วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

China Food News : จีนประกาศใช้มาตรการ Safeguard น้ำตาลนำเข้า

จีนประกาศใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) กับผลิตภัณฑ์น้ำตาล (น้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลเพื่อการค้าขาย) เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เพื่อลดปริมาณนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำตาล โดยกำหนดอัตราภาษีศุลกากรภายในมาตรการ Safeguard ดังนี้
• วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ถึง 21 พฤษภาคม 2561 จัดเก็บที่อัตราร้อยละ 45 ของราคานำเข้า
• วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ถึง 21 พฤษภาคม 2562 จัดเก็บที่อัตราร้อยละ 40 ของราคานำเข้า
• วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ถึง 21 พฤษภาคม 2563 จัดเก็บที่อัตราร้อยละ 35 ของราคานำเข้า
                อนึ่ง ผลิตภัณฑ์น้ำตาลจากประเทศหรือเขตกำลังพัฒนาที่มีโควต้านำเข้าไม่เกินร้อยละ 3 และโควต้านำเข้าโดยรวมไม่เกินร้อยละ 9 จะได้รับการยกเว้นจากการใช้มาตรการ Safeguard
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://english.mofcom.gov.cn/article/policyrelease/buwei/201705/20170502583699.shtml
ที่มา: - สรุปโดย: มกอช.

Thai Food News:กรมประมง เร่งนำฟาร์มกุ้งแวนนาไมเข้าสู่มาตรฐาน มกษ.7432-2558

กรมประมง เตรียมบังคับใช้มาตรการสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับฟาร์มลูกกุ้งแวนนาไมปลอดโรค (มกษ.7432-2558) ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะครอบคลุมกิจการผลิตลูกกุ้งขาวแวนนาไม ในระยะ Nauplius และระยะ Post-larva เพื่อจำหน่าย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกกฎกระทรวง ลงประกาศวันที่ 5 กันยายน 2559 กำหนดให้มาตรฐาน มกษ.7432-2558 เป็นมาตรฐานบังคับใช้ในวันที่ 18 มิถุนายน 2560 นี้
                ทั้งนี้ กรมประมงได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการเร่งดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าลูกกุ้งทะเล เพื่อขอการรับรองมาตรฐาน มกษ.7432-2558 ภายในกำหนดเวลาที่มาตรฐานมีผลบังคับใช้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องดำเนินการได้ดังนี้ 
1. สมัครขอรับการรับรองเฝ้าระวังโรคกุ้งทะเล ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ของกรมประมงในพื้นที่
2. จัดทำคู่มือความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecuriry manual) และคู่มือการจัดการฟาร์มที่ดี
3. สมัครขอรับการรับรองมาตรฐาน มกษ. 7432 - 2558 ที่กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น (กมป.) กรมประมง
4. สมัครขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าลูกกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค ที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) หรือผ่านทางเว็บไซต์ 
http://tas.acfs.go.th/nsw/
                อนึ่ง กรมประมงได้ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการผลิตกุ้งแวนนาไมให้ดำเนินการมาตรการก่อนวันที่ 18 มิถุนายน 2560 หากผู้ประกอบการไม่ดำเนินการตามกระบวนการกำหนด จะถูกระงับการดำเนินกิจการทันทีและหากฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 ปรับไม่เกิน 300,000 บาท



สรุปโดย: มกอช.

Brazil Food News :บราซิลอนุญาตปลูกอ้อย GMO เชิงพาณิชย์แล้ว

                คณะกรรมธิการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของบราซิล (CTNBio) อนุญาตการปลูกอ้อย GM เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยคาดว่าจะสามารถปลูกได้ในพื้นที่อย่างน้อย 1.5 ล้านเฮกเตอร์ และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะเริ่มส่งออกน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย GM สู่ตลาดได้
                ปัจจุบัน บราซิลมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 10 ล้านเฮกเตอร์ และส่งออกน้ำตาลไปยังกว่า 150 ประเทศ ซึ่งกว่าร้อยละ 60 ของประเทศเหล่านี้ไม่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย GM ดังนั้น การที่ CTNBio ให้การรับรองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
                ทั้งนี้ อ้อยสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย (Diatraea saccharalis) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชหลักและทำลายผลผลิตเป็นมูลค่ากว่า 1.52 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี โดยอ้อย GM สายพันธุ์ดังกล่าวมียีนของเชื้อ Bt (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นเชื้อที่ใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมพืชโดยทั่วไป

ที่มา: reuters.com สรุปโดย: มกอช. 

Food Law Update__EU:EU กำหนดเงื่อนไขการผลิต การแปรรูป และการนำเข้าโปรตีนสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศตีพิมพ์ Commission Regulation (EU) 2017/893 of 24 May 2017 amending Annexes I and IV to Regulation (EC) No 999/2001 of the European Parliament and of the Council and Annexes X, XIV and XV to Commission Regulation (EU) No 142/2011 as regards the provisions on processed animal protein ใน EU Official Journal L 138/92 ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการผลิต การแปรรูป และการนำเข้าโปรตีนสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
               ๑. ข้อกำหนดของโปรตีนสัตว์แปรรูปจากแมลง :
                       ๑.๑ อนุญาตให้มีการใช้โปรตีนสัตว์แปรรูปจากแมลง สำหรับการใช้เลี้ยงสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง จากการประเมินของ EFSA พบว่า แมลงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมีความปลอดภัยและเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนที่ดีในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ประเภทที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง ดังนั้น จึงเห็นควรให้แก้ไข Annex X Section 1 Chapter II ใน Regulation (EU) No 142/2011 โดยให้เพิ่มรายชื่อแมลงที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตโปรตีนสัตว์แปรรูปได้ ซึ่งได้แก่ (๑) Black Soldier Fly (Hermetia illucens), (๒) Common Housefly (Musca domestica), (๓) Yellow Mealworm (Tenebrio molitor), (๔) Lesser Mealworm (Alphitobius diaperinus), (๕) House cricket (Acheta domesticus), (๖) Banded cricket (Gryllodes sigillatus) และ (๗) Field cricket (Gryllus assimilis)  
                       ๑.๒ อย่างไรก็ดี การแปรรูปจะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนกับโปรตีนชนิดอื่น โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องของ BSE จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยการแปรรูปแมลงนั้นจะต้องกระทำในโรงงานที่มีแต่การแปรรูปแมลงที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ห้ามกระทำร่วมกับการแปรรูปโปรตีนชนิดอื่นๆ รวมถึงจะต้องไม่ใช้มูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง/มูลมนุษย์ โปรตีน เนื้อและกระดูกป่นจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง และของเหลือเศษอาหาร ในการเลี้ยงแมลงดังกล่าว
                       ๑.๓ กำหนดแบบฟอร์มใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สำหรับการขอนำเข้าโปรตีนสัตว์แปรรูปจากแมลงที่ไม่ใช่สำหรับการบริโภคของมนุษย์ รวมถึงอาหารสัตว์ผสมและสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีส่วนผสมของโปรตีนดังกล่าว ที่นำเข้าจากประเทศที่สามไปยังสหภาพยุโรปหรือเพื่อส่งต่อไปยังอีกประเทศหนึ่ง
                       ๑.๔ กำหนดเงื่อนไขการขนส่งและการจัดเก็บวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) และ อาหารสัตว์ผสม (compound feed) สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง (ตาม section A)
                       ๑.๕ กำหนดเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการใช้ dicalcium phosphate และ tricalcium phosphate ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์และอาหารสัตว์ผสม (compound feed) ที่มีส่วนผสมของ phosphates ในการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง นอกเหนือไปจากสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเอาขน (fur animals) (ตาม section B)
                        ๑.๖ กำหนดเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการผลิตและใช้โปรตีนสัตว์แปรรูปจากสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง นอกเหนือไปจากปลาป่นและโปรตีนสัตว์แปรรูปที่ได้จากแมลงเพาะเลี้ยง และอาหารสัตว์ผสม (compound feed) ที่มีส่วนผสมของโปรตีนดังกล่าว สำหรับการใช้เลี้ยงสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง (ตาม section D)
                       ๑.๗ กำหนดเงื่อนไขเฉพาะสำหรับการผลิตและใช้โปรตีนสัตว์แปรรูปจากแมลงเพาะเลี้ยงและอาหารสัตว์ผสม (compound feed) ที่มีส่วนผสมของโปรตีนดังกล่าว สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง (ตาม section F)
               ๒. ข้อกำหนดของโปรตีนสัตว์แปรรูปจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง (โค-กระบือ แกะ และแพะ) : เนื่องจากสถานการณ์ของโรควัวบ้า (BSE) ในสหภาพยุโรปมีความปลอดภัยขึ้นแล้ว ดังนั้น EU จึงเห็นควรยกเลิกการห้ามส่งออกโปรตีนสัตว์ที่ได้จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างไรก็ดี ยังคงไม่อนุญาตให้มีส่วนผสมของเนื้อและกระดูกป่น (meat-and-bone-meal) ปนอยู่ด้วย รวมถึงการขนส่งโปรตีนสัตว์ดังกล่าวจะต้องปิดผนึกตู้สินค้าตั้งแต่โรงงานไปจนถึงจุดออกจาก EU  (point of exit from the Union)  
                       ๒.๑ กำหนดให้มีการขึ้นบัญชีโรงงาน (โรงฆ่าสัตว์ โรงงานแปรรูป โรงตัดแต่ง โรงงานผลิต และโรงจัดเก็บ) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                       ๒.๒ กำหนดเงื่อนไขการขนส่งและการจัดเก็บวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์และอาหารสัตว์ผสมสำหรับสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
                       ๒.๓ กำหนดเงื่อนไขการผลิตอาหารสัตว์ผสมสำหรับสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเอาขนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านที่มีส่วนผสมของสัตว์เคี้ยวเอื้องหรือที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง
                       ๒.๔ กำหนดเงื่อนไขการใช้และการจัดเก็บวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์และอาหารสัตว์ผสมสำหรับสัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มที่มีส่วนผสมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง
                       ๒.๕ กำหนดเงื่อนไขการส่งออกโปรตีนสัตว์แปรรูปและสินค้าที่มีส่วนผสมของโปรตีนสัตว์เคี้ยวเอื้อง  
               ๓. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี อนุโลมให้มีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสำหรับข้อแก้ไขใน Annex IV Regulation (EC) No 999/2001 ให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
                   สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ดังนี้
                โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update__EU:EU ปรับลดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดใหม่ของสาร Tricyclazole ในข้าวอย่างเป็นทางการ

จากที่ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอให้มีการปรับลดระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit : MRL) ของสาร Tricyclazole ในข้าว จากเดิมที่ระดับ ๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัมให้เหลือ ๐.๐๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยไม่ให้มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ซึ่งได้สร้างข้อวิตกกังวลให้แก่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยเกรงว่า ข้าวจากประเทศที่สามที่เก็บเกี่ยวได้ในปี ๒๐๑๖/๒๐๑๗ จะไม่สามารถส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปได้ เพราะจากข้อกำหนดใหม่ที่จะกำหนดค่า MRL ของสาร Tricyclazole ที่ระดับ ๐.๐๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ประชุม EU Standing Committee ได้มีมติยินยอมให้มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ให้ใช้ค่า MRL เดิมกับข้าวที่มีการเก็บเกี่ยวในปี ๒๕๕๙ (2016 crop) ได้ นั้น
         สถานการณ์ล่าสุด : เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2017/983 amending Annexes III and V to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for tricyclazole in or on certain products ใน EU Official Journal ซึ่งเป็นการปรับลดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Levels : MRLs) ของสาร Tricyclazole ในข้าว จากเดิมที่ระดับ ๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัมให้เหลือที่ระดับต่ำสุดเท่าที่เครื่องสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ (Limit of Detection : LOD) คือ ที่ระดับ ๐.๐๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม เหตุจากที่ EU ได้ถอนการอนุญาตการใช้สาร Tricyclazole ออกจากบัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ แล้วตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1826 โดยให้มีผลปรับใช้กับข้าวทุกชนิด (ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ และสำหรับข้าว บาสมาติ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
           อย่างไรก็ดี EU อนุโลมให้มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (transitional period) ให้ใช้ค่า MRL เดิม กับข้าวที่มีการเก็บเกี่ยวในปี ๒๕๕๙ (2016 crop) ได้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ในปี ๒๕๕๙ โดยแยกข้าวออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
                              – ข้าวทุกชนิด (ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ) : อนุโลมให้ใช้ค่า MRL ของสาร Tricyclazole ที่ระดับ ๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับข้าวที่มีการนำเข้าหรือที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
                              – ข้าวบาสมาติ : อนุโลมให้ใช้ค่า MRL ของสาร Tricyclazole ที่ระดับ ๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับข้าวที่มีการนำเข้าหรือที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๐
             สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
                 โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update__EU:EU กำหนดคำจำกัดความของปลาป่นและน้ำมันปลาในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์

เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 2017/786 of 8  May 2017 amending Regulation (EU) No 142/2011 as regards the definitions of fishmeal and fish oil ตีพิมพ์ใน EU Official L 119/1  ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้  
                     ๑.      Commission Regulation (EU) No 142/2011 กำหนดข้อบังคับตาม Regulation (EC) No 1069/2009 อันรวมถึงการกำหนดคำจำกัดความ (definitions) ของผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์ (animal by-products) อาทิ ปลาป่นและน้ำมันปลา
                         ๑.๑ ปลาป่น (fishmeal) : คำจำกัดความของปลาป่นถูกกำหนดไว้ในภาคผนวก I ข้อ ๗ Regulation (EU) No 142/2011 ว่า เป็นโปรตีนสัตว์แปรรูปมาจากสัตว์น้ำ (aquatic animals) ยกเว้นจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (sea mammals)
                         ๑.๒ น้ำมันปลา (fish oil) : เป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีแปรรูปเช่นเดียวกับปลาป่น ตามระบุไว้ในข้อ ๙. ภาคผนวก I ของ Regulation (EU) No 142/2011
                      ๒. ภายใต้มาตรา ๓ ข้อ ๙ Regulation (EC) No 1069/2009 อ้างถึงมาตรา ๓(๑)(e) Council Directive 2006/88/EC กำหนดว่า สัตว์น้ำในที่นี้ คือ ปลาในกลุ่ม superclass Agnatha, กลุ่ม Chondrichthyes, กลุ่ม Osteichthyes, มอลลัส กลุ่ม Phylum Mollusca และครัสเตเชียน กลุ่ม Subphylum Crustacea
                           ปัจจุบัน คำนิยามของสัตว์น้ำ (aquatic animals) ไม่ได้รวมดาวทะเล (starfish) ในกลุ่ม phylum Echinodermatasubphylum Asterozoa หรือสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (farmed aquatic invertebrates) ที่ไม่ใช่มอลลัสและครัสเตเชียนสำหรับการผลิตปลาป่นและน้ำมันปลา   
                           ดาวทะเลเป็นสัตว์น้ำทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังและเป็นสัตว์ที่กินสัตว์น้ำทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เป็นอาหาร เช่นมอลลัส ซึ่งดาวทะเลมักถูกจับได้มากับหอยเลี้ยงและถือเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการเลี้ยงหอยสองฝาเพื่อการบริโภคของมนุษย์ และไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อประชากรดาวทะเลที่มีอยู่ รวมถึงการจับดาวทะเลได้โดยแบบไม่ได้ตั้งใจนี้ส่งผลดี เนื่องจากดาวทะเลเป็นแหล่งโปรตีนในการเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก
                            ไส้เดือน Polychaete Nereis virens เป็นแหล่งโปรตีนในการเพาะเลี้ยงปลา และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายค่าอาหารปลา และไม่ต้องพึ่งพาแต่ปลาป่นเท่านั้น
                        ๓. ดังนั้น จึงเห็นควรให้เพิ่มสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (farmed aquatic invertebrates) และดาวทะเล สายพันธุ์ Asterias rubens ที่จับได้จากฟาร์มเลี้ยงหอยให้อยู่ในคำจำกัดความของปลาป่นและน้ำมันปลาด้วย (รายละเอียดตามภาคผนวก)                         
                        ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ ดังนี้
                         ๕. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐)
                                    โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update__EU:EU แก้ไขข้อกำหนดวิธีการสุ่มตรวจและวิธีการตรวจวิเคราะห์เพื่อตรวจหาสาร Dioxins ในอาหาร

EU แก้ไขข้อกำหนดวิธีการสุ่มตรวจและวิธีการตรวจวิเคราะห์เพื่อตรวจหาสาร Dioxins, Dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs ที่ตกค้างในสินค้าอาหาร


เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2017/644 of 5 April 2017 laying down methods of sampling and analysis for the control of levels of dioxins, dioxin-like PCBs and non-dioxin-like PCBs in certain foodstuffs and repealing Regulation (EU) No 589/2014 โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 92/9 ว่าด้วยการกำหนดวิธีการสุ่มตรวจและวิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสาร dioxins, dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs ที่ตกค้างในสินค้าอาหาร สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
               ๑.          กฎระเบียบฉบับนี้ ไม่ได้ปรับแก้ไขวิธีการสุ่มตรวจตัวอย่างและวิธีการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสาร dioxins, dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs ที่ตกค้างในสินค้าอาหาร ซึ่งเดิมเคยกำหนดไว้ในกฎระเบียบ Regulation (EC) No 589/2014 หากในครั้งนี้เป็นการออกข้อกำหนดเพิ่มเติมให้ครอบคลุมถึงการสุ่มตรวจตัวอย่างและวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่กระทำโดยผู้ประกอบการ ตามมาตรา ๔ Regulation (EC) No 852/2004 ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปรับใช้วิธีการสุ่มตรวจตัวอย่างตามที่ปรากฎในภาคผนวกของกฎระเบียบใหม่นี้
                             นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้าน dioxins และ PCBs ใน EU ได้มีหลักฐานยืนยันว่า ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่สุ่มโดยผู้ประกอบการไม่มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากในบางครั้งห้องปฏิบัติการไม่ได้ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การปฏิบัติ (performance criteria) ที่ EU กำหนดไว้ ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการบังคับใช้เกณฑ์การปฏิบัติสำหรับการตรวจวิจัยตัวอย่างในกรณีดังกล่าวด้วย
               ๒.          ให้ยกเลิกวิธี decision limit และให้ปรับใช้วิธี expanded uncertainty ที่ใช้ coverage factor ๒ ที่ให้ระดับความเชื่อถือได้ใกล้เคียง ๙๕% และให้เพิ่มวิธี physico-chemical methods เพื่อใช้ในการกรั่นกรองผลตรวจ นอกเหนือไปจากวิธี bioanalytical screening ที่มีอยู่เดิม
               ๓.          เนื่องจากการตรวจวิเคราะห์ของสาร dioxins, dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs ส่วนใหญ่จะกำหนดรวมกัน ดังนั้น จึงควรให้ปรับเกณฑ์การปฏิบัติในการตรวจ Non-Dioxin-like PCBs ให้เหมือน dioxins และ dioxin-like PCBs โดยมี relative intensity ของ qualifier irons เทียบกับ target irons ที่ระดับ > ๕๐%
               ๔.          กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐)
  สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
                    โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update__EU:EU แก้ไขข้อกำหนด-บัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ในวัสดุพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหาร

              เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 2017/752 of 28 April 2017 amending and correcting Regulation (EU) No 10/2011 on plastic materials and articles intended to come into contact with food ใน EU Official Journal L 113/18 ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนด-บัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ปรากฏอยู่ใน Union List ภายใต้กฎระเบียบ Commission Regulation (EU) No 10/2011 เพื่อให้เป็นไปตามการประเมินความปลอดภัยของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA)
              ๑. สรุปการปรับข้อกำหนดและแก้ไขบัญชีรายชื่อสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                     ๑.๑ กำหนดให้ยกเลิกวิธีการตรวจวิเคราะห์หาค่าตกค้างของสารต่อพื้นที่สัมผัสกับอาหาร (residual content per food contact surface area : QMA) หมายเลข FCM ๑๔๒, ๑๖๘, ๒๐๒, ๓๘๗, ๔๖๒, ๔๖๗, ๔๘๑, ๕๐๒, ๖๖๒ และ ๗๗๙ เนื่องจาก ขณะนี้มีการกำหนดวิธีตรวจวิเคราะห์ที่กำหนดค่าถ่ายเทเฉพาะ (specific migration) ได้แล้ว
                     ๑.๒ อนุญาตให้ใช้สาร diethyl[[3,5-bis(1,1-dimethylethyl)-4-hydroxyphenyl]   methy l] phosphonate (CAS No ๙๗๖-๕๖-๗ และ FCM No ๑๐๐๗) เป็นสารตั้งต้น เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับความเข้มข้นไม่เกิน ๐.๒% w/w ของน้ำหนักโพลิเมอร์ขั้นสุดท้ายในกระบวนการ polymerisation เพื่อผลิต poly(ethylene terephthalate) (PET) ซึ่งสามารถสัมผัสกับอาหารได้ทุกชนิด โดยไม่จำกัดระยะเวลาและอุณหภูมิ
                      ๑.๓ อนุญาตให้ใช้สาร methacrylic acid, ethyl acrylate, n-butyl acrylate, methyl methacrylate และ butadiene เป็น copolymer ในรูปนาโน (FCM substance No ๑๐๑๖) EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้เป็นสารเสริมที่ระดับไม่เกิน ๑๐% w/w ใน PVC ที่ไม่ใช่พลาสติก หรือใช้ไม่เกิน ๑๕% w/w ใน PLA ที่ไม่ใช่พลาสติก เพื่อใช้สัมผัสกับอาหารทุกชนิดที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น สำหรับการจัดเก็บเป็นเวลานานได้ (long-term storage)
                      ๑.๔ อนุญาตให้ใช้สารเสริม montmorillonite clay ปรับแก้ไขโดย dimethyldialkyl (C16-C18) ammonium chloride (FCM No 1030) เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้เป็นสารเสริมที่ระดับไม่เกิน ๑๒% w/w ใน polyolefins สำหรับบรรจุอาหารแห้ง (simulant E) ที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น และหากค่าถ่ายเทของสาร 1-chlorohexadecane และ 1-chlorooctadecane ที่ปนเปื้อนสิ่งไม่บริสุทธิ์ (impurity) หรือความเสื่อมสภาพ (derogation) ต้องไม่เกินกว่า  ๐.๐๕ mg/kg ของอาหาร
                       ๑.๕ อนุญาตให้ใช้สารเสริม α-tocopherol acetate (FCM No 1055, CAS Nos 7695-91-2 และ 58-95-7) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า หากใช้สารดังกล่าวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระใน polyolefins ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค โดยพบว่า สารดังกล่าวมีการสลายตัวออกเป็น α-tocopherol และ acetic acid ซึ่งสารทั้ง ๒ ชนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นสารเสริมในอาหารได้ภายใต้ Regulation (EC) No 1333/2008 หากแต่ต้องควบคุมการใช้งานโดยคำนึงถึงค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารดังกล่าวที่มีการกำหนดไว้ด้วยแล้วเช่นกัน
                         ๑.๖ อนุญาตให้ใช้เปลือกเมล็ดดอกทานตะวันบด (ground sunflower seed hulls) (FCM No 1060) เป็นสารเสริม   เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า หากใช้สารดังกล่าวเป็นสารเสริมในพลาสติกสำหรับบรรจุอาหารแห้ง ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น รวมถึงเปลือกเมล็ดดอกทานตะวันจะต้องมาจากเมล็ดทานตะวันที่บริโภคได้ และพลาสติกจะต้องผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่ไม่เกินกว่า ๒๔๐°C และไม่สามารถสัมผัสกับอาหารกลุ่ม simulant E ใน Table 2 Annex III
                         ๑.๗ อนุญาตให้ใช้ส่วนผสม FCM No 1062 ที่มีส่วนผสม 97% tetraethyl orthosilicate (TEOS) (CAS No 78-10-4) และ 3% hexamethyldisilazane (HMDS) (CAS No 999-97-3) เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า ส่วนผสมดังกล่าว ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับไม่เกิน ๐.๑๒% w/w เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก PET
                          ๑.๘ EFSA ลงความเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของนิกเกิล (nickel) ในอาหารและน้ำดื่ม โดยได้กำหนดค่าปริมาณสารที่ควรได้รับประจำวัน (Tolerable Daily Intake TDI) ที่ ๒.๘ มิลลิกรัมของอลูมิเนียม/กิโลกรัมของน้ำหนัก/วัน โดยพบว่า ความเสี่ยงวัสดุที่สัมผัสกับอาหารที่มีนิกเกิลขั้นรุนแรงเกินกว่าค่า TDI  กำหนด มักพบในคนหนุ่มสาว ดังนั้น จึงควรจำกัดความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้การสมดุลปันส่วน (allocation factor) ๑๐% ของค่า migration สูงสุดจากการคำนวณปกติ ทั้งนี้ ได้กำหนดสำหรับวัสดุพลาสติกที่สัมผัสกับอาหารให้มีค่า migration สูงสุดของนิกเกิล ที่ระดับ ๐.๐๒ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร
                          ๑.๙ ขยายเนื้อความในข้อ ๔ ของภาคผนวก III ที่กำหนดส่วนประกอบของ simulants representative สำหรับอาหารหลายๆ ชนิด ว่าควรใช้สำหรับการทดลองหาค่าถ่ายเทรวม (overall migration testing)
                          ๑.๑๐ ข้อ ๘ iii) ในภาคผนวก IV กำหนดว่า Declaration of Compliance ที่กำหนดโดยผู้ประกอบการควรที่จะระบุสัดส่วนพื้นที่ที่สัมผัสกับอาหาร/ปริมาณ (volume) เพื่อใช้กำหนดหลักเกณฑ์ของวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ โดยขอให้กำหนดจากพื้นที่สัมผัสกับอาหาร/ปริมาณที่มากที่สุด เพื่อใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๗ และ ๑๘ หรือข้อมูลที่มีความเท่าเทียมกัน
               ๒.   กฎระเบียบดังกล่าวประกาศในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ และจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ประกาศใน EU Official Journal หากแต่อนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านสำหรับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ปฎิบัติตามกฎระเบียบเดิม (Regulation (EU) No 10/2011) ที่มีการผลิตก่อนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ ให้สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ และให้ยังคงสามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
                      เฉพาะสำหรับในกรณีของการกำหนดค่า migration เฉพาะของนิกเกิลในข้อ ๒ ของภาคผนวก ให้มีการปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
               ๓. รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ ดังนี้

                                                   โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Food Law Update__AUS:IFN 08-17 – Mandatory allergen labelling

ส่วนภาษาไทยดูจากลิงค์แรกนี่ค่ะ กรมประมงแปลให้แล้วค่ะ




IFN 08-17 – Mandatory allergen labelling

​Issued: 18 May 2017

Purpose

The purpose of this notice is to alert importers of their responsibility to ensure imported food is safe and allergens are correctly declared and labelled. This notice provides further information and guidance on complying with the mandatory allergen labelling requirements in the Australia New Zealand Food Standards Code.

Mandatory allergen labelling requirements

Allergen labelling saves lives and can mean the difference between life and death for people with food allergies.
Importers must ensure that they meet the mandatory allergen labelling requirements in the Australia New Zealand Food Standards Code.
The Australia New Zealand Food Standards Code specifies the allergens that must be on food labels. These allergens are: peanuts, tree nuts, milk, eggs, sesame seeds, fish and shellfish, soy and wheat and lupins. These ingredients must be declared on the food label whenever they are present as ingredients or as components of food additives or processing aids.
If the food is not in a package or is not required to have a label (for example, bulk containers), allergen information must accompany the consignment so the business purchasing the food has access to the allergen information.
If you import food you are responsible for understanding and meeting mandatory allergen labelling requirements.
Many food recalls occur because food businesses have not labelled allergens correctly. Meeting mandatory allergen labelling requirements can save lives. But meeting the requirements can also mean you avoid having to conduct a food recall, saving your business time and money.

What importers need to do?

Importers should review products they import and ensure the labelling meets the mandatory allergen labelling requirements. This may mean contacting overseas suppliers and requesting them to provide information and assurances as to whether any allergens are present. Importers should educate supply partners on the allergens to avoid health incidents and non-compliance. Importers can also consider analysing the product to verify any assurances provided by overseas suppliers.
In considering whether allergens must be declared importers should ensure that suppliers are aware of the difference between mandatory allergen labelling and any biosecurity requirements for the presence of particular foods. For example, a declaration that a food contains less than 5% egg does not necessarily mean that the food does not contain egg.
Further assistance in managing allergens in food is set out below.

Importation of food which poses a risk to human health is an offence

Importers must be aware that the presence of undeclared allergens poses a risk to human health for people with food allergies.
Under section 8 of the Imported Food Control Act 1992 (Act), it is an offence to import food into Australia if the importer knows, or ought reasonably to have known, that it poses a risk to human health. The offence carries a penalty of imprisonment for 10 years.

Assistance in managing allergens in food

As the responsible food business in Australia, the importer must know what ingredients are in the food and whether these ingredients are allergens. Upon arrival, the importer must also ensure allergens are correctly declared on the label.
There are tools to assist the food industry (including importers) manage allergens and labelling. The Australian Food and Grocery Council publish the Food Industry Guide to Allergen Management and Labelling.
As well as publishing standards, Food Standards Australia New Zealand have an Allergen labelling page, summarising allergen labelling requirements. State and territory health authorities also publish requirements and assistance on identification and declaration of food allergens, such as:

ที่มา www.agriculture.gov.au/

Food Law Update__EU:Food and Feed Law: legislation review (January - March 2017)

For a copy of the review available on this site, see: Food and Feed Law: legislation review (January - March 2017) The following is the Executive Summary from the report:

This report updates the main text of our legislation review with developments in food and feed law and related scientific and regulatory issues for the period from January to March 2017.
The two main overarching themes in the period January to March 2017 were exiting the EU and the modernisation of EU food and feed law.
The Supreme Court judgement on R (on the application of Miller and another) (Respondents) v Secretary of State for Exiting the European Union (Appellant) given on 24 January 2017 gives interesting background on the UK’s relationship with the EU. The Supreme Court dismissed (two members dissenting) an appeal from the Secretary of State for Exiting the European Union against the decision of the English and Welsh Divisional Court upholding recourse to Parliament to bring about changes in domestic law in relation to exiting the EU. Devolution arguments relating to Northern Ireland, Scotland and Wales were also considered.
Consequently, the European Union (Notification of Withdrawal) Act 2017 was given Royal assent on 16 March 2017 and conferred power on the Prime Minister to notify, under Article 50 (2) of the Treaty on European Union, the United Kingdom's intention to withdraw from the EU.
The Prime Minister applied the powers conferred by the Act on 29 March, writing to European Council President Donald Tusk to notify him of the UK’s intention to leave the EU.
A White paper published in February 2017 gave more details on the ‘Great Repeal Bill’ to remove the European Communities Act 1972 from the statute book and convert the ‘acquis’ – the body of existing EU law – into domestic law. This appears to mean that, wherever practical and appropriate, the same rules and laws will apply on the day after we leave the EU as they did before. This suggests food and feed law will remain initially unchanged. The White paper goes on to state that once the UK has left the EU, Parliament (and, where appropriate, the devolved legislatures) will decide which elements of that law to keep, amend or repeal.
Modernisation of European food and feed law took a significant step forward in February 2017 with the European Commission, Parliament and Council of Ministers reaching political agreement on a compromise text for a new all-encompassing Regulation on food controls. The general objective of the proposed Regulation is to simplify and streamline the existing legal framework of Regulation (EC) No 882/2004, encompassing almost all sectors of the agri-food chain in a unique set of rules applicable to official controls. The Regulation also aims to improve the efficiency of official controls performed by the Member States along the agri-food chain so as to allow for quick responses in crisis situations, while minimising the burden for operators.
Much of the proposed Regulation – which runs to 99 recitals and 167 Articles – will be familiar to those conversant with Regulation 882/2004. The proposal is dealt with more fully in the main text of our report however two aspects may be useful to highlight. One is that the proposed Regulation envisages recovery of costs for official controls from businesses, with non-compliant businesses paying more than compliant ones, and a series of administrative rules are elaborated in the draft. The other is that the draft Regulation includes in its Article 35 text that rehearses and extends the familiar provision of Article 11(5) of Regulation 882/2004 on supplementary expert opinion, now referred to as ‘second expert opinion’. The writer’s view is that the proposed Article 35 text is a useful extension of extant EU law in this area. The current UK Government Chemist arrangements for technical appeal (referee analysis) are likely to address the proposed requirements. Moreover with a long history of implementation, and tailored to UK circumstances, present UK arrangements may prove to be more streamlined and hence more effective.
On a more detailed level new developments included further work on antimicrobial resistance, AMR, mineral oil hydrocarbons, legal highs, novel food, and methods for starch determination. On 17 February 2017 the Codex Secretariat published the report of the working group on AMR, hosted by the UK and co-chaired by the USA and Australia, which met in London from 29 November to 2 December 2016. The report is available online as a working document of the 40th Codex Alimentarius Commission which will take place in Geneva in July 2017.
Mineral oil hydrocarbons (MOH), mineral oil aromatic hydrocarbons (MOAH) and mineral oil saturated hydrocarbons (MOSH) can have detrimental health effects on ingestion, with migration from food contact materials such as paper and board packaging suspected to contribute significantly to the total exposure. Thus a Commission Recommendation of January 2017 advised on the monitoring of mineral oil hydrocarbons in food and in materials and articles intended to come into contact with food. The European Union Reference Laboratory (EU-RL) for Food Contact Materials is mandated to develop guidance on methods of sampling and analysis.
A Council Implementing Decision of February 2017 signals control measures in some member state’s national law for the ‘illegal high’ methyl 2-[[1-(cyclohexylmethyl)-1H-indole-3-carbonyl]amino]-3,3-dimethylbutanoate (MDMB-CHMICA). This compound, a synthetic cannabinoid, has given rise to multiple reports of violence and aggression, poses a risk to driving as a consequence of its use and a total of 28 deaths and 25 acute intoxications have been reported. While the UK is not bound by the overarching legislation, and is not adopting the Decision, domestic law is expected to deal with the issue.
A new novel food was authorised, fermented soybean extract. EFSA have advised that this contains nattokinase which exhibits in vitro fibrinolytic activity and in vivo thrombolytic activity in animals when administered parenterally. It is therefore necessary to inform consumers about the need of medical supervision in cases when fermented soybean extract is consumed in combination with medication. These conditions are enforced by the authorising regulation.
In an interesting Regulation on the method of analysis for the determination of starch content in feed and classification in the Combined Nomenclature it was determined that of the two methods  previously permitted, enzymatic and polarimetric, only the former is suitable (and now permitted as the method the customs authorities are to use) where soya products are present.

Food Law Update__EU:Draft (EC) No 396/2005 as regards maximum residue levels for mercury compounds in or on certain products

CONTAMINANTS - Draft Commission Regulation amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 as regards maximum residue levels for mercury compounds in or on certain products

The Commission has published a draft Regulation for consultation. The following are the introductory recitals in the document. The full draft Regulation is available on this site along with two documents relating to the amendments to the Annexes - Document 1 and Document 2. The consultation closes on the 19th July 2017. For more details, see: https://ec.europa.eu/info/law/better-regulation/have-your-say_en
COMMISSION REGULATION (EU) …/… amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for mercury compounds in or on certain products
(1) For mercury compounds, maximum residue levels (MRLs) were set in Annex II and Part B of Annex III to Regulation (EC) No 396/2005.
(2) Council Directive 79/117/EEC prohibited the placing on the market and use of plant protection products containing mercury compounds. All authorisations of plant protection products containing mercury compounds were revoked and consequently all MRLs were set at the relevant limit of determination (LOD).
(3) The Commission received information from food business operators and Member States showing the presence of mercury compounds in several products leading to higher residues than the LOD laid down in Regulation (EC) No 396/2005.
(4) Recent monitoring data confirms that residues of mercury compounds occur in several products at levels higher than the LOD. Taking into account the 95th percentile of all the sample results, the following occurrences were reported: tree nuts at 0,02 mg/kg; fresh herbs at 0,03 mg/kg; cultivated fungi at 0,05 mg/kg; wild fungi at 0,50 mg/kg, except for ceps at 0,90 mg/kg; oilseeds at 0,02 mg/kg; teas, coffee beans, herbal infusions and cocoa beans at 0,02 mg/kg; spices at 0,02 mg/kg, except ginger, nutmeg, mace and turmeric at 0,05 mg/kg; meat at 0,01 mg/kg, except for duck meat at 0,04 mg/kg and meat of wild game animals at 0,015 mg/kg; animal fat at 0,01 mg/kg; edible offal at 0,02 mg/kg except for offal of wild game animals at 0,025 mg/kg and offal of wild boar at 0,10 mg/kg; milk at 0,01 mg/kg; and honey at 0,01 mg/kg.
(5) As mercury containing pesticides have been phased out since more than thirty years in the Union, the presence of mercury in food can be considered due to environmental contamination. It is therefore appropriate to replace the default values with the ones listed in recital (4), thus reflecting environmental background of mercury in Regulation (EC) No 396/2005. This will enable national competent authorities to take appropriate enforcement action on the basis of realistic MRLs.
(6) The Scientific Panel on contaminants in the Food Chain (CONTAM Panel) of the European Food Safety Authority, hereinafter 'the Authority', adopted an opinion on mercury and methylmercury in food.
(7) As mercury compounds occur at low levels in the products listed in recital 3 and taking into account the available consumption data within the Union, the overall contribution to the dietary exposure is considered low and there is no health risk for consumers. The MRLs for those products should be set as temporary in Annex III to Regulation (EC) No 396/2005. Those MRLs will be reviewed; the review will take into account the information available within 10 years from the publication of this Regulation.
(8) The Commission consulted the European Union reference laboratories for residues of pesticides as regards the need to adapt the LODs. Those laboratories concluded that the current LODs should be maintained.
(9) Based on the opinion of the Authority and taking into account the factors relevant to the matter under consideration, the appropriate modifications to the MRLs fulfil the requirements of Article 14(2) of Regulation (EC) No 396/2005.
(10) Through the World Trade Organisation, the trading partners of the Union were consulted on the new MRLs and their comments have been taken into account.
(11) Regulation (EC) No 396/2005 should therefore be amended accordingly.
(12) The measures provided for in this Regulation are in accordance with the opinion of the Standing Committee on Plants, Animals, Food and Feed.

ที่มา www.reading.ac.uk