอดหัวมากขึ้น ซึ่งน้ำหนักกุ้งที่ผ่านการถอดหัวจะน้อยกว่า ทำให้ได้ น้ำหนักต่อตัวลดลง
                ทั้งนี้ คาดการณ์ดังกล่าวสูงกว่าปริมาณการผลิตกุ้งของเอกวาดอร์ในปี 2561 ที่คาดการณ์ในการประชุม Global Outlook for Aquaculture Leadership (GOAL) เมื่อปี 2559 ไว้ที่ 400,000 ตัน ในขณะที่ การประชุม Global Seafood Market Conference (GSMC) เมื่อเดือน มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ได้แสดงปริมาณการผลิตกุ้งภายในประเทศที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 

ที่มา: undercurrentnews.com  สรุปโดย: มกอช.

ผู้ส่งออกกุ้งไทยก็ต้องปรับตัวกันต่อไป +_+

USA Food News_Recalls products undeclared Allergen


Pest Control











**my blog is for share knowledge for free . All picturehave credit , if you wanna save for commercial purposes please asked permittion from owner.


วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สารเร่งเนื้อแดงอันตราย


สารเร่งเนื้อแดงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉ.269 ปี พ.ศ.2546 คือกลุ่มบีต้าอะโกนิสต์ ต์ (beta-agonist) ที่เกณฑ์การยอมรับคือห้ามพบหรือไม่ให้ใช้ แต่ก็ยังมีหลุดรอดลักลอบใช้อยู่นะคะ ตัวที่มักนิยมใช้และเคยตรวจพบ เด่นๆมี 3 ตัว คือ  เช่น ซัลบูทามอล (Salbutamol)  เคลนบูเทอรอล ( Clenbuterol) แรคโตพามีน (Ractopamine) 


อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ


วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

USA Food News_FDA เตรียมขยายเวลาบังคับใช้ระเบียบฉลากโภชนาการแบบใหม่

                องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เตรียมขยายเวลาบังคับใช้ระเบียบการติดฉลากโภชนาการและอาหารเสริม (Nutrition facts and supplement facts label rule) และระเบียบการคำนวณหน่วยบริโภค (Serving size rule) ฉบับสมบูรณ์ จากเดิมที่จะบังคับใช้ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เป็นวันที่ 1 มกราคม 2563 สำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีรายได้มากกว่าหรือเท่ากับ 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และวันที่ 1 มกราคม 2564 สำหรับผู้ประกอบที่มีรายได้น้อยกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่ไม่มีการเปลี่ยนรายละเอียดของระเบียบดังกล่าวแต่อย่างใด 

โดยสามารถส่งข้อคิดเห็นในประเด็นการขยายเวลาบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวไปยัง FDA ได้ที่ http://www.regulations.gov ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2560 เป็นเวลา 30 วัน 

                ทั้งนี้ การตัดสินใจขยายเวลาการบังคับใช้ระเบียบดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมาคมอุตสาหกรรม แต่ทางด้านกลุ่มผู้บริโภคและองค์กรอิสระไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกรงมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายขาดความโปร่งใส

ที่มา: foodlawlatest.com สรุปโดย: มกอช.

Malaysia Packaging News_มาเลเซียบังคับใช้กฎระเบียบนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สัมผัสกับอาหาร

