วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

EU Food News_EU ระงับการใช้สารปรุงแต่งกลิ่นบางรายการ

เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1102 of 8 July 2015 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards removal from the Union list of certain flavouring substances ใน EU Official Journal L 181/54 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                  ๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex I ของ Regulation (EC) No 1334/2008) ที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร  (Union list) ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อระงับการใช้สารซึ่งเคยอนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นได้ (flavouring substance) จำนวน ๕ รายการ ดังต่อไปนี้
-        1-Methylnaphthalene
-        Furfuryl methyl ether
-        Difurfuryl sulfide
-        Difurfuryl ether
-        Ethyl furfuryl ether
                     ทั้งนี้ เนื่องจากภาคเอกชนที่ประสงค์จะใช้สารดังกล่าวไม่ส่งมอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อใช้ ในการประเมินผลให้ EU ตามกำหนดภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ ดังนั้น หน่วยงานความปลอดภัยด้าน อาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) จึงเห็นควรระงับไม่ให้ใช้สารทั้ง ๕ รายการ เป็นวัตถุเจือปนอาหารอีกต่อไป
                 ๒. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้
                 ๓. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘)
                     อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งกลิ่นทั้ง ๕ รายการ ที่มีการวางจำหน่ายหรือติดฉลากในช่วง ๙ เดือนหลังจากที่กฎระเบียบนี้มีผลปรับใช้ (ระหว่าง วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ – วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙) สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมด อายุการบริโภค 


รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 
- See more at: http://www2.thaieurope.net

USA Food News_FDA สหรัฐฯ อนุญาตให้เพิ่มซีลีเนียม (Selenium) ในรายการสารอาหารและข้อกำหนดการติดฉลากสำหรับสูตรอาหารทารก

U.S. Food and Drug Administration (USFDA) อนุญาตให้เพิ่มซีลีเนียม (Selenium) ในรายการสารอาหาร โดยจำกัดปริมาณการใช้ซีลีเนียมในระดับที่ 2.0 – 7.0 μg/100 kilocalories (/100 kcal) และกำหนดให้ระบุข้อความเพิ่มเติมของปริมาณสารอาหารดังกล่าวบนฉลากสูตรอาหารทารก เนื่องจากซีลีเนียมเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญที่ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์สำคัญหลายชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยทำงานร่วมกับวิตามินอี ควบคุมความดันโลหิต และยับยั้งการเกิดมะเร็ง นอกจากนั้นยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ และควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และเส้นผม เป็นต้น ทั้งนี้ ระเบียบดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป
กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความเคลื่อนไหวการกำหนดมาตรฐานและการปรับแก้ไขมาตรการ/กฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะประสานเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตและปรับปรุงสินค้าให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ ประเทศคู่ค้ากำหนดได้อย่างทันท่วงที 
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   http://compliancecloud.selerant.com/latestnews/selenium-infant-food-usa.aspx

ที่มา :  1)http://compliancecloud.selerant.com

          2) http://www.gpo.gov/

กรมการค้าต่างประเทศ

USA Food News_FDA สหรัฐฯ อนุญาตให้ใช้เมล็ดดอกคำฝอย (Safflower seed Meal) ในอาหารสัตว์

U.S. Food and Drug Administration (USFDA) แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบความปลอดภัยสารเติมแต่งอาหาร โดยอนุญาตให้ใช้เมล็ดดอกคำฝอยที่ตัดแต่งพันธุกรรม (Bioengineered safflower) (Carthamus tinctorius L.) ในอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อและสัตว์ปีก โดยเฉพาะดอกคำฝอยที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมที่เกิดจากเชื้อราน้ำ Saprolegnia diclina เพื่อการผลิต gamma-linolenic acid ในน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เนื่องจากมีสารตกค้าง    ในดินจากขั้นตอนการสกัดน้ำมันของเมล็ดดอกคำฝอย เพื่อความปลอดภัยในสินค้าโคเนื้อและสัตว์ปีกจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
1) สารเติมแต่งต้องมีโปรตีนหยาบมากกว่าร้อยละ 20/ไฟเบอร์หยาบน้อยกว่าร้อยละ 40/ความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 10 และ ไขมันดิบน้อยกว่าร้อยละ 2
2) ไขมันดิบในสารเติมแต่งอาหารจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้ ปริมาณ gamma-linolenic acid ไม่เกินร้อยละ 55/ปริมาณ stearidonic acid และ cis, cis-6และ 9-octadecadienoic acid ไม่เกินร้อยละ 0.5 และ ปริมาณทั้งหมดของ palmitic, stearic, oleic, linoleic และกรดไขมันอื่นๆไม่เกินร้อยละ 40
3) การใช้สารเติมแต่งอาหารโคเนื้อและสัตว์ปีกที่เป็นแหล่งของโปรตีนจะต้องเป็นไปตามการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์ (Good manufacturing practice: GMP)
4) ระบุชื่อสารเติมแต่งอาหารหรือชื่อสามัญของดอกคำฝอยและวิธีการใช้ที่เพียงพอของอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อและสัตว์ปีกบนฉลาก
กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความเคลื่อนไหวการกำหนดมาตรฐานและการปรับแก้ไขมาตรการ/กฎระเบียบ      ต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะประสานเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตและปรับปรุงสินค้าให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ ประเทศคู่ค้ากำหนดได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://hkmb.hktdc.com/en/1X0A2WZD/hktdc-research/FDA-Allows-Use-of-Certain-Safflower-Seed-Meal-in-Animal-Feed

ที่มา :  http://hkmb.hktdc.com
กรมการค้าต่างประเทศ

Canada News_แคนาดา อนุญาตให้ใช้ข้อความกล่าวอ้าง "Gluten Free" ในผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ด และอาหารที่มีส่วนประกอบของข้าวโอ๊ด

Ministry of Health ของแคนาดา อนุญาตให้ใช้ข้อความกล่าวอ้าง “Gluten-Free” หรือ ปราศจากกลูเตน” ในผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ตและอาหารที่มีส่วนประกอบของข้าวโอ๊ต โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎระเบียบ Food and Drug Regulations” ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้จากกลูเตน (celiac disease) สามารถบริโภคผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ตและอาหารที่มีส่วนประกอบของข้าวโอ๊ตได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ ระเบียบฉบับนี้มีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากการประกาศอย่างเป็นทางการ โดยมีรายละเอียดข้อกำหนด ดังนี้
          1. หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของกลูเตนที่ถูกผลิตและแปรรูปเฉพาะจากผลิตภัณฑ์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลีหรือข้าวสาลี หรือจากการผสมสายพันธุ์ธัญพืช (hybridised strain) ดังกล่าวอย่างน้อย 1 ชนิด โดยจะต้องมีปริมาณกลูเตน น้อยกว่า 20ppm จากธัญพืชดังกล่าว และการผสมพันธุ์ที่เกิดจากธัญพืชดังกล่าวอย่างน้อย 1 ชนิด
          2. จำกัดหรือลดปริมาณการใช้กลูเตนที่ถูกแปรรูปเฉพาะจากผลิตภัณฑ์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลีหรือข้าวสาลี หรือจากการผสมสายพันธุ์ธัญพืช(hybridised strain) ดังกล่าวอย่างน้อย 1 ชนิด โดยจะต้องมีปริมาณกลูเตน น้อยกว่า 20ppm จากธัญพืชดังกล่าว และการผสมพันธุ์ที่เกิดจากธัญพืชดังกล่าวอย่างน้อย 1 ชนิด
          นอกจากนั้นสำหรับอาหารจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ (1) ไม่มีส่วนประกอบของข้าวโอ๊ตชนิดอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น (2) กลูเตน น้อยกว่า 20ppm และไม่มีการเพิ่มกลูเตนอื่นใดจากข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวทริทิเคลีหรือข้าวสาลี หรือจากการผสมสายพันธุ์ธัญพืช (hybridised strain) ดังกล่าวอย่างน้อย 1 ชนิด และ (3) จะต้องแสดงรายละเอียดข้อเท็จจริงบนฉลากอาหารและโฆษณาจะต้องระบุชัดเจนว่า Gluten Free

          กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความเคลื่อนไหวการกำหนดมาตรฐานและการปรับแก้ไขมาตรการ/กฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะประสานเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตและปรับปรุงสินค้าให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนดได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://economists-pick-research.hktdc.com/business-news/article/Business-Alert-US/Canada-Allows-Gluten-Free-Claims-in-Oat-Products/baus/en/1/1X000000/1X0A2RI9.htm


กรมการค้าต่างประเทศ

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าวไป EU ประจำเดือนกันยายน 2558

สำหรับผู้ที่ทำการส่งออกข้าวไปยัง สหภาพยุโรปประจำเดือนกันยายน ปีนี้ อย่าลืมติดตาม ลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอหนังสือรับรองการส่งออกข้าว ของทางกรมการค้าต่างประเทศด้วยนะคะ
ตามไปโหลดข้อมูลในลิงค์นี้เลยค่ะ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

EU News :ขยายเวลาให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรอียู หลังรัสเซียประกาศงดนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจากอียูต่ออีก 1 ปี

คณะกรรมาธิการยุโรปขยายเวลาให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรอียู หลังรัสเซียประกาศงดนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจากอียูต่ออีก 1 ปี

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2558 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศขยายเวลาให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรผู้ปลูกผักและผลไม้อียูไปจนถึงเดือน มิ.ย. 2559 หลังรัสเซียประกาศยืดระยะเวลาการระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจากอียูไปต่ออีก 1 ปี
รัสเซียประกาศคำสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารจากอียูตั้งแต่เดือน ส.ค. 2557 ซึ่งเป็นมาตรการตอบโต้การคว่ำบาตรจากอียูที่มีต่อรัสเซียหลังกรณีวิกฤตในยูเครน โดยส่งผลให้อียูดำเนินมาตรการให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการตอบโต้ทางการค้าของรัสเซีย
กลุ่มสินค้าผัก-ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบหลักจากการที่รัสเซียระงับการนำเข้าอาหารและสินค้าเกษตร และมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยจากอียู โดยอียูพึ่งพาการส่งออกผักและผลไม้ไปยังตลาดรัสเซียร้อยละ 12 และส่งออกผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 10
นาย Phil Hogan กรรมาธิการยุโรปด้านเกษตรและการพัฒนาชนบท กล่าวว่า การขยายเวลาให้เงินชดเชยแก่เกษตรกรเป็นการแสดงออกถึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอียูต่อเกษตรกร เพื่อบรรเทาผลกระทบจากคำสั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของอียูไปยังตลาดรัสเซีย โดยใช้กองทุนฉุกเฉินภายใต้นโยบายการปฏิรูปภาคเกษตรตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมอุปสงค์และอุปทานในตลาดให้เกิดการสมดุล โดยการระบายสินค้าเกษตรด้วยการแจกจ่ายให้กับองค์กรการกุศล เป็นต้น กองทุนจะชดเชยแก่เกษตรกรโดยถือเอาอัตราการส่งออกของสินค้าไปยังตลาดรัสเซียในระยะเวลา 3 ปี รวมถึงการแจกจ่ายสินค้าจำนวน 3,000 ตันให้กับประเทศสมาชิกเพื่อรักษาสมดุลของตลาดสินค้าเกษตรภายในอียู

อ่านรายละเอียด

รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (2.thaieurope)

EU News : EU ปรับแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (Maximum Levels) ของสาร Ochratoxin A ในสินค้าพริก

เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ 
                  สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1137 of 13 July 2015 amending Regulation (EC) No  1881/2006 as regards the maximum levels of Ochratoxin A in Capsicum spp. Spices 
                  โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 185/11 ซึ่งเป็นการปรับระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum levels) ของสาร ochratoxin A สินค้าพริก (เครื่องเทศ) ขึ้นใหม่ โดยแก้ไขค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดที่เคยกำหนดไว้ในกฎระเบียบเดิม คือ  Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อให้ค่าตกค้างสูงสุดของสารดังกล่าวมีความสอดคล้องกับผลวิจัยประเมินความเสี่ยงและผลจากการที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับใช้หลักการปฎิบัติที่ดี (good practices) ทางการผลิตควบคู่ไปด้วย ซึ่งสามารถใช้ควบคุมการปนเปื้อนได้ในระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมา EU เคยกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสาร Ochratoxin A ที่ตกค้างในพริก ไว้ที่ระดับ ๓๐ ug/kg จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ขณะนี้ EU ต้องการยกระดับการควบคุมความ ปลอดภัยของห่วงโซ่อาหารและสุขอนามัยผู้บริโภคในสหภาพยุโรป จึงปรับลดค่าดังกล่าวให้อยู่ที่ระดับระหว่าง  ๑๕ – ๒๐ ug/kg (ค่าตกค้างสูงสุดใหม่ตามปรากฎในภาคผนวกของกฎระเบียบฉบับนี้) กล่าวคือ
-        เครื่องเทศ รวมถึงเครื่องเทศแห้ง Piper spp. (ผลของ Piper spp. รวมถึงพริกไทยขาวและดำ)    กำหนดที่ระดับ ๑๕  ug/kg (จันทร์เทศ ขิง และขมิ้นชัน)
-        พริก (ผลแห้ง ทั้งเม็ดหรือในรูปผง รวมถึงพริก พริกแห้ง พริกคาเยน และพริกหยวก) กำหนดที่ระดับ ๒๐ ug/kg
-       เครื่องเทศผสมที่มีส่วนประกอบใดๆ ตามที่กล่าวข้างต้น    กำหนดที่ระดับ ๑๕ ug/kg
กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘) และให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี EU อนุโลมให้พริกที่ใช้ค่าอนุโลมเดิมสามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่สินค้าหมดอายุการบริโภค (use-by-date)
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้


รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (2.thaieurope)

EU News : EU ปรับปรุงบัญชีรายชื่อประเภทสินค้าที่ปลอดสารตกค้างที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Decision 2015/1338 of 30 July 2015 amending Decision 2011/163/EU on the approval of plans submitted by third countries in accordance with Article 29 of Council Directive 96/23/EC ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่ปลอดสารตกค้่าง เนื่องจาก ประเทศเหล่านั้นได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการตรวจหาสารตกค้างประจำปี ตามเงื่อนไขที่ EU กำหนดไว้ใน มาตราที่ ๒๙ ของกฎระเบียบ Council Directive 96/23/EC และได้ผ่านการพิจารณาให้อยู่ในบัญชีรายชื่อใน ภาคผนวกของ Decision 2011/163/EU แล้ว
จากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อประเทศที่สามฉบับใหม่นี้ สำนักงานฯ พบว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศไทย สินค้าที่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าได้ยังคงเป็นรายการเดิม ทั้ง ๓ รายการ คือ
                 ๑. สินค้าเนื้อสัตว์ปีก (poultry)
                 ๒. สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง (aquaculture)
                 ๓. สินค้าน้ำผึ้ง (honey)
อย่างไรก็ดี ตามประกาศดังกล่าว EU ได้เพิ่มการอนุญาตนำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศแอนดอร์ร่า สินค้า สัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงจากประเทศอาร์เมเนีย เคนย่า และพม่า สินค้าเนื้อสัตว์ปีกจากโมรอคโค และถอน การอนุญาตนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ปีกจากประเทศเปรูออกจากบัญชีรายชื่อฯ เนื่องจากไม่ส่งรายงานผลควบคุมการ ปนเปื้อนของสารตกค้างตามข้อกำหนด Council Directive 96/22/EC รวมถึงกำหนดเขตพื้นที่ของอิสราเอล ที่สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายยัง EU ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ เฉพาะรัฐของอิสราเอล (State of Israel) เท่านั้น ไม่รวมถึงเขตพื้นที่ Golan Heights, the Gaza Strip, East Jarusalem และเขตพื้นที่ West Bank อื่นๆ
กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่  ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษา บัญชีรายชื่อดังกล่าวเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้


รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (2.thaieurope)

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Update Laws_Thai : มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของกรมประมง ที่มีการ update เดือน ก.ค. 2558

ในส่วนของกรมประมงมีการแก้ไข revised ข้อมูลเป็นบางรายการ ช่วง มิ.ย.-ก.ค. 2558 มีรายการอะไรบ้าง ตามมาดูกันค่ะ

1. มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีสินค้าพื้นเมือง (lot by lot)
    
  1.1 Australia update 27/7/58

      มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ lot by lot _Australia

  1.2 EU update 8/6/58

      มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ lot by lot _EU

  1.3 Korea update 27/7/58

      มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ lot by lot _Korea
         
  1.4 USA update 27/7/58

     มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ lot by lot_USA

2.  มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีสำหรับสินค้าสิทธิพิเศษ
Frozen Fishery Product 
Canned Fishery Product 

Traditional Fishery Product 


3.  มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีสินค้าแช่เย็นแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง (lot by lot)


4. มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมีตามประเทศผู้นำเข้า



ที่มาจากกรมตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง

Thai Laws : กฎหมายเกี่ยวกับการปศุสัตว์

รอบนี้พี่น้ำฝนเอาเฉพาะหัวข้อที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมอาหารและการส่งออกที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์มาให้ตรวจสอบกันดูว่า ในบริษัทของตัวเองมีกฎระเบียบพวกนี้หรือยัง

พระราชบัญญัติ  
1        พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558       
2        พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558   
3        พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535
4        พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2542      
5        พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และฉบับที่เแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2542

พระราชกฤษฎีกา   
1        พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้บทบัญญัติหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 บังคับแก่สัตว์ปีกจำพวก นก ไก่ เป็ด ห่าน และไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ พ.ศ. 2549
2        พระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 บังคับไก่ เป็ด และห่านในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549
3        พระราชกฤษฎีกา ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 บังคับในท้องที่เขตเทศบาลนครกรุงเทพ จังหวัดพระนคร และเขตเทศบาลนครธนบุรี จังหวัดธนบุรี เกี่ยวกับไก่ เป็ด และห่าน พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2512

กฎกระทรวง   ( 61 รายการ ) อันนี้เยอะ เลยไม่ได้คัดให้ ตามไปดูที่ลิงค์ต้นทางเลยจ้ะ


ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการยึด การทำลาย หรือการส่งกลับซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ โดยไม่มีค่าชดใช้ พ.ศ. 2531

ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ( 54 รายการ ) อันนี้เยอะ เลยไม่ได้คัดให้ ตามไปดูที่ลิงค์ต้นทางเลยจ้ะ


ระเบียบกรมปศุสัตว์   ( 10 รายการ ) อันนี้ไม่เยอะ แต่ไม่ได้คัดให้ แหะแหะ >//< ตามไปดูที่ลิงค์ต้นทางเลยจ้ะ


ประกาศกรมปศุสัตว์   ( 13 รายการ )อันนี้ไม่เยอะ แต่ไม่ได้คัดให้ แหะแหะ >//< ตามไปดูที่ลิงค์ต้นทางเลยจ้ะ


ร่างพระราชบัญญัติ   อันนี้ดูเพื่อเป็นแนวทางเตรียมตัวรับมือหากมีการประกาศใช้นะจ๊ะ
1  ร่างพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. ...  
2  ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ....   

3  ร่างพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ....

ที่มา กรมปศุสัตว์จ้ะ

Histamine ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

ข้อกำหนดสารฮีสทามีนในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

1. ผลิตภัณฑ์จากปลาทูนา (tuna) , scombridae , ปลาทู , ปลาหลังเขียว และปลาซาบะ (saba) โดย

ประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้สามารถตรวจพบได้ไม่เกิน 200 ppm

สวนประเทศแคนาดา ประเทศในกลุมสหภาพยุโรปหรือ EU และประเทศอื่นๆ กำหนดให้สามารถตรวจพบได้ไม่เกิน 100 ppm

ประเทศสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานสำหรับฮีสทามีนเข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆ โดยกำหนดให้สามารถตรวจพบได้ไม่เกิน 50 ppm

2. ปลากะตักตากแห้ง (dried anchovy) และปลาทูนาตากแห้ง (dried tuna, Katsuobushi) ทุกประเทศ
กำหนดให้สามารถตรวจพบได้ไม่เกิน 200 ppm

3. น้ำปลา ประเทศแคนาดากำหนดให้สามารถตรวจพบได้ไม่เกิน 200 ppm

รายละเอียดเกี่ยวกับ  Histamine ติดตามได้ที่

http://www.fisheries.go.th/quality/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-Histamine-300658-Final.pdf

ข้อปฏิบัติในการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปประเทศต่างๆ

ประกอบไปด้วยหัวข้อ
1.ขั้นตอนการขอรับรองโรงงานเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประมงในขั้นแรก 2.เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อติดตามคุณภาพการผลิต
3.
การขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) 4.ขั้นตอนการนำสัตว์น้ำออกนอกราชอาณาจักรและหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตส่งออก ณ ด่านประมง 5.ระเบียบการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration : FDA)
สหภาพยุโรป (Europian Union : EU)ญี่ปุ่น (Ministry of Health Labour and Welfare : MHLW) ออสเตรเลีย (Australian Quarantine and Inspection Service : AQIS, BA) สาธารณรัฐเกาหลี ( Ministry for Food, Agriculture, Forestry and Fisheries : MIFAFF) 
สาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China : AQSIQ) 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
1. http://www.thai-frozen.or.th/news_21.php
2. http://www.fisheries.go.th/quality/

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รายชื่อชมรม/สมาคม ที่ออกใบกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ update 12 มิถุนายน 2558

ตอนนี้ยอดรวมการขออนุมัติเป็นผู้ออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ และลูกพันธุ์สัตว์น้ำ(MD และ FMD) ของกลุ่มองค์กรเอกชนและบุคคล  update จนถึง 12/6/2558 แล้วนะคะ ผู้เลี้ยง ผู้ผลิตหรือเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกุ้งอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลด้วยนะคะ เพราะมียกเลิกและหมดอายุหลายชมรม/สมาคมจาก 133 รายชื่อ

http://www.shrimpaqua.com/

ดำเนินการโดย กองวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง (กพช.)

Japan Law_แจกลิงค์ขั้นตอนนำเข้าสินค้าประเทศญี่ปุ่น : Food Import Procedures

หลังจากหายไปหลายวันเพราะไม่มีข่าว update เกี่ยวกับกฎระเบียบอาหารบ้านเราเท่าไหร่
วันนี้มาแจกลิงค์จ้ะ 
ตามไปโหลดที่เวบต้นทางนะจ๊ะ

Import Procedures in Japan for ASEAN Products

หัวข้อ
1. Food Import Procedures
Food Import Clearance
Japanese Import Regulations
Laws Concerning the Labeling of Foods in Japan


2. Import Procedures by Food Category
Fresh and Frozen Vegetables
Fresh Fruits
Frozen Fish and Shellfish
Teas and Coffees
Prepared Foods
Soft Drinks
Alcoholic Beverages


3. List of Official Laboratories in Exporting Countries 


ขอบคุณ
www.asean.or.jp

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

EU News_ทิศทาง นโยบาย ประเด็นสำคัญต่างๆของทาง EU ทั้งด้านเกษตร

1. ทิศทางนโยบายเกษตร EU ในช่วงที่ลักเซมเบิร์กเป็นประธานสหภาพยุโรป
ในฐานะประธานสหภาพยุโรป ลักเซมเบิร์กได้กำหนดแผนการดำเนินงานในช่วง ๖ เดือน ข้างหน้าว่าจะมุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องใดเป็นหลัก[1] ได้แก่ การกระตุ้นการลงทุนเพื่อเสริมสร้างความเจริญ เติบโตและการจ้างงาน ให้ความสำคัญกับมิติด้านสังคมมากขึ้น จัดการกับปัญหาการอพยพย้ายถิ่น รวมถึง เรื่องสิทธิเสรีภาพ ความยุติธรรม และความปลอดภัย ฟื้นฟูตลาดร่วม (single market) โดยมุ่งความ สนใจไปที่ตลาดร่วมดิจิตอล (single digital market) เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ EU ในตลาด โลกและกรอบการทำงานที่โปร่งใส สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ บทบาท EU ในเวทีโลก
- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%95%e0%b8%a3-eu-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b9%88/#sthash.Ity5bkhw.dpuf


2. การติดตามและประเมินนโยบายเกษตรของประเทศสมาชิก OECD และตลาดเกิดใหม่
*ประเทศตลาดเกิดใหม่ หมายถึง กลุ่มประเทศที่กิจกรรมเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่มักเป็นแหล่งทรัพยากรและแรงงานที่สำคัญ นอกจากนี้ กลุ่มประเทศตลาด เกิดใหม่ยังมีจำนวนประชากรราว ๘๐% ของประชากรทั่วโลกและมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วน ๒๐% ของเศรษฐกิจโลก 
- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2/#sthash.e3mdQLoF.dpuf


ที่มาสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ  ประจำสหภาพยุโรป

EU News_ประเด็นสำคัญภายใต้การปฏิรูปนโยบายประมงร่วม (Common Fishery Policy: CFP) ของอียู ปี 2557 – 2563

 ประเด็นสำคัญภายใต้นโยบายประมงร่วม ปี ๒๕๕๗ ๒๕๖๓ ได้แก่
                           -  การวางแผนบริหารจัดการประมงแบบต่อเนื่องหลายปี (multi-annual plans) และการ เปลี่ยนจาก “single-stock plans” เป็น “fisheries-based plans” ทำให้จำนวนแผนลดลง แต่ครอบคลุม สต็อกปลามากชนิดขึ้น อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน
                           -  การบริหารจัดการประมงโดยยึดระบบนิเวศ (ecosystem oriented approach) และ การป้องกันล่วงหน้า (precautionary approach) เป็นหลัก เพื่อจำกัดผลกระทบจากการทำประมงต่อระบบนิเวศ ทางทะเลและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
                          -  ความยั่งยืนเป็นหัวใจของการปฏิรูปนโยบาย โดยบังคับให้การจับสัตว์น้ำต้องไม่เกินระดับศักย์ การผลิตสูงสุด (Maximum Sustaibable Yield: MSY)[3] เพื่อฟื้นฟูให้สต็อกปลากลับมาอยู่ในสภาพอุดมสมบูรณ์ การกำหนด MSY ของสต็อกปลาบางชนิดสามารถทำได้โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และอย่างช้าที่สุดภายในปี ๒๕๖๓ จะกำหนด MSY สำหรับสต็อกปลาทุกชนิด
                          -  ยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล (discard ban) โดยบังคับให้ชาวประมงต้องนำสัตว์น้ำที่ จับได้ขึ้นฝั่งทั้งหมด (landing obligation) แต่จะเริ่มดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ เพื่อให้ชาวประมงปรับตัว โดย landing obligation จะมีผลบังคับใช้เฉพาะการจับสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้ระบบ TACs เท่านั้น
                          -  บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปรับอัตรากำลังการผลิตของกองเรือประมงให้สมดุลกับโอกาส ทำประมงของประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศสมาชิกที่มีกำลังการผลิตของกองเรือประมงมากเกินไปต้องวางแผนลดความ ไม่สมดุลดังกล่าว
                          -  สนับสนุนการทำประมงขนาดเล็ก เพราะนอกจากส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลต่ำแล้ว การทำประมงขนาดเล็กยังมีความสำคัญต่อสังคมและการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมตามแนวชายฝั่งหลายแห่ง ในยุโรป โดยประเทศสมาชิกสามารถขยายเวลาจำกัดเขตการทำประมง (exclusion zone) ในระยะทางไม่เกิน ๑๒ ไมล์จากชายฝั่งทะเลไว้เป็นพื้นที่สำหรับทำประมงพื้นบ้านไปจนถึงปี ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)
                          -  การกระจายอำนาจตัดสินใจไปสู่ระดับภูมิภาค  (regionalisation) โดยให้ประเทศสมาชิกมี อิสระในการพัฒนาและเลือกมาตรการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ CFP กำหนดไว้
                          -  กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีหน้าที่รวบรวม ดูแลรักษา และแบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นต่อการ บริหารจัดการประมง (เช่น ข้อมูลเทคนิค ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม  เศรษฐกิจ-สังคม) โดยการจัดทำและบริหารจัดการ ข้อมูลดังกล่าวจะได้รับเงินอุดหนุนจาก European Maritime and Fisheries Fund (EMFF)
                          -  เรือประมง EU ที่จับปลานอกเขตน่านน้ำ EU ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สอดคล้อง กับหลักการของ CFP ส่วนการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศพันธมิตรจะอยู่ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านการประมง (Fisheries Partnership Agreements)
                          -  ภาคเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของ CFP ด้วย โดยมุ่งส่งเสริมการเติบโตอย่าง ยั่งยืน การจ้างงานและผลิตภาพของภาคเพาะการเลี้ยงสัตว์น้ำ ขจัดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และกำหนดให้ มีการจัดตั้งคณะทำงานที่ปรึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Advisory Councils)
- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b/#sthash.DEUo0jBV.dpuf

ที่มาสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ  ประจำสหภาพยุโรป

EU News_EU ประกาศรายชื่อเรือประมงที่ลักลอบการทำประมงที่ผิดกฎหมายครั้งที่ ๖

 EU list of vessels engaged in IUU fishing

           จากการปรับใช้กฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป เพื่อต่อต้านการลักลอบการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดย กำหนดให้ประเทศที่สามที่ประสงค์จะส่งสินค้าประมงไปจำหน่ายยัง EU ต้องมีใบรับรองการจับสัตว์น้ำ (catch certificate) เพื่อรับรองแหล่งที่มาของสัตว์น้ำแนบไปกับสินค้านั้นๆ ซึ่งได้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ นั้น
           เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ EU ได้ออกประกาศกฎระเบียบใหม่เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง คือ Commission Implementing Regulation (EU) 2015/1296 of 28 July 2015 amending Regulation (EU) No 468/2010 establishing the EU list of vessels engaged in illegal, unreported and unregulated fishing ซึ่งเป็นการประกาศรายชื่อเรือประมงที่ลักลอบการทำประมงที่ผิดกฎหมายภายใต้กฎระเบียบ IUU ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ ๖) อันเป็นไปตามข้อกำหนดใน Chapter V ของกฎระเบียบ IUU ซึ่งจากการตรวจสอบ ไม่พบว่ามีรายชื่อเรือประมงของไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว อย่างไรก็ดี พบว่า เรือ ๑ ลำ ที่ชื่อว่า “KUNLUN (TAISHAN)” ซึ่งขณะนี้จอดเทียบท่าอยู่ที่ จ. ภูเก็ต อยู่ในบัญชีเรือ IUU นี้ด้วย
            อนึ่ง EU ได้ถอนชื่อเรือ “DOLPHIN” และเรือ “TIANTAI” ออกจากบัญชีรายชื่อเรือ IUU ของ EU เนื่องจากเรือดังกล่าวถูกปลดระวางและจมลง โดยให้มีผล ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตามลำดับ
โดยรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก เว็บไซต์ดังต่อไปนี้
            ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อเรือประมง IUU ที่ปรากฎในภาคผนวก (Annex) จะมีผลตามกฎหมาย ๗ วันภายหลัง การประกาศกฎระเบียบดังกล่าวใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘)
        ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงานฯ :
            แม้การประกาศในครั้งนี้ จะไม่ปรากฏชื่อเรือประมงที่ชักธงไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมง IUU ของ EU ไทยก็ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการซื้อสัตว์น้ำจากเรือประมงที่ระบุในรายชื่อเรือ IUU ดัง กล่าว เนื่องจากเป็นกลุ่มเรือที่ผิดกฎหมาย สัตว์น้ำที่จับได้จากเรือดังกล่าวจะไม่สามารถส่งเข้าไปจำหน่ายยัง EU ได้ โดยเฉพาะสัตว์น้ำจากกลุ่มประเทศหมู่เกาะแคริเบียนและกลุ่มประเทศอัฟริกา ซึ่งปรากฏอยู่ในบัญชีนี้เป็นจำนวน มาก รวมทั้งเรืออีกเป็นจำนวนมากที่ EU ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นเรือสัญชาติใด (unknown) 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 
-See more at: http://www2.thaieurope.net

Japan News_กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย Vibrioในผลิตภัณฑ์กุ้ง นำเข้าจากไทย

กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ญี่ปุ่น ตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Parahaemolyticus  (MPN) ผลิตภัณฑ์กุ้ง (Frozen Raw Sushi Shrimp) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ที่นำเข้าจากไทย โดยสินค้าล็อตดังกล่าวต้องถูกทำลายทิ้งหรือส่งคืนต้นทางตามข้อกำหนด ของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ทันที

                การตรวจพบดังกล่าว เป็นผลให้กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจากผลิตภัณฑ์กุ้ง Sushi ทุกรุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2558 เป็นต้นมา และหากตรวจพบปัญหาซ้ำอีก (แม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายอื่นก็ตาม) กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น อาจพิจารณาออกคำสั่งให้กักกันผลิตภัณฑ์กุ้ง sushi ทุกรุ่นที่นำเข้าจากประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยด้านอาหารของผลิตภัณฑ์กุ้งส่งออกจากประเทศไทย

                จึงขอให้ผู้ประกอบการไทย เพิ่มความระมัดมะวังในการผลิตและเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สินค้ากุ้งทุกชนิดก่อนส่งออกไปญี่ปุ่น

 
 
 
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ ญี่ปุ่น [ 6-08-58 ]
ที่มา มกอช.

๋Japan Law _ update รายการมาตรฐานอาหารหรือสุขลักษณะในการผลิตของญี่ปุ่น

มาตรวจสอบรายการที่ถือครองในมือกันว่ามี revision ตามนี้หรือเปล่านะคะ
1. Food Sanitation Act (enforced in April 2007)
2. Order for Enforcement of the Food Sanitation Act (enforced in May 2006)
3. Ordinance for Enforcement of the Food Sanitation Act 
    (enforced in December 2007)
4. Quarantine Act (revised in December 2006)
5. Plant Protection Act (revised in October 2005)
6. Consumer Product Safety Act (revised in August 2011)
7. Handbook for Consumer Products Import Regulations 2010 
8. Handbook for Industrial Products Import Regulations 2009 
9. Handbook for Agricultural and Fishery Products Import Regulations 2009
10. Specifications and Standards for Foods, Food Additives, etc.
 Under the Food Sanitation Act (Abstracts) 2010
11. Specifications, Standards and Testing Methods for Foodstuffs, 
Implements, Containers and Packaging, Toys, Detergents 2008 
-รายการและวิธีการวิเคราะห์ ถ้าจะอ้างอิงตามมาตรฐานญี่ปุ่นนะคะ

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Vietnam News_เวียดนามขยายปริมาณส่งออกกุ้งอย่างต่อเนื่อง

สมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) รายงานสถิติการผลิตและส่งออกกุ้งในเดือนพฤษภาคม 2558 ดังนี้ 

                - เวียดนามสามารถส่งออกกุ้งเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2558 ถึง 9% โดยมีมูลค่ารวมถึง 242.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังคงต่ำกว่ามูลค่าส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2557 ถึง 29.6% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2557 และในส่วนมูลค่าการส่งออกกุ้งในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 มีมูลค่ารวมประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2557 ถึง 29.4%

                - สาเหตุสำคัญของมูลค่าการส่งออกที่ลดลง เกิดจากการที่ประเทศผู้ซื้อกุ้งรายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ลดปริมาณความต้องการบริโภค รวมทั้งการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการผลิตกุ้งทั่วโลกจากปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (Early Mortality Syndrome : EMS) ทำให้ปริมาณการผลิตกุ้งทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 3.4 เป็น 3.6 ล้านตันในปี 2557 และส่งผลต่อราคารับซื้อกุ้งในตลาดที่ลดลง

                - สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ซื้อรายใหญ่ มีปริมาณการเก็บรักษากุ้งแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกของเวียดนามในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 ลดลงถึง 52% จากปี 2557 เหลือเพียง 212.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                - สำหรับสหภาพยุโรป ยังคงประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สถานการณ์ยูโรโซน ทำให้ค่าเงินสกุลยูโรเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐลดลง และความต้องการซื้อกุ้งลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทำให้ปริมาณการนำเข้ากุ้งจากเวียดนามลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2557 ถึง 13.8% เหลือเพียง 192.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                - กุ้งขาว (แวนนาไม) ยังคงเป็นสินค้าหลักที่สามารถส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก โดยมีมูลค่ารวมเป็นสัดส่วนถึง 57.5% (579.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และกุ้งกุลาดำอยู่ที่ 346.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
 
 
 
 
ที่มา : The Fish Site  [ 05-08-2558 ]
ที่มา มกอช.