วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

EU Food News_GMOs - Commission authorises six genetically modified products for food/feed uses

Today (22 December 2017)the Commission authorised six Genetically Modified Organisms (GMOs), all for food/feed uses. These GMOs are as follows: Soybean 305423 x 40-3-2, Soybean DAS-44406-6, Soybean FG72 x A5547-127, Soybean DAS-68416-4, Oilseed rape MON88302 x Ms8 x Rf3and the renewal of Maize 1507.

The GMOs approved today have all gone through a comprehensive authorisation procedure, including a favourable scientific assessment by the European Food Safety Authority (EFSA). The authorisation decisions do not cover cultivation. These GMOs had received "no opinion" votes from the Member States both in the Standing and the Appeal Committees and the Commission therefore had to adopt the pending decisions.
The authorisations are valid for 10 years, and any products produced from these GMOs will be subject to the EU's strict labelling and traceability rules.

Cr. Foodlaw-reading by Dr. David Jukes

EU Food News_BOTTLED WATER - Implementing EU Directive 2015/1787 on the safety and quality of Spring Water and Bottled Drinking Water for Human Consumption

มีโอกาสเปลี่ยนแปลงถึง 18 มกราคมปีหน้านะคะ

DEFRA is consulting on the plans to implement EU Directive 2015/1787.  The following is taken from the DEFRA website.  The consultation is open until 18 January 2018.  The web page and link to the on-line comment page is available at: https://consult.defra.gov.uk/food/transposing-eu-directive-2015-1787/
Overview
Commission Directive (EU) 2015/1787 (the Directive) amending Annexes II and III to Council Directive 98/83/EC on the quality of water intended for human consumption alters the monitoring requirements for spring water and bottled drinking water and makes changes to the methods of analysis to be used in monitoring. The Department for Environment, Food and Rural Affairs (Defra) is intending to implement the Directive by adjusting domestic legislation to take account of the changes the Directive makes.
In the UK, water for human consumption is covered by a range of regulatory regimes covering statutory requirements for public water supplies, private water supplies and bottled drinking water. 
1. The amendments made by the Directive have a more significant impact for public and private water regimes.
2. In England and Wales the public drinking water regulations (which govern the supply of water from water companies) are enforced by the Drinking Water Inspectorate (DWI). The private drinking water regulations (which mostly govern naturally occurring supplies) are enforced by local authorities under supervision from DWI.
3. Defra is responsible for the implementation of the Directive in relation to public and private drinking water regulations in England. The Scottish, Welsh and Northern Irish Government are responsible for the implementation of the Directive in relation to those water supplies in those regions. The transposing regulations in England will be the Water Supply (Water Quality) (Amendment) Regulations 2017 and the Private Water Supplies (England) (Amendment) Regulations 2017 although they are yet to come into force.
4. This consultation applies to the domestic legislation required to implement the Directive in relation to spring water and bottled drinking water. All water which has been bottled for human consumption is classified as a food in accordance with EU law, but Natural Mineral Water is governed by its own directive and not affected by these changes.
5. Food is devolved, and as such, Defra is responsible for the implementation of this Directive in England; The Food Standards Agency is responsible for implementation in Northern Ireland and Wales; and Food Standards Scotland is respectively responsible in Scotland.
What will change
1. The Directive concerns amendments to Council Directive 98/83/EC, taking into account the World Health Organisation (WHO) approach to risk assessment, as well as scientific and technical progress. The amendment brings EU drinking water requirements in line with international requirements and covers the parameters (microbiological and chemical criteria) currently required to be analysed for monitoring purposes; and the specifications (analytical requirements) set out for their analysis.
2. Annex II of Council Directive 98/83/EC already contained a degree of flexibility in the monitoring requirements to be applied by Member States, which allows for less frequent sampling under certain circumstances.  However these requirements are currently not applicable to bottled drinking water which has a separate monitoring regime set out in accordance with volume of production.
3. The Directive now introduces risk-based monitoring as it recognises that monitoring of all parameters is sometimes unnecessary. This should reduce the amount of monitoring required in many cases. The importance of maintaining public health remains paramount though, as reduced monitoring should only take place where there is no evident risk to human health. As such, Member States are provided the opportunity to make adjustments to the monitoring programmes they have established to take account of risk assessments.
4. The table in Annex II to Council Directive 98/83/EC which sets out minimum monitoring frequencies for ‘check’ and ‘audit’ monitoring (the difference between ‘check’ and ‘audit’ monitoring relates to the parameters and frequency of those samples) for spring water and bottled drinking water has been removed from the Directive and is now regarded as obsolete (on the grounds that food safety requirements in Regulation (EC) 178/2002 apply covering general food law). Those products are also covered by the principle of ‘hazard analysis and critical control point’ (HACCP) laid down in Regulation (EC) 852/2004 and the principles of official controls as laid down in Regulation (EC) 882/2004. As a consequence of the adoption of those Regulations, Annex II to Directive 98/83/EC no longer applies to water put into bottles or containers intended for sale. Domestic provisions which implemented Annex II will be removed from domestic legislation.
5. The Directive also make changes to the current methods of analysis. In particular, it will change the minimum performance characteristics, in other words the standards necessary for methods of analysis to comply with the requirements. Domestic provisions which implemented Annex III will be amended to reflect the new methodology in domestic legislation.
Impact and Costs
1. The changes aim to maintain a level of intervention by authorities that is proportionate, while ensuring a high degree of consumer safety and updating the methods of analysis to the latest scientist advice. 
2. The Directive will remove the requirement for enforcement authorities to provide ‘check’ and ‘audit’ monitoring for spring water and bottled drinking water under Annex II to Council Directive 98/83/EU. However, monitoring requirements under Regulations (EU) 178/2002 and 852/2004 will remain, as well residual monitoring obligations under Article 7 of the Council Directive 98/83/EU, so monitoring by food authorities will continue to be required.
3. There is no evidence to suggest that the difference in resources expended to ensure compliance with the appropriate legislation will change significantly. Similarly, there is no evidence to suggest that the responsibility of FBOs will change, as their existing HACCP plan should provide verification that they have validated systems in place. These will ensure that they provide safe food under Regulation 178/2002 and have controls in place to mitigate against any hazards under Regulation 852/2004. This includes the need to demonstrate that the product meets the parameters in the corresponding Schedules of the 2007 Regulations as appropriate to the category of water.
4. Therefore, it is considered that the measures in this consultation are cost-neutral and, as such, Defra have not prepared an impact assessment. The department would welcome comments on any costs or benefits we have not considered or challenges to the assumptions made in this section.

Cr. Foodlaw-reading by Dr. David Jukes .

EU Food News_LABELING - Commission Notice relating to the provision of information on substances or products causing allergies or intolerances


This Notice is intended to assist businesses and national authorities in the application of the new requirements of Regulation (EU) No 1169/2011 of the European Parliament and of the Council (‘the Regulation’) related to the indication of the presence of certain substances or products causing allergies or intolerances (Article 9(1), point (c) and Annex II to the Regulation).
Regulation (EU) No 1169/2011 on the provisions of food information to consumers lays down new requirements on allergen labelling compared to the former Directive 2000/13/EC of the European Parliament and of the Council.
In particular, under the new legislation it is required that the information on the presence of allergens in foods is always provided to the consumers, including on non-prepacked foods (Article 9(1), point (c) and Article 44). The Member States are however allowed to adopt national measures concerning the means through which information on allergens on non-prepacked foods is to be made available. With regard to the prepacked foods, the Regulation lays down the modalities defining how the information on allergens has to be provided on foods (Article 21). Consequently, the existing Guidelines on allergen labelling drafted under the regime of Directive 2000/13/EC needs be updated as a reflection of this change in the law.
This Notice is without prejudice to the interpretation which the Court of Justice of the European Union may provide.

http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:52017XC1213(01)&from=EN

cr.