นายวันชัย วราวิทย์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์แจ้งว่า มาเลเซียได้ออกกฎระเบียบ Regulation 28 of the Food Regulation 1985 กำหนดให้วัสดุสัมผัสอาหารเซรามิกที่นำเข้าทุกชนิดต้องมีหนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพชีววัตถุ (Certificate of Analysis : COA) ที่ระบุปริมาณสารตะกั่วและแคดเมี่ยมในระดับที่กำหนดจากห้องทดลองที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออก (Competent Authority : CA) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดขอบเขตของคำว่า “วัสดุสัมผัสอาหาร” ครอบคลุมถึง “ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการ การบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การขนส่งอาหาร และภาชนะ” หากการนำเข้าสินค้าวัสดุภัณฑ์ โดยไม่มีหนังสือรับรอง COA จาก CA ของประเทศผู้ส่งออกสินค้าฯ ดังกล่าวจะต้องนำไปตรวจสอบหาปริมาณสารตะกั่วและสารแคดเมี่ยมซึ่งหากพบปริมาณของสารฯ ทั้ง 2 ประเภท ไม่เกินตามที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถนำเข้าได้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้กำหนดปริมาณตกค้างของสารตะกั่วและแคดเมี่ยมสูงสุด ดังนี้ (1) ภาชนะประเภท Flat Ware (ภาชนะก้นตื้น) อยู่ในระดับ 0.8 และ 0.07 มิลลิกรัมต่อตารางเดซิเมตร [mg/dm2] ตามลำดับ (2) ภาชนะประเภท Small Hollow-Ware (ภาชนะก้นลึกขนาดเล็ก) อยู่ในระดับ 2.0 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อปริมาณของเหลว 1 ลิตร ตามลำดับ และ (3) ภาชนะประเภท Large Hollow-Ware (ภาชนะก้นลึกขนาดใหญ่) อยู่ในระดับ 1.0 และ 0.25 มิลลิกรัมต่อปริมาณของเหลว 1 ลิตร [mg/l] ตามลำดับ
นายวันชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้แจ้งเตือนผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่ายให้รับทราบสาระสำคัญของกฎระเบียบฉบับนี้แล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2560 เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวได้ ทั้งนี้หน่วยงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปสามารถสืบค้นข้อมูลกฎระเบียบข้างต้นเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์.http://fsis2.moh.gov.my/UploadFosim/BULETTIN/050517051558B4061Guideline%2Importation%20of%20Ceramic%
20Ware_050517.pdf อย่างไรก็ดี กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความคืบหน้ากฎระเบียบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะเผยแพร่ข้อมูลแจ้งให้ผู้ประกอบการไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อจะได้ศึกษาและดำเนินการให้ได้ตามมาตรการที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด

ที่มากรมการค้าต่างประเทศ

Thai-USA Food News_เตือนส่งออกไทยไปสหรัฐฯ จับตากฎหมาย Buy American

นายวันชัย วราวิทย์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตันแจ้งว่า สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative Office : USTR) ได้เปิดขอรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้ประกอบการของสหรัฐฯ เพื่อใช้ประกอบการศึกษาผลกระทบกฎหมาย Buy American ของสหรัฐฯ ต่อความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (Government Procurement Agreement : GPA) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ข้อมูลที่ USTR ต้องการศึกษาประกอบการออกกฎหมาย Buy American ที่อาจส่งผลต่อ GPA ครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้ (1) ประสบการณ์ของบริษัทในฐานะของคู่สัญญาหลัก หรือผู้รับจ้างรายย่อย [Subcontractor] เกี่ยวกับ GPA (2) ผลกระทบต่อประเทศภาคี FTA ของสหรัฐฯ (3) ประสบการณ์ของบริษัทในฐานะคู่ค้าสัญญาหลัก หรือผู้รับจ้างรายย่อยเกี่ยวกับการเข้าร่วมประมูลสัญญา GPA ที่สหรัฐฯ มีความตกลง FTA หรือมีภาคีในความตกลง GPA (4) สัดส่วนมูลค่าการผลิตภายในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ย [Average US Content] ในสินค้าที่บริษัทผลิต / จำหน่ายให้กับรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ (5) สัดส่วนมูลค่าการผลิตภายในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ย [Average US Content] ในสินค้าที่บริษัทผลิต / จำหน่ายให้กับรัฐบาลต่างประเทศ (6) อุปสรรคหลัก 3 อันดับแรกของการมีเงื่อนไขที่กำหนดให้ต้องมีสัดส่วนมูลค่าการผลิตภายในประเทศร้อยละ 111 ต่อสินค้าที่บริษัทผลิตให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ หรือรัฐบาลต่างประเทศ (7) ผลกระทบต่อ FTA ที่มีข้อกำหนดว่าด้วย GPA รวมอยู่ด้วย (8) ผลกระทบทั้งปัจจัยบวกและลบของการมีข้อกำหนด Buy American และ (9) ประสบการณ์ของบริษัทเกี่ยวกับข้อขัดแย้งระหว่างข้อกำหนด Buy American และข้อกำหนดภายใต้ FTA ที่สหรัฐฯ เป็นภาคี เพื่อ USTR จะเตรียมเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ภายในวันที่ 24 พฤศจิกายน ศกนี้
นายวันชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมาย Buy American เป็นกฎหมายเชิงนโยบายที่กำหนดให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องจัดซื้อจัดจ้างและเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตภายในประเทศเป็นอันดับแรก ดังนั้นผู้ส่งออกไทยจึงควรติดตามความคืบหน้าการออกกฎหมายดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับมือกับนโยบายดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยที่สหรัฐฯ สามารถผลิตได้ด้วยไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย ทั้งนี้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถติดตามความคืบหน้าของกฎหมายดังกล่าวเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ 
https://www.gpo.gov/fdsys/pkg/FR-2017-08-21/pdf/2017-17553.pdf
ที่มา กรมการค้าต่างประเทศ

