วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

BAP Standard

BAP(Best Aquaculture Practices Certification) Standards

Products from BAP-certified facilities carry the Best Aquaculture Practices (BAP) logo. The BAP-standards cover:
Click link for see PDF file in English  เป็นภาษาอังกฤษ นะคะ ภาษาอื่นไม่ได้ลงให้
1. Seafood Processing and Repacking Plants
* Issue 4 of the processing plant standards will be mandatory and is to be implemented by all facilities, whether new or recertifying, starting November 1, 2015.
2. Finfish and Crustacean Farms
3. Salmon Farms
* For currently certified salmon farms or those already in the process of application or certification as of June 1, 2015, the Version 2 standards will be mandatory for recertification beginning December 1, 2015. For new farms not yet in the application or certification process, the Version 2 standards are effective immediately as of June 1, 2015.
4. Mussel Farms
5. Finfish, Crustacean and Mollusk Hatcheries and Nurseries
6. Feed Mills

link to main page bap-standards under http://gaalliance.org/

EU Food News_สภาพยุโรปเกาะติดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Bluetongue (BTV)

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานการระบาดของเชื้อไวรัส Bluetongue ในฝรั่งเศส ฮังการี และโรมาเนีย โดยพบการแพร่กระจายไปในจังหวัดแอ็งดร์ และจังหวัดก็องตาลในประเทศฝรั่งเศส ไปยังโค แกะ แพะ และยังมีกลุ่มปศุสัตว์เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมากกว่า 1,300 ตัว ที่ยังต้องเฝ้าระวัง

               ในรายงานครั้งนี้ยังมีการตรวจพบปศุสัตว์ติดเชื้อไวรัส Bluetongue มากกว่า 2 ฟาร์ม
ในเมือง Somogy และ Baranya ทางตอนใต้ของฮังการีที่ติดกับชายแดนของโครเอเชีย และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน 2 ฟาร์ม   ในเมืองโบโตซานี่ของโรมาเนียที่ติดกับชายแดนของประเทศยูเครน ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดของเชื้อไวรัส Bluetongue โดยการระบาดของเชื้อ Bluetongue ในโรมาเนีย และฮังการี เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย serotype4 ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสพบการแพร่กระจายของเชื้อ Serotype8

มกอช.

EU Food News_คาดการณ์ 2559 อุตฯ เนื้อสัตว์ใน EU ขยายตัวช้าลง

การคาดการณ์ระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในปี 2559 ของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เผย การผลิตปศุสัตว์จะมีอัตราการขยายตัวลดลงในปี 2559 เหลือเพียง 0.7% หลังจากในช่วงปี 2557-2558 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.5% โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการผลิตเนื้อสัตว์ทุกประเภท ยกเว้นเนื้อแกะที่ปัจจุบันมีปริมาณการผลิตน้อยและยังมีศักยภาพในการขยายตัวอีกมาก โดยการผลิตเนื้อสัตว์ปีกจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1% ซึ่งสูงที่สุดในเนื้อสัตว์ทุกประเภท

                การส่งออกเนื้อสัตว์ประเภท เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อสัตว์ปีก ยังคงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3% ในปี 2559 ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการขยายตัวของการส่งออกในปี 2558 ที่ประมาณ 6% ถึงแม้จะสูญเสียตลาดรัสเซียไป โดยการนำเข้าเนื้อสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2% โดยเฉพาะสัตว์ปีกซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ในประชากรของสหภาพยุโรป

                นอกจากนี้ยังมีรายงานคาดการณ์อีกว่าการผลิตธัญพืชของสหภาพยุโรปจะมีปริมาณการผลิตสูงกว่า 301.9 ล้านตัน ในปี 2558 ถึงแม้ว่าจะต่ำกว่าสถิติการเก็บเกี่ยวในปี 2557 ถึง 8% ก็ตาม ในขณะเดียวกัน การผลิตพืชน้ำมันจะมีการผลิตต่ำกว่าปี 2558 แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี โดยในส่วนของราคาผลผลิตธัญพืช พืชน้ำมัน รวมถึงน้ำตาล นม และสุกรจะยังคงมีราคาในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง
                สามารถศึกษารายงานการคาดการณ์ระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของ EC ได้ที่
                (
http://ec.europa.eu/agriculture/markets-and-prices/short-term-outlook/pdf/2015-11_en.pdf)
 
 
 
มกอช.

China Food News_H7N9 บุกจีน ชี้ความเสี่ยงธุรกิจสัตว์ปีก

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ออกโรงเตือนการระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 โดยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 หน่วยงานในมณฑลเจ้อเจียงของจีนได้รายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จำนวน 2 ราย ซึ่งเป็นรายงานผู้ป่วยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และ FAO คาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ตามที่เคยเกิดขึ้นในปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการระบาดของโรคและช่องโหว่การควบคุมความปลอดภัยของภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในจีน

                จากการศึกษาของ FAO และองค์กรความร่วมมือ แสดงให้เห็นว่าการขาดการควบคุมความปลอดภัยของภาคอุตสาหกรรมที่ดีทำให้สถานการณ์ไวรัสไข้หวัดนกในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แย่ลง และส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนและอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ดังนั้น FAO จึงเรียกร้องให้แต่ละประเทศเข้มงวดกฎหมายควบคุมความปลอดภัยและกฎหมายกักกันสัตว์ปีก เพื่อลดความเสี่ยงจากไข้หวัดนกทั้งสายพันธุ์ H7N9 และสายพันธุ์อื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
ที่มา: http://www.thepoultrysite.com 
มกอช.

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

China Food News_จีนเข้มมาตรฐานข้าว-เตือนผู้ส่งออกไทยปฏิบัติเคร่งครัด


  จีนเข้มงวดการตรวจสอบคุณภาพข้าวก่อนการนำเข้า ตามกฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของจีนกำหนดให้ข้าวเพื่อการบริโภคทุกชนิดที่จะนำเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานข้าวจีน “GB1354-2009”
                ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไปจีนดำเนินการตรวจสอบข้าวตามมาตรฐานจีนก่อนการส่งออก เพื่อมิให้เกิดปัญหาการปฏิเสธการนำเข้าและส่งผลกระทบต่อการค้าข้าวในภาพรวม
ดาวน์โหลดมาตรฐาน GB1354-2009 ได้ที่ 

Down load file here

ฝรั่งเศส-ญี่ปุ่นลงนามกรอบความปลอดภัยอาหาร

ฝรั่งเศสและญี่ปุ่นได้ลงนามบันทึกความตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร

                อธิบดีสำนักงานอาหาร สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของฝรั่งเศส (ANSES) และประธานคณะกรรมการความปลอดภัยอาหารของญี่ปุ่น (FSCJ) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการคัดกรองข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านการประเมินความเสี่ยง ในช่วงเวลา 5 ปี โดยจะส่งเสริ่มความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องของจุลชีววิทยาอาหาร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สารพิษ marine biotoxins และสิ่งปนเปื้อนในอาหาร ให้มีการดำเนินการคัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในในการคัดกรองข้อมูล นอกจากนี้ในเดือนกันยายน 2558 คณะกรรมการความปลอดภัยอาหารของญี่ปุ่น (FSCJ) ยังได้ลงนามบันทึกความตกลงความร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐศาสตร์และความปลอดภัยอาหารของโปรตุเกส (ASAE) ที่จะร่วมมือส่งเสริมการคัดกรองข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านการประเมินความเสี่ยงด้วย

ที่มา มกอช.

EU Food News_EU ระงับการใช้สารปรุงแต่งกลิ่น p –mentha-1,8-dien-7-al

เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1760 of 1 October 2015 amending Annex I to Regulation (EC) No 1334/2008 of the European Parliament and of the Council as regards removal from the Union list of the flavouring substance p –mentha-1,8-dien-7-al ใน EU Official Journal L 257/27 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                  ๑. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม (Annex I ของ Regulation (EC) No 1334/2008) ที่กำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร  (Union list) ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร การแก้ไขกฎระเบียบครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อระงับการใช้สารซึ่งเคยอนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นได้ (flavouring substance) จำนวน ๑ รายการ คือ p–mentha-1,8-dien-7-al
                     ทั้งนี้ เนื่องจากการประเมินผลของหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร ประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ ระบุว่า สาร p–mentha-1,8-dien-7-al เป็นพิษต่อระบบพันธุกรรมในร่างกายสัตว์ทดลอง (genotoxic in vivo) ซึ่งสารดังกล่าวสามารถพบได้ตามธรรมชาติ ในเปลือกผลไม้บางชนิด โดยเฉพาะในงาขี้ม้อน (Perilla) และพืชในสกุลส้ม (Citrus)
                     ดังนั้น EFSA จึงเห็นควรระงับไม่ให้ใช้สาร p–mentha-1,8-dien-7-al เป็นวัตถุเจือปนอาหารอีก ต่อไป
                 ๒. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้
                 ๓. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘)
                     อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่ง กลิ่น p–mentha-1,8-dien-7-al ที่มีการวางจำหน่ายก่อนวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไป จนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ต่ำสุด (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่ควรบริโภคก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ (use-by-date)
                     สำหรับสินค้าอาหารที่นำเข้าจากประเทศที่สามที่มีส่วนผสมของสารปรุงแต่งกลิ่น p–mentha-1,8-dien-7-al EU อนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน หากผู้นำเข้าสามารถแสดงหลักฐานยืนยันได้ว่า สินค้าดังกล่าวถูกส่งไปจำหน่ายยัง EU ก่อนที่กฎระเบียบนี้จะมีผลปรับใช้ (ก่อนวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘) ก็สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ต่ำสุด (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่ควรบริโภคก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ (use-by-date)
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

ที่มา thaieurope.net กระทรวงการต่างประเทศ

EU Food News_คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบร่างแผน Fisheries Discard Ban

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2558 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เห็นชอบร่างแผน Fisheries Discard Ban อีก 2 ฉบับ เพื่อลดพฤติกรรมการทิ้งสัตว์น้ำที่ไม่ต้องการลงทะเล (practice of discarding) ในการจับปลาบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้
ร่างแผนทั้ง 2 ฉบับนี้ ครอบคลุมการห้ามทิ้งสัตว์น้ำประเภทที่อาศัยและหากินบริเวณหน้าดิน หรือเหนือพื้นท้องทะเลเล็กน้อย (demersal fisheries) เป็นมาตรการชั่วคราว เพื่อยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล และบังคับให้ชาวประมงต้องนำสัตว์น้ำที่จับได้ขึ้นฝั่งทั้งหมด (landing obligation) ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการปฏิรูปนโยบายประมงร่วมของอียู (Common Fisheries Policy)
ทำไมต้องยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล
พฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล คือ การจับปลาโดยไม่มีการวางแผน เลือกเก็บขึ้นมาแค่ปลา หรือสัตว์น้ำราคาสูงที่ชาวประมงต้องการนำมาขาย และทิ้งสัตว์น้ำที่ติดอวนหรือเครื่องมือจับปลาที่ไม่ต้องการลงทะเลทิ้งไป ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นภัยคุกคามต่อการประมงอย่างยั่งยืนและความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมประมง
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ประมาณการว่า ในทุกๆ ปี มีสัตว์น้ำถูกปล่อยทิ้งลงทะเลมากกว่า 7 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 8 ของการจับปลาทั้งหมด
นาย Karmenu Vella กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมทางทะเล และการประมง กล่าวว่า แผนนี้มีความสำคัญมากต่อการแก้ไขปัญหาการประมง การบังคับให้นำสัตว์น้ำขึ้นฝั่งทั้งหมดเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น  ก้าวต่อไปคือ การกำหนดเครื่องมือ และวิธีการจับสัตว์น้ำแบบคัดเลือกเป้าหมาย (selective fishing) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาจำนวนปลา (fish stocks) และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวประมง
แผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล (Discard Plan)
การยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเลนี้ เป็นการกำหนดประเภทปลาที่อาศัยและหากินบริเวณหน้าดิน หรือเหนือพื้นท้องทะเลเล็กน้อย ที่ชาวประมงจะต้องนำขึ้นฝั่งทั้งหมดหากจับได้ในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีข้อยกเว้นบางประการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ข้อยกเว้นเกณฑ์ขั้นต่ำ (de minimis exemptions) ที่อนุญาตให้ทิ้งสัตว์น้ำได้บางส่วน ในกรณีที่ยากต่อการเลือกประเภทของสัตว์น้ำ หรือในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในการลำเลียง (handling costs) มีราคาสูง
2. ข้อยกเว้นเพื่อความอยู่รอด (survivability exemption) ที่อนุญาตให้ทิ้งสัตว์น้ำบางประเภทได้  แต่เฉพาะประเภทที่มีโอกาสอยู่รอดสูงเท่านั้น
โดยข้อยกเว้นเหล่านี้ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ และข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์  (Scientific, Technical and Economic Committee for Fisheries: STECF) และจะประเมินผลข้อยกเว้นนี้อีกครั้งหนึ่งในปี 2559 โดยใช้ข้อมูลจากประเทศสมาชิกอียูร่วมพิจารณาด้วย
แผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นระยะเวลา 3 ปี และอาจมีการปรับปรุงเพิ่มประเภทสัตว์น้ำอีก
ภูมิหลังของนโยบายประมงร่วมของอียู
เป้าหมาย                     
การปฏิรูปนโยบายการประมงร่วมของอียู มีจุดประสงค์เพื่อให้การประมงภายในอียู  มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยระหว่างปี 2558 – 2562 ชาวประมงอียูจะถูกปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการทิ้งสัตว์น้ำ และนำสัตว์น้ำที่จับได้ขึ้นฝั่งทั้งหมด
รายละเอียด                 
นโยบายประมงร่วม ประกอบด้วยข้อกำหนดต่างๆ เพื่อบังคับให้นำสัตว์น้ำที่จับได้ขึ้นฝั่งทั้งหมด รวมถึงกำหนดการใช้กลไกเฉพาะที่มีความยืดหยุ่น ผ่านแผนบริหารจัดการประมงแบบต่อเนื่องหลายปี (comprehensive multiannual plans) หรือผ่านแผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำ ในกรณีที่ไม่มีแผนบริหารจัดการประมงแบบต่อเนื่องหลายปี โดยแผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำ เป็นเพียงแค่มาตรการชั่วคราวที่มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 3 ปีเท่านั้น และเป็นการพัฒนามาจากข้อเสนอร่วม (joint recommendations) โดยประเทศสมาชิกจากภูมิภาคเดียวกัน หรือประเทศในเขต    ที่ราบชายฝั่งทะเล
ความพยายามที่ผ่านมา
เมื่อเดือน ต.ค. 2557 คณะกรรมาธิการได้ออกแผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำสำหรับปลาที่อยู่บริเวณผิวหน้าน้ำ หรือกลางน้ำ (pelagic fisheries) และสัตว์น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม (industrial fisheries) ที่ไม่ใช่เพื่อเป็นอาหาร ในน่านน้ำของอียูทั้งหมด และสำหรับปลาคอด (cod) ในเขตทะเลบอลติก โดยแผนยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558

