วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

EU Food News_EU แก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์เพื่อการบริโภค

เมื่อวันที่  ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/759 of 28 April 2016 drawing up lists of third countries, parts of third countries and territories from which Member States are to authorise the introduction into the Union of certain products of animal origin intended for human consumption, laying down certificate requirements, amending Regulation (EC) No 2074/2005 and repealing Decision 2003/812/EC ว่าด้วยการแก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สาม (เขต/พื้นที่) ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์บางชนิดเพื่อการบริโภคของมนุษย์  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
               ๑. เดิม Decision 2003/812/EC กำหนดบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ไปยังสหภาพยุโรปได้  ซึ่งสินค้าหนึ่งในนั้น คือ เจลลาตินเพื่อการบริโภคของมนุษย์ หากบัญชีดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงคอลลาเจนหรือวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเจลลาตินและคอลลาเจน ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้เพิ่มประเภทสินค้าดังกล่าวในบัญชีฯ เพิ่มเติม
               ๒.   รวมถึง EU ได้กำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัยของสินค้ากลุ่มดังกล่าวด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่ที่กล่าวข้างต้น  
               ๓. สหภาพยุโรปกำหนดข้อยกเว้นพิเศษให้กับสินค้าคอลลาเจนและวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเจลลาตินและคอลลาเจนที่ส่งมาจากประเทศรัสเซียหรือที่จะส่งไปประเทศรัสเซีย ที่ต้องผ่าน EU เพื่อส่งต่อ (transit) ไปที่ประเทศลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์
               ๔.    สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ ดังนี้
               ๕. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙)  อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำหรับสินค้านำเข้าให้สามารถใช้ HC ฉบับเดิม (ตาม Regulation (EC) No 2074/2005) ที่ออกให้ก่อนวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ได้ 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU ระงับการใช้สารปรุงแต่งกลิ่น 4 รายการเพิ่มเติม

 ในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2016/637 of 22 April 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards removal from the Union list of certain flavouring substances ใน EU Official Journal L 108/24 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                  ๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex I ของ Regulation (EC) No 1334/2008) ที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร  (Union list) ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อระงับการใช้สารซึ่งเคยอนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นได้ (flavouring substance) ที่มีส่วนผสมของ สาร p–mentha-1,8-dien-7-al (FL No 05.117) ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน่วยงานความ ปลอดภัยด้านอาหาร ประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้เคยประเมินว่า สาร p–mentha-1,8-dien-7-al เป็นพิษต่อระบบพันธุกรรมในร่างกายสัตว์ทดลอง (genotoxic in vivo)  และได้ระงับไม่ให้ใช้สาร p–mentha-1,8-dien-7-al เป็นวัตถุเจือปนอาหารแล้ว ตามประกาศใน Commission Regulation (EU) 2015/1760 ดังนั้น จึงเห็นควรระงับไม่ให้ใช้สารที่มีส่วนผสมของสาร p–mentha-1,8-dien-7-al ทั้ง ๔ รายการ เพิ่มเติมด้วย โดยมีรายชื่อสารดังต่อไปนี้
                        ๑.๑ 2,6,6-trimethyl-1-cyclohexen-1-carboxaldehyde (FL No 05.121)
                        ๑.๒ myrtenyl formate (FL No 09.272)
                        ๑.๓ myrtenyl-2-methylbutyrate (FL No 09.899)
                        ๑.๔ myrtenyl-3-methylbutyrate (FL No 09.900)
                 ๒. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ต่อไปนี้
                 ๓. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙)
                 ๔. อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่ง ที่กล่าวถึงข้างต้น ๔ รายการที่มีการวางจำหน่ายก่อนวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไป จนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ต่ำสุด (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่ ควรบริโภคก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ (use-by-date)
                     สำหรับสินค้าอาหารที่นำเข้าจากประเทศที่สามที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งกลิ่นใน ๔ รายการ อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน หากผู้นำเข้าสามารถแสดงหลักฐานยืนยันได้ว่า สินค้าดังกล่าวถูกส่งไปจำหน่าย ยัง EU ก่อนที่กฎระเบียบนี้จะมีผลปรับใช้ (ก่อนวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙) ก็สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไป จนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ต่ำสุด (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่ ควรบริโภคก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ (use-by-date)
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_คณะกรรมาธิการยุโรปยกเลิกแผนเจรจาเพิ่มปริมาณการนำเข้าน้ำตาล: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 นาย Daniel Rosario โฆษกด้านนโยบายเกษตรของคณะกรรมาธิการยุโรป ประกาศว่า คณะกรรมาธิการยุโรปได้ยกเลิกแผนการเจรจาเพิ่มปริมาณการนำเข้าน้ำตาลจำนวน 300,000 ตัน โดยจากข้อมูลปริมาณน้ำตาลของคณะกรรมาธิการยุโรป แสดงให้เห็นว่า หากไม่มีมาตรการส่งเสริมการนำเข้าปริมาณน้ำตาลเพิ่มเติม ปริมาณน้ำตาลภายใน EU จะลดลงเหลือเพียง 716,000 ตัน ภายในปลายเดือนกันยายน 2559 ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่การปฏิรูปน้ำตาลภายใต้กฎระเบียบ Council Regulation (EC) No. 138/2006 ซึ่งส่งผลให้ EU ต้องออกมาตรการเพื่อการบริหารจัดการโควตาการผลิต-นำเข้า-ส่งออกน้ำตาลตั้งแต่ปี 2549 (รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายน้ำตาลของ EU ที่ http://bit.ly/1UCznNj)
อย่างไรก็ดี กฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการโควตาการนำเข้า-ส่งออกน้ำตาล จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2560 โดยการยกเลิกการเจรจาการเพิ่มการนำเข้าปริมาณน้ำตาลในครั้งนี้ อาจเป็นการเตรียมการรองรับปริมาณการผลิตและการส่งออกของ EU ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่จะปรับลดลง ในขณะที่ผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกน้ำตาลไปยัง EU จะต้องปรับตัวกับยอดการสั่งซื้อน้ำตาลที่มีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย
ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับที่ 2 ของโลก โดยมีตลาดการส่งออกหลักอยู่ในทวีปเอเชีย และมีมูลค่ามากถึง 83,108 ล้านบาท ในปี 2558 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังตลาด EU อยู่ที่ 107 ล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยส่งออกน้ำตาลไปยัง EU ในอัตราภาษีนำเข้าที่แพงกว่าหลายประเทศ ที่ได้รับสิทธิส่งออกน้ำตาลแบบปลอดภาษี เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิก รวมไปถึงประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด
                        แปลและเรียบเรียงโดย ทีมงาน thaieurope.net

