วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559

USA Food News_US-FDA แจ้งเตือนพบสารพิษตกค้างในกุ้ง

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ออกประกาศแจ้งเตือนหลังสุ่มตรวจพบสารตกค้าง nitrofurans และ chloramphenicol  ในสินค้ากุ้งจากมาเลเซียซึ่งเป็นสารปฎิชีวนะต้องห้ามของสหรัฐฯ   (ยกเว้นรัฐซาบาห์และซาราวัก) โดยทาง USFDA ได้บันทึกรายชื่อของบริษัทที่มีการดำเนินการหรือขนส่งกุ้ง จากคาบสมุทรมาเลเซีย ในระบบ Import Alerts ส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าจากบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในระบบ Import Alerts อาจถูกกักกันที่ด่านนำเข้าโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบทางกายภาพ (physical examination) เพื่อเป็นการปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคของสหรัฐฯ

                 ทั้งนี้ USFDA ได้ร้องขอให้ทางรัฐบาลมาเลเซียตรวจสอบสาเหตุของปัญหาการปนเปื้อนและปรับปรุงการดำเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อป้องกันการส่งออกกุ้งที่มีสารดังกล่าวจากมาเลเซียมายังสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมาเลเซียได้ประกาศห้ามใช้สาร nitrofurans และ chloramphenicol ในธุรกิจฟาร์มอาหารทะเลแล้ว  แต่เนื่องจาก FDA ยังพบการปนเปื้อนของสารทั้ง 2 ชนิดในสินค้ากุ้งนำเข้าจากมาเลเซียอยู่  ซึ่งจากสถิติพบว่าในปีงบประมาณ 2558 มีการตรวจพบตัวอย่างจำนวน 45 จาก 138 ตัวอย่างทั้งหมดปนเปื้อนสาร nitrofurans และ chloramphenicol 


ที่มา : thefishsite.com : สรุปโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เติบโตต่อเนื่อง

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศอัตราการขยายตัวและแนวโน้มในการเติบโตของสินค้าเกษตรอินทรีย์และจากสถิติพบว่ามีผู้ประกอบการสินค้าออแกนิคที่ได้รับการรับรองในสหรัฐ จำนวน 21,781 ราย และผู้ประกอบการจากทั่วโลก จำนวน 31,160 รายซึ่ง

                สอดคล้องกับข้อมูลของหน่วยงาน Agricultural marketing Service (AMS) National Organic Program (NOP) ที่ระบุว่าจำนวนผู้ประกอบการภายในประเทศที่ได้รับการรับรอง มีอัตราเพิ่มขึ้น 12%ระหว่างปี 2557-2558 ซึ่งมากกว่าอัตราการเติบโต ในปี 2551 เพิ่มขึ้นจากจุดเริ่มต้นในปี 2545 เกือบ 300%  

                ในปัจจุบันตลาดค้าปลีกสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐฯ มีมูลค่ามากกว่า 39,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมูลค่ามากกว่า 75,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทั่วโลก ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลขานุการด้านการเกษตรสหรัฐฯ ได้กล่าวว่าจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภคสหรัฐฯ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากกว่า 1 พันล้านบาท ในกว่า 40,000 ธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่นและโครงสร้างพื้นฐานในระหว่างปี 2552 และจากข้อมูลของภาคอุตสาหกรรมพบว่าธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่นของสหรัฐฯ มียอดจำหน่ายอย่างน้อย 12,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2554 เพิ่มขึ้น 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

                กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กล่าวว่าปัจจุบันมีแผนการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้าเกษตรอินทรีย์มากกว่า 7 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งช่วให้เข้าถึงระบบการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์และบรรลุเป้าหมายถึงกลยุทธ์ Sound and Sensible  ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ
 
 
 
ที่มา The Pig Site สรุปโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_USDA เสนอปรับมาตรฐานการผลิตสัตว์อินทรีย์

หลังจากที่หน่วยงานบริการการตลาดภาคเกษตร (Agricultural Marketing Service: AMS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) เสนอร่างปรับแก้ข้อกำหนดการผลิตสัตว์ปีกและปศุสัตว์อินทรีย์ในประเทศ ทำให้มาตรฐานเกี่ยวกับการผลิตสัตว์อินทรีย์มีแนวโน้มถูกเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นใจในการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดและสร้างข้อมูลการผลิตที่ชัดเจนให้แก่ผู้บริโภค

                ฝ่ายบริหาร AMS กล่าวว่า ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดนี้ถือเป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วย การกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานและการรับรองที่เข้มงวดและชัดเจนขึ้นสำหรับสัตว์ปีกและปศุสัตว์อินทรีย์ ที่จะเป็นรากฐานของการรับรองสัตว์อินทรีย์โดยคณะกรรมการบริหารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (The National Organic Standards Board) ทั้งยังถือเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องหมายเกษตรอินทรีย์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเกษตรอินทรีย์เติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยมีข้อกำหนดหลัก ได้แก่

                 • การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกให้มีสุขภาพและสวัสดิภาพที่ดี รวมถึงการระบุวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งและการฆ่า

                 • กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสัตว์ที่อนุญาต/ไม่อนุญาตในการผลิต สำหรับการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกอินทรีย์

                 • สร้างข้อกำหนดพื้นที่ขั้นต่ำสำหรับสัตว์ปีกทั้งแบบเลี้ยงกลางแจ้งและเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงแบบปิด
 
 
 
ที่มา: thepoultrysite สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

EU Food News_EU เตรียมบังคับใช้กฎหมายสุขภาพสัตว์ฉบับใหม่ปลายเมษายน 59

สหภาพยุโรปลงมติยอมรับกฎหมายสุขภาพสัตว์ฉบับใหม่ โดยคณะกรรมาธิการด้านความปลอดภัยอาหารและสุขภาพ กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นตัวช่วยในการต่อสู้กับโรคสัตว์และเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

                กฎหมายฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 เมษายน 2559 ถือเป็นการปูทางให้ระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคจากสัตว์เพิ่มมากขั้น ทั้งโรคติดต่อในสัตว์ เช่น โรคปากเท้าเปื่อย โรค Bluetongue ที่สามารถสร้างความเสียหายแก่สังคมและเศรษฐกิจได้ และโรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น โรคไข้หวัดนก หรือโรคอุบัติใหม่อื่นๆ

                กฎหมายฉบับใหม่นี้เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมกรอบการดำเนินงานด้านสุขภาพสัตว์อย่างไม่ซับซ้อนและมีความชัดเจนต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่ากฎหมายฉบับเดิมด้วย ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดลำดับความสำคัญเมื่อต้องจัดการกับโรคสัตว์ได้ ทั้งยังระบุความรับผิดชอบระหว่างผู้เลี้ยงสัตว์ พ่อค้า สัตวแพทย์ กับหน่วยงานระดับชาติ พร้อมทั้งวางเครื่องมือการแจ้งเตือนและการตรวจสอบให้ดีกว่าเดิมเพื่อต่อสู้กับโรคสัตว์ ซึ่งจะช่วยลดการเกิดโรคระบาดในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและช่วยลดผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย

                นอกจากนี้ กฎหมายฉบับใหม่ยังตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ พร้อมทั้งวางรากฐานในการกำหนดการตรวจสอบเชื้อก่อโรคในสัตว์ที่มีการดื้อยาปฏิชีวนะ และยังมีการเสนอข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยารักษาสัตว์และยาที่ผสมในอาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบันรัฐสภายุโรปและสภาได้เริ่มเจรจากันแล้ว
 
 
ที่มา: thepoultrysite สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

EU Food News_MEPs ย้ำสนับสนุนข้อบังคับการติดฉลาก COOL


สมาชิกสภายุโรป (MEPs) ด้านความปลอดภัยอาหารเน้นย้ำการสนับสนุนการเพิ่มข้อบังคับการติดฉลากแหล่งกำเนิด (Country of origin labelling: COOL) สำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม

                MEPs กล่าวว่า ข้อบังคับการติดฉลาก COOL จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการทำให้ห่วงโซ่อาหารมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่ง MEPs ได้สนับสนุนข้อบังคับการติดฉลากแหล่งกำเนิดหรือแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป และการติดฉลากดังกล่าวควรทำให้มีผลบังคับใช้กับเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อสุกร เนื้อแกะ เนื้อแพะ และเนื้อสัตว์ปีก)
นมและนมที่ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นม อาหารที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบชนิดเดียว และส่วนประกอบที่มีสัดส่วนในอาหารมากกว่า 50%

                นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในปี 2556 พบว่า ผู้บริโภค 84% เห็นว่ามีความจำเป็นต่อการบ่งบอกแหล่งที่มาของนม 88% เห็นว่ามีความจำเป็นในการติดฉลากสำหรับเนื้อสัตว์ (เนื้อสัตว์นอกเหนือจากเนื้อวัว หมู แกะ แพะ และสัตว์ปีก ซึ่งคลอบคลุมแล้ว) และมากกว่า 90% เห็นว่าการติดฉลากสำหรับอาหารแปรรูปมีความสำคัญ

                ทั้งนี้ MEPs ยังชี้ให้เห็นว่า การบังคับให้บ่งชี้แหล่งที่มาของนมที่ใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นม เป็นมาตรการที่มีประโยชน์เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม ต่อสู้กับอาหารปลอมแปลงและป้องกันปัญหาการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก่อนหน้านี้ MEPs ได้เสาะหาความเห็นเกี่ยวกับการติดฉลากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง




ที่มา: thecattlesite สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ


* Member of the European Parliament (MEPs)

China Food News _จีนยกเลิกมาตรการควบคุมตรวจสอบยุงในตู้สินค้าจากประเทศไทย

ตามที่ประเทศจีนได้ประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันเชื้อไวรัสซิก้าแพร่กระจายเข้าสู่จีนจาก 40 ประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิก้า ได้แก่ ทวีปอเมริกา 31 ประเทศ โอเชียเนีย 6 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 2 ประเทศ  ได้แก่  มัลดีฟส์และไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2559 โดยกำหนดให้หน่วยงานตรวจสอบการนำเข้าส่งออกของจีน (CIQ) ตรวจสอบยานพาหนะขนส่งสินค้า อาทิ ตู้สินค้า กระเป๋าสัมภาระ และพัสดุไปรษณีย์ที่มาจากประเทศดังกล่าวอย่างเข้มงวด โดยตู้สินค้าจากประเทศดังกล่าวที่ไม่มีใบรับรองผ่านการกำจัดยุงจากประเทศต้นทาง เจ้าหน้าที่ของจีนจะดำเนินการกำจัดยุงก่อนดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าเข้าประเทศ โดยจะคิดค่าใช้จ่ายสินค้าขึ้นอยู่กับขนาดของตู้สินค้าและวิธีการกำจัดยุง แต่หากตู้สินค้ามีการแสดงใบรับรอง  สินค้าก็จะถูกปล่อยผ่านเข้าสู่กระบวนการตรวจปล่อยตามปกติ และอาจมีการสุ่มตรวจซึ่งหากตรวจพบว่ามียุงในตู้สินค้าเจ้าหน้าที่จีนจะดำเนินการกำจัดยุงซ้ำและคิดค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้

               ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ถอนชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิก้ารวมทั้งจีนได้ยกเลิกมาตรการดังกล่าวต่อฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2559  และไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองการกำจัดยุงสำหรับการส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีน
 
 
ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_FSIS ปรับระเบียบความปลอดภัยอาหารจากสุกร

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2552 หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร (Food Safety and Inspection Service : FSIS) กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ประกาศร่างระเบียบที่แก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติมจากระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์จากเนื้อและสัตว์ปีกในปัจจุบัน 
  ในส่วนของข้อกำหนดการควบคุมและกำจัดพยาธิตัวกลมสำหรับสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรให้มีความเหมาะสม 
 ปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์จากเนื้อและสัตว์ปีกที่ผ่านกระบวนการทำให้ปลอดเชื้อด้วยความร้อน
 ในส่วนของการยกเลิกข้อกำหนดการควบคุมพยาธิตัวกลมสำหรับสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรนั้น เนื่องจาก FSIS เห็นว่ามีกฎระเบียบด้านการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมความเสี่ยงจุดวิกฤติ (HACCP) ในสถานประกอบการผลิต ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงของพยาธิตัวกลมและปรสิตอื่นๆ อยู่แล้ว

                ทั้งนี้ FSIS จะพัฒนาคู่มือแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเพื่อประกาศระเบียบฉบับสมบูรณ์และร่างกฎระเบียบดังกล่าวจะเปิดรับข้อคิดเห็นเป็นเวลา 60 วัน ผ่าน 
www.Regulations.gov โดยสามารถสืบค้นได้จาก Docket No. FSIS 2015-0036
 
 
ที่มา The Pig Site สรุปโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 

EU Food Laws: List 2016

รายการไหนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือธุรกิจตัวเองก็ save เก็บไว้นะคะ  

·         Commission Regulation (EU) 2016/178 of 10 February 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards removal from the Union list of certain flavouring substances 

·         Commission Regulation (EU) 2016/156 of 18 January 2016 amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for boscalid, clothianidin, thiamethoxam, folpet and tolclofos-methyl in or on certain products 

·         Commission Implementing Regulation (EU) 2016/148 of 4 February 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 798/2008 as regards the entry for the United States in the list of third countries, territories, zones or compartments from which certain poultry commodities may be imported into or transit through the Union in relation to highly pathogenic avian influenza of the subtype H7N8 

·         Commission Delegated Regulation (EU) 2016/127 of 25 September 2015 supplementing Regulation (EU) No 609/2013 of the European Parliament and of the Council as regards the specific compositional and information requirements for infant formula and follow-on formula and as regards requirements on information relating to infant and young child feeding 

·         Commission Delegated Regulation (EU) 2016/128 of 25 September 2015 supplementing Regulation (EU) No 609/2013 of the European Parliament and of the Council as regards the specific compositional and information requirements for food for special medical purposes 

·         Commission Implementing Regulation (EU) 2016/129 of 1 February 2016 amending Regulation (EU) No 37/2010 as regards the substance ‘Purified semi-solid extract from Humulus lupulus L. containing approximately 48 % of beta acids (as potassium salts)’ 
·         Commission Regulation (EU) 2016/71 of 26 January 2016 amending Annexes II, III and V to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for 1-methylcyclopropene, flonicamid, flutriafol, indolylacetic acid, indolylbutyric acid, pethoxamid, pirimicarb, prothioconazole and teflubenzuron in or on certain products 

·         Commission Implementing Decision (EU) 2016/87 of 22 January 2016 on the withdrawal from the market of existing products derived from MON 863 (MON-ØØ863-5) and repealing Decisions 2010/139/EU, 2010/140/EU, 2010/141/EU authorising the placing on the market of products containing, consisting of, or produced from genetically modified maize MON863×MON810×NK603 (MON-ØØ863-5×MON-ØØ81Ø-6×MON-ØØ6Ø3-6), MON863×MON810 (MON-ØØ863-5×MON-ØØ81Ø-6) and MON863×NK603 (MON-ØØ863-5×MON-ØØ6Ø3-6) pursuant to Regulation (EC) No 1829/2003 of the European Parliament and of the Council 

·         Commission Regulation (EU) 2016/75 of 21 January 2016 amending Annex III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for fosetyl in or on certain products 

·         Commission Regulation (EU) 2016/67 of 19 January 2016 amending Annexes II, III and V to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for ametoctradin, chlorothalonil, diphenylamine, flonicamid, fluazinam, fluoxastrobin, halauxifen-methyl, propamocarb, prothioconazole, thiacloprid and trifloxystrobin in or on certain products 

·         Commission Regulation (EU) 2016/60 of 19 January 2016 amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for chlorpyrifos in or on certain products 

·         Council Regulation (Euratom) 2016/52 of 15 January 2016 laying down maximum permitted levels of radioactive contamination of food and feed following a nuclear accident or any other case of radiological emergency, and repealing Regulation (Euratom) No 3954/87 and Commission Regulations (Euratom) No 944/89 and (Euratom) No 770/90  

·         Commission Regulation (EU) 2016/53 of 19 January 2016 amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for diethofencarb, mesotrione, metosulam and pirimiphos-methyl in or on certain products 

·         Commission Regulation (EU) 2016/54 of 19 January 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards inclusion of gamma-glutamyl-valyl-glycine in the Union list of flavouring substances 

·         Commission Regulation (EU) 2016/55 of 19 January 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards certain flavouring substances

·         Commission Regulation (EU) 2016/56 of 19 January 2016 amending Annex II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council as regards the use of extracts of rosemary (E 392) in spreadable fats 

·         Commission Regulation (EU) 2016/46 of 18 January 2016 amending Annex III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for oxadixyl and spinetoram in or on certain products 

·         Commission Recommendation (EU) 2016/22 of 7 January 2016 on the prevention and reduction of ethyl carbamate contamination in stone fruit spirits and stone fruit marc spirits, repealing Recommendation 2010/133/EU 


·         Commission Regulation (EU) 2016/1 of 3 December 2015 amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for bifenazate, boscalid, cyazofamid, cyromazine, dazomet, dithiocarbamates, fluazifop-P, mepanipyrim, metrafenone, picloram, propamocarb, pyridaben, pyriofenone, sulfoxaflor, tebuconazole, tebufenpyrad and thiram in or on certain products 

EU Food Laws_GM Food Legislation in the European Union


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

EU Food News_EU อนุญาตให้ใช้ gamma-glutamyl-valyl-glycine เป็นสารแต่งกลิ่นรสในอาหาร

เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 1098/2014 of 17 October 2014 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards inclusion of gamma-glutamyl-valyl-glycine in the Union list of flavouring substances ใน EU Official Journal L 13/40 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                 ๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไข Annex I (Part A) ใน Regulation (EC) No 1334/2008 ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ที่สหภาพยุโรปอนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขในครั้งนี้ สืบเนื่องจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร ประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้ประเมินความปลอดภัยในการใช้สาร gamma-glutamyl-valyl-glycine (FL ๑๗.๐๓๘) และพบว่าไม่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค หากใช้ในปริมาณที่กำหนด
                 ๒. ในการนี้ EU จึงเห็นควรอนุญาตให้ใช้สาร gamma-glutamyl-valyl-glycine เป็นสารแต่งกลิ่นรสในอาหารได้ โดยมีเงื่อนไขของปริมาณการใช้งานตามประเภทสินค้าอาหารที่ระบุในภาคผนวก
                 ๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙)  สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เวปไซต์ ดังต่อไปนี้


โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Thai_Food Law Update : List of Primary processor & Cold Storage by DOF

มี่รายการ UPDATE จากปลายปีที่แล้วหลายรายการ ไปดาวน์โหลด เก็บข้อมูลไว้และประชุมทีมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องนะคะ

ตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เวบไซต์กรมประมงค่ะ

Thai_Food Law Update : เรื่อง กำหนดให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง กำหนดให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

Egypt Food News_อียิปต์ สั่งขึ้นทะเบียนสินค้าที่จะนำเข้าเริ่มเดือน มีนาคม พ.ศ. 2559

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สคร.) ณ กรุงไคโร แจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของอียิปต์ได้ออกพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 43 / 2016 โดยเป็นการปรับปรุงกฎหมายฉบับเดิม (พ.ร.ก. ฉบับที่ 991 / 2015 และ พ.ร.ก. ฉบับที่ 992 / 2015) โดยกำหนดให้โรงงานผู้ผลิต / หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าสินค้านำเข้าตามบัญชีแนบท้ายของ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว จะต้องขึ้นทะเบียนที่ศูนย์ควบคุมการนำเข้าส่งออกของอียิปต์ (General Organisation for Export and Import Control: GOEIC) และต้องยื่นเอกสารหลักฐานตามที่ GOIEC กำหนด เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียน


ทั้งนี้ นางดวงพร รอดพยาธิ์ กล่าวเสริมว่า มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป

โหลดไฟล์แนบได้ที่  หน้าลิงค์นี้  นะคะ


ที่มา กรมการค้าต่างประเทศค่ะ

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

EU Food News_มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารเกษตร EU เพิ่มขึ้น

รายงานสถิติการค้าอาหารเกษตรสหภาพยุโรป (EU) ฉบับล่าสุด รายงานว่า การส่งออกสินค้าอาหารเกษตรของสหภาพยุโรป ในเดือนมกราคม 2559 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 9.3 พันล้านยูโร เมื่อเทียบกับปี 2558
          สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร ผัก ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ประเภทเครื่องใน และเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ  ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ หนังสัตว์ (ลดลง 96 ล้านยูโร) และนมผงและน้ำตาล โดยการส่งออกไปยังไปยังสหรัฐฯ จีน บางประเทศในแอฟริกาเหนือ และประเทศในแถบตะวันออกกลาง (รวมทั้งอิหร่าน) มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น
          สำหรับช่วงกุมภาพันธ์ 2558- มกราคม 2559 สหภาพยุโรปมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารเกษตรมากกว่า 129 พันล้านยูโร ซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าสินค้าอาหารเกษตรของ EU ในเดือนมกราคม 2559 มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยจาก 9.3 พันล้านยูโร เหลือ 9.2 พันล้านยูโร โดยมีการลดการนำเข้าสินค้าจากแคนาดา บราซิล แต่มีการนำเข้าสินค้าจากยูเครนและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
          ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม 2559 ดุลการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรทุกชนิดของ EU เกินดุลการค้าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2558 ที่ขาดดุลการค้า โดยในช่วงกุมภาพันธ์ 2558 – มกราคม 2559 การส่งออกเกินดุลการค้า โดยมีมูลค่าประมาณ 16 พันล้านยูโร 

ที่มา: thepigsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

EU Food News_EU เปลี่ยนคำนิยาม น้ำส้มสายชู (EU) 2016/263

คณะกรรมมาธิการยุโรปได้ออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2016/263 ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex II ของ Regulation (EC) No 1333/2008) ที่พิจารณาชื่อของประเภทอาหาร :น้ำส้มสายชู (Vinegars) การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้ได้กำหนดชื่อใหม่ของน้ำส้มสายชู คือ น้ำส้มสายชู และกรดอะซิติกเจือจาง (Vinegars and Diluted acetic acid)  (เจือจางด้วยน้ำ 4-30% โดยปริมาตร) 

                เหตุที่ต้องเปลี่ยนชื่อ เนื่องจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ อนุญาติให้ใช้ชื่อ Vinegars ได้เฉพาะกับน้ำส้มสายชูที่ผลิตจากการหมักผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้น แต่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ทั้งน้ำส้มสายชูที่ผลิตจากการหมักผลผลิตทางการเกษตรและที่ผลิตจากการเจือจางกรดอะซิติกที่มีการวางขายในตลาด สามารถเรียก ‘vinegars’ ได้

                ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559

                สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
                (http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:32016R0263)


ที่มา: compliancecloud.selerant (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)

Taiwan Food News_TFDA ประกาศแก้ไขระเบียบการขออนุญาตขายอาหารเพื่อสุขภาพ

องค์การอาหารและยาไต้หวัน (TFDA) แก้ไขระเบียบการขออนุญาตขายอาหารเพื่อสุขภาพ โดยล่าสุดได้เพิ่มรายละเอียดด้านค่าธรรมเนียม ขั้นตอนในการดำเนินงาน และหน่วยงานที่รับผิดชอบการลงทะเบียนโดยมีรายละเอียดดังนี้

                ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตขายอาหารเพื่อสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบเบื้องต้น (preliminary examination) และค่าธรรมเนียมการทบทวน (reviewing fee)

                 - การแก้ไขด้านการจำกัดระยะเวลาในการส่งเอกสารให้ครบถ้วน
                 - เปลี่ยนชื่อหน่วยงานรับผิดชอบจาก สภาที่ปรึกษาอาหารสุขภาพ (Health Food Advisory Council) เป็น คณะกรรมการตรวจสอบอาหารเพื่อสุขภาพ (Health Food Review Panel.)

                ทั้งนี้ อาหารเพื่อสุขภาพตามความหมายของ พระราชบัญญัติควบคุมอาหารสุขภาพของไต้หวัน หมายถึง อาหารที่มีส่วนผสมของสารอาหารเฉพาะหรือมีประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาร่างกาย ซึ่งมีการโฆษณาหรือติดฉลากเฉพาะ  และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ ซึ่งตามกฎระเบียบสำหรับการขอใบอนุญาตในการขายอาหารเพื่อสุขภาพนั้น ผู้ผลิตและผู้นำเข้าอาหารต้องยื่นใบขออนุญาตกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการตรวจสอบและลงทะเบียน

ที่มา : compliancecloud.selerant : สรุปโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

EU Food News_EU พิจารณาแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักจากไทยที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป (Review ครั้งที่ ๒๓)

ตามที่ EU ได้ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักไทย ๑๐% ๕๐% ณ ด่านนำเข้าของสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 669/2009 ที่ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มพืชกลุ่มเสี่ยงของประเทศที่สามที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ นั้น
                ในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศผลการพิจารณาแก้ไขมาตรการ สุ่มตรวจเข้มครั้งที่ ๒๓ อย่างเป็นทางการใน EU Official Journal L 78/51 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2016/443 of 23 March 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 669/2009 as regards the list of feed and food of non-animal origin subject to an increased level of official controls on imports ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย Commission Implementing Regulation ดังกล่าวยังคงเป็นมาตรการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากการ Review ครั้งที่ผ่านมา ดังนั้น จึงสรุปภาพรวมการตรวจเข้มผักจากไทย ณ ปัจจุบัน ได้ดังนี้
                   ๑. คงการตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในผัก ๒ ประเภท คือ ผักในกลุ่มมะเขือ และถั่วฝักยาวจากไทย 
                   ๒. คงการตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ ๑๐% ในพริกจากไทย
                  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ จากการ Review ครั้งนี้ พบว่า EU
                   ๑. เพิ่มการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๕๐% ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงจากมาดากัสการ์
                   ๒.  เพิ่มการสุ่มตรวจหาสีซูดานปนเปื้อนที่ระดับ ๕๐% ในน้ำมันปาล์มจากกาน่า
                   ๓.  เพิ่มการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ  ๑๐% ในมะนาวจากตุรกี
                   ๔. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ  ๑๐% ในมะเขือกับมะระจากสาธารณรัฐโดมินิกัน
                 สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ดังนี้
            กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๓ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙) และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป 

โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU กำหนดเพิ่มประเภทของสารเสริมในอาหารสัตว์ (EC) No 2015/2294

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 2015/2294 of 9 December 2015 amending Regulation (EC) No 1831/2003 of the European Parliament and of the Council as regards the establishment of a new functional group of feed additives ตีพิมพ์ใน EU Official L324/3 ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้  
                  ๑. ตามที่ Regulation (EC) No 1831/2003 ได้กำหนดประเภทของสารเสริมที่อนุญาตให้ใช้ ในอาหารสัตว์ โดยแยกกลุ่มประเภทของสารเสริมดังกล่าวตามหน้าที่ (functions) และคุณสมบัติ (properties) ของสารนั้นๆ
                  ๒. บัดนี้ จากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพบว่า สารเสริมบางตัวช่วยเพิ่มสุข ลักษณะของอาหารสัตว์ โดยสามารถช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารสัตว์ เพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงในการติดเชื้่อที่มีผลต่อสุขภาพสัตว์ได้ ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้เพิ่มประเภทของสารเสริม นอาหารสัตว์่ขึ้นใหม่ โดยให้มีชื่อว่า กลุ่มสารเสริมทางเทคโนโลยี (technological additives) ซึ่งอาจเป็น สารหรือเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติช่วยปรับเงื่อนไขด้านสุขอนามัยของอาหารสัตว์ให้ดีขึ้น โดยการช่วยลดการ ปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ให้น้อย ลง
                  ๓. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ ดังนี้
                  ๔. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๘) 


โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU ระงับการใช้สารปรุงแต่งกลิ่นบางรายการ Regulation (EU) 2016/178

                  เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2016/178 of 10 February 2016 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards removal from the Union list of certain flavouring substances ใน EU Official Journal L 35/6 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                  ๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex I ของ Regulation (EC) No 1334/2008) ที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร  (Union list) ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อระงับการใช้สารซึ่งเคยอนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นได้ (flavouring substance) เนื่องจากภาคเอกชนผู้ผลิตสารในข้อ ๑.๑ ๑.๔ ได้ขอถอนการยื่นคำร้องที่จะใช้สารดังกล่าวและขอไม่ให้การสนับสนุนการใช้สารใน ข้อ ๑.๕ อีกต่อไป โดยมีรายชื่อสารดังต่อไปนี้
                        ๑.๑ vetiverol (FL No 02.214)
                        ๑.๒ vetiveryl acetate (FL No 09.821)
                        ๑.๓ 2-acetyl-1, 4, 5, 6-tetrahydropyridin (FL No 14.079)
                        ๑.๔ 2-propionyl pyrroline 1% vegetable oil triglycerides (FL No 14.168)
                        ๑.๕ methyl-2-mercaptoproprionate (FL No 12.266)
                     ดังนั้น หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร ประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) จึงเห็นควรระงับไม่ให้ใช้สารทั้ง ๕ รายการเพื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารอีกต่อไป
                 ๒. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ต่อไปนี้
                 ๓. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
                     อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่ง กลิ่นทั้ง ๕ รายการ ที่มีการวางจำหน่ายหรือติดฉลากในช่วง ๖ เดือนหลังจากที่กฎระเบียบนี้มีผลปรับใช้  สามารถ วางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมดอายุการบริโภค 


โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Thai_Food Law Update : เงื่อนไขการรับรองและการขอใบรับรองสุขอนามัยตามประเทศที่มีข้อกำหนด by DOF

รายการ UPDATE เงื่อนไขการตรวจรับรองแยกตามประเทศนะคะ
ไปดาวน์โหลด เก็บข้อมูลไว้และประชุมทีมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องนะคะ

ตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เวบไซต์กรมประมงค่ะ