ที่มา thaieurope.net กระทรวงการต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558

EU Food News_EU ออกประกาศกฎระเบียบกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของยารักษาโรคในสัตว์ 3 ฉบับ

สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบ 3 ฉบับ ซึ่งกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด ได้แก่
                 1.Commission Regulation (EU) 2015/1079 เป็นการแก้ไข Regulation (EU) NO 37/2010 ว่าด้วยการกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของยา hexaflumuron กลุ่มใช้ป้องกันปรสิตในสัตว์ (Antiparasitic agents) โดยกำหนดค่า MRLs ของ hexaflumuron ในเนื้อและหนังปลา ที่ระดับ 500 µg/kg โดยยังไม่กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ดังกล่าวกับสัตว์กลุ่มอื่นๆ ที่ใช้เป็นอาหาร
ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย 20 วัน ภายหลังจากที่มีประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2558) โดยให้ปรับใช้ค่า MRLs ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
                    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                    (
http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R1079&from=EN)
                 2.Commission Regulation (EU) 2015/1080 เป็นการแก้ไข Regulation (EU) NO 37/2010 ว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้ยา propyl 4-hydroxybenzoate and its sodium salt ในสัตว์ทุกชนิดที่ใช้เป็นอาหาร โดยไม่มีการกำหนดค่า MRLs แต่ให้ใช้ได้เฉพาะเพื่อการถนอมอาหารเท่านั้น (Preservative)

                    ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย 20 วัน ภายหลังจากที่มีประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2558) โดยให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
                    สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                    (
http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R1080&from=EN)
                 3.Commission Regulation (EU) 2015/1308 เป็นการแก้ไข Regulation (EU) NO 37/2010 ว่าด้วยการกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของยา “aluminium salicylate, basic” ที่ใช้ป้องกันท้องเสียและลำไส้อักเสบในสัตว์ โดยกำหนดค่า MRLs ในกลุ่มโค-กระบือ (Bovine) แพะ ม้า และกระต่าย ที่ระดับต่างๆ ดังนี้
                     -200 µg/kg ในกล้ามเนื้อ
                     -500 µg/kg ในไขมัน
                     -1,500 µg/kg ในตับ
                     -1,500 µg/kg ในไต

                     และกำหนดค่า MRLs ในน้ำนมของกลุ่มโค-กระบือ แพะ และม้า ที่ระดับ 9 µg/kg ส่วนสัตว์ชนิดอื่นๆที่ใช้เป็นอาหาร กฎระเบียบฉบับนี้ ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า MRLs หากใช้สารดังกล่าวในลักษณะทางผิวหนัง โดยค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดดังกล่าวจะอนุญาตให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

                     ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย 20 วัน ภายหลังจากที่มีประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2558) โดยให้ปรับใช้ค่า MRLs ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2558 เป็นต้นไป

                     สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
                     (
http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R1308&from=EN)


ที่มา: มกอช./สปษ.บรัสเซลส์ (15/10/58)

 

USA Food News_นักวิจัยสหรัฐพัฒนาเครื่องตรวจพิษหอยสองฝาแบบพกพา

หอยสองฝา (หอยแมลงภู่, หอยนางรม, หอยเชลล์, หอยลาย) ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ แต่หอยสองฝาเหล่านี้อาจมีพิษที่สามารถทำให้เกิดอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะด้วย ซึ่งถือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นักวิจัยสหรัฐจึงได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องตรวจพิษในหอยสองฝาแบบพกพา (LFIA) ที่มีความแม่นยำ ราคาไม่แพง สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งาน

                สาเหตุสำคัญของการก่อสารพิษ Okadaic acid (OA) และ Marine toxins ชนิดอื่นๆ ได้แก่การเพิ่มจำนวนของสาหร่ายบางชนิด (Algal blooms) ทำให้หอยสองฝาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นมีการสะสมของสารพิษผ่านการกรองอาหาร ซึ่งสารพิษนี้จะไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนจากการต้ม นึ่งและแช่แข็ง และพิษดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคถึงขั้นเสียชีวิตได้ รัฐบาลสหรัฐจึงมีข้อบังคับให้มีการส่งตัวอย่างหอยสองฝาไปตรวจสอบก่อนนำไปจำหน่าย แต่การตรวจสอบในปัจจุบันพบว่ามีค่าใช้จ่ายสูง ยุ่งยากและช้า จึงทำให้นักวิจัยคิดค้นเครื่องตรวจพิษหอยสองฝาชนิดพกพา โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถใช้ตรวจสารพิษในหอยได้ 47 กลุ่ม ด้วยเทคนิค lateral flow immunoassay (LFIA) ที่คล้ายกับแผ่นตรวจการตั้งครรภ์ โดยใช้เวลาในการทดสอบน้อยกว่า 20 นาที ซึ่งหากผลการทดสอบมีค่าเป็นบวกแสดงว่าหอยสองฝาเหล่านั้นไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้
 
 
ที่มา: http://www.thefishsite.com(15/10/58)
มกอช.

AUS Food News_เกษตรออสซี่เข้มหลังพบลอบนำเข้านม-หวั่นปนเปื้อน FMD

กระทรวงเกษตรของออสเตรเลียได้ประกาศแจ้งเตือนผู้ประกอบการและประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของโรคปากเท้าเปื่อยที่อาจปนเปื้อนมากับผลิตภัณฑ์นมที่ลักลอบนำเข้า หลังพบผู้ประกอบการฝ่าฝืนระเบียบด้านสุขอนามัยในการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากนม

                ผู้นำเข้าดังกล่าวถูกพบว่าเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายด้านการกักกันของออสเตรเลีย จากการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์นมซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการปนเปื้อนโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) และยังฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าหน้าที่กักกันสินค้า โดยพยายามเคลื่อนย้ายสินค้าดังกล่าวไปยังสถานประกอบการที่ไม่ผ่านการรับรอง จึงถูกตัดสินลงโทษจำคุก 1 ปี 7 เดือน และปรับ 20,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

                จากเหตุการณ์ดังกล่าว กระทรวงเกษตรของออสเตรเลียจึงให้ความสำคัญต่อข้อกำหนดสุขอนามัยในการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมและส่งเสริมความตระหนักของทั้งผู้นำเข้าและผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้มีอุบัติภัยด้านโรคระบาดของสัตว์ในประเทศ
 
 
ที่มา: http://www.thecattlesite.com(15/10/58)
มกอช.

EU Food News_EU ปรับแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (Maximum Levels) ของสาร Ochratoxin A ที่อนุโลมให้ตกค้างได้ในพริก (เครื่องเทศ)

 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 สหภาพยุโรปประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1137 ซึ่งเป็นการปรับค่าตกค้างสูงสุดของสาร Ochratoxin A ในเครื่องเทศ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ระดับ 30 µg/kg โดยปรับลดค่าของสารดังกล่าว ในสินค้าต่อไปนี้

                 1. เครื่องเทศ รวมถึงเครื่องเทศแห้ง Piper spp. (ผลของ Piper spp. รวมถึงพริกไทยขาวและดำ) จันทร์เทศ ขิงและขมิ้นชัน กำหนดที่ระดับ 15 µg/kg

                 2. พริก (ผลแห้ง ทั้งเม็ดหรือในรูปผง รวมถึงพริก พริกแห้ง พริกคาเยน และพริกหยวก) กำหนดที่ระดับ 20 µg/kg

                 3. เครื่องเทศผสมที่มีส่วนประกอบใดๆ ตามที่กล่าวข้างต้น กำหนดที่ระดับ 15 µg/kg
กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย 20 วัน ภายหลังากที่มีประกาศลงใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2558) และให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้สำหรับพริกที่นำเข้าไปสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยใช้ค่าอนุโลมเดิมที่วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว ให้สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้ จนถึงวันสิ้นสุดสภาพที่ควรบริโภคได้ของสินค้าหรือเมื่อถึงหมดอายุ

                 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
 
 
ที่มา: มกอช./สปษ.บรัสเซลส์(15/10/58)

China Food News_FDA Hebei ติดเบรกโรงงานนมหลังพบรายงานสารปนเปื้อน

                โรงงานผลิตภัณฑ์นมในจีนต้องหยุดการผลิตและดำเนินการปรับปรุงมาตรการปฏิบัติด้านความปลอดภัยหลังได้รับรายงานว่ามีสารโซเดียมไทโอไซยาเนตปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์นม

                โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมในมณฑลเหอเป่ยได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งเหอเป่ยว่ามีโซเดียมไทโอไซยาเนตปนเปื้อนมากเกินไปในผลิตภัณฑ์นมประเภทนมแคลเซียมสูง ส่งผลให้โรงงานต้องระงับกระบวนการผลิตในวันที่ 29 กันยายน 2558 
                โดยโรงงานผลิตภัณฑ์นมได้ออกแถลงข่าวว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปทดสอบมีปริมาณสารเคมีต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของจีน และยังไม่พบหลักฐานว่ามีโซเดียมไทโอไซยาเนตปนเปื้อนในกระบวนการผลิตหรือขั้นตอนการขนส่ง ทางโรงงานจึงได้สอบถามห้องปฏิบัติการทดสอบว่าอาจมีขั้นตอนการทดสอบที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ โดยผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเหอเป่ยก็ได้ออกมากล่าวว่า ผลิตภัณฑ์นมอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจึงได้ออกมาแจ้งเตือนความปลอดภัยในอาหาร โดยจะยกเลิกการแจ้งเตือนเมื่อโรงงานดำเนินการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมมาทดสอบเพิ่มขึ้น และได้ผลการทดสอบว่ามีปริมาณโซเดียมไทโอไซยาเนตต่ำกว่าเกณฑ์ด้วย

                โซเดียมไทโอไซยาเนตอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ตื่นเต้นและชัก เมื่อได้รับในระยะเวลาสั้น และอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้อวัยวะทำงานบกพร่องและเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

ที่มาจาก มกอช.

พีน้ำฝนลองตามไปดูที่ web ต่างประเทศ 2 แหล่งคือ (click ไปอ่านเลยค่ะ)



ทั้ง 2 เพจนี่เป็นการโต้ตอบและร้องเรียนของทางผู้ผลิตด้วย เนื่องจากเกิดอาการไม่มั่นใจ กระบวนการตรวจสอบ ประมาณว่าเป็นไปไม่ด้ายยย ที่จะตรวจพบหรือมีตัวเคมีนี้ปนเปื้อน เพราะของชั้นผลิตตามมาตรฐาน

อันนั้นก็ปล่อยเขาเถียงกันไปจนกว่าจะได้ข้อสรุป
(แต่ว่าไป ยาโซเดียม ไทโอซัลเฟตที่คนกิน จะเปลี่ยนไปเป็นสารไทโอไซยาเนต (Thiocyanate) ที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย หากมีการปนเปื้อนจากที่ใดที่หนึ่งน่าจะเกิดจากคน แต่ไม่รู้ว่าเกิด ณ จุดไหน)

ที่น่ากังวลคือ โรงงานที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์นมที่มาจากจีน อาจต้องคอยตามข่าว เฝ้าระวัง อาจมีมาตรการหรือข้อเรียกร้องใหม่ๆจากทางลูกค้าหรือผู้ตรวจสอบคุณภาพ เหมือนกรณีเมลามีนที่ทำให้พวกเราต้องเรียกขอเอกสารกันบานบุรี 

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

๋Japan Food News_ญี่ปุ่นปรับแก้ กม.ควบคุมโรคสัตว์น้ำ เพิ่มตรวจกักกัน 13 โรค

ญี่ปุ่นปรับแก้ กม.ควบคุมโรคสัตว์น้ำ เพิ่มตรวจกักกัน 13 โรค
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศแจ้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า (Act on Protecion of Fishery Resources) โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

                1.เพิ่มรายชื่อโรคระบาดในสัตว์น้ำนำเข้าประเภทต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 13 โรค รวมเป็น 24 โรค (จากเดิมมี 11 โรค) เพื่อตรวจกักกัน ณ ด่านนำเข้า สรุปกลุ่มสัตว์น้ำและรายชื่อโรคได้ดังนี้

                   1)ปลาวงศ์ Salmonidae (6 โรค)
                        I.Viral haemorrhagic septicaemia (VHS)
                       II.Epizootic haematopoietic necrosis (EHN)
                      III.Piscirichettsiosis
                      IV.Enteric redmouth disease (ERM)
                       V.Salmonid Alphavirus*
                      VI.Whirling disease*

                   2)ปลาวงศ์ Cyprinidae (2 โรค)
                        I.Spring viraemia of carp (SVC)
                       II.Koi herpesvirus (KHV) disease

                   3)ปลาวงศ์ Sparidae (1 โรค)
                       I.Glugeosis of red sea bream (Pagrus major)*

                   4)สัตว์น้ำเปลือกแข็ง (10 โรค)
                       I.Infectious disease caused by Baculovirus penaei
                         (Tetrahedral baculovirosis) ในกุ้งสกุล Penaeus
                      II.Infectious disease caused by Penaeus monodon-type baculovirus
                         (Spherical baculovirosis) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     III.Yellow head disease (YHD) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     IV.Infectious hypodermal and haematopoietic necrosis (IHHN) ในกุ้งสกุล Penaeus
                      V.Taura syndrome (TS) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     VI.Necrotising hepatopancreatitis ในกุ้งวงศ์ Panaeidae*
                    VII.Acute hepatopancreatic necrosis disease ในกุ้งชนิด Marsupenaeus japonicas (กุ้ง kuruma), Litopenaeus vannamei (กุ้งขาวแวนนาไม), Penaeus monodon (กุ้งกุลาดำ) และ Fenneropenaeus chinensis (กุ้งขาวจีน)*
                   VIII.Infectious myonecrosis ในกุ้งวงศ์ Panaeidae (สกุล Litopenaeus, Penaeus)*
                     IX.Covert mortality disease of shrimp ในกุ้งชนิด Marsupenaeus japonicas, Litopenaeus vannamei และ Fenneropenaeus chinensis*
                      X.Gill-associated virus disease ในกุ้งวงศ์ Panaeidae (สกุล Penaeus และ Fenneropenaeus และชนิด Marsupenaeus japonicas)*

                  5)สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง (5 โรค)
                       I.Infection with abalone herpesvirus ในหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis diversicolor supertexta และ H. diversicolor diversicolor*
                      II.Pustule diases of abalone/Blister disease of abalone จากเชื้อสาเหตุ Vibrio furnissii; V. fluvialis biotype II) ในหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis disvus hannai, H. discus discus, H. madaka และ H. gigantean*
                     III.Infection with ostreid herpesvirus 1 microvariant (limit to microvariant) ในสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังวงศ์ Crassostrea (หอยนางรม, หอยตะโกรม)*
                     IV.Infection with Perkinsus qugwadi ในหอย Mizuhopecten yessoensis (หอยเชลล์ญี่ปุ่น; Japanese scallop)*
                      V.Soft tunic syndrome ในสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิด Halocynthia roretzi (Sea pineapple)*

                  * รายชื่อที่เพิ่มใหม่

                     2.MAFF เตรียมประกาศแจ้งเวียนการแก้ไขกฎหมายและรับข้อคิดเห็นจากประเทศคู่ค้า ผ่านช่องทางเผยแพร่ประกาศแจ้งเวียนมาตรการสุขอนามัย SPS/WTO ขององค์การการค้าโลกในเดือนตุลาคม 2558 (แจ้งเวียนแล้วผ่านประกาศ G/SPS/N/JPN/429 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558 พร้อมรายละเอียดมาตรการกักกัน และระยะเวลาในการกักกันกรณีพบโรคระบาดสัตว์น้ำตามรายการที่กำหนด)
                     3.MAFF กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเงื่อนไขสุขอนามัยเพื่อใช้อ้างอิงต่อการตรวจสอบและออกใบรับรองกำกับสัตว์น้ำมีชีวิตที่ส่งออกจากประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอเพื่อให้กรมประมงพิจารณาได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2558

                 รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่

                  1. ประกาศ G/SPS/N/JPN/429: 
click here

                  2. เอกสารแนบประกาศ :  click here 

 
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว/มกอช.
(12/10/58)

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

USA Food News_US ลดภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) กุ้งเวียดนาม

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา (The US Department of Commerce: DOC) ได้ประกาศผลการทบทวนการจัดเก็บภาษีของกุ้งแช่แข็งที่นำเข้าจากเวียดนาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบ (The period of review: POR) ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ถึง 31 มกราคม 2557 โดย DOC กำหนดอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti – Dumping: AD) มีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 0.93% เหลือ 0.91% ภายหลังการทบทวนดังนี้

                 • บริษัท Minh Phu Seafood Corp ลดลงจาก 1.5% เหลือ 1.39 %
                 • บริษัท Thuan Phouoc Corp เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.06% เป็น 1.16 %
                 • บริษัท Fimax VN ไม่เก็บภาษี AD

               ทั้งนี้ เวียดนามมีค่า AD ลดลงจากการทบทวนก่อนหน้านี้จาก 25.76% เหลือเพียง 25.4% โดย DOC ได้ศึกษาข้อมูลจากประเทศบังกลาเทศ, อินเดียและอินโดนีเซีย นำข้อมูลมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ภาษี AD ของเวียดนามใน POR9 ลดลง โดยก่อนหน้านี้เวียดนามเคยได้รับผลกระทบจากการประกาศภาษี AD ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกกุ้งของเวียดนามไปสหรัฐฯ

 
 
 
ที่มา: The Fish Site (07/10/58)
 
*เรื่องนี้เป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขันให้กับเวียดนามที่ต้นทุนการขายจะลดลง และทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อการแข่งขัน สู้ๆ

EU Food News_EU เตรียมพิจารณาสถานะ IUU ของไทย ปลายปี 2558

สหภาพยุโรป (EU) เตรียมพิจารณาสถานะการนำเข้าสินค้าประมงจากไทยภายในเดือนธันวาคม 2558 หลังจากที่เพิ่งให้ใบเหลืองการประมงที่ผิดกฏหมายแก่ โคโมรอสและไต้หวัน และได้ห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากกัมพูชา กินี และศรีลังกาไปแล้วก่อนหน้านั้น

                เมื่อเดือนเมษายน 2558 สหภาพยุโรปได้พิจารณาสถานะใบเหลืองแก่ประเทศไทย ด้วยเหตุผลว่าการประมงของไทยมีการรายงานและกฏหมายประมงที่ไม่ครอบคลุมการประมงที่ผิดกฏหมาย รวมทั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือและการตรวจสอบสินค้าย้อนกลับยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งภายในเดือนธันวาคม 2558 นี้ คณะกรรมการธิการยุโรปจะตัดสินใจว่าประเทศไทยจะยังได้รับใบเหลืองต่อไป ยกเลิกใบเหลือง หรือได้รับใบแดง ซึ่งการที่ประเทศไทยได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรปก่อนหน้านี้ ได้ส่งผลกระทบให้ชาวประมงหลายรายต้องงดออกเรือ

               (ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังได้ที่: http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=13081&ntype=07) 
 
มกอช.
 
*ก็ยังเป็นเรื่องที่เราต้องเฝ้าติดตามดูว่าจะตอบโต้การค้าเราอย่างไรต่อไป ศุรดาคาดว่าอาจจะยกเลิกใบเหลืองเพราะทางประเทศไทยโดยการนำของนายกได้มีมาตรการแก้ไขและป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหากยกเลิกจริงก็จะทำให้ชาวประมงเราได้ออกเรือหากินกันต่อไปภายใต้การเฝ้าระวัง
 

USA Food News_ฟาสต์ฟู้ดสหรัฐตรวจสอบพบสารปฏิชีวนะตกค้างเพียบ


รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการตรวจสอบสารปฏิชีวนะปนเปื้อนอาหารภายในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีเพียง 5 บริษัท เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ ทำให้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอื่นๆ หันมาให้ความสนใจวิกฤติของการปนเปื้อนสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ และส่งผลให้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ให้ความสำคัญต่อการจัดหาเนื้อสัตว์ที่ปราศจากการใช้สารปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น

               การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์นั้น ส่งผลให้เกิดการตกค้างของยาทั้งในเนื้อสัตว์และ
ผลิตภัณฑ์สัตว์ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ได้แก่ เกิดอาการข้างเคียงของยา การแพ้ยา (เช่น ยาในกลุ่ม Penicillins) การเกิดเชื้อดื้อยา ตลอดจนถึงการเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้นอกจากการตกค้างของยาปฏิชีวนะในสัตว์แล้ว ยังทำให้เกิดการปนเปื้อนของยาในสิ่งแวดล้อม เช่น ในดิน และแหล่งน้ำด้วย
 
 
 
มกอช.

England Food News_รัฐบาล UK กระตุ้นการติดฉลากสินค้าท้องถิ่น

ผลการสำรวจในสหราชอาณาจักรพบว่ากว่า 80% ของประชากรให้ความสนใจเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ร้านค้าและผู้ผลิตสินค้าอาหารให้ข้อมูลการติดฉลากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น

                ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 สหภาพยุโรปได้มีข้อบังคับให้ติดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (COOL) ในสินค้าประเภทเนื้อหมูสด เนื้อหมูแช่แข็ง เนื้อสัตว์ปีกและเนื้อแกะ เพื่อจำหน่ายในสหภาพยุโรป และผลการสำรวจของ YouGov ในสหราชอาณักร รายงานว่าผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อสินค้าที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 51% ของสินค้าผักและ 50% ของสินค้าเนื้อสัตว์ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอังกฤษกล่าวว่า ฉลากสินค้าท้องถิ่นจะแสดงให้เห็นว่าสินค้าชิ้นนี้มีแหล่งผลิตมาจากฟาร์มใดหรือเมืองใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความภูมิใจในการซื้อสินค้าท้องถิ่นพร้อมทั้งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

 
 ที่มา: http://www.thepigsite.com (06/10/58)
มกอช.

Combodia Food News_กัมพูชาพบสุกรร่วมพันติด PRRS

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 มีรายงานว่าฟาร์มสุกร 2 แห่งในประเทศกัมพูชา พบสุกรที่ติดเชื้อโรคทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจในสุกร (PRRS) ตายรวม 997 ตัว นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าฟาร์มสุกรในประเทศลัตเวีย รัสเซีย และซิมบับเว เกิดโรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (ASF) ในหมูป่าด้วย

               ทั้งนี้โรคทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจในสุกร (PRRS) และโรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (ASF) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรในหลายประเทศทั่วโลก การควบคุมและป้องกันโรคจำเป็นต้องดำเนินมาตรการนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากสุกรที่เข้มงวด ควบคุมการเลี้ยงสุกรให้อยู่ในพื้นที่เฉพาะ แนะนำเกษตรกรไม่ควรใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกร แต่หากมีความจำเป็นให้นำเศษอาหารไปต้มให้สุกก่อน รักษาความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ

 
ที่มา: http://www.thepigsite.com (06/10/58)
มกอช.
 
*สำหรับบเรื่องนี้ศุรดามองว่าเป็นทั้งโอกาสและข้อควรระวังของผู้ค้าสุกรและผู้ส่งออก
โอกาส-เพิ่มช่องทางในการขายหากผู้ผลิตสามารถ claim สินค้าตัวเองว่าปลอดไวรัส มีระบบคุณภาพอาหารตามมาตรฐานสากล
 
ข้อควรระวัง-สำหรับผู้รับซื้อเนื้อสุกรต้องระวังรับเนื้อสุกรติดไไวรัสราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายและจะทำให้ประเทศเราแพร่ระบาด รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคกับมนุษย์ด้วย


Taiwan Food News_ไต้หวันปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับได้ของไข่ไก่

กระทรวงเกษตรไต้หวัน (Taiwan Council of Agriculture) ได้มีการปรับปรุงใหม่ของระบบการตรวจสอบย้อนกลับของไข่ไก่ ในเดือนกันยายน 2558 ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคทราบแหล่งที่มาของฟาร์มไข่ไก่ได้ โดยใช้เครื่องมือบางอย่าง คือ การติดฉลากการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อบอกแหล่งที่มาของฟาร์มเลี้ยงไข่ไก่ โดยที่ฉลากจะแสดง QR Code ให้ผู้บริโภคเข้าถึงระบบตรวจสอบย้อนกลับของไข่ไก่ได้ในเว็บไซต์ www.Tafte-poultry.org.tw โดยการสแกน QR Code ด้วยโทรศัพท์มือถือ (mobile devices) จะช่วยให้ได้รับข้อมูลแหล่งที่มาของฟาร์มเลี้ยง โดยกระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและกฎระเบียบใหม่ของอาหารต่อผู้บริโภค นอกจากนี้คาดว่าระบบที่จะปรับปรุงการจัดการของผลิตภัณฑ์ไข่ไก่, ตรวจติดตามไข่ไก่ที่มีลักษณะไม่เหมาะสม และลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างต่อผู้บริโภค และวางแผนขยายการตรวจสอบในอนาคต, ตรวจสอบกระบวนการผลิตและการคัดทิ้งออกจากระบบ

                กระทรวงเกษตรฯ ของไต้หวันคาดการณ์ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกกว่า 1,700 ฟาร์ม มีไก่ไข่ประมาณ3.6ล้านตัว สามารถผลิตไข่ไก่ 1.8 – 1.9 ล้านฟอง/วัน โดยปัจจุบัน 63% ของไข่ไก่ทั้งหมด นำมาใช้ในธุรกิจอาหารเช้า, งานเลี้ยง, เบเกอรี่ และการค้า ทั้งนี้ไข่ไก่มีการขนส่งโดยกล่องพลาสติกและกล่องล็อกที่มีการติดฉลากของแหล่งกำเนิดไข่ไก่ เป็นการเพิ่มการติดตามด้านสุขอนามัยและการจัดการความปลอดภัยของฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ หากเกิดปัญหาขึ้นสามารถใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ ในอนาคต

 
ที่มา: The Poultry Site (06/10/58)
มกอช.

EU Food News_EU เผยแนวทางการใช้สารปฏิชีวนะ

คณะกรรมาธิการประชาคมยุโรปได้เผยแพร่แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องให้แก่เกษตรกรและสัตวแพทย์ เนื่องจากพบปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณที่สูงเกินไปทำให้สัตว์เกิดการดื้อยา

                ปัจจุบันเกษตรกรและสัตวแพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินไปส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียก่อโรคดื้อยา และเชื้อเหล่านี้ยังสามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่สัตว์ได้โดยการสัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม

                สาเหตุของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง ใช้ผิดขนาด ผิดช่วงเวลาหรือใช้ยาไม่ตรงกับโรค ไม่มีการหยุดยาตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้มียาตกค้างในเนื้อเยื่อของสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาต้องให้เกษตรกรใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ภายใต้การสั่งจ่ายยาโดยสัตวแพทย์ ซึ่งสัตวแพทย์ต้องเป็นผู้วินิฉัยโรคและสั่งจ่ายขนาดยา บอกวิธีใช้และระยะการหยุดยาที่ถูกต้องเหมาะสมกับโรค


(ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ที่มา: http://www.thepigsite.com (06/10/58)
มกอช.

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

EU Food News_ไต้หวันโดนใบเหลือง IUU อียู

 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศผลการพิจารณาสถานะการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, unreport and unregulated: IUU) โดยประกาศแจ้งเตือนสถานะใบเหลืองให้ 2 ประเทศ และยกเลิกสถานะแจ้งเตือนจำนวน 2 ประเทศ ดังนี้
                1) ประกาศสถานะแจ้งเตือน (ใบเหลือง) ไต้หวัน, โคโมรอส
                    การพิจารณาให้ใบเหลืองไต้หวัน เกิดจากข้อพิจารณาแนวทางการปฏิบัติ กฎหมาย และมาตรการควบคุมการประมงที่ขาดการให้ความสำคัญต่อประเด็น IUU ทั้งข้อกำหนดการห้ามทำประมง การติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังกองเรือประมง รวมทั้งการพิจารณามาตรการปฏิบัติที่ขาดความสอดคล้องต่อพันธกิจและภาระผูกพันการปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงส่วนภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organisation: RFMO) ส่วนกรณีของโคโมรอส มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเรือประมงของเอกชนและโครงสร้างกฎหมายการปฏิบัติที่ขาดความรัดกุม

               2) ประกาศยกเลิกสถานะการแจ้งเตือน ปาปัวนิวกินี, กานา
                   เนื่องจากทั้งสองประเทศสามารถพัฒนารูปแบบและการปฏิบัติของกฎหมายประมงตามที่สหภาพยุโรปได้ให้คำแนะนำ โดยสหภาพยุโรปจะพิจารณาการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติที่ส่งเสริมการทำประมงที่ยั่งยืนในอนาคตของทั้งสองประเทศนี้ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีหลายประเทศที่ผ่านการพิจารณายกเลิกสถานะแจ้งเตือน อาทิ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ฟิจิ เบซิส ปานามา โตโก และวานูอาตู

ที่มา : คณะกรรมาธิการยุโรป (02/10/58)
มกอช.

EU Food News_มาตรการล่าสุดของ EU เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

EU มีมาตรการล่าสุดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ  ดังนี้
     ๑. เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๘ เกษตรกรยุโรปหลายพันคนออกมาประท้วงในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม  เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรปออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความ เดือดร้อนจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะผู้ผลิตนมและผลิตภัณฑ์นม เนื้อหมู เนื้อวัว ผัก และผลไม้ ซึ่งเป็นภาคได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของ EU ตกต่ำ สืบเนื่องจากการที่รัสเซียประกาศระงับการ นำเข้าสินค้าเกษตรจาก EU หลายรายการ ความต้องการซื้อจากตลาดที่สำคัญอย่างประเทศจีนลดลง  ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันมีกำลังซื้อลดลง ประเทศผู้ผลิตนมที่สำคัญของโลกเพิ่มผลผลิต จนทำให้อุปทานนมล้นตลาด สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งในหลายพื้นที่ใน EU ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ ปลูกพืชบางชนิด (เช่น ข้าวโพดและพืชอาหารสัตว์) รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์สุกร แอฟริกัน (African Swine Fever : ASF) ในบางภูมิภาคของ EU
     ๒. นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาตรการ ช่วยเหลือภาคเกษตรที่ได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งห้ามนำเข้าของรัสเซีย ได้แก่ การจ่ายเงินชดเชยให้กับ ผู้ผลิตผักและผลไม้ที่ถูกนำสินค้าออกจากตลาด (withdrawing) การช่วยเหลือในการจัดเก็บสินค้าของ ภาคเอกชน (private storage aid : PSA) สำหรับผลิตภัณฑ์จากนม มีการจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ผลิตนมใน ๔ ประเทศ การช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการส่งออกไปรัสเซียไม่ได้[1] และการนำ มาตรการ PSA มาใช้กับเนื้อหมู  
     แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและอุปทานล้นตลาดยังคงสร้างแรงกดดัน ในตลาด EU ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัสเซียได้ประกาศระงับการนำเข้าสินค้าเกษตรจาก EU ต่ออีก ๑ ปี หรือจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปจึงขยายเวลาการจ่ายเงิน ชดเชยแก่ผู้ผลิตผักและผลไม้ผ่านมาตรการ withdrawing ไปจนถึงกลางปี ๒๕๕๙ และขยายระยะเวลา ช่วยเหลือผู้ผลิตเนยและหางนมผงผ่านมาตรการรับซื้อสินค้าโดยภาครัฐ (public intervention) และ PSA ไปจนถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
     ๓. ล่าสุดในการประชุมคณะมนตรีเกษตรยุโรปซึ่งจัดขึ้นเป็นรอบพิเศษเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๘ นาย Jyrki Katainen รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศให้เงินช่วยเหลือเกษตรกร EU ที่ได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเติมอีก ๕๐๐ ล้านยูโร โดยจะมุ่งเน้นเป้าหมายสำคัญหลัก ๓ เรื่อง คือ
          ๓.๑ แก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้เกษตรกร ได้แก่
                  – การกระจายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ผลิตนมใน EU อย่างเป็นธรรม ตรงเป้าหมายและมี ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการจ่ายให้ผู้ผลิตนมในประเทศสมาชิกที่ได้รับความเดือดร้อนสูง
                 – อนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถจ่ายเงินอุดหนุนล่วงหน้า (advance payments) ให้เกษตรกรในอัตราที่สูงขึ้น โดยจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงแก่เกษตรกรล่วงหน้าเพิ่มขึ้นจาก ๕๐% เป็น ๗๐% ของงบประมาณ direct payments ที่ประเทศนั้นได้รับ และการจ่ายเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาชนบท ล่วงหน้าเพิ่มขึ้นจาก ๗๕% เป็น ๘๕% ของงบประมาณ rural development ที่ประเทศนั้นได้รับ  โดยประเทศสมาชิกสามารถเริ่มจ่ายเงินอุดหนุนล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
          ๓.๒ สร้างเสถียรภาพในตลาด ได้แก่
                  – เสริมสร้างความแข็งแกร่งและต่อเวลาการใช้มาตรการ PSA สำหรับเนยและหางนมผง ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
                 – นำมาตรการ PSA มาใช้กับเนื้อหมู
                – เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าเกษตร (promotion budget) ปี ๒๕๕๙ อีก ๘๑ ล้านยูโร เพื่อกระตุ้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมและเนื้อหมู นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการ ยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มอัตราการจ่ายเงินอุดหนุนร่วม (co-financing) ของ EU จาก ๕๐% เป็น ๗๐-๘๐% และเพิ่มรายการสินค้าที่มีสิทธิ์ขอรับเงินอุดหนุนภายใต้โครงการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้า เกษตรใน EU
               – เสริมสร้างความแข็งแกร่งในการติดตามข้อมูลตลาดนม (Milk Market Observatory) โดยข้อมูลที่ได้ต้องมีความแม่นยำและทันเหตุการณ์
               – เพิ่มความพยายามในการขจัดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non-tariff barriers) ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) หรืออุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT)
               – ขยายตลาดใหม่ๆในประเทศที่สาม โดย EU กำลังเดินหน้าเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี กับหลายประเทศ และไม่นานนี้ EU ประสบความสำเร็จในการเจรจาการค้าทวิภาคีกับประเทศแคนาดาและ เวียดนาม ซึ่งจะทำให้ EU มีโอกาสส่งออกสินค้าเกษตรไปยังคู่ค้าเหล่านี้ได้เพิ่มมากขึ้น
นอกเหนือจากมาตรการสร้างเสถียรภาพในตลาดผ่านการกระตุ้นความต้องการซื้อและลด อุปทาน ประเทศสมาชิก/ภูมิภาคต่างๆใน EU อาจใช้งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาชนบท (Rural Development Programmes : RDPs) เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดทางอ้อม เช่น โครงการส่งเสริม การผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพสูง การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของภาคเกษตร การอนุรักษ์ กรรมวิธีผลิตในท้องถิ่น การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มหรือเงินทุนสำหรับฟื้นฟูภาคเกษตรที่ได้รับผล กระทบจากภัยธรรมชาติหรือหายนะต่างๆ
          ๓.๓ ต่อสู้กับความท้าทายต่างๆในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
                  – คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะทำงาน (High Level Group) เพื่อศึกษาประเด็นที่สำคัญต่างๆ อาทิ สินเชื่อเกษตรกร เครื่องมือบริหารความเสี่ยงและแนวทางเสริมสร้าง อำนาจต่อรองของผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทาน
                  – กำหนดให้ทำการประเมิน Milk Package[2] ในปี ๒๕๕๙ และกระตุ้นให้นำมาตรการ ภายใต้ Milk Package มาใช้เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร (written contract) ร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้แปรรูปนม การเจรจาต่อรองร่วมกัน (collective negotiation) สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรผู้ผลิต (Producer Oraganisations : POs) นอกจากนี้ มาตรการภายใต้ Milk package บางมาตรการอาจนำมาปรับใช้กับสินค้าเกษตรประเภทอื่นได้
                  – สนับสนุนให้เกษตรกรจากประเทศสมาชิกต่างๆ มีโอกาสเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ระหว่างกัน เช่น วิธีจัดการกับการค้าไม่เป็นธรรม การร่วมกันกำหนดจรรยาบรรณในสาขา อาชีพเดียวกัน การกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร และการสร้างเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ในตลาดสินค้าเกษตร
๔. งบประมาณช่วยเหลือเกษตรกรในรอบนี้จำนวน ๕๐๐ ล้านยูโร  นอกเหนือจากการมีจุด มุ่งหมายเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่เกษตรกร สร้างเสถียรภาพในตลาด และเพื่อให้ภาคเกษตรสามารถ ต่อสู้กับความท้าทายต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานได้ดียิ่งขึ้นแล้ว คณะกรรมาธิการยุโรปยังมุ่งหวังให้การใช้จ่าย งบประมาณดังกล่าวมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสังคมไปพร้อมกันด้วย เช่น ปัญหาโภชนาการในกลุ่มผู้อพยพที่ กำลังหลั่งไหลเข้ามาใน EU โดยนำผลิตภัณฑ์นมที่รับซื้อไว้ผ่านมาตรการ public intervention และ PSA มาแจกจ่ายให้แก่ผู้อพยพ หรือการสนับสนุนให้โครงการผลไม้และนมในโรงเรียน (school fruit and milk scheme) มีความแข็งแกร่งขึ้น เพราะเป็นช่องทางระบายสต็อกสินค้าเกษตรส่วนเกินและยังมีประโยชน์ ต่อสุขภาพเยาวชนอีกด้วย

[1] EU จ่ายเงินชดเชยให้ผู้ผลิตนมในประเทศลิธัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนียและฟินแลนด์
[2] คณะกรรมาธิการยุโรปออก Milk Package ในปี ๒๕๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างบทบาทของผู้ผลิตนมในห่วงโซ่อุปทานและเตรียม พร้อมภาคนมภายหลังจากระบบโควตานมสิ้นสุดลงในปี ๒๕๕๘  โดยมุ่งให้การผลิตนมในอนาคตเป็นไปตามสัญญาณตลาดและมีความยั่งยืน Milk Package มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม ๒๕๕๕  ไปจนถึง ๓๐ มิถุนายน ​๒๕๖๓

รายงานโดย : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
f

Russia Food News_หมีขาวลงนามร่วมแชร์ข้อมูลลุงแซม-ไขปัญหา IUU

 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 ผู้แทนจากรัฐบาลรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมลงนามในความตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreport and Unregulated: IUU) ของประเทศรัสเซีย ภายใต้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติของคณะทำงานเฉพาะกิจด้าน IUU ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐฯ

               ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ประกอบการในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ข้อกังวลต่ออุตสาหกรรมการจับปูอลาสกันคิงแครบของรัสเซีย ที่มีแนวโน้มการกระทำไม่เป็นไปตามหลักของกฎหมาย IUU โดยเฉพาะข้อกำหนดการติดฉลากแหล่งกำเนิด ที่พบว่ามีการปลอมแปลงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นปูซึ่งผลิตจากมลรัฐอลาสกา ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ราคาซื้อขายปูในท้องตลาดสหรัฐฯ ลดลงถึง 2.73 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ (ประมาณ 220 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็น 25% ของราคาจำหน่าย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรมปูอลาสกันคิงแครบของสหรัฐฯ รวมเป็นมูลค่าถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตั้งแต่ปี 2543 และยังเผยแพร่ข้อมูลคาดการณ์ว่า กว่า 40% ของปูอลาสกันคิงแครบที่จำหน่ายทั่วโลกในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะเป็นปูซึ่งผลิตอย่างผิดหลักการ IUU ทั้งที่ได้จากการลักลอบทำประมงของรัสเซีย จนถึงการจับปูมากกว่าโควตาที่ได้รับอนุญาต

               การบรรลุความตกลงดังกล่าว ทำให้สหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตามการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ในรัสเซีย ซึ่งหากพบผู้ทำผิดกฎหมายก็จะยังคงใช้แนวทางดำเนินการตามกฎหมายของรัสเซีย แต่หากสินค้าที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สหรัฐฯ อาจดำเนินการภายใต้ระเบียบ US Lacey Act of 1900 ซึ่งมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการพิทักษ์สัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังถือเป็นการคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้า หลังจากรัสเซียประกาศห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากหลายประเทศในช่วงก่อนหน้านี้

ที่มา : FIS/UndercurrentNEWS (02/10/58)

มกอช. 

New Zealand Food News_กีวีเรียกคืนน้ำมะพร้าวปนเปื้อนนม-เตือนก่อภูมิแพ้เฉียบพลัน

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิของนิวซีแลนด์ (Ministry of Primary Industries: MPI) ได้ประกาศแจ้งเตือนโดยอาศัยข้อกฎหมายมาตรา 289 ภายใต้กฎหมายอาหารฉบับใหม่ 2557 (Food Act 2014) มีใจความเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์การพบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม “Coconut Milk” ที่มีการปนเปื้อนนมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้สำคัญที่ต้องระบุบนฉลาก

              ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้ผลิตหลายยี่ห้อไม่ได้ปฏิบัติการระบุข้อมูลลงบนฉลากตามระเบียบของหน่วยงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand: FSANZ) โดยมีผลิตภัณฑ์กลุ่ม “Coconut Milk” และใกล้เคียง ที่พบการปนเปื้อนนมตามรายละเอียดในประกาศรวม 4 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ถูกเรียกคืนสินค้าเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่อาจมีภาวะภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ MPI ได้รายงานการพบผู้ป่วยด้วยภาวะ Anaphylaxis ในออสเตรเลียจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ “Coconut Milk” แล้วจำนวน 2 ราย

              การติดฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารถือเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งเสริมความปลอดภัยและทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมต่อความต้องการ โดยในกรณีของผลิตภัณฑ์ Coconut Milk หน่วยงาน CODEX ซึ่งถือเป็นหน่วยงานสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารของ WTO ได้กำหนดนิยามไว้ตามมาตรฐาน CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ ซึ่งหากมีการผสมนมหรือผลิตภัณฑ์นม กฎหมายอาหารหรือมาตรการความปลอดภัยในประเทศส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องระบุนมในส่วนประกอบ หรือแสดงฉลากระบุข้อความเตือนปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้อย่างชัดเจน

สามารถศึกษาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้ดังนี้
- CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ: 
   
http://www.codexalimentarius.org/input/download/standards/10401/CXS_240e.pdf
- MPI Statement Under Food Act 2014 (23-Sep-2015)    https://www.mpi.govt.nz/document-vault/9656
 
 
 
ที่มา : FSANZ, กระทรวงอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ
นิวซีแลนด์ (29/09/58)
มกอช.