วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Food Law Update_EU เตรียมใช้ใบรับรองการตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์

๑. เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบใหม่  Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1842 ว่าด้วยการใช้ใบรับรองการตรวจสอบสินค้า เกษตรอินทรีย์นำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-certification)  เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
    กฎระเบียบเดิมของ EU (Commission Regulation (EC) No 1235/2008) กำหนดให้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากประเทศที่สามจะต้องมี Certificate of inspection for import of products from organic production into the european community หรือที่เรียกว่า ใบรับรองการ ตรวจสอบ (Certificate of inspection : COI)” ซึ่งออกโดยหน่วยงาน control authorites (CA) หรือ control bodies (CB) ในประเทศที่สามที่ EU เห็นชอบ เป็นเอกสารประกอบการนำเข้า โดยผู้ประกอบการ ต้องยื่น COI ฉบับจริงให้หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ของประเทศสมาชิก (Member State’s competent authority) เพื่อยืนยันความถูกต้องของสินค้าที่ส่งมอบ (verification of the consignment) และเซ็นต์ รับรอง (endorsement) ก่อนจะะอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาด  EU
 ๒.         แต่จากรายงานของหน่วยตรวจราชการยุโรป (European Court of Auditors) เมื่อปี ๒๕๕๕ ระบุว่าระบบควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของ EU ยังมีข้อบกพร่อง เพราะแนวทางปฏิบัติ ในการกำกับดูแลสินค้าเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงาน CA  หรือ CB ในประเทศที่สามอาจแตกต่างกันไปหรือ ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ EU ทั้งหมด นอกจากนี้ การแชร์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกหรือกับคณะกรรมาธิการยุโรปนั้นยังไม่เพียงพอ อีกทั้งการ ตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) เส้นทางการเดินทางของสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็ทำได้ยาก โดยเฉพาะ สินค้าที่นำเข้า
         ดังนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงต้องการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว โดยจะนำ ใบรับรองการตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-certification) มาใช้ นั่นคือ ข้อมูลต่างๆที่ระบุไว้ใน COI จะถูกป้อนเข้า “ระบบติดตามการเดินทางของอาหารของ EU หรือ Trade Control & Expert System (TRACES) ซึ่งระบบ TRACES นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การค้า มีความคล่องตัว เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทางของสินค้าถูกรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมโยงสู่ศูนย์กลาง ซึ่งจะทำให้คู่ค้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ได้ง่ายขึ้น การทำงานเอกสารมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ระบบ TRACES ยังช่วยให้ตอบสนอง ต่อเหตุการณ์ที่เป็นภัยเสี่ยงต่อสุขภาพทำได้อย่างรวดเร็ว เพราะการทราบถึงเส้นทางเดินทางของสินค้าที่ถูก ส่งเข้ามาใน EU จะทำให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือปฏิเสธการรับสินค้านั้นได้อย่างทันท่วงที
๓. กฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการบังคับใช้ใบรับรองการตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าแบบ อิเล็กทรอนิกส์หรือ e-certification จะมีผลเริ่มต้นบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ซึ่งคณะ กรรมาธิการยุโรปกำหนดให้มีช่วงเวลาในการปรับตัวรวม ๖ เดือน นั่นคือ สามารถใช้ได้ทั้งใบรับรองการ ตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์นำเข้าแบบกระดาษหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้จนถึงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
         การปรับปรุงระบบติดตามการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ทันสมัย โดยใช้ระบบ TRACES ที่ EU ใช้อยู่แล้วกับอาหารประเภทอื่นๆ (เช่น อาหารคน อาหารสัตว์ พืชและสัตว์)   นอกจากจะช่วยให้ หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบทำงานได้ง่ายขึ้นและอำนวยความสะดวกทางการค้า ยังช่วยเสริมสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์

โดย   สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

AUS Food News_แผนการสุ่มตัวอย่างใหม่สาหรับกุ้งสดและเนื้อกุ้งสดที่มีการระงับการนำเข้า

กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้้ำของออสเตรเลีย (Department of Agriculture and Water Resources) ได้เผยแพร่ประกาศลงวันที่ 17 มกราคม 2560 แจ้งให้ผู้ประกอบการน้าเข้าสินค้าและผู้ค้าปลีกรับทราบ เรื่อง แผนการสุ่มตัวอย่างใหม่ส้าหรับกุ้งสดและเนื อกุ้งสดที่เข้าข่ายถูกระงับการน้าเข้า (04-2017 New sampling protocol for suspended uncooked prawns and uncooked prawn meat imports) ทางเว็บไซต์ http://www.agriculture.gov.au/import/industry-advice/2017/04-2017

โดยสินค้ากุ้งสดที่ถูกระงับการนำเข้า ได้แก่
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสด และ
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสดที่หมักในซอสหรือผงแห้ง (Marinated) เพื่อการบริโภค

การตรวจวิเคราะห์กุ้งสด (Uncooked prawn)
กระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียก้าหนดแนวทางการตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์ที่เข้มงวดส้าหรับสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งมายังออสเตรเลีย โดยที่ตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าจะต้องปิดผนึกสมบูรณ์ และเอกสารใบตราส่งสินค้าทางทะเลหรือ BL (Bill of Lading) ฉบับจริง ต้องระบุว่าส่งออกจากประเทศ ต้นทางในวันที่หรือก่อนวันที่ 8 มกราคม 2560 เจ้าหน้าที่ Biosecurity จะสุ่มตัวอย่างสินค้าทุกรุ่นการผลิต (Batch) จากสินค้าที่ส่งออกแต่ละครั งหรือแต่ละ Consignment โดยเก็บตัวอย่างรุ่นละ 13 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างประกอบด้วยกุ้งจ้านวน 5 ตัว โดยผู้น้าเข้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียกำหนด
จากนั้นจะน้าส่งตัวอย่างทั้งหมดให้แก่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ได้รับการรับรอง โดยผู้นำเข้าสามารถเลือกห้องปฏิบัติการได้และเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง หากพบว่ามีการติดเชื อไวรัสตัวแดงดวงขาวหรือ White Spot Syndrome Virus (WSSV) จะต้องน้าสินค้ารุ่นนั นๆ ไปต้ม ส่งกลับ หรือท้าลายโดยผู้น้าเข้าเป็น ผู้ออกค่าใช้จ่าย หากเลือกวิธีการน้าไปต้ม ผู้น้าเข้าต้องติดต่อกระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียเพื่อพิจารณาว่าจะด้าเนินการอย่างไรและที่สถานที่ใด หากตรวจไม่พบเชื อไวรัสในตัวอย่าง จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์อีกครั งเพื่อยืนยันโดยห้องปฏิบัติการ Australian Animal Health Laboratory (AAHL) โดยใช้ตัวอย่างที่เหลือจากการส่งให้กับห้องปฏิบัติการที่ผู้น้าเข้าเป็นผู้เลือก ห้องปฏิบัติการ AAHL จะส่งผลการตรวจวิเคราะห์ให้กับกระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นผู้แจ้งผลให้ผู้น้าเข้ารับทราบรวมถึงแนวทางด้าเนินการกับสินค้ารุ่นนั นๆ ทั้งนี กระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายใน
การตรวจวิเคราะห์เพื่อยืนยัน

การตรวจวิเคราะห์กุ้งหมักซอสหรือผงแห้ง (Uncooked marinated prawns – wet or dry)
โดยที่ตู้สินค้าต้องมีการปิดผนึกสมบูรณ์และ BL ฉบับจริงระบุว่าสินค้ามีการส่งออกในวันที่หรือก่อนวันที่ 8 มกราคม 2560 เจ้าหน้าที่ Biosecurity จะสุ่มตัวอย่างทุกรุ่นการผลิต (Batch) ในสินค้า แต่ละ Consignment โดยเก็บตัวอย่างรุ่นละ 13 ตัวอย่าง แต่ละตัวอย่างประกอบด้วยกุ้งจ้านวน 5 ตัว โดยผู้น้าเข้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามอัตราที่กระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียก้าหนด ตัวอย่างจะถูกส่งไปที่ห้องปฏิบัติการ AAHL เพื่อด้าเนินการวิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการ AAHL จะส่งผลการตรวจวิเคราะห์ให้กับกระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลีย ซึ่งจะเป็นผู้แจ้งผลให้ผู้น้าเข้ารับทราบรวมถึงแนวทางด้าเนินการกับสินค้ารุ่นนั นๆ โดยผู้น้าเข้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ ทั งนี สามารถขอทราบค่าใช้จ่ายได้จากห้องปฏิบัติการ AAHL โดยตรง

สานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจากรุงแคนเบอร์รา

AUS Food News_ออสเตรเลียระงับการนาเข้ากุ้งสดและเนื้อกุ้งสดเป็นระยะเวลา 6 เดือน

สืบเนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาวหรือ White Spot Syndrome Virus (WSSV) ในฟาร์มกุ้งกุลาดาจานวน 5 แห่ง ในรัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลียตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2559 โดยที่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ปลอดจากโรคนี้ กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้าของออสเตรเลีย (Department of Agriculture and Water Resources) ได้เผยแพร่ประกาศลงวันที่ 7 มกราคม 2560 แจ้งให้ผู้ประกอบการนาเข้าสินค้าและผู้ค้าปลีกรับทราบ เรื่อง การระงับการนาเข้าเข้ากุ้งสดและเนื้อกุ้งสด (02-2017 Suspension of uncooked prawns and uncooked prawn meat) ทางเว็ปไซต์ http://www. agriculture.gov.au/import/industry-advice/2017/02-2017

ผู้อานวยการหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ประกาศระงับการนาเข้าสินค้ากุ้งดังต่อไปนี้ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสด และ
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสดที่หมักในซอสหรือผงแห้ง (Marinated) เพื่อการบริโภค

สินค้าในกลุ่มต่อไปนี้ได้รับการยกเว้น
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสดที่นาเข้าจากประเทศ New Caledonia
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งสดที่แปรรูปเป็น Dumplings, spring rolls, samosas และสินค้าประเภทติ่มซาและรูปแบบใกล้เคียง
- กุ้งสดและเนื้อกุ้งชุปแป้งหรือขนมปังเพื่อการบริโภค
สินค้าที่เข้าข่ายถูกระงับการนาเข้าซึ่งอยู่ระหว่างการขนส่งมายังออสเตรเลียหรือสินค้าที่ถึงท่าแล้วแต่ยังไม่ได้รับตรวจปล่อยจากการควบคุมด้าน Biosecurity จะได้รับอนุญาตให้นาเข้าได้ ทั้งนี้ เอกสาร ใบตราส่งสินค้าทางทะเลหรือ BL (Bill of Lading) ต้องระบุว่าส่งออกจากประเทศต้นทางในวันที่หรือก่อนวันที่ 8 มกราคม 2560 ตู้คอนเทนเนอร์จะต้องปิดผนึกสนิท สินค้าทั้งหมด (100%) จะต้องถูกสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างเข้มงวด ผู้นาเข้าอาจเลือกที่จะส่งสินค้ากลับไปยังต้นทางได้หากไม่ประสงค์ที่จะถูกตรวจสอบ การยุ่งเหยิงกับสินค้าก่อนที่เจ้าหน้าที่ Biosecurity จะเข้าไปตรวจสอบ จะส่งผลให้สินค้าถูกส่งกลับและอาจถูกดาเนินการตามกฎหมาย
สินค้าที่เข้าข่ายถูกระงับการนาเข้าซึ่งมีเอกสาร BL ระบุวันที่ส่งออกจากต้นทางตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 เป็นต้นไปจะถูกระงับการนาเข้า หากมีการนาเข้ามายังออสเตรเลียจะต้องถูกส่งกลับหรือทาลายโดยผู้นาเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ใบอนุญาตนาเข้า (Import permits) สาหรับสินค้าที่เข้าข่ายจะถูกระงับการใช้งานตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และจะงดพิจารณาคาร้องใหม่ที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคาสั่งเปลี่ยนแปลง สาหรับการขออนุญาตนาเข้าสินค้าที่เข้าข่าย ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการระงับการนาเข้า รวมถึงข้อมูลคาถาม-ตอบ ได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลีย http://www. agriculture.gov.au/import/goods/uncooked-prawns
แม้ว่าโรคกุ้งไวรัสตัวแดงดวงขาวหรือ WSSV จะเป็นโรคระบาดร้ายแรงสาหรับสัตว์น้าใน กลุ่ม Crustaceans ซึ่งประกอบด้วยกุ้ง กั้ง และปู แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค กระทรวงเกษตรฯ ออสเตรเลียอยู่ระหว่างดาเนินการตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์กุ้งสดและเนื้อกุ้งสดนาเข้าสู่ประเทศออสเตรเลียแล้ว หากมีการตรวจพบจะนาสินค้าออกจากท้องตลาดและนาไปทาลายทันที

สานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจากรุงแคนเบอร์รา
ที่มา http://www.fisheries.go.th