วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

USA_FDA พบเชื้อโรคลิสเทอริโอซิสในผลิตภัณฑ์ผักแช่แข็ง

 เมื่อเดือนมีนาคม 2559 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) และหน่วยงานท้องถิ่น ได้ตรวจสอบการระบาดของเชื้อลิสเทอริโอซิส (Listeriosis) ในหลายๆ รัฐของสหรัฐฯ

                CDC รายงานว่า ช่วงเดือนกันยายน 2556-มีนาคม 2559 มีผู้ป่วยโรคลิสเทอริโอซิสในช่วงอายุระหว่าง 56-86 ปี ในรัฐแคลิฟอเนีย แมริแลนด์ และวอชิงตัน ซึ่งจากผลการตรวจสอบด้านระบาดวิทยาและหลักฐานจากห้องปฏิบัติการพบว่าผลิตภัณฑ์ผักแช่แข็งของบริษัทแห่งหนึ่งที่ผลิตในเมือง Pasco รัฐวอชิงตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว โดยบริษัทได้เริ่มเรียกเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านั้นแล้ว

                โดยกระทรวงเกษตรของรัฐโอไฮโอได้สุ่มตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์แช่แข็ง ได้แก่ ข้าวโพดสาลีหวานตัดแช่แข็ง และเมล็ดถั่วลันเตาแช่แข็ง จากบริษัทดังกล่าวมีการปนเปื้อนของเชื้อ Listeria monocytogenes และพบความเชื่อมโยงของผลการตรวจดีเอ็นเอของเชื้อในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกับดีเอ็นเอของเชื้อในผู้ป่วยซึ่งนำไปสู่การสันนิษฐานว่าการระบาดดังกล่าวอาจเกิดจากการบริโภคผักแช่แข็งของบริษัทดังกล่าว

                ดังนั้น บริษัทจึงเรียกเก็บผลิตภัณฑ์ผักแช่แข็งจำนวน 11 ชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ที่ผลิตหรือผ่านกระบวนการแปรรูปจากบริษัท โดยเรียกเก็บผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เนื่องจากมีความกังวลว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Listeria monocytogenes ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคลิสเทอริโอซิส

                นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม 2559 FDA ยังพบว่าผลิตภัณฑ์หัวหอมของบริษัทแห่งหนึ่งในเมือง Pasco มีความเชื่อมโยงกับอาการป่วยของโรคระบาดในครั้งนี้ ซึ่งทางบริษัทได้เรียกคืนสินค้าดังกล่าวแล้ว
ที่มา: foodlawlatest
สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA-Canada Food News_US-แคนาดา ส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร

องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ให้การยอมรับว่าแคนาดามีระบบความปลอดภัยอาหารเทียบเท่ากับสหรัฐฯ

          โดย USFDA หน่วยงานตรวจสอบอาหารแคนาดา (CFIA) และกระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) จะพิจารณาหน้าที่ควบคุมดูแลของแต่ละประเทศหลังจากจัดลำดับกิจกรรมการตรวจสอบ
       
         ฝ่ายนโยบายและแผนงานของ CFIA กล่าวว่า แคนาดาและสหรัฐฯ เชื่อมั่นในระบบการควบคุมของกันและกัน โดยความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศถือเป็นรากฐานที่นำมาสู่ความปลอดภัยอาหาร ผู้นำเข้าสามารถเชื่อมั่นได้ว่าผลิตภัณฑ์จะเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ ซึ่งการนำเข้าสินค้าสู่แคนาดาต้องทำตามข้อกำหนดของแคนาดา และสินค้าที่นำเข้าสู่สหรัฐฯ ต้องทำตามข้อกำหนดของสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน
       
          ส่วนรองกรรมาธิการด้านอาหารและยาสัตวแพทย์ของ USFDA กล่าวว่า สหรัฐฯ มีจุดประสงค์เพื่อจัดระบบการควบคุมความปลอดภัยของอาหารให้ดีขึ้น ลดการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน พัฒนาการใช้ข้อมูลร่วมกัน และเพิ่มขอบเขตแหล่งทรัพยากรเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้หน่วยงานสามารถตอบสนองเป้าหมายสุขอนามัยได้ดีขึ้น
       
          ทั้งนี้ เมื่อปี 2555 นิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศแรกที่ USFDA ยอมรับว่าประเทศดังกล่าวมีระบบความปลอดภัยอาหารเทียบเท่ากับสหรัฐฯ นอกจากนี้ระหว่างออสเตรเลียและสหภาพยุโรปยังมีการดำเนินการคล้ายกับสหรัฐฯ และแคนาดาด้วย

  
 

ที่มา: foodqualitynews สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_สถานการณ์นำเข้ากุ้ง US

ตามสถิติของ  The National Oceanic and Atmospheric Administration รายงานว่า ในเดือนมีนาคม 2559 ปริมาณการส่งออกกุ้งจากจีน เอกวาดอร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยสู่สหรัฐฯ ลดลง ดังนี้  
  
          1. จีน จาก 1,867 ตัน เหลือ 854 ตัน คิดเป็น 54.3%

          2. เอกวาดอร์ จาก 8,951 ตัน เหลือ 5,396 ตัน คิดเป็น 39.7%

          3. มาเลเซีย จาก 1,835 ตัน เหลือ 27 ตัน คิดเป็น 98%

          4. อินโดนีเซีย จาก 9,618 ตัน เหลือ 8,909 ตัน คิดเป็น 7.4%

          5. ไทย จาก 6,256 ตัน เหลือ 5,230 ตัน คิดเป็น 16% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2558 

          อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออกกุ้งจาก เวียดนาม เม็กซิโก และอินเดียมีปริมาณการส่งออกกุ้งสู่สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 39% 20.2% และน้อยกว่า 1% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2558

          ทั้งนี้ ภาพรวมของปริมาณการส่งออกกุ้งสู่สหรัฐฯ ลดลงกว่า 13% จาก 45,966 ตัน เหลือ 39,952 ตัน
 
ที่มา: undercurrentnews สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Canada Food News_แคนาดาส่งออกแซลมอนสู่จีนสูงกว่า 2 เท่า

ในปี2558-2559 รัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดาส่งออกแซลมอนเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติของแคนาดาแสดงให้เห็นว่าการส่งออกแซลมอนของรัฐดังกล่าวสู่จีนเพิ่มขึ้นมากกว่าปี2555 กว่า 2 เท่า นอกจากนี้จีนยังมีความต้องการแซลมอนเลี้ยงมากขึ้นด้วย

           ปัจจุบันจีนเป็นตลาดการส่งออกหลักของอุตสาหกรรมแซลมอนเลี้ยงที่สำคัญอันดับสองของรัฐบริติชโคลัมเบียรองจากสหรัฐฯ ส่วนภาพรวมการค้ากับเอเชียเพิ่มขึ้น38%เมื่อเทียบกับปี 2556 และสามารถส่งออกไปเกาหลีใต้ได้ เนื่องจากความตกลงการค้าเสรีแคนาดา-เกาหลีใต้ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยภาพรวมการส่งออกแซลมอนเลี้ยงของรัฐบริติชโคลัมเบียสู่ 11 ประเทศ มีปริมาณยอดรวมทั้งหมดประมาณ 54.4 ล้านกิโลกรัม

          ผู้อำนวยการสมาคมเกษตรกรผู้ลี้ยงแซลมอนของรัฐบริติชโคลัมเบีย กล่าวว่า สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดที่สำคัญของการส่งออกแซลมอนเลี้ยง อย่างไรก็ตาม รัฐจะส่งเสริมการเปิดตลาดในหลายๆ ประเทศและมุ่งหวังว่าความต้องการแซลมอนเลี้ยงจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในเอเชีย
 
 
 
ที่มา: thefishsite สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Asian Food News_ก.แรงงาน รายงานความคืบหน้าการแก้ปัญหาค้ามนุษย์กลุ่ม CLMV

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้พบปะสื่อมวลชน กล่าวถึง ถึงผลการเดินทางไปเยือนประเทศกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม) เพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ร่วมกัน เมื่อวันที่ (19 พ.ค.59) โดยกล่าวว่า"แก้ปัญหาค้ามนุษย์”ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลซึ่งมีอยู่หลายด้าน แต่ในส่วนของแรงงาน จะมีประเด็นที่ถูกกล่าวถึง คือ "การใช้แรงงานต่างด้าว” ซึ่งเราต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องใช้ในกิจการบางประเภท หากไม่มีแรงงานต่างด้าวจะส่งผลต่อภาคการผลิตและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
 
การเข้ามาของแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากเข้ามาอย่างถูกต้องแล้ว บางส่วนมีการลักลอบเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงได้มีการจัดระบบในเรื่องนี้อย่างจริงจังดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศทั้ง เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม (CLMV) เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาและรับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวไว้จากการประชุม CLMV ที่กรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้วว่า "เราต้องเดินไปด้วยกัน เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”จากการไปแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างตามสภาพพื้นฐานของประเทศนั้น ๆ และการเดินทางไปของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก็ถือว่าได้รับการตอบรับจากทุกประเทศ พร้อมได้รับการชื่นชมในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพราะเขาก็ต้องดูแลคนของเขา เราก็ต้องดูแลความเหมาะสมให้พอเหมาะ พอดี กับการใช้แรงงานในประเทศเรานอกจากนี้เป็นการไปตกลงร่วมกันในการจัดส่งแรงงานตั้งแต่ต้นทางที่กล่าวมาแล้ว รวมถึงกระบวนการกลางทางซึ่งเป็นขั้นตอนการดำเนินการส่ง-รับแรงงาน และกำหนดกติกาปลายทางที่เราเป็นผู้รับและส่งกลับ เมื่อหมดห้วงระยะการทำงานแต่ละคนจะเป็นการจัดระบบระเบียบครั้งสำคัญ เพราะเรากำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่มีบัตรสีชมพูและที่มีเอกสารเดินทางและใบอนุญาตหมดอายุตามที่ทราบกันอยู่ว่าให้มารายงานตัวให้แล้วเสร็จภายใน 29 กรกฎาคม นี้

สำหรับผลการเจรจาแต่ละประเทศเป็นดังนี้
- สปป.ลาว วันที่ 17-19 มีนาคม 2559 ได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีของสปป.ลาวและได้ประชุมร่วมกับ ดร.คำแพง ไชสมแพง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยปลัดกระทรวง อธิบดีกรมคุ้มครองแรงงานและอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของลาว ที่นครเวียงจันทร์ได้ติดตามเรื่อง MOU ในการส่งแรงงานรัฐต่อรัฐ ซึ่งลาวก็ตอบรับ เพียงแต่อยู่ระหว่างการเลือกตั้ง รอรัฐบาลใหม่อนุมัติและตอนนี้ก็ไม่มีปัญหาแล้ว คาดว่าจะสามารถลงนามได้ในเดือนมิถุนายนนี้ และจะใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นสถานที่ฝึกทักษะฝีมือแรงงานของ ASEAN และให้มีผู้แทนในแต่ละประเทศ ประจำที่สถาบันฯ แห่งนี้ รวมทั้งเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้ง "กองทุนแรงงาน ASEAN” ที่ลาวจะเสนอในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงาน ASEAN ด้วยตลอดจนร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสร้างการรับรู้ระเบียบ กฎหมาย สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นทางก่อนไปทำงานด้วยทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานลาวเข้ามาทำงานในไทย 222,312 คน
 
- กัมพูชา วันที่ 6-7 เมษายน 2559 ได้ไปประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีและติดตามความคืบหน้าจากการหารือระดับวิชาการมาแล้ว มีข้อสรุปร่วมกันที่สำคัญหลายประการ คือให้มีการพัฒนาข้อมูลความต้องการแรงงานกัมพูชาโดยใช้ระบบ Onlineเพื่อการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมแรงงานกัมพูชาที่ต้องการทำงานในไทย รวมทั้งจะให้เป็น Model ของอาเซียนด้วย โดยจะเน้นร่วมมือกันในระดับรัฐบาลกับรัฐบาลเพื่อดำเนินกระบวนการนำแรงงานกัมพูชาที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สถานะที่ถูกต้องโดยไม่ให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ ทั้งนี้ กัมพูชาจะตั้งทีมเพื่อดำเนินการตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางกฎหมาย (Cambodian Legalization Committee) ให้กับแรงงานเพื่อปรับสถานะให้แรงงานทุกคนมีเอกสารประจำตัว และจะเริ่มส่งเอกสารถึงมือแรงงานกัมพูชาให้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้นอกจากนี้กัมพูชาจะจัดฝึกอบรมแรงงานกัมพูชาทุกคนก่อนการเดินทางเข้ามาทำงานในไทยโดยทั้งสองฝ่ายจะกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานในลักษณะไป-กลับ หรือตามฤดูกาลบริเวณชายแดน มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานในกลุ่มนี้มาทำงานในประเทศไทยใน 5 จังหวัดชายแดน (ศรีสะเกษ, สุรินทร์, สระแก้ว, จันทบุรี และตราด) รวม 14,349 คนและทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา ที่ปูนพนมซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันช่วยเหลือแรงงานกัมพูชา (ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2539)ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในไทย 724,802 คน

- เวียดนาม วันที่ 19-20 เมษายน 2559 ไทยและเวียดนามได้มีการลงนาม MOU กันแล้ว เป็นการไปประชุมหารือร่วมกันในการนำเข้าแรงงานเวียดนามตามข้อตกลงฯ ด้านการจ้างแรงงาน อาทิ การกำหนดสัญญาว่าจ้าง ที่รัฐบาลไทยให้การรับรอง และดูแลผู้ใช้แรงงานตามกฎหมาย /การตรวจร่างกายทั้งก่อนมาทำงานในไทย และเมื่อเดินทางมาถึงไทยแล้ว และการอบรมให้ความรู้เบื้องต้นด้านสิทธิตามกฎหมายไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทย ก่อนมาไทย พร้อมให้มีการอบรมเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเมื่อมาทำงาน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายในการลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานให้ผู้ประกอบการและเน้นการจัดระบบแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะได้รับการคุ้มครอง ได้รับสิทธิประโยชน์ และนำไปสู่การป้องกันการหลอกลวง และปัญหาการค้ามนุษย์มิให้เกิดขึ้นอีกด้วยทั้งนี้ การนำเข้าแรงงานเวียดนาม จะให้เข้ามาเฉพาะสาขาประมงและก่อสร้าง และจำนวนคนเท่าที่ผู้ประกอบการต้องการเท่านั้น และขอให้เวียดนาม ส่งผู้ฝึกสอนภาษาเวียดนาม เป็นการเพิ่มเติมทักษะให้กับคนไทย ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนและแรงงานไทยเข้าไปทำงานในเวียดนามระดับหัวหน้า หรือเจ้าหน้าที่เทคนิคประมาณ 1,000 คน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารด้วย
 
- เมียนมา วันที่ 1-2 พฤษภาคม 2559 เป็นการประชุมหารืออย่างเป็นทางการกับ นายเต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ของเมียนมา ที่เมืองเนปิดอว์มีความคืบหน้าการจะดำเนินการร่วมกันในการจัดส่งแรงงานตาม MOU เป็นการจัดส่ง แบบรัฐต่อรัฐ ซึ่งทางเมียนมามีความพร้อม และรัฐบาลได้อนุมัติMOU ดังกล่าวแล้วทั้งนี้ ตามข้อตกลงการจ้างแรงงานตาม Agreement จะดำเนินการในรายละเอียด โดยจัดตั้งคณะทำงานทั้งสองฝ่ายให้แล้วเสร็จภายในมิถุนายน ทั้งเรื่องการเปิดจุดเข้าออกของแรงงานที่มีอยู่ 3 จุด (เชียงราย, ตาก, ระนอง) เพิ่มขึ้นอีกจุดหนึ่งที่พุน้ำร้อน กาญจนบุรีและเปิดศูนย์อบรมที่ชายแดนเพื่อเป็นการปฐมนิเทศก่อนเข้ามาทำงานและส่งกลับเพื่อตรวจสอบสิทธิประโยชน์โดยเน้นความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานและการเข้าสู่ระบบประกันสังคมของแรงงานที่เข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย และทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อมิให้มีการหลอกลวงแรงงาน ป้องกันแรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นำไปสู่การค้ามนุษย์และฝ่ายไทยขอความร่วมมือให้เมียนมาประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนเมียนมาได้ทราบข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาสื่อมักจะนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและเป็นผลลบต่อเราทั้งนี้ปัจจุบันแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานในไทย 1,601,915 คน

- สปป.ลาว วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2559ไปประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 24 และรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน +3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ครั้งที่ 9 ที่นครเวียงจันทร์ มีสาระสำคัญคือที่ประชุมได้รับรอง โครงการขับเคลื่อนความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน เพื่อสนับสนุนประชาคมอาเซียนที่ไทยเสนอ โดยให้แต่ละประเทศไปดำเนินการในบางธุรกิจของประเทศนั้น ๆ ตามความสมัครใจและที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมการจ้างงานนอกระบบให้เข้าสู่การจ้างงานในระบบ มีการทำงานที่มีคุณค่า ได้รับการคุ้มครองแรงงานและสิทธิอันพึงมีพึงได้ของแรงงานอาเซียน มีโอกาสสร้างหลักประกันที่มั่นคงในการดำรงชีวิตซึ่งในเรื่องนี้รัฐมนตรีได้กล่าวในที่ประชุมว่า ไทยเราให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ และในการดำเนินการให้เข้าสู่ในระบบรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่นจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ระดับจังหวัด ดำเนินโครงการประชารัฐ การจัดตั้งกองทุนสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านและโครงการประกันสังคมแบบสมัครใจ ทำให้ที่ประชุมเห็นความก้าวหน้าของเราในเรื่องนี้ชัดเจนขึ้นและเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ร่างตราสารอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวซึ่งใช้เวลากว่า 9 ปี ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะกฎหมายแต่ละประเทศต่างกันที่ประชุมจึงมีมติให้ดำเนินการยกร่างให้แล้วเสร็จภายในเมษายนปีหน้าโดยสรุปการประชุม รัฐมนตรีอาเซียน และอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)ทุกประเทศได้เห็นความก้าวหน้าของเราในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การดูแลและการให้สิทธิตามกฎหมาย ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศCLMV ที่เราได้ไปพบปะหารือมาก่อนหน้านี้ ต่างให้การสนับสนุนแนวทางของเราในเวทีอาเซียน +3(จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)เป็นอย่างดี
 
ท้ายที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงผลสำเร็จจากการไปประชุมหารือร่วมกันทั้ง 4 ประเทศดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการสร้างความร่วมมือและร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านแรงงานของกลุ่มประเทศ CLMV ได้อย่างเป็นระบบ จัดระเบียบให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นทางคือ ก่อนส่งแรงงาน และกลางทางคือ กระบวนการจัดส่งแรงงานให้ถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้มีการหลอกลวง และปลายทางคือ เมื่อเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องแล้ว ให้มีสิทธิประโยชน์ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจัดระบบจัดส่งแรงงานดังกล่าวนี้ นอกจากเป็นการป้องกันการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานแล้วยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีแก่นานาประเทศในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานของประเทศไทยในสายตาชาวโลกด้วย
 
 
  
 
ข้อมูล กระทรวงแรงงาน

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

China Food News_อึ้ง!! พบกะพรุนปลอมในจีน

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 มีรายงานการตรวจพบโรงงานผลิตแมงกะพรุนปลอมในทางตะวันออกของจีน ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 10 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 26,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าแมงกะพรุนปลอมเหล่านี้ได้ถูกส่งไปจำหน่ายในตลาดอาหารท้องถิ่นแล้ว

               ทั้งนี้ แมงกะพรุนปลอมที่พบทำจากการผสมสารเคมี 3 ชนิด ได้แก่ กรดแอลจินิก (alginic acid) สารส้ม (ammonium alum) และแคลเซียมคลอไรด์ (calcium chloride anhydrous) นอกจากนั้น จากผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบปริมาณอลูมิเนียมสูงถึง 800 mg/kg ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายจีนกำหนดไว้ถึง 8 เท่า โดยองค์การอาหารและยาของจีนกล่าวว่า หากผู้บริโภคได้รับสารอลูมิเนียมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อกระดูกและระบบประสาท โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ

                สำหรับ สาเหตุของการผลิตแมงกะพรุนปลอมนั้นก็เนื่องมาจากแมงกะพรุนเป็นอาหารที่นิยมในจีน โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้และตะวันออกของจีน จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ซึ่งเหตุการณ์ปลอมแปลงเช่นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในจีน หากแต่เคยพบกรณีเดียวกันเมื่อปี 2556 และ 2557

                
อนึ่ง วิธีการสังเกตแมงกะพรุนปลอมนั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะภายนอก กล่าวคือ แมงกะพรุนปลอมจะมีลักษณะเหนียวฉีกขาดยาก มีเนื้อคล้ายเทปกาว ไม่มีกลิ่นและรสชาติ ส่วนแมงกะพรุนจริงจะมีกลิ่นคาวและเนื้อสีเหลือง

ที่มา: BBC สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Indonesia Food News_อินโดนีเซียขึ้นทะเบียนห้องปฏิบัติการในไทยที่สามารถตรวจ / รับรองสารตกค้างในผักและผลไม้สด



Myanmar_มาตรการนำเข้าสินค้าในเมียนมา

1. ปัจจุบันได้มีการยกเลิกการห้ามนำเข้าสินค้าจำนวน 14 ชนิด ในการค้ารูปแบบปกติผ่านทางทะเล (Overseas Trade) ได้แก่ ผงชูรส น้ำหวานและเครื่องดื่ม (Soft Drink) ขนมปังกรอบทุกชนิด หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อกโกแลต อาหารกระป๋อง (เนื้อสัตว์และผลไม้) เส้นหมี่ทุกชนิด เหล้า เบียร์ บุหรี่ ผลไม้สดทุกชนิด
 
2. การนำเข้าสินค้าต้องใช้เงินที่ได้จากการส่งออกเท่านั้น (Export First, Import Later System) ดังนั้น ผู้นำเข้าในเมียนมาที่ไม่มีรายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก จึงต้องซื้อบัญชีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้ส่งออกที่มีรายได้เงินตราต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับใช้ประกอบการขอใบอนุญาตนำเข้าจากรัฐบาลเมียนมา ทั้งนี้ผู้นำเข้าต้องซื้อเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก (Export Earning) ในอัตราที่สูงกว่าอัตราตลาดเล็กน้อย
 
3 . ผู้นำเข้าจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินตรา ที่ Myanmar Investment and Commercial Bank (MICB) หรือ Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) เพื่อยื่นใบอนุญาตนำเข้าสินค้าจากกระทรวงพาณิชย์ แนบสัญญาขาย (Sale Contract) และ เอกสารใบแสดงรายละเอียดสินค้า (Proforma Invoice) ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าบรรจุภัณฑ์และระยะเวลาการส่งมอบ
 
4. การนำเข้าสินค้าหรือเครื่องจักรอุปกรณ์จากต่างประเทศผู้ประกอบการในเมียนมาสามารถเปิด L/C ได้กับ 2 ธนาคารคือ MICB และ MFTB โดยต้องใช้เงินสดค้ำประกันเต็มมูลค่า
 
 
 
โดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

Myanmar_สินค้าห้ามส่งออกในรูปการค้าปกติผ่านทางทะเลของเมียนมา

เมียนมาจะมีการตรวจสอบสินค้าก่อนการส่งออก โดยมีสินค้าห้ามส่งออกในรูปการค้าปกติผ่านทางทะเล จำนวน 31 รายการ
 
สินค้าเกษตร
1. ข้าว ปลายข้าว รำข้าว
2. น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลดิบ
3. ถั่วลิสง น้ำมันจากถั่วลิสง
4. งา น้ำมันงา
5. เมล็ด Niger และน้ำมัน
6. เมล็ดมัสตาด และน้ำมัน
7. เมล็ดทานตะวัน และน้ำมัน
8. กากพืชน้ำมันทุกชนิด
9. ฝ้ายและผลิตภัณฑ์ฝ้าย
 
สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
10. งาช้าง
11. โค กระบือ ช้าง ม้า สัตว์หายาก
12. หนังสัตว์
 
สัตว์น้ำ
13.เปลือกกุ้งป่น
 
ผลิตภัณฑ์จากป่า
14.ยางพารา
 
แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์โลหะ
15. น้ำมันปิโตรเลียม
16. อัญมณี
17. ทองคำ
18. หยก
19. ไข่มุก
20. เพชร
21. ตะกั่ว
22. ดีบุก 2
3. วุลแฟรม
24. ส่วนผสมดีบุกและซีไลท์
25. เงิน
26. ทองแดง
27. สังกะสี
28. ถ่านหิน
29. แร่โลหะอื่น ๆ
 
อื่นๆ
30. วัตถุโบราณ
31. อาวุธและเครื่องกระสุน
 
  
 
โดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

Myanmar_เมียนมา-โอกาสการค้าและปัญหาอุปสรรค SWOT

จุดแข็ง
เมียนมาเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น ประมาณ 58 ล้านคน มีอาณาเขตติดกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย ทำให้เมียนมาเป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียใต้ จึงมีความได้เปรียบในการติดต่อทำการค้า การส่งออกและนำเข้า รวมทั้งการส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนี้เมียนมายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม

โอกาส
การพัฒนาตลาดของเมียนมาในอนาคตอาจจะพัฒนามากขึ้นจากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน และขนาดตลาดที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับตลาดของไทย ซึ่งไทยสามารถใช้เมียนมาเป็นประตูระบายสินค้าสู่ประเทศที่สามได้ รวมทั้งใช้เมียนมาเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในอนาคต ซึ่งสามารถสรุปถึงโอกาสต่างๆ ได้ดังนี้

1. การชำระค่าสินค้าระหว่างไทยและเมียนมาจะเป็นการให้เครดิตซึ่งกันและกัน ซึ่งผู้ส่งออกของไทยมักจะให้เครดิตแก่นักธุรกิจชาวเมียนมานานกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ รวมทั้งการซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับเมียนมาจะทำกันแบบง่ายๆ โดยใช้สกุลเงินบาทและเงินจ๊าต

2. สินค้าที่นำเข้าจากชายแดนไทยมีราคาต่ำกว่าคู่แข่งและสินค้าไม่ได้รับความเสียหายในขณะขนส่ง

3. คุณภาพของสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยเป็นที่นิยมของชาวเมียนมา เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางการค้าชายแดนที่มีมาเป็นเวลานาน ทำให้ชาวเมียนมาแถบชายแดนนิยมบริโภคสินค้าไทยมากกว่าของประเทศคู่แข่ง

4. การบริการขนส่งสินค้าไทย สามารถจัดส่งได้รวดเร็วและสามารถระบุสถานที่รับสินค้าได้

5. ไทยสามารถค้าขายตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ทำให้การกระจายสินค้าเข้าไปสู่เมืองต่างๆ ของเมียนมาได้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในแถบชายแดนไทย-เมียนมา

6. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการพัฒนาระบบธนาคาร และฝึกอบรมด้านการจัดระบบเอกสารให้แก่เมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ส่งออกของไทยในเรื่องการเปิด L/C

7. ประเทศไทยมีความได้เปรียบในแง่ยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจของเมียนมามากกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น จีน บังคลาเทศ และอินเดีย ซึ่งนอกจากการติดต่อค้าขายระหว่างกันแล้ว ชาวเมียนมายังเข้ามาทำงานในฐานะแรงงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความคุ้นเคยและยอมรับในสินค้าไทยทั้งคุณภาพและราคา

จุดอ่อน
แรงงานของเมียนมาส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ รวมทั้งเมียนมาขาดผู้ที่มีความรู้ในด้านการทำธุรกิจต่างประเทศ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ประกอบกับกฎระเบียบทางการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ราชการมีการคอรัปชั่นสูง และเมียนมายังมีอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศสูง

อุปสรรค
จากที่ได้มีการติดตามศึกษาข้อมูลพบว่านักธุรกิจไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับกลายเป็นข้อมูลด้านลบ ที่ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมาจากแหล่งต่างๆ เป็นข้อมูลเชิงด้านการเมือง ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในภาคธุรกิจได้อย่างสิ้นเชิง จึงส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการวางแผน การประสานงานระหว่างกัน และสิ่งที่สำคัญคือ ข้อมูลต่างๆ ของทางการเมียนมาจะไม่เผยแพร่ให้แก่สาธารณชนได้รับรู้



ปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจแนวทางหรือพฤติกรรมด้านการค้าของตลาดเมียนมา ก็เป็นปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างไทยกับเมียนมา คือ ผู้ประกอบการไทยมีความต้องการที่จะรองรับระบบการค้าของตลาดเมียนมาทั้งหมด แต่ไม่สามารถหาข้อมูลดังกล่าวได้ จึงทำให้เกิดปัญหาความไม่แน่ใจในการทำการค้า ทั้งนี้แนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือนักธุรกิจไทยไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่า การส่งสินค้าไปยังตลาดเมียนมาเขาต้องทำอย่างไร หรือต้องทำโดยใคร (เนื่องจากข้อมูลบางอย่าง ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความประสงค์ต้องการปกปิด) ดังนั้น การทำการค้ากับตลาดเมียนมาควรวางแนวทางเหมือนกับการค้ากับต่างจังหวัด การตกลงการค้าสามารถทำเป็นเงินบาทได้ ผู้ซื้อจะโอนเงินค่าสินค้าเข้าสู่บัญชีในประเทศไทยได้โดยตรง ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ระบบการค้าสากล เหมือนกับที่ต้องทำการค้ากับประเทศอื่นๆ ปัญหาการทำการค้ากับเมียนมาที่อาจเกิดขึ้น เช่น

- ค่าขนส่งจากชายแดนไทยสูง เพราะมีการเรียกเก็บค่าคุ้มครองทำให้มีเงื่อนไขต้องไปเรียกเก็บกับผู้ประกอบการ แต่สินค้าจากจีนขนส่งเข้ามาในเมียนมา ได้สะดวกกว่าทำให้สินค้าไทยมีต้นทุนเพิ่มขึ้น

- เส้นทางขนส่งสินค้าไทยที่เป็นเส้นทางหลัก คือด่านแม่สอด มีระยะทางจากแม่สอดถึงย่างกุ้ง ประมาณ 420 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน เนื่องจากความไม่สะดวกในเส้นทาง โดยเฉพาะการขนส่งหน้าฝนจะทำให้เกิดความล่าช้าและความเสียหายแก่สินค้าได้หากไม่ป้องกัน

- ตลาดมีศักยภาพแต่ระบบยังไม่เอื้ออำนวยเพื่อการค้าเท่าที่ควร ทั้งเรื่องความชัดเจนในข้อมูล ด้านขนส่ง เป็นต้น




โดย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์



เกร็ดเล็กๆเกี่ยวกับเมียนมาร์ : ประเทศพม่า (อังกฤษ: Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar  แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw อย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า หรือ เมียนมา ส่วนในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์ 
เชื่อว่าสังคมไทยคงยังไม่คุ้นชินนักกับคำว่า เมียนมา แต่ก็อาจปรับเปลี่ยนมาใช้และเรียกชื่อตามเจ้าของเสียใหม่ว่า ประเทศเมียนมา,  ภาษาเมียนมา,  คนเมียนมา  เมื่อต้องติดต่อสื่อสารกับคนประเทศนี้  ส่วนคำว่า พม่า  อาจใช้เรียกอย่างลำลอง เหมือนอย่างที่เราเรียกคนยุโรปว่า ฝรั่ง  ก็ได้  เพราะการรู้เขา-รู้เรา เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน  ต่อการคบหาและคบค้ากัน ในประชาคมอาเซียน  ต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

มาตรการที่เป็นอุปสรรคและนำสู่การเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ในอาเซียน

มาตรการที่เป็นอุปสรรคและนำสู่การเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)
                  โดยในส่วนของประเทศ อินโดนีเซียได้มีมาตรการให้ขออนุญาตนำเข้า เช่น ข้าว, น้ำมันหล่อลื่น, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, เครื่องยนต์, แทรกเตอร์, เครื่องมือ (ใช้งานด้วยมือ), สารให้ความหวานสังเคราะห์, เครื่องยนต์และปั๊ม, แทรกเตอร์, ท่อส่งน้ำมัน และระเบิด เป็นสินค้าที่มีเงื่อนไข/จำกัดการนำเข้า ผู้ที่จะสามารถนำเข้าได้ จะต้องผ่านการรับรอง/จดทะเบียน ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ขาย หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น DAHANA, PERTAMINA และ BULOG ส่วนสินค้าเนื้อสัตว์ และสิ่งมีชีวิต ต้องขออนุญาตนำเข้าเพื่อป้องกันโรค, ยาและผลิตภัณฑ์ ต้องมีการจดทะเบียนและขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย
                  นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีมาตร การใบอนุญาตนำเข้าพิเศษออกโดยกระ ทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ในสินค้าเครื่อง ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ/ของเล่นเด็กเสื้อผ้าสำเร็จรูป/ผ้าผืน/สิ่งทอ/เครื่องหนัง/รองเท้า/ถั่วเหลือง/ข้าวโพด/ข้าว/น้ำตาล, มาตรการกำหนดปริมาณการนำเข้าในสินค้าน้ำตาลทราย ที่กำหนดให้ผู้นำเข้ามี 2 ประเภทคือ ประเภทผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าจดทะเบียนเท่านั้น อีกทั้งยังได้กำหนด โควตาการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว โดยจะเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิตและความต้องการใช้ในประเทศ โดยกำหนดช่วงเวลาส่งมอบระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมของทุกปี
                  ส่วนมาเลเซีย มีมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าว โดยมอบหมายให้องค์ การข้าวและข้าวเปลือกแห่งชาติ (BERNAS)นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว, มาตรการสุขอนามัยในสินค้าผลไม้ เช่น มะม่วง ทุเรียน ลำไย ในการนำเข้าต้องมีใบรับรองศัตรูพืช ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสินค้า 19 ชนิดได้แก่ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ยาสูบ กะหล่ำปลี กาแฟ แป้งสาลี และน้ำตาล สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ผักคะน้า และผลิตภัณฑ์สุกร เป็นสินค้าที่มีโควตาภาษี, มาตรการกีดกันด้านเทคนิค (TBT) ในสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก ต้องให้หน่วยงานของมาเลเซียมาตรวจรับรองโรงงานก่อน และเมื่อมีการส่งออกจะต้องแนบใบรับรองผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับการยื่นขอใบรับรองการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า และสินค้าจะถูกสุ่มตรวจทุกล็อต
                  ด้านฟิลิปปินส์ มีมาตรการ TBT ที่สำคัญคือ สินค้าประมงแช่เย็นและแช่แข็ง ต้องปิดฉลากระบุประเทศที่ผลิต สายพันธุ์สัตว์น้ำ น้ำหนัก ส่วนประกอบ ที่อยู่ผู้จำหน่าย และประทับเครื่องหมายว่าผ่านการตรวจรับสำนักงานประมง และทรัพยากรทางน้ำ (BFAR) ของฟิลิปปินส์แล้ว สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสดและแช่แข็ง เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านการตรวจรับรองจากหน่วยงานของฟิลิปปินส์ และต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า และสินค้าผักและผลไม้สดอนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดได้เฉพาะมะขามและลองกอง
                  สิงคโปร์ ในสินค้าข้าว ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า และต้องดำเนินการในลักษณะการสำรองข้าว โดยผู้นำเข้าข้าวต้องสำรองข้าวสารในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของรัฐ บาล, มาตรการ TBT ในสินค้าอาหาร ต้องติดฉลากเป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร
                  บรูไน มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและสัตว์ โดยสินค้าพืชต้องได้รับการตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรของบรูไนก่อนนำเข้า และต้องได้รับการตรวจสอบที่ต้นทางก่อนการนำเข้าไม่เกิน 14 วัน ก่อนการขนส่งจริง(ยกเว้น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ เครื่องเทศ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ์) นอกจากนี้ในสินค้าข้าวและน้ำตาล การนำเข้าสินค้าทั้งสองชนิดต้องผ่านการเจรจาระดับรัฐ บาลต่อรัฐบาล และผู้ส่งออกของประเทศนั้นๆ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีพิเศษด้วย
                  เวียดนาม  สินค้าที่จำหน่ายภาย ใน และสินค้านำเข้าประเภทยา เวชภัณฑ์ รวมถึงยาฆ่าแมลงและสินค้าเคมีภัณฑ์ต่างๆ  การติดฉลากจะต้องมีภาษาเวียดนามบอกถึงรายละเอียดของสินค้าและวิธีการใช้, สินค้าเกษตรและอาหารผู้นำเข้าจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าพร้อมเอกสารทางไปรษณีย์ และจะแจ้งผลการพิจารณาทางไปรษณีย์เท่านั้นซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้า
                เมียนมาร์มีมาตรการตรวจสอบและกักกันสินค้าอาหาร ที่ต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจในเรื่องคุณภาพความ ปลอดภัย และสุขอนามัยของอาหาร, สินค้าจำเป็น เช่นเครื่องจักร วัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุที่ใช้ในการเกษตร (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์) วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ วัสดุทางการแพทย์ กำหนดสัดส่วนต้องนำเข้าสินค้าจำเป็น 80% ของการนำเข้าทั้งหมดก่อน จึงจะสามารถนำเข้าสินค้าอื่นๆ ที่กำหนดไว้อีก 20% ได้ และต้องทำการขนส่งสินค้าทั้งหมดพร้อมกัน
                  ขณะที่กัมพูชา การนำเข้าสินค้าเกษตรทั่วไป และผลิตภัณฑ์ยาต้องมีใบอนุญาตที่ออกจากกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา สินค้าบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตสินค้าจะต้องปิดฉลากเป็นภาษาเขมร และระบุรายละเอียดของสินค้า และลาว ส่วนใหญ่เป็นมาตรการป้องกันและควบคุมสินค้านำเข้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
             ประเทศไทย มีการออกกฎระเบียบใหม่ๆ ในสินค้าเกษตรหลายรายการ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง หอมแดง ยางรถยนต์ใหม่ ที่ทำให้สินค้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายากขึ้น
                  มาตรการต่างๆ ที่กล่าวมาถือเป็น มาตรการทางการค้า หรือ NTMs (Non- Tariff Measures) ที่ออกมาเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งถือว่าไม่ขัดกับข้อยกเว้นทั่วไปของความตกลงองค์การการค้าโลก หรือ WTO ที่แต่ละประเทศสามารถออกกฎระเบียบได้ แต่หากออกมาแล้วกลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ประเทศคู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติได้ถือเป็นมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs (Non- Tariff Barriers)
                    ทีมาข่าว คัดลอกบางส่วนจากข่าวสภาหอการค้าแผ่งประเทศไทย
หากจะทำการค้ากับประเทศเหล่านี้คงต้องหารายละเอียดรายประเทศเพิ่มเติมนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

EU Food News_คมธ.ยุโรปประกาศกฎระเบียบฉ. 558/2016 และฉ. 559/2016 อนุญาตให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม

คมธ.ยุโรปประกาศกฎระเบียบฉบับที่ 558/2016 และฉบับที่ 559/2016 อนุญาตให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมร่วมกันกำหนดปริมาณการผลิต 

เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2559 คมธ.ยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบฉบับที่ 558/2016 และฉบับที่ 559/2016 อนุญาตให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมร่วมกันกำหนดปริมาณการผลิต โดยอนุญาตให้องค์กรผู้ผลิต สมาคมผู้ผลิต และองค์กรระหว่างสาขาในอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นม (milk and milk products) สามารถทำข้อตกลงร่วมเพื่อกำหนดปริมาณการผลิตนมเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยกฎระเบียบทั้งสองฉบับมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ประกาศ (12 เม.ย. 2559)
การออกกฎระเบียบครั้งนี้ มีสาเหตุเนื่องจากรัสเซียขยายมาตรการคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์นมที่นำเข้าจาก EU กอปรกับความต้องการผลิตภัณฑ์นมของตลาดจีนลดลงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับการจัดสรรให้ผู้ผลิตแต่ละรายตามโควตาตั้งแต่ปี 2551 (หมดอายุไปตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. 2558) แต่ในขณะเดียวกัน หลายฝ่ายคาดว่า สถานการณ์ในตลาดโลกจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากนมของไทยที่ใช้ผลิตภัณฑ์นมนำเข้าภายใต้พิกัด 0401 (นมและครีมที่ไม่ทำให้เข้มข้นและไม่เติมน้ำตาล หรือสารทำให้หวานอื่นๆ) และพิกัด 0402 (นมและครีมที่ทำให้เข้มข้น หรือเติมน้ำตาล หรือสารทำให้หวานอื่นๆ) เป็นวัตุดิบในการผลิต เนื่องจากปริมาณการผลิตมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจพิจารณาหาแหล่งวัตถุดิบสำรองภายในประเทศหรือจากประเทศอื่นๆ ทดแทน

โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food Laws__EU แก้ไขบัญชีวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร Regulation (EU) No 2016/324

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 2016/324 of 7 March 2016 amending and correcting Annex II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council as regards the use of certain food additives permitted in all categories of foods ใน EU Official Journal L 61/1 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                 ๑. การแก้ไขครั้งนี้เป็นการแก้ไข Annex II (Part A) ใน Regulation (EC) No 1333/2008 ซึ่งกำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                       ๑.๑ ให้เพิ่มประเภทของอาหารใน Table ๑. ของ Part A โดยหลังจากข้อที่ ๑๒. พาสต้าแห้ง ยกเว้นที่ปลอดกลูเตนและ/หรือพาสต้าสำหรับ hypoproteic diets ตาม Directive 2009/39/EC ให้เพิ่มข้อที่ ๑๓. อาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก ตาม Regulation (EU) No 609/2013 รวมทั้งอาหารพิเศษทางการแพทย์ สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
                       ๑.๒ ให้แก้ไข Part E ของ Annex II จากเดิม หัวข้อประเภทอาหาร “0. วัตถุเจือปนอาหารที่ อนุญาตให้ใช้ในอาหารทุกประเภท ให้เปลี่ยนเป็น “0. วัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารทุกประเภท ทั้งนี้ ไม่รวมถึงอาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก ยกเว้นกรณีที่มีการอนุญาตไว้เป็นพิเศษ (except where specifically provided for)
                       ๑.๓ เพิ่มรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร ๑๑ รายการ ใน “0. วัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ใน อาหารทุกประเภทดังนี้
                              ๑.๓.๑ สาร Carbon dioxide (E ๒๙๐) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ใน อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๒ สาร Phosphoric acid – phosphates-di-, tri- and polyphosphates (E ๓๓๘-๔๕๒) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณ ๑๐,๐๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม เฉพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นผงแห้ง  ยกเว้นอาหารที่กำหนดใน Table ๑. ของ Part A ของภาคผนวกนี้
                              ๑.๓.๓ สาร Beta-cyclodextrin (E ๔๕๙) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณเท่าที่จำเป็น เฉพาะอาหาร อัดเม็ด (tablet) และอัดเม็ดเคลือบ  ยกเว้นอาหารที่กำหนดใน Table ๑. ของ Part A ของภาคผนวกนี้
                              ๑.๓.๔ สาร Silicon dioxide – silicates (E ๕๕๑-๕๕๓) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณ ๑๐,๐๐๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม เฉพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นผงแห้ง ยกเว้นอาหารที่กำหนดใน Table ๑. ของ Part A ของภาค ผนวกนี้
                              ๑.๓.๕ สาร Silicon dioxide – silicates (E ๕๕๑-๕๕๓) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เฉพาะอาหารอัดเม็ด (tablet) และอัดเม็ดเคลือบ ยกเว้นอาหารที่กำหนดใน Table ๑. ของ Part A ของภาคผนวกนี้
                              ๑.๓.๖ สาร Argon (E ๙๓๘) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ในอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๗ สาร Helium (E ๙๓๙) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ในอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๘ สาร Nitrogen (E ๙๔๑) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ในอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๙ สาร Nitrous oxide (E ๙๔๒) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ใน อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๑๐ สาร Oxygen (E ๙๔๘) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ใน อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก
                              ๑.๓.๑๑ สาร Hydrogen (E ๙๔๙) อนุญาตให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถใช้ในอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก             
                 ๒. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศลงใน EU Official Journal แล้ว (ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙)  สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้

โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Thai Food News_บทความดีๆเกี่ยวกับสินค้าประมง



ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมงค่ะ

Australia Food Law _ List หลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของออสเตรเลีย

ถ้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไป ออสเตรเลีย อย่าลืมมีรายการเกณฑ์การนำเข้าส่งออกตามนี้เป็นข้อมูลนะคะ
หลักเกณฑ์การส่งออกผลิตภัณฑ์แซลมอนไปยังออสเตรเลีย
หลักเกณฑ์การส่งออกสินค้ากุ้งไปออสเตรเลีย

ที่มา กรมประมงค่ะ