Foodlaw-Reading

Dr David Jukes, The University of Reading, UK

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Food News India : อินเดียปรับปรับแก้กฎระเบียบกักกันพืชสำหรับพืชที่จะนำเข้ามายังอินเดีย

สินค้าที่มีผลกระทบ: มะขามสด (ทั้งฝัก แกะฝัก และเมล็ด)
ข้อกำหนด 1. ต้องปลอดแมลงศัตรูพืช 5 ชนิด ได้แก่
                      (1) Apomyelois ceratoniae (knothorn, blunt-winged, carob moth)
                      (2) Ceroplastes cirripediformis (barnacle scale)
                      (3) Hypothenemus obscurus (tropical nut borer)
                      (4) Sitophilus linearis (tamarind weevil)
                      (5) Selenaspidus articulatus (West Indian red scale)
                  2. ไม่มีการปนเปื้อนจากดินหรือซากพืช
                  3. ต้องผ่านการรมด้วย Methyl bromide 32 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
                  4. ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไทย
วันที่มีผลบังคับใช้ 20 มกราคม 2561
ระยะเวลาการให้ข้อคิดเห็น  สามารถให้ข้อคิดเห็นได้ถึงวันที่ 14 มกราคม 2561
รายละเอียดฉบับเต็มสามารถดูได้ที่


 

สรุปโดย: มกอช.

Food News : รวมข่าวหลายประเทศ

ทุกข่าวสรุปโดย มกอช.นะคะ นำมารวมแบ่งกันอ่านข่าวเดือนสุดท้ายของปี 2560


เวียดนามขยายส่งออกสินค้าทะเล - กุ้งครองสัดส่วนเกือบครึ่ง
                สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลประเทศเวียดนาม (VASEP) เผยในปี 2560 เวียดนามมีปริมาณการส่งออกอาหารทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกสินค้ากุ้งที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก  โดยในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามมีมูลค่าส่งออกอาหารทะเลแล้วกว่า 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยมีมูลค่าการส่งออกกุ้งถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทาง VASEP คาดว่าภายในปี 2560 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลอาจสูงถึง 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18
 
               ทั้งนี้  ในปัจจุบันเวียดนามยังคงมีการส่งออกปลากลุ่ม Catfish (โดยเฉพาะ Pangasius) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 5 และส่งออกปลาทูน่ามูลค่า 541 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 19 ถึงแม้ว่าการส่งออกสินค้าประมงเวียดนามจะมีการชะลอตัว หลังถูกสหภาพยุโรปตักเตือนเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมายก็ตาม 
 
 
ที่มา : undercurrentnews.com 


ไต้หวัน แจ้งอาหารเด็กฝรั่งเศส ผ่านการตรวจสอบปลอดภัยแล้ว
                ผู้ประกอบการนำเข้าอาหารเด็กในไต้หวัน 3 ราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลิตภัณฑ์อาหารเด็กที่มีการนำเข้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ของฝรั่งเศสผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอาหารแล้ว หลังจากเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของฝรั่งเศสสั่งเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารเด็กจากบริษัทดังกล่าวที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ Salmonella  และพบเด็กทารกป่วยจากการติดเชื้อดังกล่าวในฝรั่งเศสจำนวน 26 ราย  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไต้หวันได้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเด็กจากบริษัทดังกล่าวหลายรายการ และภาครัฐได้ประกาศเรียกคืน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสินค้าที่พบการปนเปื้อน
 
                อนึ่ง การบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง และถ้าพบการติดเชื้อในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจาก อาจก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน 
 
ที่มา : taipeitimes.com

เนเธอร์แลนด์ ยืนยันพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงระบาด
                วันที่ 11 ธันวาคม 2560 องค์การโรคระบาดสัตว์ (OIE) ยืนยันพบไข้หวัดนก H5N6 สายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเลี้ยงเป็ด ที่จังหวัด Flevoland ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการใช้มาตรการเฝ้าระวังสั่งกำจัดเป็ดกว่า 16,000 ตัว เฝ้าระวังในรัศมี 3 กิโลเมตร และป้องกันในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยก่อนหน้านี้เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าวพบการแพร่ระบาดในฟาร์เป็ดขุน ที่เมือง Biddinghuizen ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2560

                ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N6 ในเนเธอร์แลนด์ อาจมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N8 ที่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา รวมทั้งล่าสุดที่พบการแพร่ระบาดในอิตาลี และเยอรมนีเมื่อเดือน ตุลาคม 2560
 
 
 
ที่มา : uk.reuters.com

เกาหลีใต้พบไข้หวัดนก H5N6 ระบาดอีกครั้ง
                 เมื่อวันที่  11 ธันวาคม 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ ได้ยืนยันการตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ชนิดรุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Yeongam ในเขต South Jeolla  โดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐเกาหลีใต้ได้ทำการดำเนินการตรวจสอบฟาร์มเป็ดในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเข้มงวดและเพิ่มมาตรการฆ่าเชื้อในพื้นที่ใกล้เคียงและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
 
                ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการตรวจพบไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Gochang ในจังหวัดเดียวกัน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งทางการได้สั่งกำจัดสัตว์ปีกจำนวนเกือบ 100,000 ตัว 
 
ที่มา : http://world.kbs.co.kr 

รัสเซียเล็งขยายส่งออกสัตว์ปีกฮาลาล-เน้นตลาดประเทศมุสลิม
                รัสเซียเล็งขยายปริมาณการส่งออกสัตว์ปีก พร้อมทั้งขยายสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากเดิมน้อยกว่าร้อยละ 30 เป็นอย่างน้อยร้อยละ 75-80 คาดว่าในปี 2020 รัสเซียจะสามารถส่งออกสัตว์ปีกได้ประมาณ 370000 ตัน โดยจะเป็นสินค้าที่ได้รับตราฮาลาลประมาณ 270000-300000 ตัน ด้านศูนย์ฮาลาลของรัสเซียเชื่อว่าสินค้าจากรัสเซียจะดึงดูดใจลูกค้าในกลุ่มประเทศมุสลิมได้เป็นอย่างมากจากข้อดีทั้งด้านคุณภาพและราคา และยังเชื่อว่าผู้นำเข้าของประเทศเหล่านี้จะต้องการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากรัสเซียแทนผู้ผลิตรายเดิม เช่น บราซิล  อีกด้วย
                ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกไก่ที่ได้รับตราฮาลาลของรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 เท่า จากเดิม 15000 ตันในปี 2014 เป็น 45000 ตันในปี 2017 นอกจากนิ้ รัสเซียยังเพิ่งจะเปิดตลาดส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไปยังซาอุดิอาระเบียและอิหร่านได้สำเร็จ และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเปิดตลาดไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีลูกค้ากว่า 230 ล้านคน
ที่มา: globalmeatnews.com


แคนาดาเชื่อมั่นอาหารสัตว์ไทย พร้อมลดความถี่การตรวจประเมิน
                เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 หน่วยงานตรวจสอบอาหารของแคนาดา (CFIA) ได้เข้าตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิท 5 แห่ง และโรงงานขนมขบเคี้ยวสำหรับสัตว์เลี้ยง 2 แห่ง ซึ่งมีผลการรายงานอย่างไม่เป็นทางการ สรุปว่าแคนาดาเชี่อมั่นระบบการตรวจสอบและกำกับดูแลโรงงานอาหารสัตว์ไทย เนื่องจาก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และมีผู้กำกับดูแลตามระบบมาตรฐานสากล ส่งผลให้หน่วยงาน CFIA เตรียมปรับรายละเอียด MOU การตรวจสอบรับรองที่ลงนามไว้ตั้งแต่ปี 2552 โดยจะขยายระยะเวลาในการเข้าตรวจประเมินระบบรับรองของกรมปศุสัตว์จากเดิม 1 – 2 ครั้ง เป็น 5 ปี/ครั้ง ปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของไทยจำนวน 17 แห่ง ที่สามารถส่งออกไปยังแคนาดาได้ และหากหน่วยงาน CFIA ได้ตรวจสอบรับรองครั้งล่าสุดเสร็จสิ้น คาดว่าอาจมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่ง
                    ทั้งนี้ แคนาดาเป็นตลาดส่งออกอาหารสัตว์ที่สำคัญของไทย และมีการส่งออก ทั้ง อาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิท อาหารเม็ด และขนมขบเคี้ยว โดยภายในปี 2560 มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 3,500 ตัน เป็นมูลค่า 460 ล้านบาท  

วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พยาธิในปลากระป๋อง

จากกรณีพบพยาธิในปลากระป๋อง😨😰


สิ่งปลอมปนที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ก็หลุดจากกระบวนการมาจนผู้บริโภคตรวจพบ 😓

เจ้าของบริษัทออกมายอมรับว่าเป็นพยาธิ แต่ก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก พี่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพยาธิปลาทะเลอะนิซาคิส หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anisakis simplex  รายละเอียดอ่านตามลิงค์ข้างล่างเอาเน้อ
www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/62/ปลาดิบไม่มีพยาธิ-พยาธิในปลาดิบ
============================================================
~ถ้าเจอแล้วทำไง / ถ้าเป็นพี่ก็ไม่กินกระป๋องนั้น แต่ยังกินปลากระป๋องได้ต่อไป มันมีโอกาสที่จะเจอในทุกยี่ห้อ แต่ไม่ควรถี่แค่นั้นเอง (ยอมรับซะเถอะ ทุกวงการ ทุกอาชีพ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100%ไม่มีคนประสบความสำเร็จไหนไม่เคยล้ม เกี่ยวกันป่ะ) ถ้าเจอก็แจ้งบริษัท รับของขอโทษ โพสต์เฝ้าระวังแบบไม่เปิดเผยยี่ห้อ
============================================================
~อันตรายไหม ตัวพยาธิ ตัวพยาธินั้น โดนความร้อน 100องศา ก็ตาย แต่ไข่พยาธิ จะทนความร้อนได้มากกว่า 200 องศา ทีนี้มาดูกัน ว่า ซึ่งกระบวนการผลิตทำให้เราวางใจในการฆ่ามันไหม

ที่มารูปภาพ ที่มา : http://www.bonduelle.com/en/our-activities/process.html





ขั้นตอนการผลิตปลากระป๋อง

1. การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ต้องมีการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของวัตถุดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยตรวจสอบความสด เช่น ลักษณะทางกายภาพ

ปริมาณฮิสทามิน (histamine) และคัดขนาดของปลา เพื่อความสม่ำเสมอ

2. การตัดแต่ง นำปลาสดที่คุณภาพดีมาตัดแต่ง โดยตัดหัวปลา หางปลา ดึงไส้ และเครื่องในอื่นๆ ตามคุณภาพที่ต้องการ

3. การล้างทําความสะอาด (washing) นำปลาที่ตัดแต่งแล้วมาล้าง เพื่อล้างเอาเลือด เมือก และสิ่งสกปรกอื่นๆ

4. การบรรจุ (can filling) นำปลาที่ล้างทําความสะอาดแล้ว มาบรรจุลงในกระป๋อง สำหรับปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูน่า อาจมีการนึ่ง (steaming) ให้สุก แล้วแยกเอาเฉพาะส่วนเนื้อเพื่อบรรจุกระป๋อง

5. การเติมของเหลว หลังจากปลาที่บรรจุลงในกระป๋องถูกตรวจสอบสิ่งปลอมปนแล้ว จะเติมนํ้ามันพืช ซอสมะเขือเทศ หรืออื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์

6. การไล่อากาศ (exhasting) นํากระป๋องที่บรรจุปลาและเติมส่วนผสมอื่นๆ แล้ว มาผ่านการไล่อากาศและปิดผนึกฝา โดยใช้ไอนํ้าไล่และแทนที่อากาศในกระป๋อง โดยหลังจากไอนํ้าเกิดการควบแน่นจะเกิดสภาพสุญญากาศภายในกระป๋อง แล้วนำมาปิดผนึกฝากระป๋อง

7. การฆ่าเชื้อ (sterilization) กระป๋องที่ปิดผนึกแล้ว จะนําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งฆ่าเชื้อความดันสูง (retort) การฆ่าเชื้อระดับ Commercial sterilization ซึ่งหมายถึง การใช้ความร้อนสูงเพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) ที่มีอยู่ในอาหารเกือบทั้งหมด เพื่อให้อาหารนั้นสามารถบริโภคได้โดยไม่เป็นอันตราย และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียในสภาวะปกติ โดยใช้อุณหภูมิในการฆ่าเชื้อที่ประมาณ 118-122 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60-70 นาที เพื่อให้ได้ค่า Fo ตามที่กำหนด ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ ขนาดของปลาที่บรรจุและขนาดของกระป๋อง

8. การลดอุณหภูมิกระป๋อง (cooling) ภายหลังจากนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ต้องลดอุณหภูมิของปลากระป๋องโดยเร็ว นํ้าที่ใช้ในการลดอุณหภูมิต้องเป็นนํ้าสะอาดที่มีการเติมคลอรีน เพื่อลดอุณหภูมิของกระป๋องให้เหลือราว 35-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ความร้อนที่สะสมอยู่ที่ตัวกระป๋องจะทําให้กระป๋องแห้ง ถ้าใช้อุณหภูมิตํ่ากว่านี้ กระป๋องจะเป็นสนิมเพราะไอนํ้าที่เกาะอยู่ที่กระป๋องระเหยไปไม่หมด

9. การปิดฉลากและบรรจุกล่อง เมื่อกระป๋องแห้งสนิทแล้ว จะนํามาปิดฉลาก บรรจุกล่อง เก็บรักษาและรอการขนส่งต่อไป

www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3097/ปลากระป๋อง
==============================================================
เราจะป้องกันตัวเองเบื้องต้นกันอย่างไร?
~สำหรับคนกิน ก็อย่าลืมกินร้อน (ปรุงสุก) ช้อนกลาง ถ่ายพยาธิ  3 เดือนครั้ง เพราะมีโอกาสได้พยาธิจากแหล่งอื่นด้วย(เติมเรื่องยา)
~ส่วนถ้ามโนว่าตัวเองเป็นฝ่ายผลิต อันนี้เชื่อเถอะ เจ้าของบริษัทและ QC/QA ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าหลุดตรงไหน เพราะกระบวนการไม่ได้เอื้อให้พยาธิเจริญเติบโตเหมือนเชื้อโรค อยู่แต่ว่า การจัดการวัตถุดิบเหมาะสม เพียงพอ หรือยัง
เอาใจช่วยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

India Food News_อินเดียเตรียมออกระเบียบจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะเลี้ยงสัตว์

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัวอินเดียเตรียมปรับปรุงระเบียบกำหนดปริมาณตกค้างสูงสุดของยาสัตว์และยาปฏิชีวนะที่ใช้ในไก่ สุกร และปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ ครอบคลุมยาปฏิชีวนะ 42 ชนิด และยาสัตว์ 77 ชนิด เพื่อลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์
                ทั้งนี้ การปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเป็นผลจากความกังวลต่อเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ หลังองค์กรควบคุมความปลอดภัยและมาตรฐานด้านอาหารของอินเดีย (FSSAI) ศึกษาปริมาณยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่จำหน่ายในประเทศ ส่วนศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมพบว่ากระบวนการกำจัดของเสียในฟาร์มสัตว์ปีกอย่างไม่เหมาะสมอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อต่างๆติดต่อมาสู่คน นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ทุกตัวอย่าง เชื้อ Klebsiella 
pneumoniae ร้อยละ 92 และเชื้อ Staphylococcus lentus ร้อยละ 78 ดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด
 
ที่มา: globalmeatnews.com สรุป: โดย มกอช.

Japan Food News_ญี่ปุ่นพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง 7 รายการ และวิธีทดสอบ Propham

 กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง (MRL) ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น โดยมีค่า MRL ที่ถูกปรับเข้มงวดขึ้น และมีผลกระทบต่อสินค้าเกษตร สรุปได้ดังนี้ 

click ที่ link เพื่อดาวน์โหลดนะคะ
                
ตารางสรุป

                MHLW พิจารณากำหนดวิธีทดสอบสำหรับสาร Propham ซึ่งกฎหมายญี่ปุ่นห้ามมิให้มีการตกค้างในอาหารทุกประเภท วิธีทดสอบที่กำหนดนี้มี Limit of quantification ณ ระดับ 0.01 mg/kg
(รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ : http://www.acfs.go.th/news/docs/Earlywarning_acfs_27_11_60.pdf )
ที่มา: มกอช. 

