วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

UK Food News_สหราชอาณาจักรแจ้งเตือนสารฆ่าแมลงตกค้างในเงาะโรงเรียนจากไทย

รายงานผลการสำรวจสารเคมีตกค้างในผลไม้ที่วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2558 เผยว่าเงาะโรงเรียนจากไทยเป็นหนึ่งในผลไม้ที่ถูกตรวจพบสาร Carbendazim ตกค้างสูงกว่าระดับที่สหภาพยุโรปกำหนด ซึ่งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะสามารถเข้าดูข้อมูลได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์http://www.pesticides.gov.uk/guidance/industries/pesticides/advisory-groups/PRiF/PRiF_Results_and_Reports/index-of-monitoring-results-by-year-quarter.

               ตามนโยบายความโปร่งใสด้านความปลอดภัยอาหาร อันจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคและการพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบนำเข้าเงาะและผลไม้ของไทย

                เกษตรกรและผู้ส่งออกจึงควรตรวจสอบ ควบคุมดูแล ดำเนินการตามหลักการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practice: GAP) ระมัดระวังการใช้สารเคมีไม่ให้เกินระดับที่กำหนด และไม่ใช้สารเคมีที่ไม่ได้รับอนุญาต
  
 


ที่มา : สำนักงานที่ปรีกษาการเกษตรต่างประเทศ
ประจำสหภาพยุโรป

AUS Food News_FSANZ เตือนผู้นำเข้าการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในผลิตภัณฑ์มะพร้าว

ออสเตรเลียถือเป็นประกาศที่ให้ความสำคัญกับการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้อย่างยิ่งโดยล่าสุดหลังจากสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FSANZ) ประกาศเรียกคืนผลิตภัณฑ์มะพร้าวหลายรายการที่ไม่ติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ (นมและผลิตภัณฑ์นม) จากร้านค้าปลีก ร้านขายยา และทางออนไลน์ (FSANZ) ได้แจ้งเตือนผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และผู้นำเข้าให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิบัติตามข้อกำหนดกว่าด้วยการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ตามที่กฎหมายบังคับ

               ผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวตั้งแต่รูปแบบผงไปจนถึงน้ำมะพร้าวและกะทิไปยังประเทศออสเตรเลีย จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ และปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัดในกรณีที่มีส่วนผสมของนมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อไม่ให้มีการเรียกคืนสินค้าซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการส่งออกสินค้าของไทย

ที่มา : สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์(FSANZ) (14/12/58)
มกอช.
 

USA Food News_สหรัฐฯ เตรียมใช้ Catfish Inspection ฉบับใหม่ มีนา 59

 หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (Food Safety and Inspection Service: FSIS) ได้ประกาศหลักเกณฑ์การตรวจสอบสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปลาในอันดับปลาหนัง หรือ Order Siluriformes ได้แก่ ปลากลุ่ม Catfish ทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมปลาในวงศ์ (Family) และสกุล (Genus) ดังนี้
                 1) วงศ์ Ictaluridae (เพาะเลี้ยงและพบมากในอเมริกาเหนือ) เช่น
                     1.1) สกุล Ictalurus (Channel Catfish และ Blue Catfish)
                     1.2) สกุล Pylodictis (Flathead Catfish)
                     1.3) สกุล  Ameiurus

                 2) วงศ์ Clariidae เช่น Clarias spp. (ตระกูลปลาดุก)

                 3) วงศ์ Pangasiidae เช่น Pangasius spp. (ปลา Basa และปลา Tra ที่พบมากในอาเซียน)

                 4) สายพันธุ์ลูกผสม เช่น C. macrocephalus X I. punctatus

                การปรับปรุงระเบียบการตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์จากปลากลุ่ม Catfish เป็นการปรับปรุงเกณฑ์ตรวจสอบและหน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติ โดยปรับปรุงต่อเนื่องจากระเบียบภายใต้กฎหมาย Agricultural Act (Farm Bill) ฉบับ 2008 (2551) และ 2014 (2557) สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                 1.กำหนดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง เฉพาะกลุ่ม Catfish ให้เป็นหน่วยงาน FSIS (สินค้าประมงอื่นๆ ยังคงกำกับดูแลภายใต้ USFDA)

                 2.FSIS จะดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการแปรรูปภายในประเทศ ในลักษณะเดียวกับการตรวจสอบโรงเชือดและแปรรูปเนื้อสัตว์ ตาม Federal Meat Inspection Act (FMIA)

                3. การปฏิบัติภายใต้กฎระเบียบดังกล่าว ถือเป็นการยกระดับการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และป้องกันด้านความปลอดภัยอาหาร โดยเฉพาะการปนเปื้อนเชื้อก่อโรคในอาหารกลุ่มซัลโมเนลลา (Salmonella)
               กฎระเบียบการตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2559 และกำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2560 (18 เดือน นับจากกฎระเบียบมีผลบังคับใช้) โดยประเทศผู้ส่งออกปลาอันดับ Siluriformes จะต้องดำเนินการแจ้งรายชื่อผู้ผลิตในปัจจุบันให้ FSIS ทราบ รวมทั้งจัดส่งเอกสารและหลักฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการนำเข้าเดิมของหน่วยงานสำนักงานอาหารและสหรัฐฯ (USFDA) เพื่อให้สามารถส่งออกต่อได้
              อนึ่ง สินค้ากลุ่ม Catfish เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการตีความนิยามผลิตภัณฑ์ Catfish ของสหรัฐฯ เพื่อสงวนชื่อดังกล่าวไว้ใช้สำหรับปลา Channel Catfish และ Blue Catfish ที่ผลิตในประเทศ เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ปลาดังกล่าวมีการจำหน่ายโดยใช้ชื่อหลายรูปแบบ ทั้ง Basa, Tra ไปจนถึง Pacific/Cream Dory เพื่อจำหน่ายในพื้นที่ทั่วโลก
              ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
              
http://www.fsis.usda.gov/wps/wcm/connect/878aa316-a70a-4297-b352-2d41becc8f73/2008-0031F.pdf
 
 
ที่มา : FSIS/FoodSafetyNew
มกอช.

EU food News_EU แก้ไขข้อกำหนดสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าประมงเพื่อลดความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ Escherichia coli

เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศลงใน EU Official Journal L 323/2 Commission Regulation (EU) No 2015/2285 of 8 December 2015 amending Annex II to Regulation (EC) No 854/2004 of the European Parliament and of the Council laying down specific rules for the organization of official controls on products of animal origin intended for human consumption as regards certain requirements for live bivalve mollusks, echinoderms, tunicates and marine gastropods and Annex I to Regulation (EC) No 2073/2005 on microbiological criteria for foodstuffs ว่าด้วยการแก้ไขข้อบังคับสำหรับสินค้าประมงประภท หอยสองฝา สัตว์น้ำกลุ่มมอลลัสก์ (หอยและหมึก) เอคไคโนเดอร์ม (ดาว ปลิง เม่นทะเล) ทูนิเขท และ หอยทะเลฝาเดียว เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ภายใต้กฎระเบียบ Regulation (EC) No 854/2004 ซึ่งเป็นการกำหนดข้อบังคับด้านสุขอนามัยสำหรับอาหารที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ที่ผู้ผลิตสินค้า อาหารต้องปฎิบัติตาม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
               ๑. การแก้ไขในครั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบหลักจะต้องกำหนดแหล่งรับรองที่สามารถเลี้ยง หอยสองฝาส่งออกไปยังสหภาพยุโรป โดยแบ่งพื้นที่แหล่งรับรอง เป็น ๓ ประเภท คือ (A, B, C) ตามระดับ การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่มาจากอุจจาระ (faecal contamination) ซึ่ง CA จะต้องกำหนดช่วงเวลาการสุ่มตัวอย่างจากแหล่งเลี้ยงและแหล่งพักตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎระเบียบนี้ก่อน จึงนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มากำหนดพื้นที่รับรองแต่ละประเภท
                     ในกรณีของพื้นที่เขต A กำหนดไว้ว่า หอยสองฝามีชีวิตที่มาจากพื้นที่เพาะเลี้ยงดังกล่าว สามารถถูกจับและนำไปบริโภคได้ทันที โดยหอยสองฝาที่มาจากพื้นที่เพาะเลี้ยงนี้จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด สุขอนามัย ใน Annex III, Section VII, Chapter V ของ Regulation (EC) No 854/2004
                ๒. กฎระเบียบ Commission Regulation (EC) No 2073/2005 กำหนดบรรทัดฐานของ การปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียและข้อบังคับที่ผู้ประกอบการต้องปฎิบัติตามมาตรา ๔ ของ Regulation (EC) No 852/2004 โดยเฉพาะการควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อ Escherichia coli ในหอยสองฝามีชีวิต เอคไคโน เดอร์ม (ดาว ปลิง เม่นทะเล) ทูนิเขท และหอยทะเลฝาเดียวมีชีวิต   
                ๓. มาตรฐานของ Codex ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อ Escherichia coli ในสินค้าที่วางจำหน่าย ในตลาดแตกต่างจากมาตรฐานของสหภาพยุโรป โดย Codex กำหนดแผนสุ่มตรวจตัวอย่าง ๓ ชั้น (three-class) คือ n = 5, c = 1, m = 230 และ M = 700 E.coli MPN/100 g of flesh และ intravalvular liquid  ในขณะที่ EU กำหนดแผนสุ่มตรวจตัวอย่าง ๒ ชั้น (two-class) คือ n = 1, c = 0, M = 230 E.coli MPN/100 g of flesh และ intravalvular liquid) ซึ่งที่ผ่านมาก่อให้เกิดความเหลี่ยมล้ำทางการ ค้าในระดับสากล ดังนั้น EU จึงเห็นควรปรับมาตรฐานการสุ่มตรวจของ EU ให้ตรงตามมาตรฐานของ Codex ที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงจะช่วยให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำสามารถตรวจพบปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย  โดยระบุว่า ตัวอย่างสัตว์น้ำที่เก็บจากพื้นที่เพาะเลี้ยงเขต A ประมาณ ๘๐% ของตัวอย่าง ที่เก็บในระหว่างช่วงที่ตรวจวิจัย โดยจะต้องตรวจพบเชื้อ Escherichia coli ไม่เกิน ๒๓๐ MPN ต่อ ๑๐๐ กรัมของเนื้อและน้ำหอย และสำหรับตัวอย่างอีก ๒๐% ที่เหลือ จะต้องตรวจพบเชื้อ Escherichia coli ไม่เกิน ๗๐๐ MPN ต่อ ๑๐๐ กรัมของเนื้อและน้ำหอย
                 ๔. สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังนี้
                 ๕. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลทางกฎหมาย ๓ วันภายหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘) และจะมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU food news_สรุปรายงานปัญหาการนำเข้า/ส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

สรุปรายงานปัญหาการนำเข้า/ส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

จัดทำโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
- See more at: http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%82/#sthash.wKLAck61.dpuf