Thai Food News_ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 5 ประเภท

ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 5 ประเภทได้แก่ Form JTEPA, FTA Thai-Australia, AANZ, AJ และ AK 

     1. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป ผู้ส่งออกสามารถยื่นขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ด้วยระบบ Digital Signature (DS) เท่านั้น และ
     2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป ผู้ส่งออกสามารถยื่นขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 5 ประเภทดังกล่าวข้างต้น เฉพราะที่ส่งออกไป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ด้วยระบบ Electronic Signature and Seal (ESS) เท่านั้น ทั้งนี้หากรายใดพร้อมใช้งานระบบ ESS สามารถยื่นขอใช้บริการระบบ ESS ต่อกรมการค้าต่างประเทศได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     หากมีข้อส่งสัย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2547 4830, 0 2547 4838, 0 2547 4827, 02547 4810 หรือสายด่วน 1385
จากกรมการค้าต่างประเทศ

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Food Law Update India_อินเดียประกาศเพิ่มเติมมาตรฐานธัญพืชและผลิตภัณฑ์

                เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2560 อินเดียได้ประกาศระเบียบความปลอดภัยอาหารและมาตรฐานฉบับแก้ไขครั้งที่ 12 ปี 2560 โดยเพิ่มเติมมาตรฐานธัญพืชและผลิตภัณฑ์หลายชนิดจากระเบียบฉบับเดิมปี 2554 ประกอบด้วย มาตรฐานของแป้งไมด้าจากข้าวสาลีดูรัม ควินัว เส้นก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป และแป้งลูกเดือย มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กันยายน 2560
                 มาตรฐานธัญพืชฉบับใหม่มีรายละเอียดความครอบคลุมดังนี้
1. แป้งไมด้าจากข้าวสาลีดูรัม หมายความถึงผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้จากการบด (Grinding or Milling) ข้าวสาลีดูรัม (Triticum durum Desf.) ที่แยกรำและจมูกข้าวออกแล้ว
2. ควินัว หมายความถึงธัญพืชสกุล Chenopodium quinoa ที่ผ่านการทำแห้ง
3. เส้นก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป หมายความถึงผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากแป้งที่ทำจากข้าว ข้าวสาลี หรือธัญพืชชนิดอื่นๆ ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว พืชหัว และน้ำเป็นส่วนผสมหลัก นวดให้เกิดโดและรีด
4. แป้งลูกเดือย หมายความถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบด (milling) ลูกเดือย (Pennisetum americanum L., และ Pennisetum typhyoideum) 

รายละเอียดเพิ่มเติม : 
http://www.fssai.gov.in/home/fss-legislation/notifications/gazette-notification.html

ที่มา: USDA GAIN สรุปโดย: มกอช.

