วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

USA Food News_US ผลักดันนานาชาติต่อสู้ IUU

สหรัฐฯผลักดันนานาชาติต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมายด้วยการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

           เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำองค์การสหประชาชาติกรุงโรม แถลงว่าผู้อำนวยการใหญ่ FAOได้ให้สัตยาบรรณร่วมในข้อตกลงด้านมาตรการเมืองท่า(Port State Measures)เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทําประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม(Illegal, Unreported and Unregulated(IUU)Fishing)ซึ่งมาตรการเมืองท่าจะมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อตรวจสอบเรือประมงต่างชาติที่ต้องการเทียบท่า โดยสามารถกีดกันเรือประมงที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมายจึงทำให้สามารถป้องกันการนำเข้าสัตว์น้ำที่ได้จากการประมงผิดกฎหมายเข้าสู่ตลาดภายในประเทศ ซึ่งการประมงที่ผิดกฎหมายนั้นรวมถึงการดำเนินการที่ไม่ได้รับอนุญาต การจับสัตว์น้ำคุ้มครอง การใช้อุปกรณ์ประมงผิดกฎหมาย และการจับสัตว์น้ำเกินปริมาณที่กำหนดซึ่งคิดเป็นปริมาณ26ล้านตัน หรือ15%ของปริมาณการจับสัตว์น้ำทั่วโลกต่อปี

           ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อ25ประเทศหรือกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศของFAOโดยล่าสุดมี22ประเทศยินยอมปฏิบัติตาม(21ประเทศและสหภาพยุโรป)ซึ่งมีหมู่เกาะบาเบโดสเกาหลีใต้และแอฟริกาใต้เป็นประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมใน22ประเทศด้วย

           นอกจากนี้ ผู้อำนวยการใหญ่ FAO กล่าวว่าหลายประเทศทั่วโลกมีความสนใจในการเข้าร่วมข้อตกลงข้างต้นและคาดว่าจะบรรลุเป้าหมาย25ประเทศในเดือนกรกฎาคม 2559
 
 
 
ที่มา: thefishsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

EU Food News_มติ EC ใช้แผนปฏิบัติการทางประมงกับเนเธอร์แลนด์

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ลงมตินำแผนปฏิบัติการทางประมงมาใช้กับเนเธอร์แลนด์ เพื่อส่งเสริมการควบคุมการทำประมง โดยประกอบด้วยมาตรการที่ตกลงร่วมกันระหว่าง EC และเจ้าหน้าที่ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งคล้ายกับแผนปฏิบัติการที่นำไปใช้ในสวีเดน ฟินแลนด์ และลิทัวเนีย ในปี 2558

                แผนปฏิบัติการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลทางประมงของเนเธอร์แลนด์ เกี่ยวกับการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ ซึ่งจะส่งผลให้การติดตามตรวจสอบการจับสัตว์น้ำของชาวประมงเนเธอร์แลนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยมีการพัฒนาระบบบันทึกและรายงานการจับสัตว์น้ำบนเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่านโยบายควบคุมการทำประมงของสหภาพยุโรปมีความถูกต้องสมบูรณ์

                ชาวประมงเนเธอร์แลนด์จะได้รับประโยชน์จากแผนปฎิบัติการดังกล่าว ที่จะยุติการทำประมงผิดกฎหมายและไม่มีการรายงาน นอกจากนี้ การบังคับใช้ระบบตรวจสอบติดตามการจับสัตว์น้ำที่ดีขึ้นจะส่งผลให้มีปลาในสต็อกมากขึ้นและให้ผลตอบแทนกับชาวประมงที่ทำการประมงอย่างถูกกฎหมาย



ที่มา: thefishsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

USA Food News_USDA ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์ส่งออกสินค้าปลากลุ่ม silurformes


ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง

Thai_Food Law Update : LIST OF APPROVED ESTABLISHMENTS by DOF

มี่รายการ UPDATE จากปลายปีที่แล้วหลายรายการ ไปดาวน์โหลด เก็บข้อมูลไว้และประชุมทีมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องนะคะ

ตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เวบไซต์กรมประมงค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

Thai Food News_เกษตร เกษตรร่วมมือ 7 ประเทศ เร่งแก้ปัญหา IUU

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกมาเปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการด้านความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) ตามข้อกำหนด ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ EU ล่าสุดได้มีการดำเนินการแล้วใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี สเปน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิจิ จีน โดยมีการยกร่าง (MOU) และจัดทำข้อตกลงการปฎิบัติความร่วมมือเฉพาะด้าน (AI) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUUF) พร้อมส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมการค้าสินค้าประมงระหว่างกัน

                ล่าสุดประเทศสเปนมีความต้องการที่จะมีความร่วมมือด้านประมงกับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบการติดตามตำแหน่ง (VMS) ของไทย โดยกรมประมงได้ยกร่าง MOU ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงเกษตร อาหารและสิ่งแวดล้อมของสเปน ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยพิจารณถ้อยคำและข้อกฎหมาย และจะเดินทางไปหารือดูงานที่สเปนในเดือนมีนาคมนี้

 

ที่มา :  naewna.com : สรุปโดย (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

China Food News_CFDA ประกาศข้อกำหนดใหม่ในการตั้งชื่ออาหารเพื่อสุขภาพ

 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งชาติจีน (China Food and Drug Administration: CFDA) ประกาศรายละเอียดข้อกำหนดใหม่ในการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ โดยห้ามตั้งชื่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่บ่งชี้ถึงสารอาหารที่มีหน้าที่ทางกายภาพ (Physiological funcetions) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559

                ทั้งนี้ จะมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับผู้ประกอบการบางรายที่ยังไม่ทำตามข้อกำหนดดังกล่าว โดยจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เดิมควบคู่ไปกับชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งขนาดของตัวอักษรชื่อผลิตภัณฑ์เดิมจะต้องไม่มีขนาดเกินครึ่งหนึ่งของชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ และชื่อผลิตภัณฑ์เดิมจะต้องไม่แสดงบนบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560
 



ที่มา: food.chemlinked (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

USA Food News_US เข้มงวดแรงงานทาสผิดกฎหมาย

 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 ประธานาธิบดีโอบามาได้ลงนามในกฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement Act ค.ศ 2015 ในการบังคับห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานทาศหรือแรงงานผิดกฎหมาย และยังมีผลบังคับใช้กับสินค้าที่เข้าสู่สหรัฐฯ จากทุกประเทศ โดยสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ กุ้ง ปลา น้ำตาลจากอ้อย ซึ่งอยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ

                ทั้งนี้กฎหมายฉบับเดิม คือกฎหมาย Tariff Act 1930 ได้ให้อำนาจ CBP (Customs and Border Protection) ในการยึดสินค้าที่สงสัยว่าได้จากแรงงานบังคับ (Forced Labor/Debt Bondage) และห้ามนำเข้าอีกในอนาคต ยกเว้นหากสินค้านั้นไม่เพียงพอต่อการบริโภคในสหรัฐฯ (Cunsumption Demand) ซึ่งการลงนามในกฎหมาย Trade Facilitation and Trade Enforcement Act ค.ศ 2015 เป็นการยกเลิกข้อยกเว้นดังกล่าว และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ บังคับใช้กฎหมายได้อย่างเข้มงวดขึ้น โดยกระบวนการสืบสวนจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อได้รับคำร้องจากบุคคล ภาคธุรกิจ หน่วยงาน หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่ชาวสหรัฐฯ ว่าสินค้าที่นำเข้ามีส่วนหนึ่งส่วนใดมาจากแรงงานบังคับ

               อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในไทยที่ไม่ได้ใช้แรงงานผิดกฎหมายและมีกระบวนการผลิตที่โปร่งใสตรวจสอบได้ เพราะจะทำให้สินค้าไทยสามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้เสมือนได้รับการประกันว่าปราศจากปัญหาเรื่องแรงงาน และจะเป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน 10 วันหลังจากการลงนาม (วันที่ 10 มีนาคม 2559)
 
 
 


ที่มา :  สรุปโดย (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

China Food News_จีนตื่นตัว การผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบันกระแสเกษตรอินทรีย์ (Organic) เป็นกระแสที่กำลังมาแรงทั่วโลก เนื่องจากผู้คนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพร่างกายของตนเอง ใส่ใจในรายละเอียดคุณภาพอาหารและคุณภาพชีวิตมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สินค้าอินทรีย์รวมทั้งอาหารเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

           ในประเทศจีนอาหารเกษตรอินทรีย์พึ่งได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศจีนเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของอาหารที่วางจำหน่าย  รัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการควบคุมเรื่องมาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศจีนอย่างเข้มงวด รวมถึงสินค้าอาหารออร์แกนิคด้วย โดยมีการปรับปรุงแก้ไขทั้งข้อกำหนด มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ (China National Organic Product Standard) และกฎระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบรับรอง รวมทั้งการออกมากระตุ้นส่งเสริมเกษตรกรภายในประเทศมีการผลิตสินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมากขึ้นโดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบคือ China Organic Food Certification Center (COFCC) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Ministry of Agriculture of P.R. China) ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ผ่านการตรวจสอบแล้ว จะสามารถแสดงฉลากว่าเป็นสินค้าที่ผลิตจากเกษตรอินทรีย์ได้ โดยผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะต้องมีกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรับรองที่กำหนด เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยก็มีการรับรองมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรและผู้ผลิต โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่นกัน

           อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกอบการในประเทศไทยมีความประสงค์จะทำการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปยังประเทศจีน จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบการการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพ คือ China Organic Food Development Center (COFDC) ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมธิการถาวรเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (EU Standing Committee on Organic Farming: SCOF) ว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้ตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบทัดเทียมกัน ตามเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรป จึงจะนำสินค้ามาวางจำหน่ายภายในประเทศจีนได้
 
 
ที่มา : foodlaw-detail : สรุปโดย (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

Vietnam Food News _FTA เกาหลีใต้-เวียดนามเอื้อการค้ากุ้งเวียดนาม & เวียดนามครองอันดับ 1 ส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่น

เวียดนามครองอันดับ 1 ส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่น
            จากข้อมูลของศูนย์การค้าโลก (The World Trade Center) พบว่าในปี 2558 ปริมาณการนำเข้ากุ้งของญี่ปุ่นทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 213,700 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีปริมาณลดลงจากปี 2557 4% มูลค่าลดลง 18% เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจ ค่าเงินเยนลดลง และการนำเข้าสินค้ามีราคาสูง ราคาเฉลี่ยของกุ้งนำเข้าในตลาดญี่ปุ่นลดลง 14.5% เหลือกิโลกรัมละ 10.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยกุ้งนำเข้าจากเวียดนามมีราคาสูงในบรรดาผู้ส่งออกกุ้งหลักในตลาดญี่ปุ่น เฉลี่ยประมาณกิโลกรัมละ 11.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ และกุ้งจากจีนมีราคาต่ำสุดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9 ดอลลาร์สหรัฐฯ

             โดย ในปี 2558 เวียดนามยังคงเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 สู่ญี่ปุ่น คิดเป็น 25% ของการนำเข้ากุ้งทั้งหมดของญี่ปุ่น โดยประเทศไทยเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 16.6% อินโดนีเซียและอินเดียเป็นอันดับที่ 3 และ 4 คิดเป็น 16% และ 13.3% ตามลำดับ ทั้งนี้ กุ้งจากเวียดนาม ไทย และจีน มีปริมาณการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลงทั้งด้านมูลค่าและปริมาณเมื่อเทียบกับปี 2556 ในขณะที่กุ้งจากอินโดนีเซียและอินเดีย มีมูลค่าลดลงแต่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจทำให้ผู้นำเข้าสั่งสินค้าที่มีราคาถูกกว่า

              อย่างไรก็ตามในปี 2559 ธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่นวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่า ปริมาณการนำเข้ากุ้งน่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
 
 FTA เกาหลีใต้-เวียดนามเอื้อการค้ากุ้งเวียดนาม

 อาหารทะเลเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าเสรีระหว่างเกาหลีใต้และเวียดนาม ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2558 ส่งผลให้สินค้ากุ้งจำนวน 7 รายการ ถูกยกเลิกภาษี และเกาหลีใต้ยังให้โควตาแก่เวียดนามในการส่งออกกุ้งสู่เกาหลีใต้ปริมาณ 10,000 ตัน ในปี 2559 และเพิ่มเป็น 15,000 ตัน ในอีก 5 ปี ด้วยภาษีการนำเข้า-ส่งออก 0% ซึ่งเกาหลีใต้ให้โควตาแก่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนปริมาณ 5,000 ตันเท่านั้น
             
             มีคาดการณ์ว่าในอนาคตอาหารทะเลส่วนมากในตลาดเกาหลีใต้จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากเวียดนาม ด้วยข้อได้เปรียบต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าต่ำกว่าบางประเทศคู่แข่ง (ประเทศในทวีปอเมริกาใต้) ทั้งนี้การยกเลิกภาษีจะทำให้ราคาอาหารทะเลจากเวียดนามในตลาดเกาหลีใต้มีราคาถูกลงกว่าเดิม ส่งผลให้ปริมาณผู้บริโภคเพิ่มตามไปด้วย
             
              นอกจากสินค้ากุ้งแล้ว เวียดนามยังเป็นผู้ส่งออกหมึกที่ใหญ่ที่สุดแก่เกาหลีใต้ มีปริมาณคิดเป็น 38% ของการนำเข้าหมึกทั้งหมดของเกาหลีใต้


ที่มา: thefishsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

Japan Food News_กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุง แก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 การทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น สรุปสาระสำคัญได้ของการปรับแก้ไข ดังนี้

               1. พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร และยาที่ใช้กับสัตว์ รวม 7 รายการ ได้แก่

                   1.1. สาร Acetochlor (pesticide: herbicide) ไม่อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น โดยพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่อหอมหัวใหญ่ ถั่วแระ ฯลฯ
                    1.2. สาร Bendiocarb (pesticide: insecticide) ไม่อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น โดยพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรเกือบทุกรายการ ยกเว้นกล้วย
                    1.3. สาร Benthiavalicarb-isopropyl (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับพืชตระกูลส้มและเครื่องเทศ
                    1.4. สาร Diethofencarb (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่ข้าวสาลีและใบชา ทำการพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรส่งออกของไทย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย สับปะรด มะม่วง เครื่องเทศ ฯลฯ
                    1.5. สาร Tepraloxydim (pesticide: herbicide)  อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรส่งออกของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ขิง กล้วย สับปะรด มะม่วง เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ฯลฯ
                    1.6. สาร Trifloxystrobin (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับพืชตระกูลส้ม เครื่องเทศ และผลบลูเบอรี่
                    1.7. สาร Ceftiofur (veterinary drug: antibiotic)  เป็นยาที่ใช้กับสัตว์ อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานใหม่ซึ่งเป็นผลมากการวิจัยพัฒนาประสิมธิภาพของตัวยา โดยผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้ว แต่มีข้อระวัง คือ กฎหมายญี่ปุ่นห้ามมีการตกค้างของสารนี้ในอาหารทุกรายการ ยกเว้น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จำนวน 16 รายการ

                2. พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานและขึ้นทะเบียนสารปรุงแต่งอาหาร รวม 3 รายการ ได้แก่

                    2.1. ปรับปรุงมาตรฐานการใช้สาร Peracetic acid composition ซึ่งเป็นสารในการฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชผัก ผลไม้และอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยพิจารณาเห็นควรกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมก่อนการอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในญี่ปุ่น มีการจำกัดปริมาณการใช้ คุณสมบัติทางเคมีและส่วนประกอบของสารผสมดังกล่าว
                    2.2. ขึ้นทะเบียนสาร Hypobromous Acid Water โดยจำกัดให้ใช้ได้เฉพาะกับการฆ่าเชื้อบนผิวเนื้อสัตว์เท่านั้น มีการจำกัดปริมาณการใช้ คุณสมบัติทางเคมี
                    2.3. ปรับปรุงมาตรฐานการใช้สาร Sodium Chlorite โดยพิจารณาเห็นควรอนุญาตให้ใช้ได้กับเนื้อสัตว์เพิ่มเติม และปรับแก้มาตรฐานเกี่ยวกับปริมาณและวิธีการใช้สารปรุงแต่งดังกล่าวด้วย
                    ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นต่อการปรับแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง รวมทั้งระดับ MRL ที่กำหนดใหม่ (เฉพาะมาตรฐานที่มีความเข้มงวดขึ้น) ถึงกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 หากพ้นกำหนดสามารถส่งข้อคิดเห็นได้ทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS Agreement ต่อไป

          สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [ เอกสารเพิ่มเติม ]
 
 

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) 

Indonesia Food News_อินโดนีเซียปรับกฎระเบียบการจัดทำความยอมรับร่วม

           หลังจากอินโดนีเซียได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมการนำเข้าพืชสวนของอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ล่าสุดกระทรวงเกษตรอินโดนีเซียปรับปรุงกฎระเบียบการจัดทำความยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement)  โดยผนวกการจัดทำการยอมรับด้านห้องปฏิบัติการ (Recognized Laboratory) เข้าไปด้วย และมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร ซึ่งกำหนดให้ประเทศใดที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถส่งออกสินค้าประเภทพืช ผัก ผลไม้สด จำนวน 103 ชนิด ไปยังอินโดนีเซียได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559  

           กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียประกาศรับรองการขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการของไทย ทั้งหมด 9 แห่ง และอนุญาตให้ดำเนินการได้เป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ออกประกาศ ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวสามารถออกใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง (Certificate of Analysis) จำนวน 25 รายงาน สำหรับพืช ผัก ผลไม้ที่ส่งออกจากไทยไปอินโดนีเซียได้ ซึ่งรายชื่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากอินโดนีเซีย ได้แก่
           1. Central Laboratory (Thailand) Bangkok
           2. Central Laboratory (Thailand) Chachengsao
           3. Central Laboratory (Thailand) Chiang Mai
           4. SGS (Thailand)
           5. ALS Laboratory Group (Thailand)
           6. National Food Institute Thailand
           7. TUV SUD (Thailand) Co. Ltd.
           8. Thai Agri Food Public Co. Ltd.
           9. Oversea Merchandise Inspection Co. Ltd.

             ทั้งนี้สินค้าพืชสวนหลักของไทยทื่ส่งออกไปอินโดนีเซียต้องดำเนินการตรวจวิเคราะห์รายการสารตกค้างมี 8 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง แคนตาลูป หอมแดง ข้าว และพริก
สามารถศึกษารายละเอียดรายการสารตกค้างที่ต้องตรวจวิเคราะได้ที่: เอกสารเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เบอร์โทร 02-561-2277 ต่อ 1331
 
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [ เอกสารเพิ่มเติม ]
 
 
ที่มา : สรุปโดย (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

EU Food News_EU ระงับการใช้สารปรุงแต่งกลิ่น 5 ชนิด_(EU) 2016/129

             เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559  คณะกรรมาธิการยุโรปออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2016/129 ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex I ของ Regulation (EC) No 1334/2008) เรื่องกำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (Union list) ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อระงับการใช้สารซึ่งเคยอนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นได้ (flavouring substance) จำนวน 5 รายการ ดังนี้
                 1. Vetiverol
                 2. Vetiveryl acetate
                 3. Methyl-2-mercaptopropionate
                 4. 2-Acetyl-1,4,5,6-tetrahydropyridin
                 5. 2-Propionyl pyrroline 1 % vegetable oil triglycerides

             กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลทางกฎหมายในวันที่ 1 มีนาคม 2559 หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal ทั้งนี้ สินค้าที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปหรือมีการติดฉลาก 6 เดือน ก่อนกฎระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ (date of minimum durability or use by date)
            สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:32016R0178
 
 
 
ที่มา: compliancecloud.selerant (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)(7/03/59)

Japan Food News_ญี่ปุ่นแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า

ญี่ปุ่นประกาศกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้าลงในพระราชกิจจานุเบกษา โดยเพิ่มรายชื่อโรคระบาดในสัตว์น้ำเข้าอีก 13 โรค ที่จะต้องควบคุมและตรวจกักกันที่ด่านนำเข้าของประเทศญี่ปุ่น
             เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศปรับปรุงแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า (Act on Protection of fishery Resources) จำนวน 13 โรค รวมเป็น 24 โรค ขณะนี้ มกอช. ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ปรำกรุงโตเกียว ว่ากฎหมายดังกล่าวได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือน ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป จึงขอให้ผู้ที่ประสงค์จะส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิตไปญี่ปุ่นต้องขอใบรับรองกำกับสัตว์น้ำ (Inspection Certificate) ที่ออกโดยกรมประมงไทยแนบไปพร้อมกับการส่งออกทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถูกกักกันสินค้าที่ด่านนำเข้าญี่ปุ่น ทั้งนี้โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นประกาศเพิ่มอีก 13 โรค มีดังนี้
             1. Infection with salmonid alphavirus
             2. Whirling disease
             3. Glugeosis of red sea bream
             4. Necrotising hepatopancreatitis : NHP
             5. Acute hepatopancreatic necrosis disease: AHPND
             6. Infectious myonecrosis: IMN
             7. Covert mortality disease of shrimp: CMD
             8. Gill-associated virus disease
             9. Infection with abalone herpesvirus
           10. Pustule disease of abalone/Blister disease of abalone (caused by Vibrio furnissii (= V. fluvialis biotype II))
           11. Infection with ostreid herpesvirus 1 microvariants
           12. Infection with Perkinsus qugwadi
           13. Soft tunic syndrome

              ดังนั้นขณะนี้ โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นต้องตรวจกักกันก่อนนำเข้า รวมทั้งสิ้น 24 โรค โดยกลุ่มสัตว์น้ำที่ต้องตรวจกักกันมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. สัตว์น้ำมีชีวิตที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ และสัตว์น้ำวัยอ่อนที่นำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพาะเลี้ยง แต่ไม่รวมถึงสัตว์น้ำที่ทำให้ตายทันทีเพื่อการบริโภค และ 2. สัตว์น้ำที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อและสอบถามได้ที่ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร 02 – 561 2277 ต่อ 1324 และ 1328
               สามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังได้ที่: http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=13097&ntype=07
 
 
 
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

USA Food News_ สหรัฐฯ ออกมาตรฐานใหม่ป้องกันโรคสินค้าปศุสัตว์

Food Safety and Inspection Service (FSIS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ประกาศมาตรฐานผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ฉบับใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella และ Campylobacter ในผลิตภัณฑ์เนื้อไก่บดและเนื้อไก่งวงบด รวมทั้งอกไก่ดิบ ขาไก่ดิบ และปีกไก่ดิบ

           มาตรฐานฉบับใหม่นี้ ได้พัฒนาข้อกำหนดการทดสอบกระบวนการผลิตให้ดีขึ้นพร้อมกับการสร้างความโปร่งใสด้านความปลอดภัยอาหารของสถานประกอบการ โดยคาดว่าภายในปี 2563 จะช่วยป้องกันโรคติดต่อจากการบริโภคอาหาร (food borne illnesses) ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 FSIS จะใช้มาตรฐานดังกล่าวสำหรับประเมินการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอาหารของสถานประกอบการที่ผลิตเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก โดยการสุ่มตรวจกระบวนการผลิตของสถานประกอบการเป็นประจำตลอดปี โดยเริ่มดำเนินการในปี 2559 เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีกที่ปลอดภัยและไร้การปนเปื้อน 

 
ที่มา: thepoultrysite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.usda.gov/wps/portal/usda/usdamediafb?contentid=2016/02/0032.xml&printable=true&contentidonly=true

ประกาศกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับเมล็ดถั่วลิสง


ประกาศกฎกระทรวงเรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับ
เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาท๊อกซินเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ.2558
มีผลบังคับใช้ 6 มกราคม 2560




EU Food News_ผลการประชุมคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปด้านการเกษตรและการประมง


เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2559 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปด้านการเกษตรและการประมง (Agriculture and Fisheries Council) ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับนโยบายและข้อเสนอต่างๆ ด้านการเกษตรและการประมง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้


1. นโยบายด้านการเกษตรและการประมง ในช่วงที่เนเธอร์แลนด์ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

1.1 นโยบายด้านการเกษตร
- เริ่มกระบวนการหารือเกี่ยวกับนโยบายเกษตรร่วม (Common Agricultural Policy: CAP) หลังปี 2563 โดยเฉพาะการส่งเสริมนวัตกรรมด้านการเกษตร การผลิตที่ยั่งยืน รวมถึงนโยบายด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- ปรับปรุงนโยบายเกษตรร่วมให้ง่ายขึ้น โดยการลดกฎระเบียบที่สร้างภาระแก่เกษตรกร และยกเลิกขั้นตอนที่ทำให้เกิดความล่าช้าในประเทศสมาชิก
- ติดตามสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสาขาที่ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ เช่น โคนมและสุกร
- เร่งเจรจาเพื่อหาข้อสรุปกับรัฐสภายุโรปเกี่ยวกับนโยบายด้านการเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming)
- ส่งเสริมบทบาทของผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิ (primary producer) ในห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตามข้อเสนอของ Agricultural Markets Task Force
1.2 นโยบายด้านการประมง
- สนับสนุนการทำประมงอย่างยั่งยืนตามกรอบนโยบายประมงร่วม (Common Fisheries Policy: CFP) ปี 2557 – 2563 ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่
- เร่งเจรจาเพื่อหาข้อสรุปเรื่องแผนการจัดการด้านการประมงแบบต่อเนื่องหลายปี (Multiannual plan) เพื่อการบริหารจัดการสต็อกปลาอย่างยั่งยืนในทะเลบอลติก
- เร่งเจรจาเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบการจับปลาน้ำลึก และระเบียบการเก็บข้อมูล (Data Collection Regulation)
- เสนอท่าทีร่วมของคณะมนตรีฯ ในประเด็นการบริหารจัดการเรือประมงภายนอก (External fishing fleets)

 2. ข้อเสนอเรื่องการบริหารจัดการเรือประมงภายนอก/เรือประมงของประเทศที่สาม
 2.1 ทปช. รับฟังการบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอการบริหารจัดการเรือประมงภายนอกอย่างยั่งยืนของ กมธ. ยุโรป โดยข้อเสนอดังกล่าวจะมีผลเป็นการยกเลิกกฎระเบียบ 1006/2008 เรื่องการอนุญาตให้เรือประมง EU ทำประมงนอกน่านน้ำ EU และการอนุญาตเรือประมงภายนอก EU ทำประมงในน่านน้ำ EU โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการการอนุญาตให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
2.2 ทปช. สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวรวมทั้งประโยชน์ของข้อเสนอในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย อย่างไรก็ดี บางประเทศสมาชิกยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับภาระการดำเนินการตามขั้นตอนที่มีความซับซ้อน ความสอดคล้องกับกฎระเบียบอื่นๆ และผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจจาก กมธ. ยุโรปในการยกเลิกใบอนุญาตทำประมง
2.3 ปัจจุบัน รัฐสภายุโรปยังไม่ได้เริ่มหารือเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าว และประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปประสงค์จะหาข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวให้ได้ภายในครึ่งหลังของสมัยการประชุมปัจจุบัน

3. ข้อเสนอเรื่องสวัสดิภาพสัตว์
3.1 ทปช. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเอกสารท่าทีเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ ที่เยอรมนี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ร่วมกันจัดทำเพื่อเสนอตั้งกรอบการหารือเรื่องนี้ในระดับ EU
3.2 เอกสารดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมระดับ รมต. ระหว่างเดนมาร์ก เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2557 ซึ่งย้ำความจำเป็นที่ EU จะคงบทบาทนำของโลกในประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ภายหลังจากที่นโยบายการคุ้มครองสัตว์และสวัสดิภาพสัตว์หมดอายุลงเมื่อปลายปี 2558 โดยเสนอให้มีการตั้งกรอบการหารือเรื่องนี้ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.3 ข้อเสนอดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี
- ประชาสัมพันธ์ข้อริเริ่มต่างๆ ในการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
- ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ
- แสวงหาแนวทางปฏิบัติที่ดีของประเทศสมาชิก
- สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนความรู้/ข้อมูลด้านการวิจัยและการพัฒนา
- ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น
- หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ EU ใน บรรจุภัณฑ์เนื้อ PE- Polyethylene

- มาตรฐานสิ่งที่ต้องตรวจ สิ่งที่ต้องตรวจ
1. Lead(ตะกั่ว)                                                    
2. Cadmium (แคดเมียม)                  
3. Mercury (ปรอท)              
4. Chromium VI                      
   รวมกัน 4 รายการ  < 100  ppm(mg/dm3)

- มาตรฐานการแพร่กระจาย สิ่งที่ต้องตรวจ 
1.สารตกค้างที่ระเหยได้ในน้ำ(Distilled water)      
2.สารตกค้างที่ระเหยได้ในกรด(3% acetic acid)
3.สารตกค้างที่ระเหยได้ในแอลกอฮอล์
4. สารตกค้างที่ระเหยได้ในน้ำมัน(Olive oil)

 รายการ  ละ ไม่เกิน 60  ppm(mg/dm3)

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

Russia Food Law _ List หลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของรัสเซีย

ถ้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไป รัสเซีย อย่าลืมมีรายการเกณฑ์การนำเข้าส่งออกตามนี้เป็นข้อมูลนะคะ

EU Food News_วิเคราะห์สถานการณ์สินค้าเกษตรไทยใน EU และโอกาสในอนาคต

วิเคราะห์สถานการณ์สินค้าเกษตรไทยในสหภาพยุโรปและโอกาสทางการตลาดของสินค้าเกษตรไทยในสหภาพยุโรป
๑.    สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไปตลาด EU  ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ย. ๕๘ ไทยส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไป EU รวมทั้งหมด ๓,๑๖๘.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๔๙๐ ล้านเหรียญสหรัฐหรือ -๑๓.๔% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน หน้า) แบ่งเป็น สินค้าเกษตรกรรม (๕๖%) และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (๔๔%) โดย EU เป็นตลาด ส่งออกที่สำคัญอันดับ ๔ ของไทย (รองจากอาเซียน ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา)
       -     สินค้าเกษตกรรมที่สำคัญ (ไม่รวมยาพารา) ได้แก่ ไก่แปรรูป ,ข้าว, เนื้อและส่วนต่างๆของ สัตว์ที่บริโภคได้, ปลาหมึกสด แช่เย็น แช่แข็ง โดยมูลค่าการส่งออกลดลงเกือบทุกรายการเทียบกับปีก่อน หน้า (ยกเว้น เนื้อและส่วนต่างๆของสัตว์ที่บริโภคได้)
      -      สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป, ผลไม้กระป๋อง/ แปรรูป, อาหารสัตว์เลี้ยง, ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ, สิ่งปรุงรสอาหาร, เนื้อสัตว์และ ของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ เฉพาะผลไม้กระป๋องและอาหารสัตว์เลี้ยงเท่านั้นที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่เหลืออื่นๆมีมูลค่าการส่งออกลดลงเทียบกับปีก่อนหน้า
๒.    สินค้าที่ไทยขายอยู่แล้วและควรหาทางขยายตลาดเพิ่ม[1]
      ๒.๑  ไก่แปรรูป เป็นสินค้าที่สร้างรายได้มากที่สุดทุกปี ในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๒๕๕๘  EU นำเข้าไก่แปรรูปจากไทยราว ๑๕๐,๐๐๐ ตันหรือ ๕๖% เทียบกับปริมาณการนำเข้าไก่แปรรูปจากประเทศที่ สามทั้งหมด โดยไทยเป็นแหล่งนำเข้าไก่แปรรูปที่สำคัญที่สุด (รองลงมา คือ การนำเข้าจากบราซิล​ ๑๐๔,๐๐๐ ตันหรือ ๓๙% เทียบกับปริมาณการนำเข้าไก่แปรรูปจากประเทศที่สามทั้งหมด)
             แม้ว่าไทยจะเป็นผู้ผลิตและส่งออกไก่แปรรูปที่มีศักยภาพสูงในตลาดโลก แต่การส่งออกไป EU ถูกจำกัดด้วยโควตา โดย EU จัดสรรโควตาไก่แปรรูปให้ไทย  ๑๖๐,๐๓๓ ตัน/ปี ซึ่งเสียภาษีนำเข้าที่อัตรา ๘% ส่วนปริมาณที่เกินกว่านั้นจะต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง ๑,๐๒๔ ยูโร/ตัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาด แต่ในอนาคตหากไทยสามารถเจรจาต่อรองให้ทาง EU เพิ่มโควตาให้กับไทยหรือประสบความสำเร็จในการ เจรจา FTA กับ EU ก็มีโอกาสที่ไทยจะขยายการส่งออกไก่แปรรูปไป EU ได้เพิ่มขึ้นอีก
     ๒.๒  อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป  สินค้าที่สำคัญในกลุ่มนี้ คือ ทูน่ากระป๋อง ซึ่งเป็น อาหารทะเลที่ชาว EU นิยมบริโภคมากที่สุด โดย EU ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศที่สามทั้งในรูปแบบ วัตถุดิบทูน่าและผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องสำเร็จรูป ความต้องการบริโภคทูน่ากระป๋องใน EU มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคมองว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ไทยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ เอกวาดอร์ มอริเชียส ซีเชลล์และโกตติวัวร์  ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับการยกเว้นภาษี ทำให้มีความได้เปรียบในการส่งไปจำหน่ายใน EU มากกว่าไทย
            ในปีที่ผ่านมาแม้ EU นำเข้าทูน่ากระป๋องจากไทยลดลงเกือบ ๓๐% แต่ก็ยังเป็นสินค้าส่งออก หลักของไทย ในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๒๕๕๘ EU นำเข้าทูน่ากระป๋องจากไทย ๓๘,๗๐๐ ตันหรือ เป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับ ๔ (ลดลงจาก ๕๒,๗๐๐ ตันหรืออันดับที่ ๒​ ในปีก่อนหน้า)  โดยไทยสูญเสีย ส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศมอริเชียสที่ได้รับการยกเว้นภาษีและฟิลิปปินส์ที่ได้รับสิทธิ GSP+ ทำให้ทูน่า กระป๋องจากฟิลิปปินส์ถูกเก็บภาษี 0%  สำหรับประเทศไทยสูญเสียสิทธิ GSP ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค. ๕๘   ทำให้ ทูน่ากระป๋องจากไทยถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าสูงถึง ๒๔% ยิ่งไปกว่านั้น ในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมประมงไทย ถูกโจมตีเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย แรงงานทาสและ IUU fishing ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หากไทยยังไม่รีบ แก้ไข EU ก็อาจหันไปนำเข้าทูน่ากระป๋องจากคู่แข่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือ EU อาจสั่งระงับการนำเข้าจากไทยได้
     ๒.๓  ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสับปะรดกระป๋องที่สำคัญอันดับ ๑ ของ EU ส่วนใหญ่นำเข้าโดยประเทศเยอรมนี แม้ว่าปี ๒๕๕๘ ไทยจะสูญเสีย GSP ทำให้สับปะรดกระป๋องที่นำเข้า จากไทยต้องเสียภาษีสูงถึง ๒๕.๖% แต่ไทยก็ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๒๕๕๘ EU นำเข้าสับปะรดกระป๋องจากไทย ๑๐๘,๐๐๐ ตัน (ทิ้งห่างคู่แข่งอื่นๆมาก ได้แก่ EU นำเข้าจาก อินโดนีเซีย ๕๒,๐๐๐ ตัน เคนยา ๔๒,๐๐๐ ตัน และฟิลิปปินส์ ๒๒,๐๐๐ ตัน) เนื่องจากอุตสาหกรรมสับปะรด กระป๋องของไทยมีโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีทันสมัย มีกระบวนการผลิตและแปรรูปที่ได้ มาตรฐาน รวมทั้งแรงงานมีทักษะและความชำนาญ ผู้นำเข้าในต่างประเทศจึงยอมรับในคุณภาพ  สิ่งที่ไทยต้องระวัง คือ การปลูกสับปะรดของไทยมีผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ทำให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบ ไม่แน่นอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมสับปะรดแปรรูปไทยในอนาคต 
     ๒.๔  เนื้อและส่วนต่างๆของสัตว์ที่บริโภคได้  เนื้อสัตว์ที่ไทยส่งออกไป EU มาก คือ เนื้อไก่ ภายหลังจาก EU เริ่มเปิดตลาดนำเข้าเนื้อไก่จากไทยอีกครั้งนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ เป็นต้นมา ส่งผลให้ไทยค่อยๆ ขยายส่วนแบ่งตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดย EU นำเข้าไก่หมักเกลือจากไทยเพิ่มขึ้นจาก​​ ๒๑,๕๐๐ ตันในปี ๒๕๕๕ เป็นมากกว่า ๗๒,๖๐๐ ตันในปี ๒๕๕๗ สำหรับในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๒๕๕๘ EU นำเข้าไก่หมัก เกลือจากไทยไปแล้วราว ๗๐,๘๐๐ ตัน แต่บราซิลยังคงครองแชมป์เป็นแหล่งนำเข้าอันดับ ๑  โดย EU นำเข้า ไก่หมักเกลือจากบราซิล ๑๔๕,๐๐๐ ตันในช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๒๕๕๘ หรือมากกว่าไทยถึง ๒ เท่า
     ๒.๕  อาหารสัตว์เลี้ยง  แม้ว่าอาหารสัตว์เลี้ยง (สุนัข แมว นก ปลา ฯลฯ) จะไม่ใช่สินค้าส่งออก หลักของไทย แต่ในปีที่ผ่านมาก็เป็นสินค้าที่สร้างรายได้จากการส่งออกไปตลาด EU มากเป็นอันดับ ๖ และ มูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาติดต่อกันหลายปี  ในอนาคตตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในยุโรปมี แนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น เพราะผู้เลี้ยงสัตว์คำนึงการให้อาหารที่มีประโยชน์ เหมาะกับสุขภาพสัตว์และจำนวน ประชากรสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กในยุโรปที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาหารแมวเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  ในฐานะที่ไทย เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงที่สำคัญของโลก (อันดับ ๗)  ไทยจึงสมควรหาช่องทางขยายการส่งออก ไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้น​ โดยตลาดที่สำคัญ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลีและสเปน
๓.   สินค้าที่ไทยควรดำเนินการเจรจาเปิดตลาดหรือขยายตลาดในสหภาพยุโรป
       ๓.๑  ผักและผลไม้ : จากกระแสคนรักสุขภาพ ความนิยมบริโภคหรือทำอาหารเอเชียที่บ้าน และการเติบโตของร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ทำให้ไทยมีโอกาสขยายการส่งออกผักและผลไม้หลายอย่าง ไป EU  (เช่น มะพร้าว สับปะรด มะม่วง อะโวกาโด ฝรั่ง แคนตาลูป แตงโม) หรือส่วนประกอบในอาหารไทย  (เช่น ตะไคร้ ผักชี ขมิ้น ข่า กะเพรา โหระพา ฯลฯ) ผักนอกฤดูกาล (ผักกาดหอม พริกหวาน มะเขือเทศ ข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่ง หัวผักกาด เบบี้แครอท กะหล่ำปลี ฯลฯ) โดยผู้ส่งออกต้องให้ความสำคัญกับความสะอาด ความปลอดภัย ปราศจากโรคพืชและสารปราบศัตรูพืชต้องห้าม
               ผู้บริโภค EU ยังเป็นกลุ่มที่รักความสะดวกสบาย มีกำลังซื้อสูงและพร้อมทดลองรสชาติแปลก ใหม่จากต่างประเทศมากขึ้น  เพราะฉะนั้น ผักและผลไม้ที่มุ่งจำหน่ายในตลาด  EU จึงสมควรอยู่ในรูปแบบ ล้างหรือปลอกเรียบร้อย หั่นให้อยู่ในขนาดพร้อมรับประทาน อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด เก็บรักษารสชาติและ คุณค่าของอาหารไว้ได้นาน รวมทั้งมีเรื่องราวที่มาซึ่งจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าแก่ผู้บริโภค
              ผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ เพราะมีความปลอดภัย ปราศจากสารเคมีแล ะดีต่อสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคใน EU หันมาเลือกซื้อผักและผลไม้อินทรีย์มากขึ้น โดยตลาดหลัก ได้แก่ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่ผู้บริโภคในสวิสเซอร์แลนด์ เดนมาร์กและสวีเดน มีสัดส่วนการเลือกซื้อผักและ ผลไม้อินทรีย์สูง ผลไม้อินทรีย์ไทยที่มีโอกาสขยายตลาดได้ใน EU เช่น มะละกอ เสาวรส สับปะรด แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ส้ม ส่วนผักอินทรีย์ เช่น พริกหยวก มะเขือเทศเชอร์รี่ ละมุดฝรั่ง ขมิ้นและวนิลา
      ๓.๒  เครื่องเทศและสมุนไพร : ปี ๒๕๕๖ EU นำเข้าเครื่องเทศและสมุนไพรรวม ๕๒๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่า ๑,๘๐๐ ล้านยูโร และมีปริมาณการนำเข้าเติบโตเฉลี่ยร้อยละ ๔ ต่อปีในช่วงระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖  EU พึ่งพาการนำเข้าเครื่องเทศและสมุนไพรจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นหลัก แหล่งนำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซีย
              ประชากร EU มีแนวโน้มใช้เครื่องเทศและสมุนไพรในการประกอบอาหารเพิ่มขึ้น เพราะกระแส คนรักสุขภาพและใช้สำหรับปรุงอาหารต่างชาติ (ไทย อินเดีย แม็กซิกัน) แม้ในช่วงที่ EU เผชิญภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย แต่อุปสงค์ของเครื่องเทศและสมุนไพรก็ไม่ลดลง เพราะผู้บริโภคมองว่าใช้น้อยจึงไม่มีผลกระทบต่อการ ตัดสินใจซื้อ โอกาสขยายการส่งออกเครื่องเทศและสมุนไพรของไทย ได้แก่ พริกไทย ขิง ลูกจันทร์เทศ พริก อบเชย ลูกกระวาน วนิลา กานพลู เป็นต้น โดยผู้ส่งออกต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยจากสารตกค้าง จำพวกสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins) สารปราบศัตรูพืชและจุลินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งควรบรรจุอยู่ในหีบห่อ ใหม่ สะอาด มีความทนทาน ปราศจากความชื้นและใช้พลาสติกที่ป้องกันการทำลายจากแมลง เชื้อราหรือกลิ่น ไม่พึงประสงค์ เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า นอกจากนี้ ไทยอาจส่งออกเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ผ่านการรับรองมาตรฐานความยั่งยืนในการผลิตทุกขั้นตอน
      ๓.๓  ไก่ บราซิลและไทยเป็นแหล่งนำเข้าไก่ที่สำคัญที่สุดของ EU แม้ว่าการผลิตไก่ใน EU มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการซื้อก็ขยายตัวเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน ยุโรปที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อเนื้อไก่แทนเนื้อหมูและเนื้อวัว เพราะเป็นโปรตีนจากสัตว์ที่ราคาถูกกว่า มี ไขมันต่ำและนำมาปรุงอาหารได้ง่าย โดยการจำหน่ายชิ้นส่วนไก่ที่มีราคาถูก (ขาและปีก) มีแนวโน้มเติบโต รวดเร็วกว่าเนื้ออกไก่หรือไก่ทั้งตัวที่มีราคาสูงกว่า ในอนาคตไทยมีโอกาสขยายการส่งออกไก่มายังตลาด EU เพิ่มขึ้น โดยต้องให้ความสำคัญกับความสด สะอาด ปลอดภัยจากโรค สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การนำเสนออาหารอย่างสวยงามและมีราคาสมเหตุสมผล นอกจากนั้น ผู้ส่งออกไทยควรหาทางสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ให้สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้สะดวกพร้อมรับประทาน และพัฒนารสชาติ ของสินค้าให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
๔.   สินค้าเกษตร-อาหารไทยที่มีโอกาสเปิดตลาดใหม่ๆใน EU จะต้องคำนึงถึง
       -   ประโยชน์ต่อสุขภาพ รสชาติ รู้จักนำนวัตกรรม (innovation) มาใช้เพื่อพัฒนาอาหารให้ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น ผลไม้ที่ไร้เมล็ด ปลอก เปลือกง่าย เก็บได้นาน หรือมีขนาด เหมาะแก่การบริโภคคนเดียว (มะละกอจิ๋ว แตงโมจิ๋ว) ผลไม้ที่ผ่านกระบวนการทำให้สุกพร้อมทาน ฯลฯ ซึ่ง นอกจากง่ายต่อการบริโภคและเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณ ขยะอาหารที่ถูกทิ้งลง
       -   ความปลอดภัยของอาหารจากสารตกค้างต่างๆ (โดยเฉพาะสารปราบศัตรูพืช) เชื้อจุลินทรีย์ และตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ซึ่งเป็นประเด็นที่ EU ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
       -   การผลิตอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงความยั่งยืน มีตรารับรองคุณภาพหรือ เชื่อมโยงคุณค่าทางด้านจริยธรรม อาทิ การค้าที่เป็นธรรม     (fair trade) รับรองการปฏิบัติต่อแรงงานและ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี สินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตและการขนส่งที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก เป็นต้น
นอกจากนี้ ไทยควรจับตาดูตลาดยุโรปตะวันออกที่กำลังเติบโต ถึงแม้ว่าปัจจุบันความต้องการ ซื้ออาหารแปลกใหม่จากต่างประเทศของทางฝั่งยุโรปตะวันออกยังคงจำกัด แต่ก็เป็นตลาดที่มีโอกาสขยายตัว ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า โดยผู้บริโภคฝั่งยุโรปตะวันออกนั้นให้ความสำคัญกับราคาเป็นหลัก ไทยควรหาทางเปิด ตลาดโดยส่งสินค้าผ่านมาทางผู้นำเข้าในยุโรปตะวันตกที่กำลังเข้าไปบุกเบิกตลาดในยุโรปกลางและตะวันออก



[1] ใช้ตัวเลขสถิติจาก EUROSTAT

โดย  สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

EU Food News_สหภาพยุโรปไม่อนุญาตให้ใช้ 3-decen-2-one เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

 เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/138 of 2 February 2016 concerning the non-approval of the active substance 3-decen-2-one, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market ใน EU Official Journal L 27/5 ว่าด้วยการไม่อนุญาตให้ใช้ 3-decen-2-one เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ในสหภาพยุโรป สรุปดังนี้
              ๑. เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๔ ทางการเนเธอร์แลนด์ได้รับคำร้องจาก AMVAC CV เพื่ือขอขึ้นทะเบียน 3-decen-2-one เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช  แต่จากการประเมินผลของ EFSA พบว่า ผลของการเป็นพิษต่อระบบพันธุกรรมเป็นบวก และมีข้อจำกัด ในด้านข้อมูลพิษวิทยา จึงทำให้่ไม่สามารถกำหนดค่าอ้างอิงพิษวิทยาสุดท้ายได้ (final toxicological reference values) ดังนั้น จึงทำให้ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงต่อผู้ประกอบการ บุคคลทำงาน บุคคล ที่เกี่ยวข้อง ผู้อยู่อาศัย และ ผู้บริโภค รวมถึงกำหนดค่า MRL ได้ด้วย และผู้ยื่นคำร้องก็ไม่สามารถ จัดส่งข้อมูลเพื่อหักล้างคำตัดสินของ EFSA ได้ ดังนั้น  EU จึงเห็นควรไม่อนุญาตให้ใช้ 3-decen-2-one เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs)
              ๒. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ลงประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙) แล้ว
              ๓. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ดังนี้

รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU ระงับการอนุญาตการวางจำหน่ายข้าวโพด GM พันธุ์ MON 863 (MON-ØØ863-5)

เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Decision (EU) 2016/87 of 22 January 2016 on the 
withdrawal from the market of existing products derived from MON 863 (MON-ØØ863-5) 
and repealing Decisions 2010/139/EU, 2010/140/EU, 2010/141/EU authorising the placing on the market of products containing, consisting of, or produced from genetically modified maize MON863xMON810xNK603 (MON-ØØ863-5xMON- ØØ81Ø-6xMON- ØØ6Ø3-6), MON863xMON810 (MON-ØØ863-5xMON-ØØ81Ø-6) and MON863xNK603 (MON- ØØ863-5xMON-ØØ6Ø3-6) pursuant to Regulation (EC) No 1829/2003 of the European Parliament and of the Council       
         เพื่อระงับการนำเข้าข้าวโพด พันธุ์ MON863xMON810xNK603 ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม  (genetically modified organisms : GMOs) ด้วยสาเหตุที่บริษัทผู้ผลิต Monsato Europe SA เป็นผู้ขอถอนการวางจำหน่ายพืชดังกล่าวในยุโรปด้วยตนเอง ด้วยเหตุผลทางการค้าของบริษัท
ทั้งนี้ ถือเป็นการยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับการอนุญาตให้ข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าว สามารถนำเข้าเพื่อใช้ เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ จำนวน ๕ ฉบับ คือ ยกเลิก Decisions 2005/608/EC และ 2006/68/EC เดิมอนุญาตให้นำเข้าจนถึงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ และ Decisions 2010/139/EU, 2010/140/EU และ 2010/141/EU เดิมอนุญาตให้นำเข้าจนถึงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ตามลำดับ โดยในครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องอนุโลมให้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำหรับสินค้าที่ยังมีการวางจำหน่ายอยู่ในตลาด เพราะไม่ได้มีการปลูกข้าวโพด MON 863 ในประเทศที่สาม เพื่อการค้ามาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา

โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป