รักษาการผู้อำนวยการสำนักการค้าต่างประเทศของอินโดนีเซีย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่ารัฐบาลอินโดนีเซียกำลังแสวงหาประเทศผู้ผลิตโคเนื้อที่มีศักยภาพ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ซึ่งจะสามารถผลิตโคมีชีวิตและเนื้อโคบรรจุส่งออกมายังอินโดนีเซีย เพื่อลดภาวะการผูกขาดสินค้ากลุ่มดังกล่าว จากที่ในปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้าผลิตภัณฑ์จากโค โดยเฉพาะเนื้อโคบรรจุจากออสเตรเลียที่มีสัดส่วนการนำเข้ากว่าร้อยละ 80 และนอกจากสองประเทศข้างต้น อินโดนีเซียยังให้ความสำคัญต่อประเทศผู้ผลิตโคชั้นนำของโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสถานะปลอดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD)
ก่อนหน้านี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 อินโดนีเซียได้ประกาศโควตาการนำเข้าโคมีชีวิต จำกัดที่ 50,000 ตัว จากที่ในไตรมาสที่ 2 นำเข้าถึง 250,000 ตัว ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลต่อผู้ผลิตโคมีชีวิตในออสเตรเลียอย่างหนัก โดยเฉพาะในรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีจำเป็นต้องเตรียมพร้อมหาตลาดส่งออกโคมีชีวิตจำนวนกว่า 150,000 ตัว ทดแทนการส่งออกไปอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อโคในตลาดอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้พ่อค้าในเขตบันดุงและจาการ์ตาออกมาประท้วงนโยบายจำกัดการนำเข้าของภาครัฐ
ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กันยายน 2558 รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออสเตรเลียได้เตรียมเข้าพบหารือรัฐมนตรีพาณิชย์ของอินโดนีเซียเพื่อเจรจาประเด็นการส่งออกโคมีชีวิต ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกเนื้อโครายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีปริมาณการส่งออกเนื้อโคเพื่อรองรับการบริโภคในสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของการบริโภคภายในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทั้งด้านสถานะปลอดโรค FMD และระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด โดยใช้เพียง 5 วัน ในการขนส่งทางเรือไปยังอินโดนีเซีย
ก่อนหน้านี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 อินโดนีเซียได้ประกาศโควตาการนำเข้าโคมีชีวิต จำกัดที่ 50,000 ตัว จากที่ในไตรมาสที่ 2 นำเข้าถึง 250,000 ตัว ซึ่งมาตรการดังกล่าวส่งผลต่อผู้ผลิตโคมีชีวิตในออสเตรเลียอย่างหนัก โดยเฉพาะในรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีจำเป็นต้องเตรียมพร้อมหาตลาดส่งออกโคมีชีวิตจำนวนกว่า 150,000 ตัว ทดแทนการส่งออกไปอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ราคาจำหน่ายเนื้อโคในตลาดอินโดนีเซียเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้พ่อค้าในเขตบันดุงและจาการ์ตาออกมาประท้วงนโยบายจำกัดการนำเข้าของภาครัฐ
ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กันยายน 2558 รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออสเตรเลียได้เตรียมเข้าพบหารือรัฐมนตรีพาณิชย์ของอินโดนีเซียเพื่อเจรจาประเด็นการส่งออกโคมีชีวิต ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกเนื้อโครายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีปริมาณการส่งออกเนื้อโคเพื่อรองรับการบริโภคในสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของการบริโภคภายในอินโดนีเซีย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบทั้งด้านสถานะปลอดโรค FMD และระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด โดยใช้เพียง 5 วัน ในการขนส่งทางเรือไปยังอินโดนีเซีย
WAToday/NewsNOW(21/0958)
ที่มา มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น