วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Japan Food News_ญี่ปุ่นเตรียมใช้ระเบียบแสดงแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบในอาหาร

ญี่ปุ่นเตรียมใช้ระเบียบแสดงแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบในอาหาร
                ญี่ปุ่นเตรียมบังคับใช้ระเบียบระบุแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบที่ใช้ในอาหารฉบับใหม่ ซึ่งจะมีผลต่ออาหารแปรรูปที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นทุกชนิด โดยกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และคาดว่าจะเริ่มต้นบังคับใช้ในช่วงฤดูร้อนนี้ (มิถุนายน-สิงหาคม 2560) ทั้งนี้ จะมีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจนถึงเดือนมีนาคม 2022
                รายละเอียดโดยสรุปของระเบียบฉบับใหม่มีดังนี้
1. ให้ระบุแหล่งกำเนิด/แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีน้ำหนักมากที่สุด โดยหากวัตถุดิบชนิดนั้นๆมีการใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่มาหลายประเทศ จะต้องระบุชื่อประเทศแหล่งที่มาเรียงตามลำดับน้ำหนัก โดยใช้เครื่องหมาย “,” คั่น เช่น “Ingredients : Pork (USA, Canada)”
2. หากวัตถุดิบมีแหล่งที่มาจากหลายประเทศ (ตามข้อมูล/สถิติการใช้วัตถุดิบของผู้ประกอบการ) ให้ระบุ เรียงตามลำดับประเทศที่ใช้บ่อยกว่า โดยใช้คำว่า “Or” คั่น เช่น “Ingredients : Pork (USA or Canada) Order based on data from Year XX of the Heisei era”
3. หากวัตถุที่ใช้มีการนำเข้าจาก 3 ประเทศขึ้นไป สามารถระบุโดยใช้คำว่า “imported” ได้
4. คำว่า “Or” และ “imported” สามารถใช้พร้อมกันได้ เช่น “Ingredient : Pork (imported or domestic) Order based on data from Year XX of the Heisei era”
                อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมผู้บริโภคญี่ปุ่น (JCCU) ระบุว่าระเบียบฉบับใหม่มีข้อยกเว้น และมีความซับซ้อนในการแสดงข้อมูลมากกว่าระเบียบปัจจุบัน รวมทั้งอาจทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภคได้

 (ต่อ)ตามที่โครงการเตือนภัยสินค้าเกษตรและอาหารได้เผยแพร่ข่าว “ญี่ปุ่นเตรียมใช้ระเบียบแสดงแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบในอาหาร” (http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=15070&ntype=07) ระเบียบระบุแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบที่ใช้ในอาหารของญี่ปุ่นที่เตรียมจะบังคับใช้ในช่วงฤดูร้อนปี 2560 นี้ ที่ได้กำหนดให้ระบุแหล่งกำเนิด/ที่มาของวัตถุดิบในอาหารที่มีน้ำหนักมากที่สุด จะมีผลบังคับใช้กับอาหารแปรรูปที่ผลิตและวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นทุกประเภท รวมไปถึง ก๋วยเตี๋ยว ขนมขบเคี้ยว อาหารแช่แข็ง และอาหารกระป๋อง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการแสดงฉลากของอาหารแปรรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ยังคงต้องระบุแหล่งที่มาของอาหารนั้นๆ แต่ไม่จำเป็นต้องระบุแหล่งที่มารายวัตถุดิบ
                 ปัจจุบัน ญี่ปุ่นกำหนดให้ระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหารที่มีน้ำหนักในผลิตภัณฑ์ร้อยละ 50 ขึ้นไป ทำให้มีผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีการแสดงฉลากระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบ

ที่มา: thejapannews สรุปโดย: มกอช.

Food Law Update USA_FDA เผยแพร่คู่มือระเบียบ FSMA เพิ่มเติม

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เผยแพร่คู่มือ 3 ฉบับเพื่อสร้างความเข้าใจ ชี้แจงผลกระทบ และข้อยกเว้นของระเบียบย่อยว่าด้วยการควบคุมเชิงป้องกันภายใต้กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัย (FSMA) แก่ผู้ผลิตอาหารกระป๋องชนิดที่เป็นกรดต่ำ น้ำผลไม้ และอาหารทะเล ซึ่งได้รับข้อยกเว้นในการปฏิบัติหรือข้อยกเว้นบางส่วนเนื่องจากปฏิบัติอยู่ภายใต้หลักการ HACCP และ Low-Acid Canned Foods (LACF) ของ FDA ฉบับเดิม 
โดยผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :


 https://www.fda.gov/Food/NewsEvents/ConstituentUpdates/ucm569554.htm
ที่มา: fda.gov สรุปโดย: มกอช.

EU Food News_ยุโรปวุ่น ไข่ปนเปื้อน Fipronil กระจายหลายล้านฟองในหลายประเทศ

ยุโรปวุ่น ไข่ปนเปื้อน Fipronil กระจายหลายล้านฟองในหลายประเทศ
               ทั่วสหภาพยุโรปเรียกคืนไข่หลายล้านฟอง พร้อมป้องผู้บริโภคในประเทศ หลังเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมตรวจพบสาร Fipronil ปนเปื้อนในไข่ปริมาณสูง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน 2560 คาดปนเปื้อนจากการทำความสะอาดโรงเรือนและสถานที่
                      การตรวจพบสาร Fipronil ซึ่งห้ามใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกภายในสหภาพยุโรปตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายประเทศออกมาตรการปกป้องผู้บริโภค เช่น เบลเยียมสั่งระงับการขายและเก็บตัวอย่างไข่จากผู้ผลิตที่มีโอกาสปนเปื้อน แต่ยังคงไม่ได้เรียกคืนสินค้าจากท้องตลาดเนื่องจากมีระดับการปนเปื้อนต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนเนเธอร์แลนด์สั่งปิดฟาร์ม 180 แห่งพร้อมเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงให้เด็กบริโภคไข่จากฟาร์มอีกอย่างน้อย 27 แห่ง รวมทั้งให้คำแนะนำในการทวนสอบแหล่งที่มาของไข่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
                ด้านเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ประกาศเรียกคืนไข่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ออกจากท้องตลาด โดยเฉพาะเยอรมนีนั้นประเมินว่าอาจมีไข่ที่ปนเปื้อนถึง 10 ล้านฟองที่ถูกนำเข้ามายังประเทศ
                     อนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขในวงกว้าง
                     ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกจัดสาร Fipronil เป็นสารที่มีความเป็นพิษปานกลาง ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และเวียนศีรษะเมื่อได้รับในปริมาณสูง โดยหากได้รับในปริมาณที่สูงมากจะเป็นอันตรายต่อต่อมไทรอยด์ ไต และตับ แต่จะมีอันตรายสูงขึ้นในเด็ก โดยสามารถทำให้เด็กเกิดอาการป่วยได้แม้ว่าจะบริโภคไข่ที่ปนเปื้อนเพียง 2 ฟองเท่านั้น
 

ที่มา: foodnavigator.com สรุปโดย: มกอช

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Food Law Update EU_EU ประกาศแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับรายชื่อสารปรุงแต่งกลิ่นอาหารภายใต้ Union List

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2017/1250 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 แก้ไข Annex 1 ของกฎระเบียบ Regulation (EU) 1334/2008 เกี่ยวกับสารปรุงแต่งกลิ่นอาหาร (Flavouring substances) ในรายชื่อสารปรุงแต่งกลิ่นอาหารของสหภาพยุโรป (Union List) ซึ่งเป็นเอกสารที่รวบรวมรายชื่อและปริมาณของสารปรุงแต่งกลิ่นอาหารและสารตั้งต้นที่อนุญาตให้ใช้ได้ในอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA)
โดยการแก้ไขครั้งล่าสุดเป็นผลสืบเนื่องจากกรณีที่ EFSA ได้ดำเนินการทดลองตรวจสอบเพิ่มเติมและประเมินผลทางวิทยาศาสตร์ พบว่าสารปรุงแต่งกลิ่นอาหาร 4,5-epoxydec-2(trans)-enal (Fl No: 16.071) เป็นพิษต่อสารพันธุกรรม (genotoxicity) ในตับของหนูทดลองและก่อให้เกิดมะเร็ง จึงกำหนดให้ถอดรายชื่อสารดังกล่าวออกจากรายชื่อสารปรุงแต่งกลิ่นอาหารของสหภาพยุโรปทันที เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยของประชากร โดยกฎระเบียบฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าควรสำรวจว่าสินค้าอาหารของท่านมีส่วนผสมของสารปรุงแต่งกลิ่นอาหาร 4,5-epoxydec-2(trans)-enal (Fl No: 16.071) หรือไม่ เพื่อที่จะได้ปรับตัวตามกฎระเบียบและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้  ทั้งนี้ สารปรุงแต่งกลิ่นอาหารดังกล่าว มักถูกนำไปใช้ในสินค้าที่ผลิตจากนม น้ำแข็ง เนื้อสัตว์ รวมถึงสินค้าที่มีส่วนผสมจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เป็นต้น อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ เครื่องเทศ ซุป และซอสปรุงรสต่างๆ (อ้างอิงข้อมูลจาก Institute of Food Science and Technology: IFST)
 Milk
ผู้อ่านที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวเพิ่มเติมได้จาก
http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:32017R1250
และสามารถดาวโหลดรายงานผลการตรวจสอบฉบับเต็มจาก EFSA ได้ที่
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.2903/j.efsa.2017.4847/epdf

เรียบเรียงโดยทีมงาน Thaieurope.net
คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update EU_EU ประกาศระเบียบอนุมัติการใช้ Lecithins เป็นวัตถุเสริมในอาหารสำหรับสัตว์ทุกชนิด

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 EU ได้ประกาศระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/1007 อนุมัติให้ใช้ Lecithins เป็นวัตถุดิบเสริมในอาหารสำหรับสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากพบว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 6 กรกฎาคม 2560 และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 กรกฎาคม 2570
 EU ได้อนุมัติให้สามารถใช้ Lecithins ได้ในระดับ 100 – 1,500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งหมด โดยมีระยะการปรับเปลี่ยน ดังต่อไปนี้
1. การใช้ Lecithins ในสินค้าอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ที่ผสมไว้ล่วงหน้า (premixtures) ซึ่งมีการผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 6 มกราคม 2561 ตามระเบียบเดิม ยังสามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้จนกว่าสินค้าจะหมด
2. อาหารสัตว์ผสม (compound feed) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่มีส่วนผสมของ Lecithins ซึ่งมีการผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 6 มกราคม 2561 ตามระเบียบเดิม ยังสามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้จนกว่าสินค้าจะหมด หากสินค้านั้นเป็นสินค้าสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์เท่านั้น (food-producing animals)
3. อาหารสัตว์ (compound feed) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่มีส่วนผสมของ Lecithins ซึ่งมีการผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 6 มกราคม 2562 ตามระเบียบเดิม ยังสามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้จนกว่าสินค้าจะหมด หากสินค้านั้นไม่ใช่สินค้าสำหรับการใช้เลี้ยงสัตว์ที่ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคของมนุษย์เท่านั้น (food-producing animals)

สนับสนุนข้อมูลโดยสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงบรัสเซลส์

Food Law Update_THDOF

ไปดาวน์โหลดตาม link นี้นะคะ

1. ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ําหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําเพื่อการบริโภคไปสหภาพยุโรป 19/6/2560

2 ประกาศกรมประมง เรื่อง การส่งออกสัตว์น้ําหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําเพื่อการบริโภคไปนอกราชอาณาจักร 
    ยกเว้นส่งออกไปสหภาพยุโรป 19/6/2560

มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีสินค้าแช่เย็นแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง (LOT BY LOT) 
up 1/4/60
3. AUS

4. korea

5. taiwan

6. usa

7. vietnam 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีสำหรับสินค้าสิทธิพิเศษ UP 1/4/60

8. Frozen Fishery Product 

9. Canned Fishery Product 

10. Traditional Fishery Product 

11.  CHEMICAL REFERENCE CRITERIA FOR FROZEN FISHERY PRODUCTS