AI/Bird Flu News: สถานการณ์ไข้หวัดนก

ไล่ตามลำดับนะคะ

เกาหลีใต้ พบไข้หวัดนก LPAI สายพันธุ์ H5N2
               เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทเกาหลีใต้ รายงานพบไข้หวัดนกระบาดที่จังหวัดคย็องกี และเกาะเชจู ซึ่งได้รับการยืนยันว่าไข้หวัดนกดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ H5N2 มีระดับความรุนแรงต่ำ โดยเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าว ตรวจพบจากตัวอย่างมูลสัตว์ปีกที่รวบรวมจากแถบแม่น้ำที่ Suwon พื้นที่ที่ห่างจากโซล 45 กิโลเมตร และทางตอนใต้ของเกาะเชจู
                ทั้งนี้ จากการตรวจพบไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N2 ซึ่งมีความรุนแรงต่ำ ทำให้มีความสามารถต่อการก่อโรคน้อย และตรวจพบได้ยาก ในขณะที่เชื้อที่มีความรุนแรง มีความสามารถในการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการฆ่าเชื้อ และเข้าตรวจสอบฟาร์มสัตว์ปีก พร้อมเตรียมเฝ้าระวังสัตว์ปีกที่อพยพข้ามคาบสมุทรเกาหลีในช่วงฤดูหนาวนี้
 
ที่มา: english.yonhapnews.co.kr 


เกาหลีใต้ ยืนยันพบหวัดนก H5N6 สายพันธุ์รุนแรง
                   เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ยืนยันพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ชนิดรุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Gochang ห่างจากกรุงโซลทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 270 กิโลเมตร โดยในฟาร์มดังกล่าวพบเป็ดติดเชื้อจำนวน 12,000 ตัว โดยหน่วยงานสั่งกำจัดสัตว์ปีกทั้งหมด
                  ทั้งนี้ ภาครัฐเกาหลีใต้ได้สั่งกำจัดเชื้อภายในฟาร์มสัตว์ปีกและได้มีการออกคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง นับจากเที่ยงคืนของ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560
ที่มา: www.reuters.com

ฮ่องกง สั่งแบนเนื้อไก่จากเกาหลีใต้
               ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารของฮ่องกง (CFS) ประกาศสั่งระงับห้ามนำเข้าสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก จากจังหวัด Jeollabuk-do , Gyeongsangnam-do และ เมือง Daegu Metropolitan ของเกาหลีใต้ โดยมีผลทันที หลังมีรายงานพบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์รุนแรง (HPAi) H5N6 และ H5N8 จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเกาหลีใต้
                      ทั้งนี้ ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารของฮ่องกง เผยข้อมูลในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 พบว่าฮ่องกงมีการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก แช่แข็ง และแช่เย็น ปริมาณกว่า 77 ตัน และไข่ไก่กว่า 390,000 ตันจากเกาหลีใต้ 
ที่มา: thepoultrysite.com 

ญี่ปุ่นตรวจพบไข้หวัดนก H5N6
                กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการตรวจสอบเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกในนกอพยพและนกป่าทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ในซากหงส์ขาว (Mute Swan: Cygnus olor) และเป็ดเปีย (Tufted duck: Aythya fuligula) ในเมือง Matsue City จังหวัด Shimane ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังพบซากนกอพยพในพื้นที่จังหวัดเดียวกันอีก 5 ตัว ตั้งแต่วันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเชื้อไวรัส
                   
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ใช่การตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็นอาหาร กระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น ได้มีคำสั่งให้ยกระดับการตรวจสอบเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
 
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว 

ทั้งหมดสรุปโดย: มกอช.

Strengths of Asean Country

เครดิตในภาพนะคะ





วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Food Allergen Labelling


แหล่งที่มา : หน่วยทดสอบสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร FQA LAB มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ว่าด้วยเรื่อง “ #โปรตีน #กล้ามเนื้อ #สารอาหาร #สารก่อภูมิแพ้ ตอนที่ 3/3“

สิ่งที่ต้องดูเมื่อจะซื้อ เวย์โปรตีน

1. ความต้องการ ว่าซื้อเพื่ออะไร ถ้าลดน้ำหนักเราก็ต้องระวังเรื่องปริมาณน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตและแคลอรี ที่มากเกินพอดี  หากซื้อเพราะกินเพื่อเพิ่มโปรตีนเพื่อรักษาโรค หรือสำหรับคนป่วย ก็ต้องหลีกเลี่ยงสารปรุงแต่งที่ไม่จำเป็น หรือสารต้องห้ามสำหรับคนป่วยบางโรค หรือกินเพื่อสร้างกล้ามเนื้ออันนี้ก็เน้นโปรตีน กรดอะมิโนให้ครบถ้วนและเลือกประเภทการดูดซึมไปใช้

2. ราคา เอาที่สบายใจ จ่ายไหว เพราะเวย์โปรตีนราคาแพงกว่าโปรตีนในอาหารอยู่แล้ว และราคาขึ้นกับขั้นตอนการผลิต ประเภทโปรตีนที่เราต้องการด้วย หรือบางท่านที่สร้างอาชีพก็เลือกกินในแบรนด์ที่ตนเองจำหน่ายเพื่อประโยชน์หลายต่อ

3. ความคุ้มค่า ก็เทียบจากสารอาหารโดยรวมที่ได้ ,ปริมาณ Serving ต่อบรรจุภัณฑ์เพื่อดูว่าจะกินได้กี่มื้อ, ปริมาณโปรตีนที่จะได้รับ(อ่านฉลากและหมายเหตุดีๆนะคะ)

4. ความปลอดภัย ดูจาก 4 อย่างคือ 
4.1  วันหมดอายุ ที่มักเขียนเป็น 2 แบบคือ Expired Date คือ วันหมดอายุ คือกินไปภายในวันนี้เที่ยงคืนกับ Best Before Date คือ ควรบริโภคก่อน นั่นก็คือ ถ้าเขียน 31/01/2018 ก็ควรกินให้หมดภายในวันที่ 30 มกราคม 2561 
4.2 หมายเลขทะเบียนอย. ที่ออกโดยสนง.อาหารและยาไทยนะคะ โดยเฉพาะของนำเข้า ดูสักนิดที่ฉลาก
4.3 คนสูงอายุ คนป่วยมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะตับ ไต หรือเบาหวาน ต้องปรึกษาหมอก่อนเลือกซื้อนะคะ เพราะส่วนประกอบบางตัว ต้องห้ามสำหรับบางโรค บางโรคกินไม่ได้ อย่าตามเทรนด์ค่ะ
4.4 คนแพ้อาหาร เช่น นม แลคโตส ถั่วเหลือง หรือ ปลา ที่อาจเป็นส่วนประกอบในโปรตีนเชค
แพ้อะไรต้องหลีกเลี่ยงตัวนั้นโดยการอ่านฉลากอย่างละเอียด เพราะบางคนแพ้น้อยก็แค่ท้องเสีย คัน ผื่นขึ้น แต่คนแพ้มากๆนี่ช้อค หัวใจวายตายได้