1. Final Notification on FSS (Food product Standard and Food Additives) Amendment Regulation related to standards of Durum Wheat Maida, Quinoa, Instant Noodles & Pearl millet flour. (Uploaded on: 21.09.2017)

http://www.fssai.gov.in/dam/jcr:5b8d1e5b-7b9a-481b-87ab-ca3e246a9a3b/Gazette_Notification_FPS_FA_Maida_Noodles_21_09_2017.pdf

2. Final Gazette Notification on FSS (Food Products Standards and Food Additives) Eleventh Amendment Regulations, 2017 relating to revision of vertical standards on fish and fisheries products. (Uploaded on: 25.09.2017)

http://www.fssai.gov.in/dam/jcr:7f879ba2-2f79-4bae-adf1-e453345b9087/Gazette_Notification_Fish_Products_25_09_2017.pdf




วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

German Food News_เยอรมนี จับผู้ต้องสงสัยวางยาพิษในอาหารเด็กได้แล้ว

                หลังจากพบอาหารเด็กบรรจุขวดแก้วมีการปนเปื้อนสารเอทิลีนไกลคอลจำนวน 5 ขวดซึ่งวางจำหน่ายภายในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เมือง Friedrichshafen พร้อมประกาศแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ระวัง  
                ล่าสุดเมื่อวันที่ 30  กันยายน 2560 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เยอรมนีได้จับกุมผู้ต้องสงสัยชายวัย 53 ปีที่พยายามขู่ร้องเรียกเงินจากบริษัทอาหารเด็กจำนวนกว่า 10 ล้านยูโร โดยพบว่าเป็นผู้ผสมสารเอทิลีนไกลคอลในอาหารเด็กที่บรรจุขวดแก้ว และนำไปวางในชั้นขายของซุปเปอร์มาร์เก็ตดังกล่าว ซึ่งผู้ต้องสงสัยไม่ยอมรับ แต่ทางเจ้าหน้าที่พบหลักฐานเพิ่มเติมจากกล้องวงจรปิดในซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งอย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เยอรมนียังคงแจ้งเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวัง เนื่องจากผู้ต้องสงสัยอาจใส่สารดังกล่าวในอาหารชนิดอื่นๆด้วย
                ทั้งนี้ สารดังกล่าวเป็นสารที่ใช้ป้องกันการแข็งตัว (antifreezing agent)  ซึ่งหากผู้บริโภคได้รับอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
 
 
ที่มา: time.com สรุปโดย: มกอช.


เอทิลีนไกลคอล เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C₂H₆O₂ เป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น รสหวาน มีความเป็นพิษระดับกลาง นิยมใช้เป็นสารป้องกันน้ำแข็งตัว และสารหล่อเย็น และใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมพอลิเอสเทอร์ (โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
       ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เอทิลีนไกลคอลเป็นส่วนผสม ได้แก่ น้ำยาเติมหม้อน้ำรถยนต์ เพื่อป้องกันน้ำเป็นน้ำแข็งในประเทศหนาว และป้องกันน้ำเดือดในประเทศร้อน ปั๊มน้ำ ระบบทำความร้อน และเย็นในอุตสาหกรรม และระบบพลังงานแสงอาทิตย์ น้ำมันไฮดรอลิกสำหรับเบรกรถยนต์และระบบกันกระเทือน หมึกพิมพ์ หมึกสำหรับปากกาลูกลื่น หมึกสำหรับประทับตรา น้ำยาเคลือบเส้นใยสิ่งทอ กระดาษและหนังสัตว์ เครื่องสำอาง น้ำยาย้อมสี
เอทิลีนไกลคอลมีค่า LD50 สำหรับมนุษย์ (ทางปาก) เท่ากับ 786 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอันตรายส่วนใหญ่มาจากรสชาติหวานซึ่งทำให้มนุษย์และสัตว์เข้าใจผิดได้ เมื่อรับประทานเข้าไป เอทิลีนไกลคอลจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดออกซาลิกซึ่งเป็นพิษ ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจและไต 

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Food Law Update EU_Commission Regulation (EU) 2017/1496

สหภาพยุโรปไม่อนุญาตต่ออายุให้ DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl) เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1496 of 23 August 2017 concerning the non-renewal of approval of the active substance DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl), in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No. 540/2011 ว่าด้วยการไม่อนุญาตต่ออายุให้สาร DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl) เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substances) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) สรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้
1. คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้สาร DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl) สิ้นสุดการอนุญาตใช้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 ซึ่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority) ได้แจ้งผลการวิจัยจากกรณีที่มีผู้ยื่นขอต่ออายุการใช้งานต่อคณะกรรมาธิการยุโรปว่า สารแม่ (parent substance) ของสาร DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl) สามารถก่อให้เกิดมะเร็งและเป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งประเภท 2 และสารพิษประเภท 2 ภายใต้ Regulation (EC) No 1272/2008  รวมทั้งเมตาบอไลต์ของสารดังกล่าวยังก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อน้ำบาดาล ซึ่งส่งผลต่อค่าพาราเมตริกสำหรับน้ำดื่มที่กำหนดไว้ที่ 0,1 µg/l นอกจากนี้ สารดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อสัตว์น้ำโดยเฉพาะสาหร่ายและพืชน้ำ
2. เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงออกประกาศการไม่อนุญาตต่ออายุการใช้สาร DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl) ต่อไป เว้นแต่จะมีการยื่นขอให้พิจารณาต่ออายุการใช้สารดังกล่าวอีกครั้ง
3. ประกาศดังกล่าวกำหนดให้ประเทศสมาชิกฯ เพิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกสามารถยื่นขอการขยายช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านได้ โดยไม่เกินวันที่ 13 ธันวาคม 2561
4. กฎดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2560)
5. สำหรับรายละเอียดของกฎดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
          โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update EU_Commission Regulation (EU) 2017/1270

EU อนุญาตการใช้วัตถุเจือปนอาหาร potassium carbonate (E 501) ในสินค้าผัก-ผลไม้

                     เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศกฎ Commission Regulation (EU) 2017/1270 of 14 July 2017 amending Annex II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council as regards the use of potassium carbonate (E 501) on peeled, cut and shredded fruit and vegetables ใน EU Official Journal L 184 Volume 1 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                      ๑. กฎใหม่นี้เป็นการแก้ไขบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (Union list food additives) ที่ ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในอาหารตามภาคผนวกที่ ๒ (Annex II) ของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 1333/2008 โดยการแก้ไขบัญชีในครั้งนี้ เป็นการอนุญาตให้ใช้ potassium carbonate (E 501) ในสินค้าอาหารกลุ่ม 04.1.2 ผลไม้และผักปลอกเปลือก หั่น และหั่นซอยเล็ก ที่ไม่ได้แปรรูป แช่เย็น พร้อมรับประทาน และบรรจุหีบห่อ รวมถึงมันฝรั่งที่ไม่ได้แปรรูป ปอกเปลือก และบรรจุหีบห่อแล้ว เนื่องจากสารที่อนุญาตให้ใช้อยู่เดิม คือ ascorbic acid (E 300) มักจะทำให้เนื้อของผักและผลไม้สลาย ยุ่ย และเปลี่ยนสีหลังจากถูกสารไปแล้ว ๒ – ๓ วัน ซึ่ง potassium carbonate จะเป็นตัวช่วยไม่ให้ผักและผลไม้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นสารที่ช่วยคงตัวและปรับความเป็นกรด-ด่างที่ได้รับจากสาร ascorbic acid  
                      ๒. Scientific Committee for Food กำหนดค่าที่ยอมรับได้รับต่อวัน (Acceptable Daily Intake : ADI) ของสาร carbonate ไว้ที่ระดับ « ไม่มีการระบุ (not specified) » เนื่องจากสารดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากใช้ในปริมาณเท่าที่จะได้รับผลทางเทคนิคที่ต้องการ (quantum satis) เท่านั้น     
                      ๓.  กฎดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ๒๕60)
                      ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
                     โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป