วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Philippine Food News_BFAR ประกาศห้าม! จับปลาซาร์ดีน

ระทรวงประมงของเขตปกครองตนเองของชาวมุสลิมในมินดาเนา (ARMM) ของฟิลิปปินส์ได้ออกมาแจ้งเตือนปิดช่องแคบ Basilan และทะเล Sulu  เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้ปลาซาร์ดีนวางไข่ได้อย่างอิสระ

                ทั้งนี้ Amir Mawalil ประธานฝ่ายสารสนเทศ กล่าวว่าสำนักประมงและทรัพยากรทางน้ำ (BFAR) จะทำการปิดฤดูกาลในการจับปลาซาร์ดีนถึงเดือนมีนาคม รวมทั้งสั่งห้ามจับปลาซาร์ดีนและออกกฎหมายบังคับ แจ้งให้ประชาชนในท้องถิ่นอนุรักษ์ในช่วงฤดูวางไข่ และยังได้ประกาศห้ามเพื่อป้องกันการจัดจำหน่ายรวมถึงการซื้อและการครอบครองปลาซาร์ดีนที่อยู่ในพื้นที่เชตอนุรักษ์

                นอกจากนี้ยังได้มีการติดตามผลเพื่ออนุรักษ์ในการวางไข่ของสายพันธ์ปลาซาร์ดีนในทะเลฟิลิปปินส์ซึ่งครอบคลุมน่านน้ำทางตะวันออกของทะเล Sulu  ช่องแคบ Basilan และ Sibuguey 

 



ที่มา : thefishsite.com(20/01/59)และ มกอช.

Thai-China Food News_ไทย-จีนลงนามพิธีสารฯ ส่งออกสินค้าข้าว

ไทย-จีนลงนามพิธีสารฯ ส่งออกสินค้าข้าว มุ่งส่งเสริมความเชื่อมั่นในมาตราฐานและความปลอดภัยของข้าวไทย เตือนผู้ประกอบการไทยปฏิบัติเคร่งครัด
                รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคจีน (AQSIQ) ได้ร่วมลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกข้าวจากไทยไปจีน ในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 และจะมีผลบังคับหลังการลงนามแล้ว 6 เดือน หรือตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2559 พิธีสารดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นในมาตรฐานและความปลอดภัยของข้าวไทยที่ส่งออกไปจีนให้มากยิ่งขึ้น โดยขอให้ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกข้าวไปจีนปฏิบัติตามพิธีสารดังกล่าวอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้เกิดปัญหาการปฏิเสธการนำเข้าและส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวในภาพรวม โดยพิธีสารดังกล่าว กำหนดให้การส่งออกสินค้าข้าวไทยไปจีนต้องดำเนินการ ดังนี้

                1.ข้าวที่ส่งออกไปจีนจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร และกฎหมายและกฎระเบียบด้านการกักกันของทั้งประเทศไทยและจีน

               2. ข้าวที่ส่งออกไปจีนจะต้องปราศจากศัตรูพืช 8 ชนิด ได้แก่
                   1) Callosobruchus maculatus
                   2) Carpophilus mutilates
                   3) Solenopsis invicta
                   4) Crotalaria spectabilis
                   5) Ipomoea lacunose
                   6) Rapistrum rugosum
                   7) Sesbania exaltata
                   8) Sida spinoda

               3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยต้องสำรวจและตรวจติดตามศัตรูพืชในระหว่างการปลูกและเก็บรักษา และมีมาตรการควบคุมในกรณีที่เกิดปัญหาศัตรูพืช

               4. ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการผลิตข้าวส่งออกไปจีนต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย

               5. ตู้สินค้าต้องได้รับการตรวจสอบให้ปลอดจากศัตรูพืชและรมยาข้าวก่อนส่งออกทุกครั้ง

               6. ข้าวจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งออกทุกครั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานของไทยและจีน

               7. ใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบรับรองการรมยาต้องแนบไปกับข้าวที่ส่งออกไปจีน

               8. บรรจุภัณฑ์ข้าวต้องระบุชื่อ-ที่อยู่ของผู้ส่งออกเป็นภาษาอังกฤษ และข้อความภาษาจีน “本产品输往中华人民共和国” ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

               9. ข้าวที่ส่งออกจะถูกตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าของจีน โดยหน่วยงานตรวจสอบกักกันของจีน (CIQ) และหากมีการตรวจพบปัญหาสินค้าข้าวไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ฝ่ายจีนโดย AQSIQ จะแจ้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยเพื่อดำเนินการสืบสวนสาเหตุปัญหาและมาตรการแก้ไข

             10. หากมีการตรวจพบปัญหาสินค้าข้าวไม่เป็นไปตามข้อกำหนดบ่อยครั้ง ฝ่ายจีนจะเดินทางมาตรวจสอบระบบควบคุมสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของข้าวของไทย โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

             ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อและสอบถามได้ที่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกองนโยบายมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โทร 025612277 ต่อ 1304 หรือ E-mail : 
acfs.moac@gmail.com
 
 
ที่มา: มกอช. 

Food Law Update_Thai : LIST OF APPROVED ESTABLISHMENTS by DOF

มี่รายการ update จากปลายปีที่แล้วหลายรายการ ไปดาวน์โหลด เก็บข้อมูลไว้และประชุมทีมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องนะคะ

ตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เวบไซต์กรมประมงค่ะ

LIST OF APPROVED ESTABLISHMENTS


EU Food News_รายงานปัญหาสินค้านำเข้า/ส่งออก ของไทยประจำเดือน ธันวาคม 2558



รายละเอียดมีมากพอสมควร ตามไปอ่านเก็บข้อมูลและนำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าตัวเองนะคะ

คลิกลิงค์นี้ค่ะ

EU Food News_สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU และสินค้าไทยที่มีปัญหาในปี ๒๕๕๘

สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU และสินค้าไทยที่มีปัญหาในปี ๒๕๕๘
640x390_660095_1438949896
๑. สถิติการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU
         ๑.๑ ภาพรวม ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. – พ.ย. ๕๘ การส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น  ๓,๑๖๘.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๔๙๐ ล้านเหรียญสหรัฐหรือ -๑๓.๔%  เทียบกับ ช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า) แบ่งออกเป็น
-     การส่งออกสินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม, ปศุสัตว์, ประมง) ๑,๗๘๑.๕ ล้านเหรียญ สหรัฐหรือคิดเป็นสัดส่วน ๕๖%  ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU ทั้งหมด
-     การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ๑,๓๘๖.๘ ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น สัดส่วน ๔๔% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร-อาหารไทยไป EU ทั้งหมด
                                 EU นับเป็นตลาดส่งออกที่มีความสำคัญอันดับ ๔ ของไทย รองจากกลุ่มอาเซียน (๗,๖๗๗.๑  ล้านเหรียญสหรัฐ) ประเทศญี่ปุ่น  (๔,๒๙๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ) และสหรัฐอเมริกา (๓,๓๑๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ
ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญของไทย
ประเทศ
มูลค่า ล้านเหรียญสหรัฐ
อัตราขยายตัว (%)
สัดส่วน (%)
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
ม.ค.-พ.ย. 57
ม.ค.-พ.ย. 58
รวมทุกประเทศ
35,935.6
33,637.1
-1.64
-6.40
100.00
100.00
อาเซียน (9)
7,713.1
7,677.7
2.73
-0.46
21.64
22.83
ญี่ปุ่น
4,535.8
4,299.2
-9.19
-5.22
12.62
12.78
สหรัฐอเมริกา
3,471.5
3,317.1
-3.39
-4.45
9.66
9.86
สหภาพยุโรป (27)
3,658.3
3,168.3
-4.40
-13.39
10.18
9.42
ที่มาข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
                    ๑.๒ สินค้าเกษตรกรรมที่ไทยส่งออกไป  EU มากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ ไก่แปรรูป ๗๑๒.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๖๕.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า) ยางพารา ๓๒๒.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๕๗.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ) ข้าว ๑๘๘.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๑๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ)  เนื้อและส่วนต่างๆของสัตว์ที่บริโภคได้ ๑๘๘.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๘.๔ ล้าน เหรียญสหรัฐ)  ปลาหมึกสด แช่เย็น แช่แข็ง ๙๑ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๔๓.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ)
นอกจากนี้ สินค้าเกษตรกรรมอื่นๆที่มูลค่าการส่งออกไป EU ลดลงมากเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ลดลง ๑๑.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ) ไก่สด แช่เย็นและแช่แข็ง (ลดลง ๔๓.๘ ล้าน เหรียญสหรัฐ) กุ้งสด แช่เย็นและแช่แข็ง (ลดลง ๙๓.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ)
                  ๑.๓ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไทยส่งออกไป EU มากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป ๓๑๙.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๙๔.๑ ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับปีก่อน หน้า) ผลไม้กระป๋อง/แปรรูป ๓๐๘.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๕.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ)  อาหารสัตว์เลี้ยง ๑๖๔.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น ๖.๕ ล้านเหรียญสหรัฐ) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ๑๒๓.๓ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ) สิ่งปรุงรสอาหาร ๑๐๕.๙ ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลง ๗.๑ ล้านเหรียญสหรัฐ)
นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆที่มีมูลค่าการส่งออกไป EU ลดลงมากเทียบ ปีก่อนหน้า ได้แก่ ผักกระป๋องแปรรูป (ลดลง ๑๓.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ) ไขมันและน้ำมันจากพืช/สัตว์ (ลดลง ๖๑.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ)

๒. สินค้าที่ EU ตรวจพบว่ามีปัญหาในรายงานการแจ้งเตือนภัยด้านอาหาร (RASFF) ปี ๒๕๕๘
                    ๒.๑ ภาพรวม จากรายงาน RASFF ของ EU ในช่วงระหว่างเดือน ม.ค. – ธ.ค. ​๕๘ มีการ ตรวจพบสินค้าเกษตร-อาหารที่มีปัญหาจากทุกประเทศรวมทั้งหมด ๒,๙๙๐ รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ มาจากประเทศจีน (๓๗๒ รายการ) ตุรกี (๒๗๔ รายการ) และอินเดีย (๒๗๑ รายการ)
                    สินค้าเกษตร-อาหารจากไทยที่ถูกทาง EU แจ้งเตือนว่ามีปัญหามีจำนวนมากเป็นอันดับ ๑๔ หรือรวม ๗๐ รายการในปี ๒๕๕๘ (ลดลงจาก ๙๐ รายการในปี ๒๕๕๗) แบ่งเป็น สินค้าที่ได้มีการวางขาย ในท้องตลาดแล้ว (Alert notification) ๙ รายการ สินค้าที่ยังไม่ได้มีการวางขายในตลาด (information notification) ๒๘ รายการ และสินค้าที่ถูกควบคุม ณ ด่านนำเข้า (Border rejection) อีก  ๓๓ รายการ
                    ๒.๒ สินค้ากลุ่มที่ EU ตรวจพบว่ามีปัญหามากที่สุด ได้แก่ พืชผัก ผลไม้ (๑,๔๙๕ รายการ) อาหารแปรรูป (๕๑๒ รายการ) สินค้าสัตว์น้ำ (๔๘๐ รายการ) สินค้าจากปศุสัตว์ (๓๕๐ รายการ) และวัสดุที่ ใช้สัมผัสกับอาหาร (๑๕๓ รายการ)
                    สินค้าเกษตร-อาหารจากไทยกลุ่มที่ถูก EU ตรวจพบว่ามีปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ สินค้าจาก ปศุสัตว์ (๒๙ รายการ) รองลงมา คือ พืชผัก ผลไม้ (๒๗ รายการ) สินค้าสัตว์น้ำ (๑๐ รายการ) อาหาร แปรรูปและวัสดุที่ใช้สัมผัสกับอาหาร (อีก ๓ รายการ)
                     ๒.๓ ประเทศสมาชิก EU ที่แจ้งพบสินค้ามีปัญหามากที่สุด ได้แก่ อิตาลี (๕๑๗ รายการ) สหราชอาณาจักร (๓๓๕ รายการ) เยอรมนี (๒๗๐ รายการ) เนเธอร์แลนด์ (๒๕๘ รายการ) และฝรั่งเศส (๒๓๕ รายการ)     
                     ประเทศสมาชิก EU ที่แจ้งพบสินค้าที่มีปัญหาจากไทยมากที่สุด คือ เนเธอร์แลนด์ (๒๔ รายการ) รองลงมา คือ สหราชอาณาจักร (๑๐ รายการ) เยอรมนี (๗ รายการ) เดนมาร์ก (๕ รายการ) และฟินแลนด์ (๔ รายการ)
                    ๒.๔ รายละเอียดปัญหาที่ทาง EU ตรวจพบ แบ่งเป็น
                    -         ปัญหาสารตกค้างต่างๆ รวมทั้งหมด ๑,๔๖๕ รายการ ได้แก่ ปัญหาสารตกค้าง จำพวกสารพิษจากเชื้อรา aflatoxins (๔๙๐ รายการ) สารปราบศัตรูพืช (๔๐๐ รายการ) สารเคมีต่างๆ (๒๗๘ รายการ)  สารโลหะหนัก (๑๖๓ รายการ) สารสีหรือสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมี ปริมาณสูงเกินกำหนด (๗๙ รายการ) และปัญหาจากยารักษาโรคสัตว์ต้องห้ามหรือไม่ได้รับอนุญาต (อีก ๕๕ รายการ) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากตุรกี (๒๔๒ รายการ) จีน (๑๘๓ รายการ) และอินเดีย (๙๑ รายการ)
                    -         ปัญหาการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งสกปรกต่างๆ รวมทั้งหมด ๘๙๐ รายการ ได้แก่ การตรวจพบเชื้อ Salmonella (๕๑๐ รายการ) เชื้อ Listeria monocytogenes (๑๐๒ รายการ) และเชื้อ Escherichia coli (๖๗ รายการ) ที่เหลือเป็นปัญหาจากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ปรสิต ซากแมลงและ อาหารเน่าเสีย (อีก ๒๑๑ รายการ)  โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศอินเดีย (๑๕๐ รายการ)  ฝรั่งเศส (๗๖ รายการ) และโปแลนด์ (๗๐ รายการ)
                    -         ปัญหาจากการควบคุมมาตรฐานสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งหมด ๖๓๕ รายการ ได้แก่ ปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย (๒๘๘ รายการ) อาหารมีส่วนประกอบที่ไม่ได้แจ้งไว้ (๑๓๗ รายการ) การปนเปื้อนจากวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร  (๑๓๕ รายการ) ที่เหลือเป็นปัญหาการปนเปื้อนจากเศษวัสดุต่างๆ และฉลากอาหารไม่ถูกต้อง (อีก ๗๕  รายการ) โดยสินค้าส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน (๑๖๔ รายการ)
สำหรับสินค้าเกษตร-อาหารจากไทยที่ถูก EU ตรวจพบว่ามีปัญหามีรายละเอียด ดังนี้
                   -         ปัญหาสารตกค้างประเภทต่างๆ รวมทั้งหมด ๒๒ รายการ โดยไทยมีปัญหานี้มากเป็น อันดับที่ ๑๒ เทียบกับทุกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาสารตกค้างจากสารเคมี (๗ รายการ) รองลงมา คือ สารตกค้างจากสารปราบศัตรูพืช (๗ รายการ) สารพิษจากเชื้อรา  aflatoxins (๓ รายการ)  สารโลหะหนัก (๒ รายการ) และสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือมีปริมาณสูงเกินกำหนด (๒ รายการ)
                   -         ปัญหาการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งสกปรกต่างๆ รวมทั้งหมด ๓๙ รายการ โดยไทยมีปัญหานี้มากเป็นอันดับที่ ๘ เทียบกับทุกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากเชื้อ Salmonella มาก ที่สุด (๓๔ รายการ)  โดยเฉพาะการตรวจพบ Salmonella ในเนื้อไก่ แช่เย็นแช่แข็ง  ที่เหลือเป็นปัญหา จากเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆและอาหารเน่าเสีย (๕ รายการ)
                   -         ปัญหาจากการควบคุมมาตรฐานสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งหมด ๙ รายการ โดยไทยมี ปัญหานี้มากเป็นอันดับที่​​​ ๑๖ เทียบกับทุกประเทศ แบ่งเป็น ปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐานสุขอนามัย (๔ รายการ) อาหารมีส่วนประกอบที่ไม่ได้แจ้งไว้ (๔ รายการ) และปัญหาการปนเปื้อนจากวัสดุที่ใช้สัมผัสอาหาร (๑ รายการ)

โดย  : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

EU Food News_Summery ความสำคัญของระบบตรวจสอบย้อนกลับของสหภาพยุโรป

๑. ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (traceability system) หมายถึง ระบบติดตามการเดินทางของ อาหารตลอดทั้งวงจรนับตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การขนส่ง การกระจายสินค้าไปจนกระทั่ง อาหารถึงมือผู้บริโภค โดยแต่ละขั้นตอนต้องเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิตของตัวสินค้าไว้ เพื่ออำนวยความ สะดวกในการเรียกตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับและเพื่อให้การติดตามแหล่งที่มาของสินค้าทำได้เร็วขึ้น
    การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับมีประโยชน์ คือ ทำให้สืบหาแหล่งที่มาของอาหารได้อย่าง รวดเร็ว ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น  ลดค่าใช้จ่ายและปริมาณสินค้าที่ถูกเรียกคืน เพราะสามารถเรียกคืน เฉพาะสินค้าล็อตที่มีปัญหา เพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยอาหารและสอดคล้องกับความต้องการของ ผู้บริโภคที่อยากทราบที่มาของอาหาร และที่สำคัญ การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับช่วยกีดกันและป้องกัน อาหารที่ไม่ปลอดภัยไม่ให้ผ่านถึงผู้บริโภค

๒. ความเป็นมาของระบบตรวจสอบย้อนกลับใน EU เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ๒๐ ปีก่อน โดยภาคปศุสัตว์ของยุโรปเผชิญปัญหาจากโรควัวบ้า (BSE) ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่พบในวัว แพะและแกะ และ สามารถติดต่อสู่คนผ่านการบริโภคเนื้อหรืออวัยวะส่วนต่างๆของสัตว์ที่ติดโรค ทำให้เกิดโรคเนื้อเยื่อสมอง เสื่อมที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โรควัวบ้าระบาดหนักในประเทศอังกฤษราวปี ๒๕๓๙ และพบในหลายประเทศ ใน EU ทำให้วัวจำนวนมากถูกฆ่าเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคและความต้องการซื้อเนื้อวัวใน EU ตกต่ำ
    ดังนั้น ในปี ๒๕๔๓ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงออก “กฎระเบียบการติดฉลากเนื้อวัว หรือ Regulation (EC) 1760/2000 โดยบังคับให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเนื้อวัวต้องเก็บข้อมูลแหล่งที่มาของเนื้อวัว และจัดทำฉลากแสดงข้อมูลแหล่งที่มาของเนื้อวัวให้ผู้บริโภคทราบ[1] กฎระเบียบการติดฉลากเนื้อวัวมีวัตถุ ประสงค์เพื่อรับรองว่าชิ้นส่วนหรือซากเนื้อวัวที่จำหน่ายใน EU สามารถเชื่อมโยงและบ่งชี้แหล่งที่มาของสัตว์ แต่ละตัวหรือเป็นฝูงได้  ซึ่งจะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของเนื้อวัวกลับคืนมา
    ต่อมาในปี ๒๕๔๕ EU ออก “กฎระเบียบความปลอดภัยอาหาร หรือ Regulation (EC) 178/2002 เพิ่มเติมจากกฎระเบียบการติดฉลากเนื้อวัว แต่ขยายให้ครอบคลุมอาหารทุกประเภทและทุก ขั้นตอน กฎระเบียบความปลอดภัยอาหารยึดการตรวจสอบย้อนกลับเป็นหัวใจหลัก โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดไม่ว่าผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้จัดส่งและผู้จำหน่ายสินค้า ต้องมีระบบตรวจสอบ ย้อนกลับที่น่าเชื่อถือและสามารถแสดงรายละเอียดที่มาของอาหารหรือส่วนประกอบในอาหารที่ใช้ได้ ส่วน อาหารที่ไม่ปลอดภัยต้องถูกนำออกจากตลาด (withdraw) หรือเรียกคืนจากผู้บริโภค (recall)

๓. ภายหลังกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารของ EU มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมา มีหลายเหตุการณ์ที่พิสูจน์ว่า “การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ ช่วยปกป้องผู้บริโภคจากอาหารที่ไม่ปลอดภัย ทำให้จัดการกับปัญหาได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ” ดังเช่น
  • การตรวจพบนมที่มีสารตกค้าง dioxins ปริมาณสูงที่ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ๒๕๔๗ เมื่อตรวจสอบย้อนกลับพบว่ามีสาเหตุจากอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อน dioxins เพราะมันฝรั่งที่ใช้เป็นวัตถุดิบใน อาหารสัตว์มีการปนเปื้อน dioxins จากดินที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกคุณภาพมันฝรั่ง การมีระบบตรวจสอบ ย้อนกลับจึงช่วยให้ตรวจพบสาเหตุได้อย่างรวดเร็วและระงับการจำหน่ายสินค้าที่มีปัญหาได้ทันก่อนที่อาหาร จะไปถึงผู้บริโภค
  • ปัญหาโรคที่เกิดจากอาหารในปี ๒๕๕๔ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ E.coli สายพันธุ์ใหม่ที่มีความ รุนแรงสูง ทำให้มีผู้ป่วยมากกว่า ๔,๐๐๐ คนและเสียชีวิตกว่า ๕๐ คนใน ๑๖ ประเทศ โดยพบผู้ป่วยใน ประเทศเยอรมนีมากที่สุด ในช่วงเริ่มแรกสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากแตงกวาที่นำเข้าจากสเปน แต่เมื่อตรวจ สอบย้อนกลับจนพบความจริงว่าเกิดจากถั่วงอก (sprouts) ที่ปลูกด้วยเมล็ด fenugreek ล็อตที่นำเข้าจาก ประเทศอียิปต์เมื่อปี ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ EU จึงสั่งระงับการนำเข้าเมล็ด fenugreek เมล็ดพันธุ์พืชอื่นๆ และถั่วงอกจากประเทศอียิปต์ทันที ปัญหาจึงค่อยๆ สิ้นสุดลง
  • การตรวจพบ DNA ของเนื้อม้าในผลิตภัณฑ์อาหารหลายอย่างที่ทำจากเนื้อวัวในปี ๒๕๕๖ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรงฆ่าสัตว์ในประเทศโรมาเนียแอบปลอมปนเนื้อม้าที่มีราคาถูกในเนื้อวัวและจำหน่ายเนื้อ ปลอมปนผ่านผู้ค้าอาหารหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งถูกส่งมายังโรงงานแปรรูปอาหารรายใหญ่ในสหราช อาณาจักร (Findus) หลังจากนั้นอาหารถูกส่งผ่านซุเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่มีสาขามากมายในยุโรป (เช่น Tesco, Iceland, Aldi, Lidl) และทำให้ปัญหาอาหารที่มีเนื้อม้าปลอมปนแพร่กระจายออกไปในหลาย ประเทศจนกลายเป็นปัญหาระดับ EU

                   แม้ว่าการบริโภคเนื้อม้าจะไม่ใช่ปัญหาความปลอดภัยอาหาร เพราะไม่ก่อให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพผู้บริโภค  แต่ก็สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดจากการติดฉลากไม่สอดคล้องกับความจริงและความไม่ โปร่งใสที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน  ซึ่งทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่ระบบตรวจสอบย้อนกลับทำให้ สืบหาต้นเหตุได้ภายในเวลาเพียง ๔๘ ชั่วโมง (นับตั้งแต่ตรวจพบ DNA เนื้อม้าในอาหารเป็นกรณีแรกใน ไอร์แลนด์จนกระทั่งสืบไปถึงโรงงานฆ่าสัตว์ในประเทศโรมาเนีย) และสามารถคัดแยกเฉพาะอาหารที่มีเนื้อม้า ปลอมปนออกจากตลาดได้ จึงทำให้ผู้บริโภค EU กลับมามั่นใจในอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดอีกครั้ง และธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้

๔. ระบบตรวจสอบย้อนกลับนอกจากทำให้ทราบแหล่งที่มาของอาหารได้อย่างรวดเร็ว ช่วย พิสูจน์ความปลอดภัยของอาหารและเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค EU ยังใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับเชื่อม โยงกับประเด็นอาหารดัดแปรพันธุกรรม การผลิตอาหารที่คำนึงถึงจริยธรรมหรือมีคุณค่าต่อสังคมด้านอื่นๆ และใช้ยืนยันแหล่งที่มาของสินค้าสัตว์น้ำว่ามาจากการทำประมงอย่างยั่งยืนและถูกกฎหมาย
  • กฎระเบียบ EU ว่าด้วยการตรวจสอบย้อนกลับและการติดฉลากอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิต ดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) หรือ Regulation (EC) No 1830/2003 กำหนดให้อาหารคนและอาหารสัตว์ ทุกชนิดที่ใช้หรือมีส่วนประกอบที่เป็น GMOs ไม่ว่าในขั้นตอนใดก็ตาม ต้องติดฉลากแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ ผู้บริโภคทราบ โดยผู้ประกอบการต้องเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งที่มาของอาหารหรือส่วนประกอบในอาหารที่ เป็น GMOs เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ กฎระเบียบนี้จึงบังคับให้ทุกฝ่ายที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารที่ผลิตหรือใช้ส่วนประกอบที่เป็น GMOs จะต้องส่งผ่านข้อมูลให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ส่วนนผู้บริโภคจะรับรู้ข้อมูล GMOs จากฉลากสินค้าและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการ ตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร
  • EU ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ควบคู่กับการติดฉลาก เพื่อสื่อสารข้อมูลคุณค่าของอาหาร ที่เกิดจากการผลิตอย่างคำนึงถึงจริยธรรมหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้านอื่นๆ ให้ผู้บริโภครับรู้ เช่น อาหารที่ผลิตโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ การปกป้องสิ่งแวดล้อม สภาพการทำงานที่ดี การค้าที่เป็นธรรม หรือสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับที่ถูกต้องและโปร่งใสจึงช่วยเสริมสร้าง ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่าข้อมูลคุณค่าของอาหารตามที่ระบุไว้บนฉลากนั้นเป็นความจริง และผู้บริโภค สามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนสังคมหรือด้านอื่นได้ผ่านการเลือกซื้ออาหารที่ตรงกับความสนใจ
  • สำหรับสินค้าสัตว์น้ำ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารและการติด ฉลากเช่นเดียวกับอาหารทั่วไปแล้ว กฎระเบียบควบคุมการทำประมงของ EU ได้แก่ Regulation (EC) 1224/2009 และ Regulation (EC) 404/2011 กำหนดให้สินค้าสัตว์น้ำที่วางจำหน่ายใน EU ต้องมี ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การจับหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไปจนกระทั่งสินค้าจำหน่าย ในร้านค้าปลีก และฉลากสินค้าสัตว์น้ำต้องบ่งบอกถึง ข้อมูลรหัสกำกับสินค้า  (lot number) ชื่อการค้าและ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อเรือประมงหรือผู้เพาะเลี้ยง รหัสสายพันธุ์ (FAO species code) วิธีการผลิต วันที่ผลิต ระบุว่าเป็นสัตว์น้ำจากการทำประมงในพื้นที่ใด จับจากแหล่งน้ำจืด หรือเพาะเลี้ยงในประเทศใด ฯลฯ 
                   นอกจากนี้ ตามกฎระเบียบป้องกัน ยับยั้งและขจัดการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ของ EU หรือ Regulation (EC) No 1005/2008 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา กำหนดให้สินค้าสัตว์น้ำที่นำเข้ามาจำหน่ายใน EU จะต้องมีใบรับรอง การจับสัตว์น้ำ (catch certificate) ประกอบขั้นตอนการนำเข้า โดยข้อมูลที่แสดงในใบรับรองการจับสัตว์น้ำ จะเชื่อมโยงกับระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำว่าไม่ได้มาจากการทำประมงแบบ IUU การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้าสัตว์น้ำ จึงมีส่วนสนับสนุนการทำประมงอย่างยั่งยืนและถูก กฎหมาย  นอกจากนี้ ระบบตรวจสอบย้อนกลับอาจเชื่อมโยงกับการพิสูจน์ว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นมาจากการทำ ประมงที่คำนึงถึงสวัสดิภาพแรงงาน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ามนุษย์ หรือเพื่อบ่งบอกว่าเป็น สินค้าสัตว์น้ำที่ผลิตจากในท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่คนพื้นเมือง เป็นต้น

๕. ปัจจุบันห่วงโซ่อุปทานอาหารมีความซับซ้อน มีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงถึงกัน มากขึ้น การผลิตสินค้าอาหารชนิดหนึ่งจึงอาจใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในอาหารที่มาจากหลายแหล่ง และอาหารที่ผลิตขึ้นจากประเทศหนึ่งก็อาจกระจายออกไปจำหน่ายหรือบริโภคในหลายประเทศ นอกจากนี้ ผู้บริโภคในสหภาพยุโรปต่างให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาของสินค้า ซึ่งต้องผลิตอย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน มีความปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้แรงงานที่เป็นธรรม
                   ดังนั้น การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับจึงมีความสำคัญ เพราะช่วยให้การสืบข้อมูลย้อนกลับ เกี่ยวกับการผลิตของตัวสินค้าง่ายขึ้น รวดเร็วและมองเห็นภาพเส้นทางการเดินทางของอาหารที่ชัดเจน ช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมคุณภาพอาหาร รวมทั้งติดตามได้ว่าปัญหาเริ่มต้นที่จุดใด  อันจะนำไปสู่การดำเนินการแยกอาหารที่ปนเปื้อนหรือไม่ปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง ช่วยปกป้องผู้บริโภคจาก อาหารที่เป็นอันตราย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

๖. ประเทศพัฒนาแล้วล้วนให้ความสำคัญกับระบบตรวจสอบย้อนกลับ (เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา ฯลฯ) แต่ EU เป็นภูมิภาคที่เข้มงวดกับเรื่องนี้มากที่สุดในโลก โดยบังคับให้ผู้ประกอบการ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานต้องทราบแหล่งที่มาของอาหารหรือส่วนประกอบในอาหารที่ใช้เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์ม ไปจนอาหารถึงจานของผู้บริโภค (from farm to fork) นั่นคือ ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าอาหารหรือวัตถุดิบ ที่ใช้มาจากผู้จัดจำหน่ายรายใดและจะถูกส่งต่อไปที่ไหน (one-step-backward, one-step-forward approach) สำหรับอาหารนำเข้าจากประเทศที่สามก็ต้องยึดหลักการเดียวกัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการของ ประเทศที่สามที่ต้องการส่งออกอาหารไปจำหน่ายใน EU ต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับมารองรับเช่นกัน เพื่อยืนยันแหล่งที่มาและเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารของ EU

๗. ข้อบังคับเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับถูกมองว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างหนึ่ง ของ EU เพราะทำให้ผู้ประกอบการในประเทศกำลังพัฒนามีความยุ่งยากมากขึ้นในการเตรียมเอกสารเพื่อ พิสูจน์แหล่งที่มาของอาหารและมีต้นทุนสูงขึ้น รวมทั้งลดโอกาสการส่งออกอาหารไป EU เพราะ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังขาดความสามารถหรือขาดระบบที่จะทำให้ติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
    อย่างไรก็ดี การมีระบบตรวจสอบย้อนกลับนอกจากจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคแล้ว ยังทำให้ภาค ธุรกิจได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อผู้ซื้อเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและความปลอดภัยของอาหาร ผู้ผลิต ก็จะมีโอกาสเข้าถึงตลาดหรือจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น และหากเกิดปัญหา ผู้ประกอบการสามารถเรียกคืนหรือรับผิดชอบเฉพาะสินค้าล็อตที่มีปัญหาเท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสีย และความเสี่ยงของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ระบบตรวจสอบย้อนกลับจะช่วยกีดกันอาหารที่มาจากกระบวน การผลิตที่ไม่ซื่อสัตย์หรือมีการปลอมแปลงออกไป ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดมีความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะผู้ผลิตไม่ต้องแข่งขันกับอาหารต้นทุนต่ำที่มาจากการทุจริตในวงจรอาหาร และเป็นการเพิ่มโอกาส การส่งออกอาหารไทยในตลาดต่างประเทศต่อไป

[1] ได้แก่ รหัสอ้างอิงเพื่อใช้ในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับหาแหล่งที่มาของเนื้อวัว ประเทศที่สัตว์กำเนิด ประเทศที่เลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าหรือ ชำแหละ สถานที่ตัดแต่งเนื้อสัตว์หรือแปรรูป

โดย  : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “เพิ่มศักยภาพนักธุรกิจไทยโดยใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ AEC”

 วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมริเวอร์ ซิตี้ จังหวัดมุกดาหาร
--------------------------------------------
นับเป็นโอกาสที่ดี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก จะได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระเบียบการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยอาศัยอานาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศ เป็นองค์กรหลัก กำหนดมาตรการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่มีอยู่ในความรับผิดชอบหลายรายการ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการค้าข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศ และที่สำคัญจะได้ทราบความคืบหน้าของความตกลงทางการค้าเสรี

♦สินค้าที่มีมาตรการนำเข้า–ส่งออกตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ มีจำนวนทั้งสิ้น 99 รายการ แบ่งเป็นสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า 62 รายการ สินค้าที่มีมาตรการส่งออก 22 รายการ สินค้าที่มีทั้งมาตรการนำเข้าและส่งออก 6 รายการ และสินค้าที่มีมาตรการคว่ำบาตร 9 ประเทศ

♦ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงทั้งสิ้น 12 ความตกลง ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP) ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไทย-อินเดีย (TIFTA) อาเซียน-จีน (ACFTA) อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) อาเซียน-เกาหลี (AKFTA) อาเซียน-อินเดีย (AIFTA) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ไทย-เปรู (TPCEP) และไทย-ชิลี (TCFTA) เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสินค้าส่งออก ซึ่งแต่ละ ความตกลงมีขั้นตอน กฎระเบียบ รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องกฎ ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

♦ล่าสุดสาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile) ประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงเป็นอันดับต้นๆ ของลาตินอเมริกาในปี 2557 ชิลีเป็นคู่ค้าไทยในอันดับที่ 42 ของโลก และอันดับ 3 ในภูมิภาค ลาตินอเมริการองจากบราซิล และอาร์เจนติน่า โดยการยกเลิกภาษีศุลกากรของชิลี ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 7,129 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด เช่น รถยนต์และยานยนต์ ปลาทูน่า ลิฟท์ โพลิเอทิลีน สับปะรด เป็นต้น ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA) มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ดังนั้น ชิลีจึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการรองรับการขยาย การส่งออกของสินค้าไทย

พบกับแนวทางการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงต่างๆ อาทิเช่น
• การบริหารนำเข้า–ส่งออก สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม
• การบุกตลาดลาตินอเมริกากับความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี (TCFTA)
• เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก AEC
• ผลิตถูกกฎ : ลดภาษีตามสิทธิ
• ทำฟอร์มถูกต้อง รับรองได้สิทธิลดภาษี

ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมสัมมนา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สามารถสมัครได้ทาง www.dft.go.th หรือส่งแบบตอบรับฯ ได้ทางโทรสารหมายเลข 02 547 4816 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ (คุณเบญจพร) โทร. 02 547 4855 หรือสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 9 (มุกดาหาร) โทร. 042 612 870 และ DFT Center 1385

สมัครและ download กำหนดการจาก

ที่นี่เลยค่ะ

Thai Food News_กรมการค้าต่างประเทศกำหนดระเบียบใหม่สำหรับการออกหนังสือรับรองการนำเข้า...สินค้าเกษตร 17 รายการ

ประชาสัมพันธ์ : กรมการค้าต่างประเทศกำหนดระเบียบใหม่สำหรับการออกหนังสือรับรองการนำเข้า และหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองการนำเข้านอกโควตา WTO สำค้าเกษตร 17 รายการ (คลิกรายละเอียดแบบฟอร์ม)

กำหนดระเบียบใหม่สำหรับการนำเข้านอกโควตา WTO สินค้าเกษตร 17 รายการ
                  กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เนื่องจากในแต่ละปีการนำเข้าสินค้าเกษตรที่เปิดตลาดพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีนอกโควตา มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อให้การบริหารจัดการการนำเข้าสินค้าเกษตรตามพันธกรณีนอกโควตา WTO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการนำเข้าในโควตา กระทรวงพาณิชย์จึงได้ออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีนอกโควตาสินค้าเกษตร 17 รายการ พ.ศ.2559   ลงวันที่ 7 มกราคม 2559 สาระสำคัญ ดังนี้ 

              1. สินค้าเกษตร 17 รายการ ได้แก่ น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะพร้าวและมะพร้าวฝอย ลำไยแห้ง เมล็ดกาแฟ  ชา พริกไทย ข้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว ผลิตภัณฑ์กาแฟ และไหมดิบ 
 
              2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรอง ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ โดยให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ (รายละเอียดตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีนอกโควตาสินค้าเกษตร 17 รายการ พ.ศ.2559 ลงวันที่ 19 มกราคม 2559)  
 
              3. เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอหนังสือรับรอง 
                            3.1  สำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice)
                            3.2  สำเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ (Bill of Lading : B/L) หรือสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้า 
                            3.3  สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : C/O) หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงว่าสินค้าเกษตร 17 รายการที่นำเข้าต้องมีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) หรือภาคีแกตต์ (GATT) 1947
                            3.4 ให้รายงานการนำเข้าต่อกรมการค้าต่างประเทศภายใน 30 วันนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่ละครั้ง ถ้าไม่รายงานจะระงับการออกหนังสือรับรองในครั้งถัดไปจนกว่าจะรายงานโดยถูกต้อง 
 
              4. สถานที่ยื่นขอหนังสือรับรองและรายงานการนำเข้า  กรมการค้าต่างประเทศหรือหน่วยงานที่กรมการค้าต่างประเทศมอบหมาย
             
              อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากระเบียบฯดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอหนังสือรับรองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยกำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนเป็นรายปี ต้องแสดงเอกสารหลักฐานประกอบการขอหนังสือรับรอง รวมทั้งต้องรายงานการนำเข้าตามเวลาที่กำหนดพร้อมแจ้งสถานที่เก็บสินค้าที่นำเข้า โดยกำหนดบทลงโทษกรณีไม่รายงานการนำเข้า  จึงขอให้ผู้ประสงค์จะขอหนังสือรับรองปฏิบัติตามระเบียบฯและประกาศฯโดยเคร่งครัด โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป 
             

              ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ โทร. 02-5474771-86 ต่อ 4716 , 02-547 5095

ที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม   กดที่นี่ค่ะ

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

USA Food News_USDA พิจารณาแก้ไขกฎระเบียบ COOL

 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ แถลงการณ์เกี่ยวกับการยกเลิกข้อบังคับการติดฉลากแหล่งกำเนิดสินค้า (COOL) สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อวัวและเนื้อหมู ซึ่งกำหนดไว้ในข้อบทภายใต้กฎหมาย The omnibus bill ทำให้ข้อบังคับการติดฉลากแหล่งกำเนิดสินค้า สำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อวัวและเนื้อหมูประเภทกล้ามเนื้อและเนื้อบด ถูกยกเลิกผลบังคับใช้ในทันที

               แต่เดิมผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อวัวจำต้องติดฉลากแหล่งกำเนิดสินค้า ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายฉบับสมบูรณ์ที่ประกาศเมื่อเดือนมกราคม 2552 และ พฤษภาคม 2557 ซึ่งกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จะดำเนินการแก้ไขกฎระเบียบการติดฉลากแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างรวดเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ และเนื้อสัตว์ทุกชนิดทั้งเนื้อสัตว์ที่นำเข้าหรือภายในประเทศจะยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างเข้มงวดจาก USDA เพื่อให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารเช่นเดิม
 
 
ที่มา: usda (07/01/59)
มกอช.

USA Food News_มะกันเปลี่ยนชื่อทางการค้าปลา Pollock

 เมื่อวันที่ 18 ธค.2558 สภาคองเกรสได้เห็นชอบต่อการเปลี่ยนแปลงชื่อสินค้าประมง Alaska Pollock ซึ่งเป็นปลาวงศ์ Atlantic Cod เพื่อให้มีความชัดเจนและลดความสับสนของผู้บริโภคเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าดังกล่าว โดยกำหนดให้ใช้ชื่อทางการค้าใหม่ว่า Pollock เท่านั้น จากเดิมที่สินค้าข้างต้นซึ่งถูกนำเข้าจากทั้งรัสเซียและมลรัฐอลาสก้าจะถูกติดชื่อว่า Alaska Pollock เหมือนกัน ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถแยกแยะแหล่งผลิต

                ในปัจจุบัน Pollock เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในการบริโภคในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และสหราชอาณาจักร โดยนิยมนำมาผลิตเป็นอาหารแปรรูป เช่น Fish Fingers ทางสถาบันการตลาดอาหารทะเลอลาสก้ากล่าวว่าแนวทางการเปลี่ยนชื่อนี้ถือเป็นการสนับสนุนความก้าวหน้าในด้านการติดฉลากสินค้าให้มีความชัดเจนซึ่งสามารถสร้างกลไกควบคุมทั้งในฝั่งผู้ผลิตและผู้บริโภคซึ่งสถาบันจะสนับสนุนการรณรงค์ในการเปลี่ยนฉลากในสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งทางสถาบันเชื่อว่าจะทำให้การส่งออกปลา Pollock จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถชี้ชัดถึงความแตกต่างของคุณภาพปลาแต่ละประเภทอีกด้วย


ที่มา : The fish Site (05/01/59)
มกอช.

AU-NZ Food News_FSANZ ห้ามจำหน่ายเมล็ดแอปริคอตดิบ

อาหารประเภทผักผลไม้บางชนิด เช่น เมล็ดแอปริคอตดิบ ประกอบไปด้วยไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (cyanogenic glycosides) ที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภค เพราะสารดังกล่าวสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ที่เป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ โดยก่อนหน้านี้มีรายงานการเกิดพิษจากการบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบใน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป
ในปี 2554 มีผู้บริโภคในควีนส์แลนด์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบที่มีไซยาไนด์ในปริมาณที่สูง และในปี 2557 ขณะที่หน่วยงาน Food Standards Australia New Zealand (FSANZ) ประกาศเตือนการบริโภคเมล็ดแอปริคอตดิบ ก็มีผู้บริโภคในรัฐ Western Australia ต้องเข้ารับการรักษาหลังการบริโภค หลังจากที่ FSANZ ได้ประเมินความเสี่ยงของอาหารที่มีไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ พบว่าเมล็ดแอปริคอตดิบทั้งมีเปลือกและลอกเปลือก สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยอย่างเฉียบพลัน

                ดังนั้นในเดือนกันยายน 2558 คณะกรรมการ FSANZ จึงได้อนุมัติข้อเสนอกฎระเบียบที่ห้ามจำหน่ายเมล็ดแอปริคอตดิบ และในเดือนพฤศจิกายน 2558 คณะรัฐมนตรีได้ยอมรับกฎระเบียบดังกล่าว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2558 
 
 
ที่มา: FSANZ (06/01/59)
มกอช.

EU Food News_EU เพิ่มและต่ออายุยาที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

 ในระหว่างช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๕๘  พบว่า EU ได้มีประกาศกฎระเบียบว่าด้วยการเพิ่มและต่ออายุยาที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substances) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ที่อนุญาตให้ใช้ใน EU ซึ่งมีความปลอดภัยต่อสุขภาพมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามหลักการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) จำนวน ๘ ฉบับ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
               ๑.  Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2033 of 13 November 2015 renewing the approval of the active substance 2,4-D in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ต่อระยะเวลาการอนุญาตสารออกฤทธิ์ 2,4-D ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๓ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                ๒. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2047 of 16 November 2015 renewing the approval of the active substance esfenvalerate, as a candidate for substitution, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ต่อระยะเวลาการอนุญาตสารออกฤทธิ์ esfenvalerate เพื่อให้เป็นสารทดแทน (Candidates for Substitution : CfS) เพื่อประเมินหาสารออกฤทธิ์ตัวอื่นที่ปลอดภัยกว่าแต่ให้ผลคล้ายคลึงกันและสามารถ นำมาใช้แทนสารดังกล่าวได้่ในอนาคต ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                  ๓. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/1885 of 20 October 2015 amending Implementing Regulation (EU) No 540/2011 as regards the extension of the approval periods of the active substances 2,4-D, acibenzolar-s-methyl, amitrole, bentazone, cyhalofop butyl, diquat, esfenvalerate, famoxadone, flumioxazine, DPX KE 459 (flupyrsulfuron-methyl), glyphosate, iprovalicarb, isoproturon, lambda-cyhalothrin, metalaxyl -M, metsulfuron methyl, picolinafen, prosulfuron, pymetrozine, pyraflufen-ethyl, thiabendazole, thifensulfuron-methyl and triasulfuron ต่อระยะเวลาการอนุญาตสารออกฤทธิ์ ตามที่ระบุข้างต้น จำนวน ๒๓ รายการเป็นการชั่วคราว จากเดิมที่สิ้นสุดการอนุญาตในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ ให้ขยายไปจนถึงวันที่  ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ เนื่องจาก EU ยังต้องใช้เวลาในการประเมินสาร ดังกล่าวต่อไป สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                ๔. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2069 of 17 November 2015 approving the basic substance sodium hydrogen carbonate in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 อนุญาตสาร sodium hydrogen carbonate ให้ใช้เป็นสารตั้งต้น มีผลตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                ๕. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2084 of 18 November 2015 approving the active substance flupyradifurone, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 อนุญาตสารออกฤทธิ์ flupyradifurone ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ – ๙ ธันวาคม ๒๕๖๘ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ดังนี้
                 ๖. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2085 of 18 November 2015 approving the active substance mandestrobin, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 อนุญาตสารออกฤทธิ์ mandestrobin ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ – ๙ ธันวาคม ๒๕๖๘ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ดังนี้
                ๗. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2105 of 20 November 2015 approving the active substance flumetralin, as a candidate for substitution, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 อนุญาตสารออกฤทธิ์ flumetralin เพื่อให้เป็นสารทดแทน (Candidates for Substitution : CfS) เพื่อประเมินหาสารออกฤทธิ์ตัวอื่นที่ปลอดภัย กว่าแต่ให้ผลคล้ายคลึงกันและสามารถนำมาใช้แทนสารดังกล่าวได้่ในอนาคต ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ – ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                 ๘. Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2198 of 27 November 2015 approving the active substance rescalure, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 อนุญาตสารออกฤทธิ์ rescalure ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ – ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๘ สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

BAP(Best Aquaculture Practices Certification) Standards

Products from BAP-certified facilities carry the Best Aquaculture Practices (BAP) logo. The BAP-standards cover:
Click link for see PDF file in English  เป็นภาษาอังกฤษ นะคะ ภาษาอื่นไม่ได้ลงให้
1. Seafood Processing and Repacking Plants อันนี้แก้ไขล่าสุดค่ะ