เรียบเรียงโดย naamfon surada 25/11/2560

ว่าด้วยเรื่อง “ #โปรตีน #กล้ามเนื้อ #สารอาหาร #สารก่อภูมิแพ้ ตอนที่ 2/3“

โดยทั่วไปร่างกายต้องการโปรตีนนำมาสร้างกล้ามเนื้อ เอนไซม์ ฮอร์โมน และภูมิคุ้มกัน การสร้างกล้ามเนื้อได้จากการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ (resistance training) เพื่อให้โปรตีนได้ทำหน้าที่สร้างกล้ามเนื้อเต็มที่ โปรตีนที่เกินจำเป็นถ้าใช้ไม่หมดจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานและเมื่อพลังงานเกินพอจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันต่อไป คนทั่วไปต้องการโปรตีน 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เช่น มีน้ำหนักตัว 69 กิโลกรัมควรกินโปรตีนวันละ 55 - 69 กรัม ร่างกายจึงจะได้รับโปรตีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่ถ้าเป็นนักกีฬาความต้องการโปรตีนจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 1 - 1.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในกีฬาแต่ละประเภท
การกินเนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะจะได้โปรตีน 7 กรัม ถ้ากินเนื้อสัตว์มื้อละ 8 ช้อนโต๊ะจะได้โปรตีน 28 กรัมต่อมื้อ
ทั้งวันก็จะได้โปรตีน 84 กรัม ถ้ากินเวย์โปรตีน 1 ช้อนต่อวันจะได้โปรตีนเพิ่ม 12.5 กรัม รวมจะได้โปรตีนในวันนั้น 96.5 กรัม เท่ากับได้รับโปรตีน 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ซึ่งการกินโปรตีน 96.5 กรัมต่อวันก็จะเป็นตัวเลขที่มากกว่าน้ำหนักตัวและเป็นการกินเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ในระยะเวลาจำกัด 3 เดือนหรือ 6 เดือนไม่ได้กินตลอดไป ดังนั้นคำตอบก็คือสามารถกินโปรตีน (เป็นกรัม) ในปริมาณที่มากกว่าน้ำหนักตัวได้ ยกเว้นว่ามีโรคประจำตัวเกี่ยวกับไตอยู่ก่อนแล้วการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากเกินไปและเสื่อมเร็วขึ้นกว่าเดิมได้
ที่มา เพจ พบหมอ อาจารย์พีระพรรณ โพธิ์ทอง นักวิชาการโภชนาการ 2พ.ค. 2557
=============================================================
“ทั้งนี้ นพ.นรินทร์ วรวุฒิ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่า 
ประโยชน์-โปรตีนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์ เป็นสารเคมีที่ใช้ในการสื่อสารของเซลล์ในร่างกาย สร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง เป็นส่วนประกอบในเลือดเพื่อไม่ให้นํ้ารั่วไหลออกมา และช่วยให้เลือดอยู่ระดับปกติ หากขาดโปรตีนไปจะทำให้เกิดภาวะเลือดจาง ตัวเหลือง ตาเหลือง และดีซ่าน
นอกจากนี้ยังเป็นโครงสร้างสำคัญของกล้ามเนื้อ ช่วยเรื่องการเจริญเติบโต สำคัญมากในเด็กกำลังเจริญเติบโต และคนที่เป็นแผล ไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก เป็นต้นนั้นต้องการโปรตีนสูงเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
        อย่าง เวย์โปรตีนก็เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สกัดมาจากผลิตภัณฑ์ของนมและชีส ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เร็ว จนได้รับความนิยม แต่อาจจะต้องมีเทคนิคในการรับประทาน เช่น รับประทานก่อนเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย แต่โดยทั่วไปแล้วเวย์โปรตีนค่อนข้างราคาแพง ในขณะที่นํ้านมแม่ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสำหรับทารกมาก ๆ นั้นพบว่า มีเวย์โปรตีนมากกว่าในนํ้านมวัว เช่นเดียวกับไข่ขาวนี่ของดีโปรตีนสูงมากแถมยังราคาถูกอีกด้วย

ข้อควรระวัง-หากได้รับโปรตีนในปริมาณที่เกินความต้องการตับและไตจะจะทำงานหนักมากขึ้น และก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเลือดเป็น กรดได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับ ไต นั้น อวัยวะทั้ง 2 อย่างจะยิ่งทำงานหนักขึ้น และเกิดภาวะไต ตับเสื่อมเร็ว
ในกรณีการทำงานของตับที่มีปัญหาเดิมอยู่จะไม่สามารถดูดซึมโปรตีนได้ แต่กลับส่งโปรตีนไปที่ลำไส้ใหญ่ และถูกแบคทีเรียบริเวณนั้นทำการเปลี่ยนแปลงโปรตีนให้เป็นสารประกอบแอมโมเนียและดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้สมองเสื่อม เกิดภาวะ ซึม ชัก หมดสติ หรือตับเสื่อม ตัวเหลือง ตาเหลือง ดีซ่าน
ที่มา เดลินิวส์ 15พ.ย.2557”
=============================================================    
        ดร.นพ.ประสงค์ เทียนบุญ หัวหน้าทีมวิจัยทางคลินิคด้วย HMS 90 บอกกับ "ผู้จัดการรายสัปดาห์"ถึงการค้นพบการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลตเสริมอาหารให้กับผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากการคั่งสะสมของไขมันในตับที่มิได้มีสาเหตุมาจากการเสพแอลกอฮอล     
        สำหรับเวย์โปรตีนที่นำมารักษาโรคนี้จะแตกต่างกับเวย์โปรตีนที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปเพราะเวย์โปรตีนนี้จะเป็นชนิดพิเศษ(เป็นการสกัดเวย์โปรตีนจากนมวัวโดยใช้อุณภูมิต่ำทำให้ได้สาร "ซีสตีน"ในปริมาณที่สูงในขณะที่ปริมาณของกรดอะมิโนก็มีมากกว่า)
ที่มา ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 ส.ค. 2551

เรียบเรียงโดย naamfon surada 25/11/2560

ว่าด้วยเรื่อง “ #โปรตีน #กล้ามเนื้อ #สารอาหาร #สารก่อภูมิแพ้ ตอนที่ 1/3“

บังเอิญต้องกินอาหารเสริมเพื่อลดน้ำหนัก(ทำน้ำหนักเสียตังค์ ลดน้ำหนักยังต้องมาเสียตังค์อีก 😑) แล้วด้วยที่เราเรียนกันมาเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร ฉลาก และโภชนาการบ้าง ทำให้ค้องอ่านฉลาก บวกกับสิ่งที่เก็บข้อมูลมา เลยเอามาแชร์กัน ว่าด้วยเรื่องของ โปรตีนชงดื่มที่มี Allergen (สารก่อภูมิแพ้เป็นส่วนประกอบ)
จริงๆโปรตีนหาได้ในอาหารทั่วไป แต่คนที่ต้องการ ควบคุมน้ำหนัก กับ สร้างกล้ามเนื้ออาจจะไม่สะดวก หากต้องการความรวดเร็วและคุมพลังงาน ดังนั้นทางเลือกก็มีในโปรตีนที่ชงดื่มได้ หรือเรียก โปรตีนเชค ที่เอา โปรตีนผงมาชงดื่ม ที่ต้องเชคเพราะมันละลายยากหน่อย ชงน้ำร้อนๆก็ไม่ได้ ต้องเขย่าๆออกกำลังแขนเอา

🏋🏻‍♀️🏋🏻‍♂️เลือก #เวย์โปรตีน #WheyProtein powder ให้เหมาะกับตัวเอง🏋🏻‍♀️🏋🏻‍♂️
 #ประเภทของเวย์ 
1. Whey Protein Concentrate (WPC) 
🅿️การสกัด-เป็นโปรตีนตั้งต้นได้จากการนำเวย์ที่ได้ในกระบวนการผลิตขั้นต้นมาผ่านการกรอง Ultrafiltration เพื่อแยกน้ำตาลแลกโตส(Lactose)และไขมันนม(Milk Fat) ออกไป แล้วทำให้แห้ง (Dehydration)ด้วยเครื่องพ่นฝอย (Spray Drier) ผงเวย์ที่ได้จะมีความเข้มข้นของโปรตีนอยู่ที่ 29 – 89% ลักษณะเป็นผงสีครีมอ่อนและมีกลิ่น รส ตามธรรมชาติ มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนทั้ง 20 ชนิดและ 8 ชนิดที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ และยังมี BCAAs (Branched-chain Amino Acids) ช่วยกระตุ้นการหลั่ง Growth Hormone ที่ไปกระตุ้นการย่อยสลายและสังเคราะห์โปรตีนของร่างกาย จึงทำให้สามารถดูดซึมโปรตีนไปสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังคงมีแลคโตสเหลือ 4-52%
⭕️ข้อดี-ของ WPC คือมีราคาถูกกว่าเวย์ชนิดอื่นๆ เนื่องจากไม่ต้องผ่านกรรมวิธีมากเหมือนเวย์ประเภทอื่น ทำให้เวย์ราคาย่อมเยาว์นั้นจะมีส่วนประกอบของ WPC มากกว่า
❌ข้อเสีย-ของ WPC เนื่องจากมีน้ำตาลแลคโตสอยู่จำนวนนึง ในบุคคลที่แพ้แลคโตสอาจเกิดอาการท้องเสีย ท้องอืดเหมือนกับการดื่มนมได้
❇️เหมาะสำหรับบุคคลประเภทใด: บุคคลปกติที่ไม่มีปัญหาอาการแพ้แลคโตสและแพ้โปรตีนในนม

2. Whey Protein Isolate (WPI)
🅿️การสกัด-ได้มาจากการนำ WPC มาผ่านกระบวนการผลิต Cross-flow Microfiltration เพื่อแยกน้ำตาลแลกโตส(Lactose)และไขมันนม(Milk Fat) ที่ยังคงมีผสมอยู่บ้างออกไปอีก ทำให้ความเข้มข้นของเวย์เพิ่มขึ้นไปอีกถึง 90 – 94% และจะมีแลคโตสและไขมันปนมาแค่ 0.5-1 % เท่านั้น 
⭕️ข้อดี-ของ WPI จะเห็นได้ว่ามีโปรตีนที่บริสุทธิ์กว่า คนที่ไม่ย่อยแลคโตสกินได้
❌ข้อเสีย-ของ WPI คือราคาแพงกว่า และสูญเสียโปรตีนที่มีคุณค่าอย่าง Beta-lactoglobulin และ Lactoferrin
❇️เหมาะสำหรับบุคคลประเภทใด: บุคคลที่มีอาการแพ้แลคโตสในนม ถ้าแพ้โปรตีนในนมก็ทานไม่ได้ค่ะ

3. Whey Protein Hydrolysate (WPH)
🅿️การสกัด-ผ่านกระบวนการ Hydrolyze ทำให้โมเลกุลของเวย์ที่มีขนาดใหญ่ถูกย่อยลงมาอยู่ในรูปโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า Peptides และบางส่วนถูกย่อยลงไปถึงขั้นกรดอะมิโนเลยทีเดียว 
⭕️ข้อดี-เป็นเวย์โปรตีนที่ถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วที่สุด และก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าเวย์ชนิดอื่น จึงมักใช้ในสูตรนมทารกหรือในวงการแพทย์
❌ข้อเสีย-ของ WPH เนื่องจากว่าเป็นเวย์ที่ผ่านกรรมวิธีมากที่สุด ทั้งการสกัดให้บริสุทธิ์และการย่อยให้เป็นโปรตีนสายสั้นๆ จึงทำให้ WPH มีราคาสูงกว่าเวย์ชนิดอื่นๆ และมีรสขมมาก
❇️เหมาะสำหรับบุคคลใด: เหมาะสำหรับบุคคลที่แพ้โปรตีนและแลคโตสในนม(ถ้าไม่มีการเติมเพิ่ม)

4. Whey Blend
เวย์ชนิดนี้คือเวย์ผสม มีส่วนประกอบของโปรตีนแบบผงเช่น WPC, WPI, WPH, โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง, โปรตีนสกัดจากไข่ขาว และอื่นๆ มาผสมกัน หรืออาจเป็นโปรตีนแต่ละตัวเติมสารอาหาร แร่ธาตุ
ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยแต่ละตัวคือ
- เคซีน โปรตีน (Casein Protein) เป็นส่วนผสมระหว่างโปรตีน 80% ในนม ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยช้า แต่ผลดีที่ได้จากการถูกย่อยอย่างช้า ๆ คือการดูดซึมเพื่อนำไปสู่กล้ามเนื้อจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่สม่ำเสมอ โปรตีนเชคชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับดื่มเป็นของว่างก่อนเข้านอน อีกทั้งมันยังอุดมไปด้วย กลูตามีน (Glutamine) กรดอะมิโนซึ่งจะช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย  
-โปรตีนถั่วเหลือง (Soy Protein)  โปรตีนถั่วเหลืองมีทั้งกลูตามีน (Glutamine) อาร์จินีน (Arginine) รวมทั้งวาลีน (Valine), ไอโซลิวซีน (Isoleucine) และลิวซีน (Leucine) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนจำเป็นต่อการเสริมสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังพบว่ามีคลอเรสเตอรอลชนิดมีประโยชน์ (HDL) จึงพบว่าการทานโปนตีนเชคที่ได้จากถั่วเหลืองช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ด้วย  เหมาะกับคนกินเจหรือเป็นมังสวิรัติ    
-โปรตีนไข่ขาว (Egg Albumin) คือโปรตีนที่สกัดได้จากไข่ขาว อันเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอด และเป็นทางเลือกสำคัญสำหรับผู้ที่แพ้นม ทั้งนี้โปรตีนในรูปของเอ้ก อัลบูมิน แบบผง อุดมไปด้วยโปรตีนมีประโยชน์ไม่ต่างจากในรูปไข่ขาวทั้งฟอง แต่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการรับประทานมากกว่าการต้มไข่เพื่อกินเฉพาะไข่ขาว จึงถือเป็นโปรตีนเชคที่สามารถดื่มได้ตลอดทั้งวัน นับเป็นของว่างโปรตีนสูงอีกหนึ่งรายการที่เหมาะมากกับผู้ที่ออกกำลังกาย 

⭕️ข้อดี-ได้รับโปรตีนจากหลายแหล่งซึ่งปริมาณสารอาหารอาจแตกต่างกัน
❌ข้อเสีย-Whey Blend อาจมีส่วนผสมของ WPC และ WPI จึงอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่แพ้โปรตีนในนมและบุคคลที่แพ้แลคโตสหรือโปรตีนในส่วนผสมอื่นๆ
 ❇️เหมาะสำหรับบุคคลใด: เหมาะสำหรับบุคคลที่ไม่แพ้โปรตีนในอาหาร 

อย่างไรก็ตาม เวย์โปรตีนเหล่านี้จะมีการถูกนำไปเป็นส่วนผสม ปรับปรุงสูตร เติมสารอาหารให้เหมาะแก่ผู้บริโภคแต่ละประเภท ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องเลือกให้ถูกต้อง ปลอดภัย ตรงตามความต้องการ ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวถึงบทต่อๆไป

อ้างอิงจาก Y. H. Lee, The Journal of pediatrics 121 (1992),food wiki ,แปลจาก Wikipedia และจากการรวมรวมข้อมูลจากบทความทางการแพทย์และโภชนาการ,www.thaihow.com ,www.kapook.com

เรียบเรียงโดย naamfon surada 25/11/2560

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Food News by ACFS up 12.11.17

ฝรั่งเศสออกระเบียบติดฉลากแสดงคุณค่าทางโภชนาการ
                เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 รัฐบาลฝรั่งเศสลงนามออกระเบียบการติดฉลากรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Nutri-score หวังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มมาตรฐานด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร และป้องกันการเกิดโรค พร้อมต่อยอดผลักดันเพื่อใช้ทั้งสหภาพยุโรป
                ข้อกำหนดการติดฉลากรูปแบบใหม่จะกำหนดให้มีการแสดงคุณค่าทางโภชนาการไว้บริเวณด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ โดยแสดงเป็นสีตั้งแต่สีเขียวแก่ถึงสีส้มแก่ร่วมกับตัวอักษร A ถึง E ซึ่งอักษร A หมายถึงมีคุณค่าทางโภชนาการดีที่สุด E คือมีคุณค่าทางโภชนาการด้อยกว่า
                ทางการฝรั่งเศสกล่าวว่า รูปแบบการติดฉลากในลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจและเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ง่าย และหวังว่าผู้บริโภคจะนำไปใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเลือกซื้อสินค้า อันจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดโรคกลุ่ม NCDs (กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน) การบริโภคที่ไม่สมดุลและภาวะอ้วนที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังจะพยายามผลักดันให้กลุ่มสหภาพยุโรปใช้ระบบดังกล่าวอีกด้วย
ที่มา: foodnavigator.com สรุปโดย: มกอช. 


ไต้หวัน แจ้งพบไข่ปนเปื้อน fipronil เพิ่ม
                สภาเกษตรไต้หวัน (COA) แจ้งผลการสุ่มตรวจสอบไข่ไก่ภายในฟาร์มสัตว์ปีก ที่เมือง Changhua พบมีการปนเปื้อนสาร Fipronil เพิ่ม ซึ่งเจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ประกาศสั่งห้ามฟาร์มสัตว์ปีกดังกล่าวเคลื่อนย้ายไข่กว่า 8000 ฟอง ออกจากพื้นที่ พร้อมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เร่งดำเนินการตรวจสอบ และสั่งเรียกคืนที่วางจำหน่าย
                ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้ดำเนินการสอบสวนผู้ประกอบการฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งให้การปฏิเสธว่าไม่เคยใช้สารดังกล่าวภายในฟาร์ม จึงตั้งข้อสงสัยว่าอาจมาจากการใช้สาร Fipronil ในภาคการเกษตร โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการปนเปื้อนสาร Fipronil ในฟาร์มสัตว์ปีกจำนวน 3 แห่ง ที่เมือง Changhua โดยมีปริมาณตกค้างสูงสุดอยู่ที่ 5 ppb เมื่อเดือน สิงหาคม 2560
ข่าวเพิ่มเติม  
http://www.acfs.go.th/warning/viewEarly.php?id=6001
 
ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช. 


รัสเซียแบนสินค้านำเข้าเพิ่มเติมอีกหลายรายการ
                รัสเซียขยายการแบนสินค้าเกษตร วัตถุดิบและสินค้าอาหารนำเข้าจากประเทศ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ยูเครน อัลเบเนีย มอนเตเนโกร ไอซ์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์ อีกหลายรายการ มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ประกอบด้วย
- สุกรมีชีวิต (ยกเว้นพ่อแม่พันธุ์แท้)
- ผลพลอยได้จากวัว สุกร แกะ แพะ ม้า ลิง ล่อ ที่ใช้รับประทานได้ ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง ยกเว้นสินค้าที่ใช้ในการผลิตยา
- ไขมันที่แยกได้จากเนื้อสุกร และไขมันสัตว์ปีก ทั้งในรูปสินค้าสด แช่เย็นหรือแช่แข็ง เติมเกลือ แช่ในน้ำซอส ทำแห้งหรือรมควัน
- ไขมันและน้ำมันหมู ไขมันจากสัตว์ปีก แกะ วัว และแพะ
- น้ำมันหมู สเตียริน (stearin) จากสุกร oleostearin, oleo oil หรือน้ำมันที่ได้จากสัตว์อี่นๆ รวมทั้งที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความคงตัว (emulsified) และผสมหรือเตรียมได้จากวิธีอื่นๆ
                   ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรรัสเซียชี้แจงว่าการห้ามนำเข้าสินค้าเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ
ที่มา: government.ru สรุปโดย: มกอช.

(BAP_ACC) Best Aquaculture Practices Certification Standards Guidelines

1 . Finfish and Crustacean Farms Best Aquaculture Practices Certification Standards, Guidelines
Finfish and Crustacean Farm Standard (FCFS)  Issue 2.4 – 23-May-2017

click this Link

2. Feed Mill Best Aquaculture Practices Certification Standards, Guidelines
Feed Mills Issue 2.1 – 23-May-2017

click this Link

AUS-NEWZ Food Allergen_ลูปินเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่บังคับให้แสดงฉลากในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

     ลูปินเป็นพืชสกุล Lupinus และเป็นส่วนหนึ่งของตระกูล Leguminosae โดยปกติแล้วเมล็ดลูปินมีการบริโภคในพื้นที่เมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันพบการบริโภคแป้งลูปินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในออสเตรเลีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยออสเตรเลียมีการผลิตได้ถึงร้อยละ 75-80 ของผลิตภัณฑ์ลูปินทั้งหมดในโลกและเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก การใช้แป้งลูปินในผลิตภัณฑ์อาหารครอบคลุมหลากหลายประเภท เช่น พาสต้า ขนมปัง เค้ก พิซซ่า ครีมชีส ไส้กรอกเต้าหู้ เครื่องเทศ แยม ก๋วยเตี๋ยว ซอสมะเขือเทศ

     เนื่องจากกฎระเบียบมาตรฐานอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ลูปินถูกจัดเป็นสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ดังนั้นจึงต้องแจ้งการมีอยู่ของลูปินเมื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารหรือองค์ประกอบของส่วนผสมรวมถึงสารปรุงแต่งอาหาร (Food Additives) และสารช่วยในกระบวนการผลิต (Processing Aids) เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบดังกล่าว สภาอาหารและร้านขายของชำในออสเตรเลียและสถาบันโรคภูมิแพ้ (Allergen Bureau) ได้ออกเอกสารแนะนำสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยครอบคลุมเรื่องเวลา เพื่อให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ ทั้งกรณีที่ใช้ลูปินเป็นส่วนผสมโดยตรงและจากการปนเปื้อน 

     ในยุโรปมีเอกสารและรายงานทางการแพทย์เกี่ยวกับการแพ้ลูปินและมีกรณีการแพ้อย่างรุนแรง ดังนั้นสหภาพยุโรป (กฎระเบียบสหภาพยุโรป เลขที่ 1169/2011) จึงให้ลูปินเป็นสารก่อภูมิแพ้บังคับที่จำเป็นต้องติดฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีลูปินทั้งหมด การแพ้ลูปินในออสเตรเลียมีรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 ว่าทำให้เกิดการแพ้ที่รุนแรง โดยไม่มีปฏิกิริยาข้ามกับถั่วลิสงหรือถั่วเหลือง Campbell และคณะ (2550) ได้รายงานความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันของผู้ป่วยที่แพ้ลูปินในระหว่างการทดสอบทางผิวหนัง (Skin Prick Testing, SPT) พบว่าความไวและอาการแพ้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปฏิกิริยาข้ามกับพืชตระกูลถั่วชนิดอื่นๆ ในการศึกษาของ Goggin และคณะได้ทดสอบทางผิวหนัง (SPT) จากผู้ป่วยที่แพ้ลูปินสิบราย พบผู้ป่วย 3 รายให้ผลการทดสอบเป็นบวกกับถั่วลิสงและถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการแพ้ลูปินที่ไม่ได้เผยแพร่ในออสเตรเลียอีก 3 ฉบับ ข้อสรุปจากสำนักมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FSANZ) พบรายงานผู้ป่วยที่แพ้ถั่วลิสงที่มีผลต่อลูปินในเด็กร้อยละ 25 และในผู้ใหญ่ร้อยละ 41 ตามลำดับ การศึกษาของ Foley และคณะแสดงให้เห็นว่าซีรั่มของผู้ป่วยที่แพ้ลูปินจะจับกับโปรตีนของลูปินที่แตกต่างกัน

     ด้วยคุณค่าทางโภชนาการและความชื่นชอบลูปินส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของลูปินมีจำนวนเพิ่มขึ้น (ในออสเตรเลียและทั่วโลก) ความแตกต่างของการประยุกต์ใช้ลูปินในผลิตภัณฑ์อาหารมักส่งผลให้การแสดงฉลากของลูปินไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งไม่มีความชัดเจน การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีลูปินเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การแพ้ลูปินเพิ่มขึ้น จากหลักฐานการแพ้ลูปินในออสเตรเลียและการประเมินความเสี่ยงที่ดำเนินการโดยสำนักมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้สรุปข้อมูลทางคลินิกในออสเตรเลียเกี่ยวกับการแพ้ลูปินว่าตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญต่อเกณฑ์สากลสำหรับสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่

ที่มา www.ifrpd-foodallergy.com

กฎระเบียบของสารก่อภูมิแพ้และเครื่องมือใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

กฎระเบียบของสารก่อภูมิแพ้และเครื่องมือใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา                                               

     กฎระเบียบและเครื่องมือใหม่มีการกำหนดเป้าหมายบุคลากรและผู้ประกอบการในสถานประกอบการที่ให้บริการอาหารโดยตรงแก่ผู้บริโภคที่เป็นภูมิแพ้อาหาร เช่น ร้านอาหาร โรงเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านอาหารต่างๆ เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งความพยายามดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีการพัฒนามาตรการต่างๆ ตามที่รัฐและรัฐบาลกลางมุ่งสนับสนุนผู้ผลิตอาหารและธุรกิจจัดเลี้ยงที่ดำเนินการตามโครงการต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพ้อาหารโดยไม่คาดคิด

การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของลูกค้าที่แพ้อาหารในภัตตาคาร

     อิลลินอยส์ร่วมกับรัฐแมรีแลนด์ แมสซาชูเซตส์ มิชิแกน โรดไอแลนด์และเวอร์จิเนีย ในความพยายามปกป้องผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหาร จากมาตรา 5 ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้ การควบคุมการปฏิบัติงานทางด้านอาหาร (410 ILC 625) ได้มีการแก้ไขในหัวข้อ 3.06 และเพิ่มเติมในหัวข้อที่ 3.07 ใหม่ โดยเพิ่มเติมกฎระเบียบให้สถานประกอบการอาหารที่จัดตั้งต้องมีผู้จัดการด้านสุขาภิบาลบริการอาหารตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับภายในประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเข้าใจของสารก่อภูมิแพ้ นอกจากนี้กฎระเบียบยังระบุว่าควรมีผู้จัดการอย่างน้อยหนึ่งคนในช่วงเวลาทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนข้ามของสารก่อภูมิแพ้ให้น้อยลงและได้ให้ข้อมูลของสารก่อภูมิแพ้ที่ถูกต้องแก่ลูกค้า โดยกฎระเบียบใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป

การควบคุมสารก่อภูมิแพ้ในโรงเรียน

     นอกเหนือจากความช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนได้รับจากองค์กรผู้บริโภคที่เป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โครงการวิจัยและการศึกษาโรคภูมิแพ้อาหาร (FARE) โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มีการริเริ่มเพื่อสนับสนุนสถาบันเหล่านี้ ในปี พ.ศ. 2556 ศูนย์การควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้เผยแพร่แนวทางในการบริหารจัดการโรคภูมิแพ้อาหารในโรงเรียนและโปรแกรมการดูแลเด็กก่อนวัยโดยความสมัครใจ ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ทาง CDC ได้ออกชุดเครื่องมือการแพ้อาหารในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยเอกสารและเนื้อหาการฝึกอบรม โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีบทบาทแตกต่างกัน (เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ พยาบาลประจำโรงเรียนและพนักงานขนส่ง)

ผู้จัดทำแผนความปลอดภัยด้านอาหาร

     ในส่วนของโปรแกรมที่สนับสนุนผู้ผลิตอาหารที่สอดคล้องกับกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารที่ทันสมัย (Food Safety Modernization Act, FSMA) ซึ่งทางสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้จัดทำแผนความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety Plan Builder, FSPB) ที่เป็นเครื่องมือเสริม เพื่อช่วยในการพัฒนาแผนงานด้านความปลอดภัยในอาหารอย่างเฉพาะเจาะจงและเป็นไปตามข้อกำหนดของวิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารในปัจจุบัน (current Good Manufacturing Practices, cGMP) การวิเคราะห์อันตรายและการควบคุมความเสี่ยงตามกฎระเบียบทางด้านอาหารของมนุษย์ตามแผนความปลอดภัยในอาหารที่เผยแพร่ นอกจากนี้องค์การอาหารและยาได้มีการพัฒนาวิดีโอฝึกอบรมและคู่มือผู้ใช้งาน เพื่อช่วยผู้ประกอบการให้เข้าใจเครื่องมือตามหัวข้อของการควบคุมความปลอดภัยต่างๆ แผนความปลอดภัยในอาหารรวมถึงส่วนที่กำหนดเป้าหมายไว้เฉพาะสำหรับการควบคุมป้องกันโรคภูมิแพ้อาหาร ในส่วนของคำถามและข้อมูลเพิ่มเติมทางองค์การอาหารและยาได้จัดเตรียมอีเมลล์สำหรับติดต่อที่: FoodSafetyPlanBuilder@fda.hhs.gov



ที่มา www.ifrpd-foodallergy.com

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Korea Food News_ไข่เกาหลีใต้ราคาลดลง หลังฝ่าวิกฤติไข้หวัดนก และไข่ปนเปื้อน

องค์กรการค้าเกษตรและประมงของเกาหลีใต้ รายงาน ล่าสุดราคากลางจำหน่ายไข่ไก่ในเกาหลีใต้เริ่มปรับลดลง  จากที่เคยมีราคาสูง ในช่วงที่เริ่มเกิดวิกฤติไข้หวัดนกอย่างรุนแรง และพบไข่ไก่ปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก  
                ล่าสุดในเดือน กันยายน 2560 ราคาไข่ไก่ขายปลีกในเกาหลีใต้อยู่ที่ 5,655 วอน/ 30 ฟอง จากราคา 7,233 วอน/30 ฟอง ช่วงเดือนสิงหาคม ลดลงถึงร้อยละ 20 ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาไข่ไก่ในเกาหลีใต้เคยมีการผันผวนอย่างรุนแรง ตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา และเคยวางขายภายในซุปเปอร์มาร์เก็ตกว่า 60 แห่งทั่วประเทศด้วยราคาที่สูงถึง 9,096 วอน/30 ฟอง
               ทั้งนี้ แม้เกาหลีใต้จะแก้ปัญหาไข้หวัดนกระบาดแล้วก็ตาม แต่ยังคงพบปัญหาไข่ไก่ปนเปื้อน Fipronil ซึ่งทำให้ขณะนี้ราคาไข่ไก่โดยเฉลี่ยยังคงมีราคาสูงถึง 7000 วอน/ 30 ฟอง โดยตามร้านค้าปลีกวางจำหน่ายไข่ไก่มีราคาอยู่ที่ 7,600 วอน/30 ฟอง และในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก และกลางอาจมีราคาสูงถึง 10,000 วอน/ 30 ฟอง
 
ที่มา: thepoultrysite.com สรุปโดย: มกอช.

EU Food News_EU ใบเหลืองเวียดนาม เหตุทำประมงผิดกฎหมาย

ด้วย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560 คณะกรรมาธิการยุโรปได้แถลงการณ์ให้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอยู่ในบัญชีรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยง “ที่ไม่ให้ความร่วมมือ” หรือ “ใบเหลือง”  ในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย IUU โดยสาเหตุที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ใบเหลือง IUU จาก EU  ในครั้งนี้ เนื่องจาก สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีความรับผิดชอบที่ดีพอในฐานะ Flag State, Port State, Coastal State และ Market State ในการต่อต้านการทำประมง IUU  และไม่เคารพต่อข้อกำหนดสากล โดย EU พบว่า ทางการสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามไม่มีระบบควบคุมและกำหนดบทลงโทษกองเรือที่ชักธงสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่ลักลอบไปทำประมงในเขตน่านน้ำของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงพบว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามยังคงขาดการควบคุมการนำสัตว์น้ำขึ้นท่าเพื่อแปรรูปและส่งออก ดังนั้น EU จึงเห็นควรให้ใบเหลือง IUU กับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                     ทั้งนี้ DG MARE ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามแล้วมาตั้งแต่ปี 2555 โดยคาดว่า ขณะนี้ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจะต้องเร่งจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการต่อต้านการทำประมง IUU ให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวก่อนที่ DG MARE จะประเมินผลอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดย DG MARE พร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิคกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในเรื่องนี้ด้วย   
                     สรุปสถานะล่าสุดของกลุ่มประเทศใบเหลือง – ใบแดง :
                    1. กลุ่มประเทศใบเหลือง : ปัจจุบัน มี 9 ประเทศ (รวมประเทศไทย) ที่ยังคงสถานะใบเหลือง คือ                  
                          1.1 เซนต์คิตส์และเนวิส (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557)
                          1.2 ตูวาลู (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557)
                          1.3 ไต้หวัน (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558)
                          1.4 คิริบาส (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.5 เซียร์ราลีโอน (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.6 ตรินิแดดและโตเบโก (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559)
                          1.7 ไทย (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558)
                          1.8 สาธารณรัฐไลบีเรีย (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560)
                          1.9 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ได้ใบเหลืองเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2560)
                      2. กลุ่มประเทศใบแดง : ปัจจุบัน มี 3  ประเทศ คือ
                          2.1 กัมพูชา (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555)                                                                                                                   
                          2.2 คอโมโรส (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560)
                          2.3 เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐)
                                                
 โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป