วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558
France News_ฝรั่งเศสประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงปารีส ได้รายงานว่า ในวันที่ 11 ก.ย. 2558 นาง Ségolène Royal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมฝรั่งเศส ได้กล่าวยืนยัน เรื่องการประกาศรัฐกฤษฎีกาห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในร้านค้าปลีก โดยมาตรการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนพลังงาน (Energy Transition) รัฐกฤษฎีกาดังกล่าวมีข้อกำหนดที่สำคัญ ดังนี้
- ห้ามบริการถุงพลาสติกสำหรับบรรจุสินค้าแบบใช้ครั้งเดียว ที่ปกติมีบริการให้ ณ จุดชำระเงินในร้านค้าปลีก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และอนุญาตให้ใช้ถุงพลาสติกที่ใช้งานได้หลายครั้ง (มีความหนากว่าถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว)
- ห้ามบริการถุงพลาสติกสำหรับบรรจุผักและผลไม้แบบใช้ครั้งเดียว ที่ปกติมีบริการให้บริเวณแผนกผักและผลไม้ในร้านค้าปลีก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
อนึ่งมาตรการดังกล่าวไม่มีข้อยกเว้นให้สำหรับถุงพลาสติกที่ร้านค้าปลีกได้จัดซื้อไว้แล้วในสต็อก ในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 ของถุงพลาสติกในตลาดฝรั่งเศสมาจากการนำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มถุงพลาสติกสำหรับผักและผลไม้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยทั้งสิ้น เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลฝรั่งเศสถือเอาการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด เป็นอีกหนทางหนึ่งในการกระตุ้นการสร้างงานในภาคธุรกิจทางนวัตกรรมของฝรั่งเศส โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ทดแทนถุงพลาสติกเข้ามาตีตลาดดังกล่าวได้
ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงปารีส
รายงานโดย 2.thaieurope.net กระทรวงการต่างประเทศ
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558
๊US Food News_สหรัฐฯ พร้อมลงทุนผลิตสินค้าเกษตร-อาหารในนิคมฯ บราซิล
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ส่งผู้แทนเข้าพบผู้อำนวยการเขตเศรษฐกิจและนิคมอุตสาหกรรม Manaus ของรัฐ Amazonas ทางตอนเหนือของบราซิล เพื่อหารือโอกาสการขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีโครงการผลิตและการลงทุนด้านการเกษตรถึงกว่า 600 โครงการ
เขตเศรษฐกิจ Manaus ของบราซิล ได้วางแผนการขยายพื้นที่และจัดสร้างสาธารณูปโภครองรับการพัฒนาทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560-2576 โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ผู้ลงทุน ทั้งการยกเว้นภาษีนำเข้าส่งออก และการลดหย่อนข้อกำหนดการส่งเงินสนับสนุนกองทุนบูรณาการทางสังคมและกองทุนข้าราชการพลเรือน PIS/PASEP รวมทั้งกองทุนประกันสังคมและสวัสดิการรักษาพยาบาล COFINS
เขตเศรษฐกิจ Manaus ของบราซิล ได้วางแผนการขยายพื้นที่และจัดสร้างสาธารณูปโภครองรับการพัฒนาทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560-2576 โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ผู้ลงทุน ทั้งการยกเว้นภาษีนำเข้าส่งออก และการลดหย่อนข้อกำหนดการส่งเงินสนับสนุนกองทุนบูรณาการทางสังคมและกองทุนข้าราชการพลเรือน PIS/PASEP รวมทั้งกองทุนประกันสังคมและสวัสดิการรักษาพยาบาล COFINS
TAX-NEWS(21/09/58)
ที่มา มกอช.
Indo food News_อินโดเตรียมหาแหล่งนำเข้าเนื้อโคเพิ่ม-ไขปัญหาออสซีผูกขาด
เป็นโอกาสของผู้นำเข้าส่งออกเนื้อโค
WAToday/NewsNOW(21/0958)
รักษาการผู้อำนวยการสำนักการค้าต่างประเทศของอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังแสวงหาประเทศผู้ผลิตโคเนื้อที่มีศักยภาพ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ซึ่งจะสามารถผลิตโคมีชีวิตและเนื้อโคบรรจุส่งออกมายังอินโดนีเซีย เพื่อลดภาวะการผูกขาดสินค้ากลุ่มดังกล่าว จากที่ในปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้าผลิตภัณฑ์จากโค โดยเฉพาะเนื้อโคบรรจุจากออสเตรเลียที่มีสัดส่วนการนำเข้ากว่าร้อยละ 80 และนอกจากสองประเทศข้างต้น อินโดนีเซียยังให้ความสำคัญต่อประเทศผู้ผลิตโคชั้นนำของโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสถานะปลอดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD)
ก่อนหน้านี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 อินโดนีเซียได้ประกาศโควตาการนำเข้าโคมีชีวิต จำกัดที่ 50,000 ตัว จากที่ในไตรมาสที่ 2 นำเข้าถึง 250,000 ตัว ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลต่อผู้ผลิตโคมีชีวิตในออสเตรเลียอย่างหนัก โดยเฉพาะในรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีจำเป็นต้องเตรียมพร้อมหาตลาดส่งออกโคมีชีวิตจำนวนกว่า 150,000 ตัว ทดแทนการส่งออกไปอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อโคในตลาดอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้พ่อค้าในเขตบันดุงและจาการ์ตาออกมาประท้วงนโยบายจำกัดการนำเข้าของภาครัฐ
ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กันยายน 2558 รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออสเตรเลียได้เตรียมเข้าพบหารือรัฐมนตรีพาณิชย์ของอินโดนีเซียเพื่อเจรจาประเด็นการส่งออกโคมีชีวิต ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกเนื้อโครายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีปริมาณการส่งออกเนื้อโคเพื่อรองรับการบริโภคในสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของการบริโภคภายในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทั้งด้านสถานะปลอดโรค FMD และระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด โดยใช้เพียง 5 วัน ในการขนส่งทางเรือไปยังอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 อินโดนีเซียได้ประกาศโควตาการนำเข้าโคมีชีวิต จำกัดที่ 50,000 ตัว จากที่ในไตรมาสที่ 2 นำเข้าถึง 250,000 ตัว ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลต่อผู้ผลิตโคมีชีวิตในออสเตรเลียอย่างหนัก โดยเฉพาะในรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีจำเป็นต้องเตรียมพร้อมหาตลาดส่งออกโคมีชีวิตจำนวนกว่า 150,000 ตัว ทดแทนการส่งออกไปอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อโคในตลาดอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้พ่อค้าในเขตบันดุงและจาการ์ตาออกมาประท้วงนโยบายจำกัดการนำเข้าของภาครัฐ
ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กันยายน 2558 รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออสเตรเลียได้เตรียมเข้าพบหารือรัฐมนตรีพาณิชย์ของอินโดนีเซียเพื่อเจรจาประเด็นการส่งออกโคมีชีวิต ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกเนื้อโครายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีปริมาณการส่งออกเนื้อโคเพื่อรองรับการบริโภคในสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของการบริโภคภายในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทั้งด้านสถานะปลอดโรค FMD และระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด โดยใช้เพียง 5 วัน ในการขนส่งทางเรือไปยังอินโดนีเซีย
WAToday/NewsNOW(21/0958)
ที่มา มกอช.
Russia Food News_รัสเซียเตรียมแบน GMO ในอุตสาหกรรมอาหาร
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558 รองนายกรัฐมนตรีของรัสเซียได้ให้สัมภาษณ์ในที่ประชุมสภาด้านการเกษตร ว่ารัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะห้ามการผลิตสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMO) หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัสเซียประกาศห้ามนำเข้าสินค้า GMO รวมทั้งพิจารณาผ่านร่างกฎหมายห้ามการปลูกพืช GMO ยกเว้นเพื่อใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558
นโยบายการยอมรับ GMO ในแต่ละประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ยังคงมีความแตกต่างในทิศทางการพิจารณากำหนดมาตรการ โดยหลายประเทศยังคงมีความกังวลด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ในขณะที่วงการวิทยาศาสตร์ซึ่งได้ใช้ประโยชน์ GMO อย่างหลากหลาย เห็นว่า GMO มีความปลอดภัยรวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนา
The Moscow Times(21/09/58)
ที่มา มกอช.
สัมมนา เรื่อง EU rules on Food and Nutrition Labelling and Health Claims ในวันที่ 8 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมโซฟิเทล สุขุมวิท กรุงเทพฯ
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมหาวิทยาลัยมหิดล
มีกำหนดจัดการสัมมนาเผยแพร่กฎระเบียบของประเทศคู่ค้า เรื่อง EU rules on Food and Nutrition Labelling and Health โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านกฎระเบียบฉลากอาหาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความและการประยุกต์ใช้ Regulation (EU) No 1169/2011 of the European Parliament and of the Council of 25 October 2011 on the provision of food information to consumers ซึ่งเป็นระเบียบฉบับสมบูรณ์ที่ได้ปรับแก้และรวบรวมทุกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงฉลากอาหารในสหภาพยุโรป อาทิ ฉลากโภชนาการ การแสดงวัตถุดิบอาหารก่อภูมิแพ้ และการกล่าวอ้างสรรพคุณด้านสุขภาพ เป็นต้น มาบรรยายให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฟัง ในวันที่ 8 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมโซฟิเทล สุขุมวิท กรุงเทพฯ
มกอช. ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมการสัมมนาด้ังกล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดกำหนดการและแบบตอบรับเข้าร่วมการสัมมนา ได้ที่
มกอช. ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมการสัมมนาด้ังกล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดกำหนดการและแบบตอบรับเข้าร่วมการสัมมนา ได้ที่
***** (ไม่เสียค่าใช้จ่าย/จำกัดจำนวนผู้เข้าฟัง 200 ที่นั่ง) ****
ไปๆเจอกัน ^^
ป้ายกำกับ:
กฎหมายอาหาร,
มกอช,
ยุโรป,
สัมมนา,
EU,
food standard,
Labelling
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558
Seminar Manual_ในไทย มิ.ย.-ก.ย.2558 ครั้งที่ 1
เอกสารประกอบการสัมมนา/บรรยาย รีบไปดาวน์โหลดมาอ่านนะ
1. งานสัมมนาเรื่อง "นวัตกรรม...อีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อการส่งออก" ในวันที่ 30 มิถุนายน 2558(30/06/58)
รายละเอียด
2. งานสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์การส่งออกเครื่องดื่มไทยไปตลาด CLMV" ในวันที่ 9 กรกฏาคม 2558 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ(15/07/58)
รายละเอียด
3. การเสวนากลยุทธ์การตลาดและการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการเพื่อรุกตลาดยุโรปและอเมริกา
(21/07/58)
รายละเอียด
4. การเสวนาในหัวข้อเรื่อง“โอกาสทางการค้าของไทยในอินเดียตะวันออก”
ในวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2558 ระหว่างเวลา 09.00 น. – 12.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างป...(04/08/58)
รายละเอียด
ที่มากรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์
1. งานสัมมนาเรื่อง "นวัตกรรม...อีกหนึ่งกลยุทธ์เพื่อการส่งออก" ในวันที่ 30 มิถุนายน 2558(30/06/58)
รายละเอียด
2. งานสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์การส่งออกเครื่องดื่มไทยไปตลาด CLMV" ในวันที่ 9 กรกฏาคม 2558 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ(15/07/58)
รายละเอียด
3. การเสวนากลยุทธ์การตลาดและการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการเพื่อรุกตลาดยุโรปและอเมริกา
(21/07/58)
รายละเอียด
4. การเสวนาในหัวข้อเรื่อง“โอกาสทางการค้าของไทยในอินเดียตะวันออก”
ในวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2558 ระหว่างเวลา 09.00 น. – 12.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างป...(04/08/58)
รายละเอียด
ที่มากรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์
๊EU Food Law _Update amd.Regulation (EC) No 1331/2008 ของปี 2015
วันนี้จะมาบอกรายการที่มีการปรับปรุงจากระเบียบเดิม ส่วนรายละเอียดวันนี้ไม่ทันอธิบายให้นะจ๊ะ
Regulation (EC) No 1331/2008 of the European Parliament and of the Council of 16 December 2008 establishing a common authorisation procedure for food additives, food enzymes and food flavourings
รายการที่ปรับปรุงปี 2015 มี
Regulation (EC) No 1331/2008 of the European Parliament and of the Council of 16 December 2008 establishing a common authorisation procedure for food additives, food enzymes and food flavourings
รายการที่ปรับปรุงปี 2015 มี
- Commission Regulation (EU) 2015/537 of 31 March 2015 amending Annex II... as regards the use of aluminium lakes of cochineal, carminic acid, carmines (E 120) in dietary foods for special medical purposes
- Commission Regulation (EU) 2015/538 of 31 March 2015 amending Annex II ... as regards the use of benzoic acid — benzoates (E 210-213) in cooked shrimps in brine
- Commission Regulation (EU) 2015/639 of 23 April 2015 amending Annex III ... as regards the use of silicon dioxide (E 551) in polyvinyl alcohol-polyethylene glycol-graft-co-polymer (E 1209)
- Commission Regulation (EU) 2015/647 of 24 April 2015 amending and correcting Annexes II and III
- Commission Regulation (EU) 2015/649 of 24 April 2015 amending Annex II... as regards the use of L-leucine as a carrier for table-top sweeteners in tablets
- Commission Regulation (EU) 2015/1362 of 6 August 2015 amending Annex III... as regards the use of silicon dioxide (E 551) in extracts of rosemary (E 392)
- Commission Regulation (EU) 2015/1378 of 11 August 2015 amending Annex II ...as regards the use of riboflavins (E 101) and carotenes (E 160a) in dried potato granules and flakes
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
สัมมนาดีๆ_มกอช. จัดสัมมนาวิชาการ "มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร 2558"
มกอช. จัดสัมมนาวิชาการ "มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร 2558"
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ในฐานะองค์กรผู้นำด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ได้จัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร 2558" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ณ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง ระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2558
รายละเอียดการจัดสัมมนา: รายละเอียด
*****(ไม่เสียค่าใช้จ่าย/จำกัดจำนวนผู้เข้าฟัง 300 ที่นั่ง)****
ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร 0-2561-2277 หมายเลขภายใน 1303 คุณกรกฤต หรือ 1302 คุณนงคราญ ในเวลาราชการ
ป้ายกำกับ:
มกอช,
สัมมนา,
acfs,
food standard,
seminar
USA Food News_US เปลี่ยนแบบฟอร์มสุขอนามัยผลิตภัณฑ์ไข่ส่งออก
หน่วยงาน The Food Safety and Inspection Services (FSIS) ในสังกัดกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้ทำการเปลี่ยนรูปแบบการใช้แบบฟอร์ม ใบอนุญาตการส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไข่ (Egg Product Inspection Certificate) จากสหรัฐฯไปยังต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2558 โดยจากเดิมที่ปัจจุบันใช้แบบฟอร์มหมายเลข FSIS PY-200 Egg Product Inspection Certificate เปลี่ยนเป็นเอกสารหมายเลข FSIS 9060-5EP ซึ่งเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่หน่วยงาน FSIS/USDA ใช้ในการรับรองผู้ส่งออกผลิตภัณฑจากไข่ของสหรัฐฯไปยังต่างประเทศว่าได้มีการปฏิบัติตามระเบียบภายใต้กฏหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
อนึ่ง หน่วยงาน FSIS/USDA มีหน้าที่ในการรับผิดชอบตรวจสอบดูแลสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากไข่ ซึ่งจำหน่ายในสหรัฐฯ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัย บริสุทธิ์ และมีการติดฉลากสินค้าและบรรุภัณฑ์สินค้าอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยอาศัยอำนาจกฎหมายดังนี้
- the Federal Meat Product Inspection Act
- the Poultry Product Inspection Act
- the Egg Product Inspection Act โดยผลิตภัณฑ์จากไข่ที่อยู่ในความตรวจสอบดูแลของหน่วยงาน FSIS/USDA ภายใต้กฎหมาย the Egg Product Inspection Act จะหมายถึงผลิตภัณฑ์จากไข่ที่ผ่านการปอกเปลือกแล้ว ทั้งชนิดเหลว แช่แข็ง หรือ อบแห้ง ซึ่งจะนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในลักษณะต่างๆต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมาย the Egg Product Inspection Act ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า การตรวจสอบการนำเข้าและส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของปริมาณไข่เล็กน้อยจนไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากไข่ (Product Containing small amount of egg) ถือว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในความดูแลและการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) และกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ (US Department of Human Health Service) ร่วมกับหน่วยงาน Agricultural Marketing Service (AMS) ของ USDA
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี (27-08-58)
ป้ายกำกับ:
เนื้อและสัตว์ปีก,
ปศุสัตว์,
egg,
FSIS,
USA
EU Food News_EU ไม่อนุญาตให้ใช้ Artemisia vulgaris L. เป็นสารตั้งต้นในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช
EU ไม่อนุญาตให้ใช้ Artemisia vulgaris L. เป็นสารตั้งต้น (Basic Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช
เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2015/1191 of 20 July 2015 concerning the non-approval of Artemisia vulgaris L. as a basic substance in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market ใน EU Official Journal L 193/122 ว่าด้วยการไม่อนุญาตให้ใช้ Artemisia vulgaris L. เป็นสารตั้งต้น (Basic Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ที่อนุญาตให้ใช้ในการปลูกพืช สรุปดังนี้
๑. เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ คณะกรรมาธิการยุโรปได้รับคำร้องจาก Institut Technique de l’Agriculture Biologique เพื่ือขอขึ้นทะเบียน Artemisia vulgaris L. เป็นสารตั้งต้น (Basic Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช แต่จากการประเมินผลของ EFSA พบว่า Artemisia vulgaris L ไม่เข้าข่ายตามข้อกำหนดที่ระบุในมาตรา ๒๓ Regulation (EC) No 1107/2009 และพบว่าหากสาร ดังกล่าวสัมผัสกับสารชนิดอื่น อาทิ thujone, eucalyptol และ camphor จะมีความเสี่ยงต่อผู้ประกอบการ คนงาน บุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภค และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมาย และข้อมูลที่ผู้ยื่นคำร้องให้เพิ่มเติม ก็ยังไม่สามารถหักล้างคำตัดสินของ EFSA ได้ ดังนั้น EU จึงเห็นควรไม่อนุญาตให้ใช้ Artemisia vulgaris L เป็นสารตั้งต้น
๒. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากทประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘)
๓. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
EU Food News_GM FOOD - Agriculture committee opposes national bans on Imports of GM food and feed
The agriculture committee on Thursday rejected the Commission's draft law that would give member states the power to restrict or prohibit the use of EU-approved GM food or feed on their territory. It fears that arbitrary national bans could distort competition on the EU's single market and jeopardise the Union's food production sectors which are heavily dependent on imports of GM feed.
The agriculture committee's opinion, adopted by 28 votes in favour to eight against, with six abstentions, will now be scrutinised by the environment committee, which has the lead on this file, before the Parliament as a whole votes on the matter.
"Today's vote in the agriculture committee sends a clear message: the Commission's proposal to allow member states to decide whether or not to restrict or ban the use of GM food and feed on their territory must be rejected. We have not been building the EU's single market to let arbitrary political decisions distort it completely," said the draftsman of the opinion, Albert Dess (EPP, DE).
"The Commission's approach is completely unrealistic. We have many sectors in the EU that rely to a great extent on imports of GM feed and would not be able to survive if it is banned. If we allowed this, then all animal food production in the EU would be at stake, which could make us much more dependent on food imports from third countries that do not necessarily respect our high production standards. And we certainly want to avoid this," he added.
Next Steps
The environment committee, the lead committee for this draft law, will adopt its position at its meeting on 12 and 13 October. Parliament could then scrutinise the proposal at the 26-29 October plenary session in Strasbourg.
CR.foodlaw-reading
สรุปคือลงมติไม่อนุญาตร่างระเบียบ อาหารและอาหารสัตว์ตัดแต่งพันธุกรรม หรือไม่ให้ใช้นั่นเอง
The agriculture committee's opinion, adopted by 28 votes in favour to eight against, with six abstentions, will now be scrutinised by the environment committee, which has the lead on this file, before the Parliament as a whole votes on the matter.
"Today's vote in the agriculture committee sends a clear message: the Commission's proposal to allow member states to decide whether or not to restrict or ban the use of GM food and feed on their territory must be rejected. We have not been building the EU's single market to let arbitrary political decisions distort it completely," said the draftsman of the opinion, Albert Dess (EPP, DE).
"The Commission's approach is completely unrealistic. We have many sectors in the EU that rely to a great extent on imports of GM feed and would not be able to survive if it is banned. If we allowed this, then all animal food production in the EU would be at stake, which could make us much more dependent on food imports from third countries that do not necessarily respect our high production standards. And we certainly want to avoid this," he added.
Next Steps
The environment committee, the lead committee for this draft law, will adopt its position at its meeting on 12 and 13 October. Parliament could then scrutinise the proposal at the 26-29 October plenary session in Strasbourg.
CR.foodlaw-reading
สรุปคือลงมติไม่อนุญาตร่างระเบียบ อาหารและอาหารสัตว์ตัดแต่งพันธุกรรม หรือไม่ให้ใช้นั่นเอง
ป้ายกำกับ:
อาหารสัตว์,
อียู,
EU,
feed,
Food,
Food News,
regulation
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558
Thai Food Laws_ประกาศ กฏ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับการเกษตร
หากสินค้าของเพื่อนเกี่ยวกับการเกษตร อย่าลืมอัพเดทรายการที่ถือครองว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือเปล่านะคะ
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามมาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช พ.ศ.2553
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามมาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554
ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตสินค้าพืช ตามมาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งผลทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2556
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าผักสดไปสหภาพ ยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส (พืช 16 ชนิด)
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองสุขอนามัยสำหรับสินค้าผักสดไปสหภาพ ยุโรป นอร์เวย์ และสมาพันธรัฐสวิส (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 (เพิ่มเติมพืชอีก 6 ชนิด)
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกาหลี
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบคุม กำกับ ดูแล ห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช พ.ศ. 2554
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกพืชควบคุม พ.ศ.2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกผักและผลไม้ พ.ศ.2553
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบรับรองสุขอนามัย พ.ศ.2552
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนผู้ส่งออกเมล็ดแมงลักไปประเทศญี่ปุ่น
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับรองระบบการผลิตในโครงการความปลอดภัยอาหารด้านพืช (Food Safety)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ.2556
Hong Kong Food News_ฮ่องกงแจ้งเตือนตรวจพบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน
ศูนย์ความปลอดภัยทางอาหาร(Center for Food Safety) ภายใต้หน่วยงาน
Food and Environmental Hygiene Department (FEHD)เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แจ้งเตือนการตรวจพบปริมาณสารวัตถุกันเสียในสินค้าผักกาดดอง (Pickled mustard) ส่งออกจากไทยเกินค่ามาตรฐานของฮ่องกง โดยผลการวิเคราะห์พบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) เกินค่ามาตรฐานไปจากกฎหมาย Preservativesin Food Regulation (Cap.132BD) ของฮ่องกง ที่กำหนดไว้ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในสินค้าอาหารประเภทผักหรือสาหร่ายที่ดองในน้ำส้มสายชู, น้ำมัน, น้ำเกลือ หรือ ซีอิ๊ว (Vegetables and Seaweeds Pickled in Vinegar, Oil, Brine or Soy Sauce) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(Sulphur dioxide) เป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหารหลากหลายชนิด รวมทั้งในผักอบแห้ง, ผลไม้อบแห้ง, ผักดองและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จัดเป็นวัตถุกันเสียที่มีความเป็นพิษต่ำ และเป็นสารที่ละลายได้ในน้ำส่วนใหญ่จะถูกกำจัดออกไปจาก อาหารผ่านกระบวนการล้างวัตถุดิบและในขั้นตอนการปรุงอาหาร อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ที่แพ้วัตถุกันเสีย ชนิดนี้อาจมีอาการหอบ ปวดหัวและคลื่นไส้ได้ กรมวิชาการเกษตรจึงขอแจ้งเตือนผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ให้ทราบถึงมาตรฐานวัตถุกันเสีย ของฮ่องกง และควบคุมสินค้าประเภทผักดองส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางการฮ่องกงกำหนดเพื่อป้องกันการปฏิเสธสินค้าการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าและการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยในอนาคต สำหรับรายละเอียดมาตรฐานวัตถุกันเสียของฮ่องกงสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ไฟล์ PDF ที่มา : ฮ่องกง กลุ่มพัฒนาระบบความปลอดภัยสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร |
EU Food News_EU อนุญาตให้ใช้ Silicon dioxide (E 551) ในโรสแมรีสกัดชนิดผง
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2015/1362 of 6 August 2015 amending Annex III to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council as regards the use of silicon dioxide (E 551) in extracts of rosemary (E 392) ใน EU Official Journal L 210/22 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไข Annex III ของ Regulation (EC) No 1333/2008 ซึ่งเป็นบัญชี รายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) กลุ่มที่มีคุณสมบัติเชิงเทคนิค (technical function) การแก้ไขในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่มีผู้ประกอบการใน EU ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ ขออนุญาตใช้ silicon dioxide (E 551) เป็นสารกันการรวมตัวเป็นก้อน (anti-caking agent) ในโรสแมรีสกัดชนิดผง
๒. สาร silicon dioxide (E 551) และสาร silicates บางรายการ (อาทิ sodium, potassium, calcium และ magnesium silicates) อยู่ในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร (กลุ่มกันการรวมตัวเป็นก้อน) ที่ EU ไม่ได้ กำหนดค่าที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวันโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Acceptable Daily Intake : ADI) ไว้โดยชัดเจน เนื่องจากเป็นสารที่ไม่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค เพราะผู้ประกอบการจะใช้สารดังกล่าวในปริมาณเท่าที่ จำเป็น เพื่อให้ได้ผลทางเทคนิคที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้น หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) จึงไม่ต้องประเมินความปลอดภัยในการใช้สารดังกล่าวในครั้งนี้
๓. EU เห็นควรอนุญาตให้ใช้ silicon dioxide (E 551) เป็นสารกันการรวมตัวเป็นก้อน (anti-caking agent) ในโรสแมรีสกัดชนิดผง โดยกำหนดค่าการใช้งานที่ระดับ ๓๐,๐๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในกระบวนการผลิต (in the preparation)
๔. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘) สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ดังต่อไปนี้
รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
- See more at: http://www2.thaieurope.net
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)