Argentina Food News_อาร์เจนฯ ปรับแก้มาตรฐานแฮมใหม่

วันที่ 6 มิถุนายน 2559 กระทรวงอุตสาหกรรมการเกษตรของอาร์เจนตินาได้เผยแพร่ระเบียบเรื่องคุณภาพแฮมดิบฉบับใหม่
                โดยมีการแก้ไขเกี่ยวกับระบบ HACCP จุลชีววิทยา, เคมีทางกายภาพและหลักเกณฑ์ทางเคมี, Sensorial Parameters, วัสดุสัมผัสและการพัฒนาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนที่นำมาใช้ขณะผลิตสินค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ปฏิบัติตามระเบียบนี้จะได้รับสัญลักษณ์ "Argentinian foods" เป็นการรับรองคุณภาพ 
               การปรับเปลี่ยนระเบียบฉบับนี้ได้รับการอนุมัติเป็นมติที่ 46 - 30/05/16 ซึ่งรวมถึงการแก้ไขรหัสอาหารอาร์เจนตินา (Codigo Alimentario Argentino) ในหมวด "ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์" (Alimentos Cárneos Y Afines)
                ปัจจุบันอาร์เจนตินามีการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อส่งออกแฮมไปยังประเทศบราซิล, ปารากวัย, โบลิเวีย, ฮ่องกง และรัสเซีย
 
ที่มา : selerant corporation  สรุปโดย : มกอช. 

USA Food News_สหรัฐฯประกาศปรับปรุงกฎระเบียบฉลากโภชนาการ

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559 สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ประกาศปรับปรุงฉลากอาหาร ให้มีข้อมูลด้านโภชนาที่จำเป็นผู้บริโภคและอ้างอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
               1. รูปแบบฉลากโภชนาการใหม่ ที่ทำให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสะดวกต่อการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่ม
                - เพิ่มขนาดตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือเป็นตัวเข้มสำหรับรายละเอียดสารอาหาร เช่น แคลอรี่ (Calories), หน่วยบริโภค (Serving Size) และจำนวนการบริโภคต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ (Serving per Container)
                - กำหนดให้ผู้ผลิตแจ้งปริมาณวิตามินดี และโปรแตสเซียมที่ได้รับจากอาหารเป็นปริมาณที่ควรได้รับในหนึ่งวัน (the % daily value - %DV) เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาการขาดสารอาหารของผู้บริโภคสหรัฐฯในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตสามารถระบุวิตามินเอและวิตามินซีไว้บนฉลากได้ตามความสมัครใจ ในส่วนแคลเซียมและธาตุเหล็ก กำหนดให้คงไว้บนฉลากตามเดิม
                - เพิ่มค่าอธิบายของปริมาณที่แนะนำต่อวันต่อหนึ่งหน่วยการบริโภค (%DV) ซึ่งจะอยู่ด้านบนของฉลากโภชนาการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคในแต่ละวัน เช่น ฉลากสินค้าแสดงแคลเซียม 20%DV คือในหนึ่งหน่วยบริโภคมีแคลเซียม 20% ที่ร่างกายต้องการต่อวัน
                - การผสมน้ำตาลในอาหาร (Added Sugars) ฉลากต้องแสดงรายละเอียดปริมาณการผสมน้ำตาลในอาหารเป็นกรัมและปริมาณ %DV
                - ยกเลิกการใส่ข้อมูลปริมาณแคลอรี่จากไขมัน (Calories from fat) เนื่องจากประเภทของไขมัน (Type of Fat) มีความสำคัญกว่าปริมาณ
               2. ปรับปรุงแก้ไขหน่วยบริโภค (Serving Size) และข้อกำหนดบนฉลากเฉพาะสินค้าบางขนาด (Labeling Requirement for Certain Package Size)
                - กฎหมายฉบับใหม่ได้แก้ไขหน่วยบริโภค (Serving size) ให้เป็นไปตามปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้บริโภคได้บริโภคตามความเป็นจริง โดยใช้ข้อมูลจากลักษณะนิสัยการบริโภคของชาวอเมริกันเป็นมาตรฐาน
                - อาหารและเครื่องดื่มที่มีบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ สามารถบริโภคได้ 1-2 คน กำหนดหน่วยการบริโภค เป็นหนึ่งหน่วยการบริโภค เช่น อาหารประเภท ซุปขนาด 15 ออนซ์ และน้ำอัดลมขนาด 20 ออนซ์
                - กรณีอาหารและเครื่องดื่มที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์มากกว่าหนึ่งหน่วยการบริโภคแต่สามารถบริโภคหมดได้ด้วยหนึ่งคนหรือหลายๆคน กำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงรายละเอียดทั้ง 2 แบบคือ ปริมาณต่อหนึ่งหน่วยการบริโภค (Serving Size) และปริมาณต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์ (Serving per Container)
               กฎหมายฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มียอดขายต่อปีไม่เกินกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้รับการขยายเวลาให้ปรับตัวเพิ่มอีกหนึ่งปี 
 
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สรุปโดย: มกอช. 

EU Food News_EU แก้ไขวิธีการสุ่มตรวจวิเคราะห์ตรวจหาสารหนูอนินทรีย์ ตะกั่ว โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในสินค้าอาหาร

 เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีประกาศ Commission Regulation (EU) 2016/582 of 15 April 2016 amending Regulation (EC) No 333/2007 as regards the analysis of inorganic arsenic, lead and polycyclic aromatic hydrocarbons and certain performance criteria for analysis โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 101/3 ว่าด้วย การปรับแก้ไขวิธีการตรวจวิเคราะห์ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารหนูอนินทรีย์ ตะกั่ว โพลีไซคลิก อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH) ในสินค้าอาหาร สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
            ๑. การแก้ไขในครั้งนี้ เกิดจากที่กฎระเบียบ Regulation (EU) 2015/1006 ได้ปรับแก้ไข Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อกำหนดค่าตกค้างสูงสุด (Maximum Levels : MLs) ของสารหนู อนินทรีย์ ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้ปรับการตรวจวิเคราะห์สารดังกล่าวให้สอดคล้องตามไปด้วย รวมถึงปรับ การตรวจวิเคราะห์ให้อิงกับ EN standard 13804 เพื่อให้ได้มาตรฐานปัจจุบัน
                 นอกเหนือจากนี้ ให้กำหนดเพิ่มว่า ค่าตกค้างสูงสุดของสาร PAH ในเมล็ดโกโก้และสินค้าที่ทำ จากเมล็ดโกโก้ควรต้องวัดจากสัดส่วนค่าปนเปื้อนของไขมัน ด้วยวิธี AOAC 963.15 หรือวิธีอื่นที่ให้ค่าเทียบเท่า ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการกำหนดมาตรฐานในค่าปนเปื้อนของ PAH ในปริมาณไขมันด้วย
                 รวมถึงจากข้อคิดเห็นของห้องปฎิบัติการในสหภาพยุโรประบุว่า เห็นควรให้มีการปรับแก้ไขคำจำกัดความของค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถรายงานค่าเป็นตัวเลขได้ (Limit of quantification) ของสารโลหะหนักในสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ขึ้นใหม่ รวมถึงกำหนดเกณฑ์การปฎิบัติในการตรวจหาค่าปริมาณต่ำสุดที่เครื่องสามารถดักตรวจพบได้ (Limit of detection) ในการตรวจวิเคราะห์สารตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท และ ดีบุกอนินทรีย์
                 ตลอดจนกำหนดด้วยว่า วิธีการสุ่มตรวจตัวอย่างและวิธีการตรวจวิจัยนี้จะต้องปรับใช้ทั้งในกรณี ที่ไม่ใช่สำหรับการสุ่มตรวจตัวอย่างอย่างเป็นทางการด้วย
                 รายละเอียดตามปรากฎในภาคผนวก (Annex) ของกฎระเบียบนี้ ซึ่งเป็นการแก้ไข Annex ของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 333/2007
            ๒. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙)
            ๓. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

USA Food News_Salmonella ระบาดในสหรัฐฯ

 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) สหรัฐฯ ได้รายงานว่ามีการตรวจสอบการระบาดของเชื้อ Salmonella ในหลายรัฐของสหรัฐฯ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกที่เลี้ยงตามบ้านโดยทั่วไป 

               จากรายงานการระบาดทั้ง 7 รัฐ พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อ Salmonella ทั้งหมด 324 ราย ใน 35 รัฐ ในระหว่างวันที่  4 มกราคม   ถึง 17 พฤษภาคม 2559 โดยมีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 1 ราย และรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจำนวน 66 รายและ 27 เปอร์เซ็นของผู้ติดเชื้อ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 

               ทาง CDC โดยร่วมมือกับสัตวแพทย์และหน่วยงานการเกษตรในหลายรัฐ รวมกับหน่วยงาน APHIS เพื่อตรวจสอบถามการระบาดในครั้งนี้ จากการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา การตรวจสอบย้อนกลับ และการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า การระบาดทั้ง 7 ครั้งนี้ มีความเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกมีชีวิต เช่น ไก่และเป็ดจากในหลายแหล่งเพาะพันธุ์ นอกจากนี้ทางการยังได้เตือนให้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ปีกไว้ตามบ้าน ระวังเรื่องสัมผัสและล้างมือทุกครั้งจากที่มีการสัมผัสสัตว์ปีกส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรเข้าใกล้สัตว์ปีกเนื่องจากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่ายและควรอยู่ในการดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด CDC คาดว่าการระบาดครั้งนี้จะมีระยะเวลาต่อไปอีกหลายเดือน
 
ที่มา : The Poultry Site สรุปโดย : มกอช.

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Hongkong Food News_ฮ่องกงอนุญาตค้าสัตว์ปีกอีกครั้งหลังพบเชื้อไข้หวัดนก

กระทรวงอาหารและสุขภาพฮ่องกง อนุญาตให้ค้าสัตว์ปีกมีชีวิตได้อีกครั้ง ในวันที่ 9 มิ.ย. 2559 หลังจากรัฐบาลได้ทำการประเมินความเสี่ยง โดยการสำรวจสถานการณ์จากการสุ่มตรวจสัตว์ปีก 3360 ตัวอย่างจากฟาร์มท้องถิ่นและ 270 ตัวอย่างจากตลาดค้าส่ง Cheung Sha Wan พบว่าไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดนก H7N9
                ทั้งนี้ กระทรวงเกษตร ประมง และทรัพยากรฮ่องกง แจ้งว่าจุดค้าส่งสัตว์ปีก 90 แห่ง จากทั้งหมด 130 ได้ผ่านการตรวจสอบสุขอนามัยแล้ว และจะทยอยตรวจสอบจุดค้าส่งที่เหลือต่อไป สำหรับที่มาของไข้หวัดนกที่ได้มีการตรวจพบเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วนั้นยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบ
        

ที่มา : www.china.org.cn
สรุปโดย : 
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Russia Food News_รัสเซียขยายเวลายับยั้งการนำเข้าอาหารกระทั่งสิ้นปี 2560

รัสเซียเตรียมร่างข้อบังคับเพื่อขยายเวลาการห้ามนำเข้าสินค้าอาหาร (food embargo) จากหลายประเทศ  รวมทั้งกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ไปจนถึงสิ้นปี 2560 ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2557 เพื่อตอบโต้การแทรกแซงของชาติตะวันตกในกรณีวิกฤตการณ์ ยูเครน  โดยการยับยั้งการนำเข้านี้จะรวมถึงเนื้อสัตว์ ปลา  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ผลไม้ ผัก และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่เพิ่มเติมในรายการภายหลัง อาทิ ผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากน้ำตาลแล็คโตส (Lactose-free milk) ปลาแซลมอน และปลาเทราต์ จากการรายงานของ EU พบว่าผู้ผลิตอาหารจะต้องส่งออกไปยังประเทศที่สามมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดสินค้าของรัสเซียที่ขาดหายไป
                รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรัสเซียได้ให้ความเห็นว่าข้อบังคับดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรรัสเซีย ทั้งนี้ข้อบังคับเดิมจะมีผลถึงเดือนสิงหาคม 2559 ซึ่งหากจะขยายเวลาในการยับยั้ง จะต้องผ่านการอนุมัติจากประธานาธิบดีรัสเซียก่อนเดือนตุลาคม 2559
                อย่างไรก็ตามร่างข้อบังคับดังกล่าวได้มีการอนุโลมให้สามารถนำเข้าส่งออกสินค้า เนื้อสัตว์ปีก เนื้อวัว และผักที่ใช้อุตสาหกรรมอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าสินค้าเหล่านี้ในรัสเซียมากขึ้น
ที่มา : The Pig Site
สรุปโดย : 
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

USA Food News_สหรัฐฯตรวจพบแบคทีเรียที่มีความต้านทานยา Colistin ในสุกรเลี้ยง

สหรัฐฯยืนยีนพบเชื้อ E.coli สายพันธุ์ดื้อยา Colistin ในมนุษย์ ชี้มียีนชนิดเดียวกับที่ตรวจพบก่อนหน้านี้ของเชื้อดื้อยาในลำไส้สุกร หวั่นเป็นภัยร้ายแรงด้านสาธารณะสุข
                กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) และกระทรวงสาธารณสุข (Department of Health and Human Services : HSS) พบเชื้อแบคทีเรีย E.coli ที่มียีน mcr-1 ส่งผลให้เชื้อดังกล่าวดื้อยา Colistin ที่เป็นยาปฏิชีวนะที่ต้องควบคุมการใช้เป็นพิเศษ และใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไปตามท้องตลาดได้
                เชื้อดื้อยา Colistin ถูกค้นพบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 ทั้งในจีน ยุโรป และแคนาดา โดยนอกจากเชื้อ E.coli ยังพบสายพันธุ์ Salmonella Typhimurium ในฟาร์มสุกรอีก ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของโรคท้องร่วง และก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงในมนุษย์ โดยเฉพาะการก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบและการติดเชื้อในกระแสเลือด
                จากปัญหาดังกล่าว สหรัฐฯ กำลังเร่งกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา โดยเฉพาะการตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งฟาร์มสุกรมต้นทาง เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อที่มียีน mcr-1 ในวงกว้าง และตรวจสอบเชื้อสายพันธุ์อื่นที่อามียีนดังกล่าว พร้อมทั้งคุณสมบัติการดื้อยาปฏิชีวนะกลุ่มอื่นๆ ทั้งกลุ่ม ampicillin , streptomycin , sulfisoxazole และ tetracycline นอกจากนี้ USDA ได้จะเร่งผลักดัน ร่างกฎระเบียบ Preservation of Antibiotics for Medical Treatment Act (PAMTA) เพื่อจำกัดการใช้สารปฏิชีวนะในสัตว์ ซึ่งข้อกังวลว่าอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา จากการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้อง หรือการให้ยาต่ำกว่าที่ควรได้รับ (sub-therapeutic levels) ด้วย
 
ที่มา : The Pig Site
สรุปโดย : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Food Law Update_Thai : FOREIGN FISHERY ESTABLISMENTS APPROVED FOR EXPORT FISHERIES PRODUCTS TO VIET NAM by DOF

รายชื่อสถานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง


ดาวน์โหลดตาม link ได้เลยนะคะ
ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

USA Food News_FDA ประกาศระเบียบการป้องกันการปลอมปนอาหารโดยจงใจ (intentional adulteration)

 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ประกาศระเบียบฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจ (Final Rule for Mitigation Strategies to Protect Food Against Intentional Adulteration) ซึ่งเป็นกฎระเบียบย่อยภายใต้กฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัย (FSMA) ที่มีจุดประสงค์สำคัญในการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงการก่อการร้ายทางอาหาร ทำให้ปัจจุบัน USFDA ประกาศกฏระเบียบฉบับสมบูรณ์ของระเบียบย่อยด้านความปลอดภัยอาหารครบทั้ง 7 ฉบับแล้ว
                ระเบียบดังกล่าวจะมีผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร (Food facilities) ทั้งในสหรัฐฯและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องประเมินและจัดทำกลยุทธ์รับมือความเสี่ยงต่อช่องโหว่การปนเปื้อน  โดยระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจสอบ ป้องกัน แก้ไขปัญหา เพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิภาพของการปฏิบัติ รวมถึงจัดสรรให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับภารกิจและการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมรวมทั้งมีการเก็บข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                ทั้งนี้ระเบียบการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของอาหารที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการบังคับใช้ระเบียบอื่นๆของกฎหมาย FSMA  ในการควบคุมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยอาหาร โดยระเบียบดังกล่าวซึ่งถูกเสนอตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555  USFDA ได้พิจารณาข้อคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 200 รายการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
                ผู้ผลิตอาหารจะต้องเปลี่ยนผ่านการปฎิบัติตามระเบียบดังกล่าว ภายใน 3-5 ปี หลังจากมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ โดยสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อยกว่า 500 ราย จะต้องปฎิบัติตามกฎดังกล่าว ภายใน 4 ปี ในขณะที่มีข้อยกเว้นการบังคับใช้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ยกเว้นสถานประกอบการที่ต้องผ่านการทบทวนเอกสารเพื่อยืนยันสถานะการเป็น Qualified Exemption เป็นพิเศษ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ภายใน 5 ปี
ที่มา: Meatpoultry.com สรุปโดย:
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_USFDA ปรับปรุงกฎระเบียบข้อมูลฉลากโภชนาการใหม่

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2559 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ออกประกาศการปรับปรุงฉลากอาหาร โดยมีการแก้ไขรายละเอียดให้มีความทันสมัยและใช้ข้อมูลอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงฉลากสินค้า 2 เรื่อง ดังนี้
                1. ปรับปรุงรูปแบบฉลากโภชนาการใหม่ โดยมุ่งเน้นให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและต้องทราบดังนี้
- เพิ่มขนาดตัวหนังสือให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ เป็นตัวเข้มสำหรับรายละเอียดโภชนาการที่สำคัญ คือ แคลอรี่ หน่วยบริโภค และจำนวนการบริโภคต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์
- แจ้งปริมาณของวิตามินดี และโปรแตสเซียมที่จะได้รับจากอาหารเป็นปริมาณที่ควรจะได้รับในหนึ่งวัน (the % daily value - %DV)
- เพิ่มเติมคำอธิบาย %DV หรือปริมาณที่แนะนำต่อวันต่อหนึ่งหน่วยการบริโภคซึ่งจะอยู่บนฟุตโน๊ตของฉลาก
- การผสมน้ำตาลในอาหาร ฉลากต้องแสดงรายละเอียดปริมาณเป็นกรัมและปริมาณเป็น %DV
- ยกเลิกการใส่ข้อมูลปริมาณแคลลอรี่จากไขมัน (Calories from fat)
                2. แก้ไขหน่วยบริโภค (Serving Size) และข้อกำหนดบนฉลากเฉพาะสินค้าบางขนาด เช่น
- แก้ไขหน่วยบริโภค (Serving Size) ให้เป็นไปตามปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้บริโภคบริโภคตามความเป็นจริง จากเดิมที่กำหนดจากปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ควรบริโภค โดยใช้ข้อมมูลจากการศึกษาลักษณะนิสัยการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของคนอเมริกันเป็นมาตรฐาน
- อาหารและเครื่องดื่มที่มีบรรจภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถบริโภคได้ 1-2 คน การกำหนดรายละเอียดหน่วยการบริโภค บนฉลากโภชนาการให้กำหนดเป็นหนึ่งหน่วยการบริโภค
- กรณีอาหารและเครื่องดื่มที่มีขนาดบรรจุภัณฑ์ที่มีปริมาณมากกว่าหนึ่งหน่วยการบริโภค แต่สามารถบริโภคหมดได้ด้วยหนึ่งคนหรือหลายๆคน กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงรายละเอียดทั้งสองแบบคือ ปริมาณต่อหนึ่งหน่วยการบริโภค และปริมาณต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์
                ทั้งนี้กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มียอดขายต่อปีไม่เกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะได้รับการขยายเวลาเพิ่ม 1 ปี
ทั้งนี้สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.fda.gov./food/newsevents/cpmstotvemti[dates/ucm502201.htm
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน D.C. : 
สรุปโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_FDA เสนอปรับแก้กฎหมายข้อมูลบนฉลากโภชนาการ

                องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้เสนอการปรับแก้กฎหมายข้อมูลโภชนาการ (Nutrition Facts panel) บนฉลากสินค้าอาหารให้ทันสมัยขึ้น โดยขณะนี้ FDA ได้เสนอให้หน่วยงาน Office of Information and Regulatory Affairs ภายใต้ สำนักงาน the Office of Management and Budget (OMB)  พิจารณาผลกระทบจากการปรับแก้กฎหมายข้างต้น

                โดย FDA ได้เสนอให้เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูลโภชนาการอาหารและเครื่องดื่มในหลายจุดบนฉลากโภชนาการ สรุปได้ดังนี้

                  1. ลบ  ‘calories from fat’
                  2. เปิดเผย ‘added sugars’
                  3. การนำใยอาหารบางชนิดมาใช้ในการคำนวณใยอาหารต้องได้รับอนุญาตก่อน
                  4. กำหนดข้อบังคับให้ระบุค่าแคลเซียมและเหล็กเช่นเดิม และระบุค่าวิตามินเอและซีได้โดยสมัครใจ
                  5. เพิ่มข้อบังคับให้ระบุค่าวิตามินดีและโพแทสเซียม
                  6. ปรับแก้ค่าอ้างอิงที่ใช้ในการคำนวณร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน
                  7. ปรับแก้ค่าอ้างอิงสำหรับโซเดียมจาก 2,400 mg เป็น 2,300 mg
                  8. ระบุ ‘calories’ ให้ชัดเจนขึ้น

               ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่
               (
https://www.federalregister.gov/articles/2014/03/03/2014-04387/food-labeling-revision-of-the-nutrition-and-supplement-facts-labels#h-48%20)
               นอกจากนี้ ในส่วนของข้อเสนอการปรับแก้ข้อมูลหนึ่งหน่วยบริโภค สรุปได้ดังนี้

                 1. แก้ไขคำนิยามของจำนวนหนึ่งหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ (single­serving container)
                 2. กำหนดให้ติดฉลาก 2 สดมภ์ สำหรับบรรุภัณฑ์บางชนิด
                 3. ปรับปรุงและแก้ไขปริมาณการบริโภคทั่วไปมาตรฐาน (Reference Amount Customarily Consumed: RACC)
                 4. กำหนดผลิตภัณฑ์อาหารและหมวดหมู่อาหารที่ต้องระบุปริมาณการบริโภคทั่วไปมาตรฐานต่อการบริโภคเพิ่มเติม สำหรับอุปทานอาหารทั่วไป
                 5. พัฒนาเทคโนโลยีด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวกับหนึ่งหน่วยบริโภค

               ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่
               (
https://www.federalregister.gov/articles/2014/03/03/2014-04385/food-labeling-serving-sizes-of-foods-that-can-reasonably-be-consumed-at-one-eating-occasion)
               ทั้งนี้ ข้อเสนอการปรับแก้กฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ถือเป็นกฎหมายที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมจะค้นหาการปรับแก้ข้อมูลในทะเบียนกลาง ซึ่งโฆษกของ FDA กล่าวว่า กฎหมายฉลากข้อมูลโภชนาการกำลังอยู่ในช่วงทบทวน FDA ยังไม่ได้กำหนดช่วงเวลาในการประกาศ

ที่มา: foodnavigator สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

EU Food News_EU แบนนำเข้าผักลาว เหตุพบปนเปื้อนต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามนำเข้าผักสดจำนวน 4 ชนิดเป็นการชั่วคราว จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ กะเพราและโหระพา (Ocimum spp.) ผักชีเม็กซิกัน (Eryngium spp.) พืชตระกูลพริก (Capsicum spp.) และใบชะพลู (Piper spp.) เนื่องจากพบการปนเปื้อนทั้งเชื้อก่อโรคและสารเคมีอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ปี 2555 พบมีการแจ้งเตือนถึงกว่า 130 ครั้ง

                ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลาวทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ ต่างเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว โดยกระทรวงเกษตรของลาวฯ ได้ดำเนินการยกเลิกการให้ใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรที่ปลูกในประเทศสำหรับส่งออกแก่บริษัททั้งหมดที่ได้รับการแจ้งเตือนจากสหภาพยุโรป

                 กระทรวงเกษตรลาวได้ย้ำความมั่นใจว่า หน่วยงานภายในประเทศของตนมีมาตรฐานการออกใบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตรเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการป้องกันการปลอมแปลงหรือสวมสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้าเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และจะติดตามสถานะดำเนินการรวมทั้งรายงานการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อสหภาพยุโรปเพื่อป้องกันการขยายการห้ามนำเข้าไปสู่สินค้าเกษตรหรือสินค้าอื่นๆ

                 ปัจจุบัน การส่งออกสินค้าเกษตรของลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีการส่งออกทั้งผักสด ชิ้นส่วนพืชสำหรับปลูก พืชสวนครัว และไม้กระถางหลายชนิด และตลาดภายในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะสินค้ากล้วย ที่ลาวสามารถส่งออกได้ถึงปีละกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1,400 ล้านบาท) โดยมีผู้นำเข้ารายใหญ่คือจีนและไทย
 
 
 
ที่มา: VientianeTimes สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Food Law Update_Thai : รายชื่อสถานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง by DOF


รายชื่อสถานแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง


ดาวน์โหลดตาม link ได้เลยนะคะ
ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง

EU Food News_ตั้งแต่วันที่ 13/12/59 ผู้ส่งออกอาหารที่ให้บริการลูกค้าใน EU ต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการ

ตั้งแต่วันที่ 13/12/59  ผู้ส่งออกอาหาร เครื่องดื่ม และร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ให้บริการลูกค้าใน EU ต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการ 
      กฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลากโภชนาการ หรือ Regulation (EU) No 1169/2011 on the provision of food information to consumers (FIC) ซึ่งได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 และเริ่มมีผลบังคับใช้บางส่วนตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2557 บังคับให้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายใน EU ทุกชนิดต้องแสดงข้อมูลอาหารอย่างชัดเจนเพื่อการตัดสินใจของผู้บริโภค (รายละเอียดเพิ่มเติม http://bit.ly/1Z5ILKt) โดยข้อบทที่เกี่ยวกับการแสดงข้อมูลทางโภชนาการ (Article 9 (l) – a nutrition declaration) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2559 เป็นต้นไป

       ก่อนกฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ กฎระเบียบเดิมซึ่งจัดทำตั้งแต่ปี 2549 กำหนดให้แสดงข้อมูลทางโภชนาการบนพื้นฐานของความสมัครใจ แต่กฎระเบียบใหม่บังคับให้ต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุเสร็จทุกชนิด โดยข้อมูลทางโภชนาการที่ต้องแสดงประกอบด้วย ค่าพลังงาน (Energy Value) และปริมาณสารอาหารแต่ละชนิด แบ่งเป็น ไขมัน ไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล โปรตีน และเกลือ
ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ให้บริการลูกค้าใน EU จะต้องให้ความสำคัญกับการแสดงข้อมูลทางโภชนาการมากขึ้น เนื่องจากกฎระเบียบ FIC บังคับให้ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลทางโภชนาการที่ละเอียดและชัดเจนก่อนการบริโภคทั้งจากร้านค้าและร้านค้าออนไลน์
นอกจากนี้ การบังคับให้แสดงข้อมูลทางโภชนาการ จะส่งผลกระทบต่อการแจ้งรหัสผลิตภัณฑ์สากล (Global Trade Item Number – GTIN) ที่ใช้ในการตรวจสอบหรือติดตามสินค้าระหว่างการขนส่ง เนื่องจาก หากข้อมูลทางโภชนาการมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ผู้ผลิตสินค้าจำเป็นต้องกำหนดรหัส GTIN ใหม่ตามไปด้วย ซึ่งผลจากการใส่รหัสผลิตภัณฑ์ผิด จะทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ถูกเก็บออกจากตลาดทันที

 ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ 
Regulation (EU) No 1169/2011 on the provision of food information to consumers เพิ่มเติมได้ที่ http://ec.europa.eu/food/safety/labelling_nutrition/labelling_legislation/index_en.htm

แปลและเรียบเรียงโดย ทีมงาน thaieurope.net