วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Food Law Update_Thai : THDOF_List of Approved Fish Processing Establishments and Packing house

ไปดาวน์โหลดตาม link นี้นะคะ



ที่มา กรมประมงค่ะ

Japan Food News_ข่าว กฎระเบียบ มาตรฐานอาหารของญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นพบปรสิตปลาชนิดใหม่
                นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น พบการติดเชื้อปรสิตสายพันธุ์ใหม่ในปลาน้ำจืดบริเวณเกาะโอกินาวา การค้นพบดังกล่าวเป็นผลมาจากโครงการศึกษาปรสิตของปลาน้ำจืดที่ไม่ใช่ปลาท้องถิ่นและผลกระทบต่อระบบนิเวศตามธรรมชาติในญี่ปุ่นของปรสิตที่ริเริ่มในปี 2555 โดยนักวิทยาศาสตร์ชีวภาคจากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ได้ค้นพบปรสิตสายพันธุ์ใหม่ในปลาซักเกอร์ไฮฟิน (Sailfin catfish) ในลำธารที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัย และได้ตีพิมพ์รายงานวิจัยเรื่องปรสิตชนิดใหม่ที่พบในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จำนวน 2 สายพันธุ์ รวมถึงการยืนยันสายพันธุ์อื่นที่พบในปี 2555 โดยในรายงานได้กล่าวถึง ปรสิตรวมจำนวน 4 สายพันธุ์ ซึ่งพบที่เหงือกของปลาในวงศ์ catfish และจัดเป็นปรสิตที่อยู่ในวงโมโนจีเนีย (Monogenea)
 
 
ที่มา: foodsafetynews.com สรุปโดย: มกอช. (7/12/59)

ญี่ปุ่นพบการแพร่ระบาดไข้หวัดนก H5N6
           ญี่ปุ่นพบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N6 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด Kagoshima, Aomori และ Niigata โดยจังหวัด Aomori และNiigata หน่วยงานอนามัยจังหวัด มีรายงานจากเกษตรกรฟาร์มเป็ดและฟาร์มไก่ พบเป็ดและไก่ในฟาร์มตายมากผิดปกติ และได้สั่งการทำลายสัตว์ปีกในพื้นที่จังหวัด Aomori จำนวน18,360 ตัว และจังหวัด Niigata จำนวน 310,000 ตัว นอกจากนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ตรวจพบเชื้อไข้หวัดนก H5N6 จังหวัด Kagoshima จากการเก็บตัวอย่างน้ำในรังของนกป่าเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของฤดูกาลนี้
          
          อนึ่ง การะทรวงเกษตรป่าไม้และประมงญี่ปุ่น ได้แจ้งแก่หน่วยงานภาครัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้มงวดในการเฝ้าระวังและการควบคุม ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดนก H5N6 เพิ่มขึ้น


 
ที่มา : สรุปโดย มกอช. (2/12/59) 

ญี่ปุ่น พบสารตกค้าง Pyridabe ในกระเจี๊ยบเขียวจากไทย
           กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น แจ้งว่าได้ตรวจพบสาร Pyridaben (MRL 0.01 ppm.)ตกค้างในกระเจี๊ยบเขียวสดส่งออก จากบริษัท Taniyama Siam Co., Ltd. ของไทย เมื่อวันที่ 25 และ 28 ตุลาคม 2559 โดยพบสารตกค้างในปริมาณ 0.08 ppm. และ 0.03 ppm. ตามลำดับ

           ด้วยเหตุนี้  กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น จึงปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Pyridaben ในกระเจี๊ยบเขียวสดแช่แข็ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปนำเข้าจากไทยเป็นร้อยละ 30  และหากตรวจพบสารชนิดนี้ตกค้างเกินมาตรฐาน จะพิจารณากักกันกระเจี๊ยบเขียวทุกรุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป สำหรับกระเจี๊ยบเขียวที่ส่งออกโดยบริษัท Taniyama Siam Co., Ltd. ญี่ปุ่นกำหนดให้ต้องนำผลวิเคราะห์สาร Pyridaben มาแสดงก่อนการอนุญาตนำเข้าทุกครั้ง

           อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยจะเร่งหาสาเหตุ และดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป เพื่อป้องกันมิให้มีการส่งออกสินค้าที่มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานไปยังญี่ปุ่นอีก
 
 
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ :
สรุปโดย มกอช. (1/12/59)

USA Food News_ข่าว กฎระเบียบ มาตรฐานอาหารของอเมริกา

FDA สหรัฐฯ ขยายเวลาการติดฉลากรายการอาหาร (menu-labeling regulation)
                สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ เตรียมตีพิมพ์กฎระเบียบฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยการติดฉลากรายการอาหาร ซึ่งได้ขยายระยะเวลาการปฏิบัติออกไปจนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2560

                
ข้อกำหนดการติดฉลากรายการอาหารเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายการดูแลสุขภาพที่ประธานาธิปดีโอบามาได้ลงนามเป็นกฎหมาย เมื่อปี 2553 ทว่า การบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าวประสบกับปัญหายุ่งยากมากมาย จากเดิมจะต้องเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2558 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไป 2 ครั้ง โดยสภาคองเกรสได้สั่งให้ FDA เลี่อนการบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี ภายหลังจากการตีพิมพ์คำแนะนำฉบับสมบูรณ์ ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา

                กฎระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ภัตตาคารและธุรกิจบริการด้านอาหาร ที่มีสาขาตั้งแต่ 20 แห่งขึ้นไป ภายใต้ชื่อเดียวกัน ต้องให้ข้อมูลแคลอรี่สำหรับรายการอาหารทั่วไป ในส่วนของข้อมูลเสริมด้านโภชนาการจัดให้เมื่อลูกค้าร้องขอ

                สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
  
http://www.restaurant.org/menu-labeling
 
 
ที่มา : restaurant.org  สรุปโดย : มกอช. (8/12/59)

US คาดการณ์ไตรมาสสุดท้ายยอดการส่งออกสินค้าเกษตรปี 2560
           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรปี 2560 ไว้ที่ 1.34 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยสินค้าเกษตรส่งออกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและติดอันดับสินค้าส่งออกหลักตลอดแปดปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2552 สหรัฐฯ ส่งออกสินค้าเกษตรมากกว่า 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังการผลิตและความสามารถของเกษตรกร และบางส่วนจากการดำเนินงานของหน่วยงาน FAS ที่ให้การสนับสนุนภารกิจด้านการค้าและด้านการตรวจสอบสินค้าเกษตรเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า

            ยอดคาดการณ์ที่ 1.34 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ สูงกว่าปี 2559 ถึง 4.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยังคาดการณ์ว่าจะได้ดุลยการค้าสูงถึง 20.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 30% จากปี 2559 ที่มียอดเกินดุลยการค้าอยู่ที่ 16.6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญปี 2560 ได้แก่ ถั่วเหลืองประมาณการปริมาณส่งออกอยู่ที่ 55.8 ล้านเมตริกตัน และข้าวโพดประมาณการปริมาณส่งออกอยู่ที่ 56.5 ล้านเมตริกตัน และคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกฝ้ายจะฟื้นตัว ส่วนปริมาณการส่งออกปศุสัตว์และสัวต์ปีกจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง

            รายได้จากการส่งออกนี้คิดเป็น 20% ของรายได้ของเกษตรกรสหรัฐ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชนบทและการสนับสนุนการจ้างงานมากกว่า 1 ล้านอัตตรา ทั้งในและนอกภาคการเกษตร
 
  

ที่มา : USDA สรุปโดย มกอช. (9/12/59)

FDA สหรัฐฯ ตั้งเกณฑ์ 22 วัน ตอบคำถามระเบียบ FSMA
                จากรายงานของสำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (GAO) พบว่ากฎระเบียบความปลอดภัยใหม่ผลิตผลสดภายใต้ FSMA สร้างความยุ่งยากให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และพบว่าองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการกำหนดมาตรฐานการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การบรรจุ และการจัดเก็บผลิตผลสดเพื่อการบริโภคของมนุษย์ ประสบกับความยุ่งยากในการตอบคำถามเอกชนเกี่ยวกับกฎระเบียบดังกล่าว FDA ได้ตั้งเครือข่ายช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance Network: TAN) เมื่อเดือนกันยายน 2558 เพื่อคำถามตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ ที่ส่งเข้ามายัง FDA หลายช่องทางจากภาคอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับระเบียบ FSMA
                ในปีแรก TAN ได้รับคำถามจำนวน 2,626 คำถาม โดยร้อยละ 14 เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบการผลิตผักผลไม้สด ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เป็นคำถามจากภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ คำถามส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเด็นการใช้น้ำในการเกษตรภายใต้ระเบียบการผลิตผักผลไม้สด ตลอดจนการเก็บตัวอย่างการใช้น้ำ และประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ
                  อย่างไรก็ตาม สิ้นสุดเดือนตุลาคม 2559 มีคำถามเพียงร้อยละ 72 ที่ได้รับการตอบกลับ ทั้งนี้เนื่องจากระเบียบบางฉบับยังอยู่ในระหว่างความคืบหน้าการดำเนินการ และ FDA ไม่ต้องการตอบคำถามผ่าน TAN ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับคำแนะนำกฎระเบียบที่จะออกตามมาในอนาคต โดย FDA จะใช้เวลาประมาณ 22 วันทำการในการตอบคำถาม ส่วนคำถามที่ FDA ไม่ตอบภายใน 30 วัน จะมีการส่งข้อความไปแจ้งยังผู้สอบถามว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการ
                กฎระเบียบด้านผลิตผลสดภายใต้ FSMA มีความครอบคลุมกว้างและมีความซับซ้อนมากขึ้นจึงต้องมีความรอบคอบในการตอบคำถามและให้คำแนะนำในการปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ที่มา: foodsafetynews.com สรุปโดย: มกอช. (6/12/59)

สหรัฐฯ แบนคาราจีแนนในอาหารออแกนิค
คณะกรรมการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (NOSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาของคณะกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ลงมติไม่อนุญาตให้ใช้คาราจีแนน (Carrageenan) เป็นวัตถุเจือปนในอาหารออร์แกนิคส์

            คาราจีแนนเป็นเส้นใยที่สามารถละลายน้ำได้ สกัดจากสาหร่ายสีแดง ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารมานานกว่าร้อยปี เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องดื่มส่งออกแบบ Shelf Stable เนื่องจากช่วยรักษาและยืดอายุสินค้าได้ดีโดยเฉพาะในนมและเครื่องดื่มให้โปรตีน

            อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับคุณประโยชน์และผลกระทบต่อสุขภาพของคาราจีแนนซึ่งนักวิจัยบางกลุ่มตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีความเชื่อมโยงระหว่างคาราจีแนนและโรคทางเดินอาหารอักเสบ ในขณะที่บางฝ่ายยังคงยืนยันในคุณประโยชน์ที่หลากหลายของคาราจีแนน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยรักษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ไอศกรีม และนมผงสำหรับเด็กทารก

            ล่าสุดสมาคมผู้ผลิตร้านขายของชำได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า  คาราจีแนนยังควรอยู่ในรายชื่อวัตถุเจือปนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ของ NOSB เนื่องจากได้รับการพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยในการบริโภคและยังไม่มีสารตัวใดที่มีคุณสมบัติทดแทนคาราจีแนนได้ นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานด้านกฎระเบียบและองค์กรด้านการวิจัยทั่วโลกว่าปลอดภัยและมีประโยชน์มาก

            ขณะนี้ NOSB อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อปรับแก้กฎหมายห้ามใช้วัตถุเจือปนในสินค้าอาหารออร์แกนิคส์โดยคาดว่าการเปลี่ยนแปลงระเบียบจะแล้วเสร็จในปีหน้า

            ทั้งนี้ การห้ามใช้คาราจีแนนจะบังคับใช้กับอาหารออร์แกนิคส์เท่านั้น

ที่มา Food Safety Magazine
สรุปโดย มกอช
.


Food Law Update_Thai :_NOTIFICATION OF MINISTRY OF COMMERCE Standard Thailand Rice

Standard of Thai Rice
มาตรฐานข้าวไทย ประกาศวันที่ 21 ตุลาคม 2559 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้นับตั้งวันที่ 20 ธันวาคม 2559 คลิกรายละเอียด
5. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ.2559 (มีผลบังคับนับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2559)
ที่มา กรมการค้าต่างประเทศ

EU Food News_EU ขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืชในช่วงที่รอผลประเมิน

ด้วย สหภาพยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/ 2016 of 17 November 2016 amending Implementing Regulation (EU) No 540/2011 as regards the extension of the approval periods of the active substances acetamiprid, benzoic acid, flazasulfuron, mecoprop-P, mepanipyrim, mesosulfuron, propineb, propoxycarbazon, propyzamide, propiconazole, Pseudomonas chlororaphis Strain: MA 342, pyraclostrobin, quinoxyfen, thiacloprid, thiram, ziram, zoxamide เพื่อขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substances) จำนวน ๑๗ รายการ ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   ๑. เนื่องจาก การอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substances) จำนวน ๑๗ รายการ ซึ่งได้แก่สาร benzoic acid, flazasulfuron, mecoprop-P, mesosulfuron, propineb, propoxy- carbazon, propyzamide, propiconazole, pyraclostrobin และ zoxamide กำลังจะหมดอายุลง ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ และสาร acetamiprid, mepanipyrim, Pseudomonas chlororaphis Strain: MA 342, quinoxyfen, thiacloprid, thiram และ ziram กำลังจะหมดอายุลงภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐  ซึ่งการขอต่ออายุการใช้งานสารดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการและ EU จำต้องใช้เวลาในการพิจารณา
                          ดังนั้น เพื่อไม่ให้การใช้สารดังกล่าวหยุดชะงักลงก่อนที่ผลการอนุญาตให้ต่ออายุการใช้ งานใหม่จะออกมา จึงเห็นควรให้ขยายเวลาการใช้สารเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา ๑ ปี โดยแยกเป็นสาร benzoic acid, flazasulfuron, mecoprop-P, mesosulfuron, propineb, propoxycarbazon, propyzamide, propiconazole, pyraclostrobin และ zoxamide ให้ขยายเวลาการใช้งานไปจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ และสาร  acetamiprid, mepanipyrim, Pseudomonas chlororaphis Strain: MA 342, quinoxyfen, thiacloprid, thiram และ ziram ให้ขยายเวลาการใช้งานไปจนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑
                  ๒. อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมการขยายเวลาในครั้งนี้ ตามมาตราที่ ๑๗ ย่อหน้าที่ ๑ ของ Regulation (EC) No 1107/2009 ว่าหากในกรณีที่ EU พิจารณาแล้วเห็นว่า สารรายการ ใดไม่สมควรต่ออายุการใช้งาน EU ก็สามารถขอปรับร่นมาให้ใช้วันที่หมดอายุเดิมได้ หรือสามารถยกเลิก การขยายอายุครั้งใหม่นี้ได้ด้วย แม้ผลการพิจารณาจะแล้วเสร็จหลังจากการขยายอายุการใช้งานชั่วคราวนี้ แล้วก็ตาม หรือหากว่า  EU จะอนุญาตให้ต่ออายุการใช้สารนั้นๆ ก็จะมีการกำหนดวันที่มีผลปรับใช้ให้โดย เร็วที่สุดต่อไป 
                  ๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙)
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ต่อไปนี้  


โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU อนุญาตน้ำมันดอกทานตะวันให้เป็นสารตั้งต้น (Basic Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

ด้วย คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1978 of 11 November 2016 approving the basic substance sunflower oil in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ซึ่งเป็นการอนุญาตให้ใช้น้ำมันดอกทานตะวัน (sunflower oil) N˚CAS : 8001-21-6 เป็นสารตั้งต้นในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช จากการร้องขอของสถาบัน Institut Technique de l’Agriculture Biologique (ITAB) ฝรั่งเศส โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป  
              สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้

                      โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป