วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

EU Food News_EU แก้ไขวิธีการสุ่มตรวจวิเคราะห์ตรวจหาสารหนูอนินทรีย์ ตะกั่ว โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในสินค้าอาหาร

 เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีประกาศ Commission Regulation (EU) 2016/582 of 15 April 2016 amending Regulation (EC) No 333/2007 as regards the analysis of inorganic arsenic, lead and polycyclic aromatic hydrocarbons and certain performance criteria for analysis โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 101/3 ว่าด้วย การปรับแก้ไขวิธีการตรวจวิเคราะห์ในการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารหนูอนินทรีย์ ตะกั่ว โพลีไซคลิก อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAH) ในสินค้าอาหาร สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
            ๑. การแก้ไขในครั้งนี้ เกิดจากที่กฎระเบียบ Regulation (EU) 2015/1006 ได้ปรับแก้ไข Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อกำหนดค่าตกค้างสูงสุด (Maximum Levels : MLs) ของสารหนู อนินทรีย์ ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้ปรับการตรวจวิเคราะห์สารดังกล่าวให้สอดคล้องตามไปด้วย รวมถึงปรับ การตรวจวิเคราะห์ให้อิงกับ EN standard 13804 เพื่อให้ได้มาตรฐานปัจจุบัน
                 นอกเหนือจากนี้ ให้กำหนดเพิ่มว่า ค่าตกค้างสูงสุดของสาร PAH ในเมล็ดโกโก้และสินค้าที่ทำ จากเมล็ดโกโก้ควรต้องวัดจากสัดส่วนค่าปนเปื้อนของไขมัน ด้วยวิธี AOAC 963.15 หรือวิธีอื่นที่ให้ค่าเทียบเท่า ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการกำหนดมาตรฐานในค่าปนเปื้อนของ PAH ในปริมาณไขมันด้วย
                 รวมถึงจากข้อคิดเห็นของห้องปฎิบัติการในสหภาพยุโรประบุว่า เห็นควรให้มีการปรับแก้ไขคำจำกัดความของค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถรายงานค่าเป็นตัวเลขได้ (Limit of quantification) ของสารโลหะหนักในสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ขึ้นใหม่ รวมถึงกำหนดเกณฑ์การปฎิบัติในการตรวจหาค่าปริมาณต่ำสุดที่เครื่องสามารถดักตรวจพบได้ (Limit of detection) ในการตรวจวิเคราะห์สารตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท และ ดีบุกอนินทรีย์
                 ตลอดจนกำหนดด้วยว่า วิธีการสุ่มตรวจตัวอย่างและวิธีการตรวจวิจัยนี้จะต้องปรับใช้ทั้งในกรณี ที่ไม่ใช่สำหรับการสุ่มตรวจตัวอย่างอย่างเป็นทางการด้วย
                 รายละเอียดตามปรากฎในภาคผนวก (Annex) ของกฎระเบียบนี้ ซึ่งเป็นการแก้ไข Annex ของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 333/2007
            ๒. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙)
            ๓. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น