วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์การค้าประมงระหว่างประเทศ มิถุนายน 2558

สรุป สถานการณ์การค้าประมงระหว่างประเทศ มิถุนายน 2558
บังกลาเทศ
อินเดีย
อังกฤษ
ปากีสถาน
สหรัฐอเมริกา
นามิเบีย
เปรู
โอมาน

การค้าสินค้าประมงของไทย เดือน มิถุนายน 2558

การค้าสินค้าประมงของไทย เดือน มิถุนายน 2558

การส่งออกรายสินค้า สินค้าประมงส่งออกหลักของไทยได้แก่ 
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2557
ทูน่ากระป๋อง ปริมาณ -3% มูลค่า -11%
กุ้งและผลิตภัณฑ์ปริมาณ +5% แต่มูลค่าลดลง -12%
หมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ -13% มูลค่า -11%
เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ -14% มูลค่า -10%
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ปริมาณ -6% มูลค่า -4%
ปลากระป๋องอื่นๆ ปริมาณ +34% มูลค่า +30% 
อาหารสุนัขและแมวกระป๋อง ปริมาณ +9% มูลค่า +7%

การส่งออกรายตลาด 
ตลาดญี่ปุ่น (สัดส่วน 20%) ปริมาณ -2% มูลค่า -5%
ตลาดสหรัฐฯ (สัดส่วน 20%)ปริมาณ -11% มูลค่า -13% 
ตลาดสหภาพยุโรป (EU28) (สัดส่วน 10%) ปริมาณ -13% มูลค่า -27%
ตลาดอาเซียน (สัดส่วน 7%) ปริมาณ -15% มูลค่า -4% 
ตลาดตะวันออกกลาง (สัดส่วน 7%) ปริมาณ +19% มูลค่า+13% 
ตลาดอัฟริกา (สัดส่วน 7%) ปริมาณ +14% มูลค่า +3% 
ออสเตรเลีย (สัดส่วน 5%) ปริมาณ +1%มูลค่า -5%
จีน (สัดส่วน 4%) ปริมาณ -41% มูลค่า -29% 
แคนาดา (สัดส่วน 4%) ปริมาณ -5% มูลค่า-12%

ติดตามเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ค่ะ
http://www.fisheries.go.th/foreign/fisher2/index.php?option=com_content&view=category&id=11&Itemid=185

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

USA-Thai News_ ผลกระทบสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยที่ถูกจัดให้คงอยู่ที่ระดับ Tier 3

กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ตอบโต้สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าผลการจัดให้ไทยคงอยู่ที่ระดับ Tier 3 ไม่สะท้อนพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ดีของไทย

วันที่ข่าว : 27 กรกฎาคม 2558
กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ตอบโต้สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าผลการจัดให้ประเทศไทยยังคงอยู่ที่ระดับ Tier 3 ไม่สะท้อนพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ดีของไทยในหลายด้าน ยืนยันรัฐบาลยังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง เพื่อความมั่นคงและมนุษยธรรมต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

Note : จัดลำดับว่าไทยแย่มาพร้อมๆกับพี่ EU เชียว =_=" มาดูผลกระทบกับไทยกัน และที่สำคัญอะไรคือ Tier ?

การจัดลำดับในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์

เทียร์ 1 (Tier 1) – หมายถึงประเทศหรือรัฐบาลที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ (ทีวีพีเอ) อย่างครบถ้วน
เทียร์ 2 (Tier 2) – หมายถึงประเทศหรือรัฐบาลที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของ ทีวีพีเอ ไม่ครบถ้วน แต่มีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านั้น
เทียร์ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watchlist) – หมายถึงประเทศที่การค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น, ล้มเหลวในการแสดงหลักฐานการเพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในปีที่ผ่านมา และถูกพิจารณาว่ากำลังพยายามอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้สามารถทำตามมาตรฐานขั้นต่ำของ ทีวีพีเอ โดยสัญญาว่าจะใช้มาตรการเพิ่มเติมในอนาคตภายในปีถัดไป
เทียร์ 3 (Tier 3)  หมายถึงประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายด้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ และไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ 

สาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยยังคงอยู่ในขั้น “เทียร์ 3″

แต่เดิมประเทศไทยเราอยู่ในลำดับ “เทียร์ 2″ แต่เมื่อปีที่แล้ว (2014) ไทยถูกลดอันดับลงไปเป็นเทียร์ 3 โดยส่วนหนึ่งมาจากปัญหาละเมิดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเล
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2015 เราก็ยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้ระดับเทียร์ 3 โดยรายงานล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า

“รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏฺิบัติตามอย่างสมบูรณ์ต่อมาตรฐานขั้นต่ำสุด เพื่อจำกัดการค้ามนุษย์ และไม่พยายามมากพอ ไทยได้สืบสวนและดำเนินคดีกับเหล่าเจ้าหน้าที่พวกที่พัวพันการค้ามนุษย์บ้าง แต่ปัญหาคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ยังเป็นอุปสรรคในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์”

นอกเหนือจากไทยแล้ว ประเทศที่อยู่ในเทียร์ 3 ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ ก็มี รัสเซีย อิหร่าน ลิเบีย เวเนซุเอลา แอลจีเรีย ซีเรีย เยเมน เกาหลีเหนือ ซูดานใต้และซิมบับเว

ผลของการที่ประเทศไทยตกอยู่ในขั้นเทียร์ 3

  • อาจสูญเสียความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯในด้านต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการค้าอาจเผชิญหน้ากับการถูกสหรัฐฯคัดค้านความช่วยเหลือจากสถาบันสำคัญระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และเวิลด์ แบงก์ (หรือธนาคารโลก) อาจรวมถึงการถูกสหรัฐฯคัดค้านรวมถึงความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ระหว่างประเทศ 

CR.www.zcooby.com



โดยข้อเท็จจริง การที่ประเทศใดก็ตามถูกจัดอยู่ใน Tier 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี ตามระเบียบจะถูกปรับลดลงไปอยู่ใน Tier 3 โดยอัตโนมัติ การจัดอันดับดังกล่าวนี้เป็นมาตรการที่สหรัฐอเมริกาใช้เป็นบทอ้างอิงใน การปรับลดความช่วยเหลือที่มีให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของไทย และมาเลเซียที่ถูกปรับลดมาอยู่ใน Tier 3 พร้อมกันนี้ นับว่าโชคดีที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจไม่ดาเนินมาตรการคว่าบาตร ส่วนหนึ่งคงเพราะสถานการณ์ปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการผูกมิตรกับประเทศต่างๆ มากกว่าสร้างความบาดหมางคลางแคลงใจ
ปัญหาสถานการณ์ TIP Report และ IUU(การต่อต้านการทาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมออกโดย EU) ถือว่าเป็นปัญหาที่สาคัญยิ่งของสินค้าประมงไทยในอนาคตควรต้องพัฒนาระบบควบคุมการทำประมง แบบ IUU ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งด้านกฎหมายและการดาเนินมาตรการบังคับใช้ให้เป็นรูปธรรม
การส่งออกก็ก้มหน้ารับปัญหาหาวิธีรับมือกันไป สู้ๆ

ประชาสัมพันธ์ โปรดระวังการหลอกลวงทางอินเตอร์เนตจากชาวแอฟริกันตะวันตก

ตามที่ในปัจจุบันมีการแอบอ้างจากชาวแอฟริกันตะวันตกขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม รวมถึงการชักชวนดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าโดยสัญญาว่าจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินก้อนใหญ่ นั้น
 
ขอเรียนว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นเรื่องหลอกลวง โดยมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 
            ๑.การแอบอ้างว่าเป็นผู้ลี้ภัยในค่ายอพยพในกรุงดาการ์ เซเนกัล ว่าได้รับมรดกจากบิดาที่เสียชีวิตในสงครามกลางเมืองแต่ไม่สามารถดำเนินการเรื่องมรดกเองได้จึงต้องการความช่วยเหลือในการโอนเงินมรดกมายังประเทศไทย และใช้บัญชีของเหยื่อรับโอนเงินให้บุคคลดังกล่าว โดยเหยื่อจะต้องโอนเงินค่าดำเนินการต่าง ๆ ก่อน อาทิ ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าทนายความ ค่าดำเนินการด้านเอกสาร หรือค่าภาษีต่าง ๆ 
            ๒.การแอบอ้างเพื่ออาสาให้ความช่วยเหลือติดตามเงินที่ถูกหลอกไป โดยภายหลังจากที่เหยื่อถูกหลอกก็จะมีผู้หลอกลวงอีกกลุ่มติดต่อเข้ามาอาสาดำเนินการเพื่อให้ได้เงินคืน โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกซึ่งก็คือคนร้ายกลุ่มเดียวกันที่จะทำให้เหยื่อเสียเงินมากขึ้นไปอีก 
            ๓.การแอบอ้างว่าเป็นบริษัทนำเข้า มีความสนใจซื้อสินค้าต่าง ๆ โดยผู้ส่งออกไทยต้องชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าลงทะเบียนนำเข้าสินค้า ค่าดำเนินการ ค่าภาษี หรือค่าเช่าโกดังสินค้า เป็นต้น 
 
            ปัจจุบัน การหลอกลวงทางอินเตอร์เนตมีหลายรูปแบบ ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการติดต่อเจรจา/การทำธุรกรรมกับชาวแอฟริกันตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ หากการติดต่อเอกสารราชการหรือการทำธุรกรรมทางการเงินเป็นภาษาอังกฤษ ก็อาจอนุมานได้ว่ากำลังตกเป็นเหยื่อของผู้หลอกลวงทางอินเตอร์เนต ทั้งนี้ โปรด งดการโอนเงิน แก่กลุ่มบุคคลดังกล่าวอย่างเด็ดขาด และสามารถแจ้งหรือขอรับความช่วยเหลือในการตรวจสอบเอกสาร/ ข้อมูลบุคคล/ ทะเบียนบริษัท/ กฎระเบียบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในแอฟริกาตะวันตก ได้ที่ : 
 
๑. กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล  กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
หมายเลขโทรศัพท์ +๖๖ ๒ ๕๗๕ ๑๐๔๗ ถึง ๕๑
โทรสาร +๖๖ ๒ ๕๗๕ ๑๐๕๒
อีเมล์: consular02@mfa.go.th
 
๒. แผนกกงสุล  สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์L’Ambassade Royale de Thailande เลขที่ ๑๐  Rue Leon G.Damas, Fann Residence, Dakar,  SENEGAL
หมายเลขโทรศัพท์ +๒๒๑ ๓๓ ๘๖๙ ๓๒ ๙๐
โทรสาร +๒๒๑ ๓๓ ๘๒๔ ๘๔ ๕๘
อีเมล์: thaidkr@orange.sn  
 
            จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบโดยทั่วกัน

ที่มาจากกระทรวงการต่างประเทศค่ะ

EU News _Thai seafood products could be banned in Europe, warns MEP

updated: 23 Jul 2015 - 13:31
A prominent lawmaker from the European Parliament’s Committee on Fisheries told EurActiv he would support giving a “red card” to Thailand, meaning banning the import of its fisheries products, if illegal fishing isn't curbed, and if the practice of using slave labour is not abandoned.
Gabriel Mato (EPP, Spain) said that under the EU IUU (Illegal, unreported and unregulated fishing) Regulation, authorities in the member states could refuse imports of fish products from countries identified by the EU as non-cooperating countries in the fight against illegal fishing.
Thailand was issued a “yellow card” back in April, due to its inadequate fisheries legal framework to fight illegal fishing and poor monitoring, control and traceability systems. According to procedure, in October, the Commission could wave the “yellow card”, maintain it, or issue a “red card”, effectively banning imports of fisheries products from Thailand to the EU market.
ตามไปอ่านต่อได้ที่
BACKGROUND
The European Commission provided the following data on fisheries exports from Thailand:
  • Thai fisheries exports (2014): €4.8 billion
  • Thai fisheries exports to EU: €575 million
  • Share of fish export to EU to total of Thai EU exports: 3.3%
  • Percentage of Thai fish export to EU to total of EU fisheries imports:  3,7%
Note :
        ยังคงเป็น "ร่างกฎหมาย"  ที่ทาง EU อาจจะให้ใบแดงกับเราหลังจากให้ใบเหลืองในการปรับปรุงรูปแบบประมงของไทยให้ได้ตามมาตรฐาน เขา แล้วเขายังรู้สึกว่าไทยไม่ปรับปรุงจึงน่าจะแจกใบแดง
พี่น้ำฝนยังไม่พบประกาศอย่างเป็นทางการจากทางกงศุลไทยในยุโรป จากกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมการค้าต่างประเทศใดๆ
         แต่ข่าวนี้ก็เป็นแนวทางให้ผู้ส่งออกอาหารทะเลไป EU ปรับตัว ซึ่งก็มีหลายบริษัทแม้แต่ยักษ์ใหญ่ปรับตัวกันเรื่องตลาดและกำลังการผลิต
          ตอนนี้พอเพียง เริ่มเป็นอีกทางเลือกที่อาจไม่ได้เลือกเอง

Sodium Levels in Foods from CDC


๊USA Law_FSIS Notice USING BARCODES TO VERIFY...

FSIS NOTICE 41-15 7/16/15

USING BARCODES TO VERIFY ELIGIBILITY OF IMPORTED PRODUCTS WITH MISSING OR COMPLETELY ILLEGIBLE SHIPPING MARKS

I. PURPOSE
A. This notice provides instructions to import inspection personnel for actions to take when they use barcodes as a means to verify whether containers of imported product with missing or completely illegible shipping marks are part of a lot certified on the accompanying foreign inspection certificate.

B. The instructions in this notice apply only to shipping units and certifications from countries that have provided a written procedure and a list of foreign establishments eligible to participate in this procedure to FSIS. When import inspection personnel are able to determine that a country and a foreign establishment are eligible to participate in this process, this notice supersedes Part VIII, Section C. 2, of FSIS Directive 9900.5, Label Verification of Imported Meat, Poultry and Egg Products.

http://www.fsis.usda.gov/wps/wcm/connect/2cd330cb-0152-4830-af90-17cf4a0eeb74/41-15.pdf?MOD=AJPERES

Note : ข้อสังเกตุ(จริงๆก็บังคับแหละ)ควรจะมีบาร์โค้ดแบบชี้เฉพาะสำหรับสินค้าที่ส่งไปยังอเมริกา โดยเลขบาร์โค้ดหลังหมายเลข (21) จะต้องสอบย้อนกลับไปถึง shipping สินค้าได้และต้องผ่านการตรวจสอบรับรองให้ใช้จาก central competent authority (CCA) ด้วย
ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับที่บ่งชี้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Food Law_UK : Food Labelling in the UK

Food Labelling in the UK:
A Guide to the Regulations



The following sections are provided:
  • Fundamental requirements
  • Key mandatory requirements
  • Name of food
  • List of ingredients
  • Quantitative ingredient declaration
  • Quantity Marking and Weight Statements
  • Date marking / storage
  • Name and address (of business)
  • Additional requirements
  • Country of origin / place of provenance
  • Alcoholic strength
  • Nutrition declaration
  • Allergen labelling
  • Manner of marking of labelling
  •  Claims
  • Genetically modified foods
  • Novel foods
  • Lot marking requirements
  • Requirements relating to specific foods
  • Labelling provisions of the Food Safety Act 1990
IMPORTANT: These pages have been prepared to provide guidance. They do not represent a full statement of the legal requirements which are contained in the Regulations. Please consult the disclaimer for more details. 

แนะนำเกี่ยวกับเนื้อหา blog และผู้เขียน

Blog นี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับ
กฎหมาย กฎระเบียบ ความรู้เกี่ยวกับมาตรการต่างๆที่เกี่ยวกับอาหาร 
===========================================
เนื่องจากทำงานในแวดวงอุตสาหรรมอาหารมาหลายปี
ประสบการณ์ทำงาน :
-นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของหน่วยงานราชการ กระทรวงสาธารณสุข
-นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทรัฐวิสาหกิจ ริเริ่มการวิเคราะห์คุณภาพห์น้ำ
-นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทเอกชนอาหารส่งออก
-ออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารให้สอดคล้องกับความต้องการลูกค้าและเหมาะสมกับกระบวนการผลิต
-ก่อตั้งทีมกฎหมายอาหารและจัดทำรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ระบบคุณภาพอาหาร
-Auditor Internal/External relate Food Quality System
-ผู้จัดการคลังสินค้า สโตร์ และจัดซื้อบริษัทอาหารส่งออก
-งานประจำล่าสุดคือผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสโตร์ รับผิดชอบในส่วน
  **การจัดเตรียมบรรจุภัณฑ์สนับสนุนกระบวนการผลิต
  **วางแผนการจัดซื้อเรียกเข้า รับเข้า จัดเก็บเพื่อสนับสนุนการผลิต
  **ควบคุม ตรวจสอบสินค้าคงคลังให้เพียงพอและถุกต้อง
  **บริหารทีมงานภายใต้โจทย์ทำ 1 ได้ถึง 3 ต้นทุนต่ำ ซื่อสัตย์เป็นเลิศ
-มีส่วนร่วมในระบบคุณภาพอาหารและความรู้อื่นๆที่ได้รับในอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งส่งออกทั้ง CSR , Lean , Productivity , ISO17025 , HACCP , GMP , ACC , ISO22000/2005 , BRC , IFS , ISO9001/2008
===========================================
ที่บอกประวัติเพื่อให้เพื่อนที่สนใจสามารถสอบถาม  แลกเปลี่ยนความรู้กัน  ได้หลายๆเรื่อง
อาจจะหาหมวดหมู่ยากหน่อย แต่พยายามทำให้ดีที่สุดและจะปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆค่ะ

เรียกสั้นๆว่า น้ำฝน ได้ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Food Law News - EU : LEGISLATION - Food and Feed Law: legislation review (April to June 2015)

For a copy of the review available on this site, see: 

Food and Feed Law: legislation review - 2015 - April-June 

A review of developments in food and feed law and related scientific and regulatory issues that affect the UK. This is the third in a series of quarterly reports that review changes in food and feed legislation affecting the UK.
This report includes updates on an investigation into cumin alleged to contain undeclared almond and the subsequent rescinding of a Food Standards Agency recall. It also includes changes to regulations for various contaminants in foodstuffs including lead, inorganic arsenic and erucic acid and changes to maximum residue levels for some pesticides and veterinary medicinal products.

Note by surada
pdf file 26 page
The categories are:
1. Cross-cutting issues
2. Food safety
- Including contaminants, food contact materials, and additives.
3. Consumer choice and prevention of fraud
- Including composition and general labelling.
4. Health and nutrition
- Including nutrition labelling, nutrients and supplements.
5. Regulation
- Regulatory activities and overarching provisions.
6. Feeding stuffs and fertilisers

- Animal feed and fertilisers.

Please note – legislation in force and made prior to June 2015 will not necessarily be
reiterated herein. No responsibility can be taken for the use made of any view,
information or advice given. In particular, any view, information or advice given
should not be taken as an authoritative statement or interpretation of the law, as this

is a matter for the courts.

From Foodlaw-Reading page

Food Law News - EU : NOVEL FOODS - Nanomaterial definition: final European Commission report

Government Chemist News Story, 16 July 2015

The European Commission’s Joint Research Centre has published the third and final report in the series “Towards a review of the EC Recommendation for a definition of the term “nanomaterial”. This report, Part 3 Scientific-technical evaluation of options to clarify the definition and to facilitate its implementation , has been long awaited and the Commission response, which may well form a final recommendation, is widely expected before the end of 2015.

The report discusses various options which could be taken into account in agreeing a final definition of a nanomaterial. In particular, the following topics are discussed in some detail:
  • Origin of nanomaterials
  • Size range to define a nanomaterial
  • Fraction of number of particles threshold
  • Definition of the term “particle”
  • The use of volume-specific surface area as a technique for classifying a nanomaterial
  • Specific inclusions and exclusions
These discussions do not reach a conclusion as to whether the current draft definition should be amended and, if so, how. They do, however, provide information for those who will make such a decision to weigh up the evidence before reaching a verdict.
One important, but small, section in the report covers good measurement practice, following requests to the Commission for a reference method to determine a nanomaterial, or a list of approved methods. This is of prime importance as the enforcement of any legal definition of a nanomaterial can only ultimately be successful if laboratories within the European Union are able to determine what is (and is not) a nanomaterial according to the criteria which will be published subsequently.
Although there have been significant advances in the development of techniques for identifying and quantifying materials at the nanoscale, these are not available to more than a small handful of expert laboratories. This illustrates the need for measurement practice to develop alongside regulation, not lag behind. This is particularly the case in areas such as nanotechnology where technical advances are happening rapidly and continuously.

The report is available at: http://publications.jrc.ec.europa.eu/repository/bitstream/JRC95675/towards%20review%20ec%20rec%20def%20nanomaterial%20-%20part%203_report_online%20id.pdf

Foodlaw-Reading 

EU News : EU ปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่วในสินค้าพืช สัตว์ และสินค้าสัตว์น้ำบางรายการ

               ๑. เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1005 of 25 June 2015 amending Regulation (EC) No 1881/2006 as regards maximum levels of lead in certain foodstuffs โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 161/9 ซึ่งเป็น การกำหนดระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่ว (lead) ในสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน อันเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม ซึ่งได้แก่ Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อให้สอดคล้องกับผลงานวิจัย ของคณะทำงาน CONTAM Panel ของ EFSA ซึ่งได้ระบุว่า สารตะกั่วที่ได้รับผ่านการบริโภคอาหาร สามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพัฒนาการทางสมองในเด็กเล็ก และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และ ความเป็นพิษต่อไตในผู้ใหญ่ได้ จึงเห็นควรให้มีการปกป้องกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กเล็กและ ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้น ในครั้งนี้ จึงให้มีการปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่วในสินค้าพืช สัตว์ และสัตว์น้ำบางรายการขึ้นใหม่
                ๒. สรุปการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้  
                     ๒.๑      กำหนดค่า MLs ของสารตะกั่วในสินค้าอาหาร ดังนี้
                                 -   นมดิบ นมที่ผ่านความร้อน และนมที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 -   นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) และชนิดเหลว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๑๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 - อาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชแปรรูปสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 - อาหารชนิดผงที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์สำหรับเด็กทารกและ เด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนอาหาร ชนิดเหลวเพื่อการดังกล่าว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 – เครื่องดื่มชนิดเหลวสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กที่ติดฉลากและวางจำหน่ายใน ลักษณะที่ปรากฎ (ที่ไม่ใช่นมหรืออาหารที่ใช้ในทางการแพทย์พิเศษสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก) หรือที่ต้อง นำไปผสมต่อตามข้อแนะนำของผู้ผลิต รวมถึงน้ำผลไม้ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight) และชนิดที่ต้องนำไปผสมน้ำร้อนหรือที่ต้องนำไปต้มให้ร้อน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๑.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                – เนื้อสัตว์ (ไม่รวมเครื่องใน) ของสัตว์โค-กระบือ แกะ สุกร และสัตว์ปีก
กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 – เครื่องในของโค-กระบือ แกะ สุกร และสัตว์ปีก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) เนื้อในส่วนกล้ามเนื้อของปลา กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -   ปลาหมึก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – สัตว์น้ำกลุ่มครัชเตเชียน (กุ้ง กั้ง ปู) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -   หอยสองฝา กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๑.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนัก เปียก (wet weight)
                                  -   ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผัก ยกเว้นผักกลุ่มกะหล่ำใบ, salsify, ผักใบและผักสมุนไพรสด, เห็ด,
สาหร่ายทะเล และผักที่ให้ผล (fruiting vegetables) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผักกลุ่มกะหล่ำใบ, salsify, ผักใบ ยกเว้นผักสมุนไพรสด และเห็ด ดังต่อไปนี้ Agaricus bisporus (common mushroom), Pleurotus ostreatus (Oyster mushroom), Lentinula edodes (Shiitake mushroom) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                   -   ผักที่ให้ผล : ข้าวโพดหวาน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight) ผักอื่นที่ไม่ใช่ข้าวโพดหวาน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผลไม้ ยกเว้น cranberries, currants, elderberries และ strawberry tree fruit กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        cranberries, currants, elderberries และ strawberry tree fruit กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – ไขมันและน้ำมัน รวมถึงไขมันนม กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -         น้ำผลไม้ น้ำผลไม้ชนิดเข้มข้นที่นำไปผสมและเนกต้าผลไม้ : จากเบอร์รี่และผลไม้ขนาดเล็กอื่นๆ  กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนน้ำผลไม้ น้ำผลไม้ชนิดเข้มข้นที่นำไปผสมและเนกต้าผลไม้จากผลไม้อื่นๆ ที่ไม่ใช่เบอร์รี่และผลไม้ขนาดเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๓ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 -        ไวน์ (รวมถึง sparkling wine ยกเว้น liqueur wine), cider, perry และไวน์ผลไม้ : สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในปี ๒๐๐๑ ถึงปี ๒๐๑๕ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนสินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ เป็นต้นไป กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                   - ไวน์หอม (aromatized wine), เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของไวน์หอม และคอกเทลที่มีส่วนผสมของไวน์หอม : สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในปี ๒๐๐๑ ถึงปี ๒๐๑๕ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) และสินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ เป็นต้นไป กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  - อาหารเสริม (food supplements) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๓.๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – น้ำผึ้ง กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
            ๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
                  อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าที่วางจำหน่ายก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (ที่ใช้ค่าอนุโลมเดิม) ยังคงสามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนถึงวันที่สินค้ามีอายุการบริโภคต่ำสุด (date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่สินค้าหมดอายุการบริโภค (use-by-date)
            ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
             ๕. ที่ผ่านมา ไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับสารตะกั่วตกค้างในสินค้าเกษตรและอาหาร อย่างไรก็ดี ไทยก็ควรให้ความสำคัญในการสุ่มตรวจหาสารตะกั่วในสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายยัง EU อย่างต่อเนื่อง ตามค่าปนเปื้อน ที่ไม่ควรเกินกว่าค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดที่ EU กำหนดขึ้นใหม่นี้ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่กำหนดข้างต้น 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 
- See more at: http://www2.thaieurope.net

USA News : US เตรียมพิจารณาการใช้ไขมันทรานส์ในอาหารสัตว์

US เตรียมพิจารณาการใช้ไขมันทรานส์ในอาหารสัตว์
                จากที่ในปี 2557 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (The Food and Drug Administration : FDA) ได้เผยแพร่ข้อกำหนดการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วน (partially hydrogenated oils: PHOs) โดยถือว่าไม่จัดอยู่ในอาหารที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย  (Generally Recognized as Safe : GRAS)  ทำให้สมาคมอุตสาหกรรมอาหารอเมริกัน (American Feed Industry Association's : AFIA) ได้เรียกร้องให้ทาง FDA ชี้แจงการห้ามใช้ PHOs ว่ามีความครอบคุลมเฉพาะอาหารมนุษย์หรือรวมถึงอาหารสัตว์ด้วย  ซึ่ง FDA ยังไม่มีข้อสรุปข้อกำหนดที่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน เนื่องจากน้ำมันพืชทั่วไป (vegetable oils) และน้ำมัน PHOs ถือว่าเป็นส่วนผสมที่ปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มานานหลายทศวรรษ อีกทั้งไขมันพืช (vegetable fats) และน้ำมันพืช บางส่วนอาจมีไขมันทรานส์เป็นส่วนผสม (ingredient) อยู่แล้วในธรรมชาติ

               ก่อนหน้านี้คำแถลงของ FDA ได้กล่าวว่าข้อกำหนด การห้ามใช้ PHOs ในอาหารจะครอบคลุมทั้งอาหารมนุษย์ และอาหารสัตว์ และ FDA เตรียมชี้แจงเพิ่มเติมอีกครั้งเกี่ยวกับความชัดเจนของเกณฑ์ GRAS สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันพืชซึ่งจะสามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ ทั้งอาหารสำหรับปศุสัตว์ที่จะใช้เป็นอาหาร อาทิ สัตว์ปีก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอาหารสัตว์เลี้ยง (companion animal) ต่อไป

 

ที่มา: The Fish Site(17/07/58)

EU News : EU ขยายเวลาอนุญาตให้ใช้สารเสริมอาหารในสัตว์ (feed additive) แก่ไทย

EU ขยายเวลาอนุญาตให้ใช้สารเสริมอาหารในสัตว์ (feed additive) แก่ไทย
                สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบว่าด้วยการเพิ่มรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารเสริมอาหารในสัตว์ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้

                1. Commission Implementing Regulation (EU) No 2015/723 ขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สาร biotin เป็นสารเสริมอาหารในสัตว์ (feed additive) ในกลุ่มสารบำรุงร่างกาย (nutritional additives) และวิตามินสำหรับสัตว์ทุกชนิด เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค. 2558 ไปจนถึงวันที่ 26 พ.ค. 2568 และได้อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของสินค้า ดังนี้

                    - สาร biotin หรือสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสาร biotin ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ย. 2558 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                    - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ย. 2558 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                    - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ไม่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ค. 2560 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า
                 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่               http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R0723&from=EN
               2. Commission Implementing Regulation (EU) No 2015/724 ขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สาร retinyl acetate, retinyl palmitate และ retinyl propionate เป็นสารเสริมอาหารในสัตว์ (feed additive) ในกลุ่มสารบำรุงร่างกาย (nutritional additives) และวิตามิน สำหรับสัตว์ทุกชนิด เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค. 2558 ไปจนถึงวันที่ 26 พ.ค. 2568 และได้อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของสินค้า ดังนี้

                  - สาร retinyl acetate, retinyl palmitate และ retinyl propionate หรือสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารทั้ง 3 รายการ ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ย. 2558 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                  - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ค. 2559 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                  - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ไม่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 26 พ.ค. 2560 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า
               สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่             http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R0724&from=EN
               3. Commission Implementing Regulation (EU) No 2015/861 ขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สาร potassium iodide, calcium iodate anhydrous และ coated granulated calcium iodate anhydrous เป็นสารเสริมอาหารในสัตว์ (feed additive) ในกลุ่มสารบำรุงร่างกาย (nutritional additives) และกลุ่มสารประกอบแร่ธาตุ (compound of trace element) สำหรับสัตว์ทุกชนิด เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2558 ไปจนถึงวันที่ 24 มิ.ย.2568 และได้อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของสินค้า ดังนี้

                  - สาร potassium iodide , calcium iodate anhydrous และ coated granulated calcium iodate anhydrous  หรือสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารทั้ง 3 รายการ ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 24 ธ.ค. 2558 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                  - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 24 มิ.ย. 2559 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า

                  - อาหารสัตว์ผสม และวัตถุดิบอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ไม่ใช้เป็นอาหารที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 24 มิ.ย. 2560 สามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนกว่าสินค้าจะหมดจากคลังสินค้า
                สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่              http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015R0861&from=EN
 
 

ที่มา: มกอช./สปษ.บัรสเซลส์(16/07/58)

EU News : EU ปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRLs) ยาปราบศัตรูพืชบางรายการในสินค้าพืชและสัตว์

EU ปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRLs) ยาปราบศัตรูพืชบางรายการในสินค้าพืชและสัตว์
              สหภาพยุโรปออกประกาศระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/868 ปรับระดับสารตกค้างสูงสุด(MRLs) ยาปราบศัตรูพืช 29 รายการ ได้แก่

                1) 2, 4, 5 -T
                2) barban
                3) binapacryl
                4) bromophos-ethyl
                5) camphechlor (toxaphene)
                6) chlorbufam
                7) chlozolinate
                8) DNOC
                9) di-allate 
              10) dinoseb  
              11) dinoterb
              12) dionoxathion
              13) ethylene oxide
              14) fentin acetate
              15) fentin hydroxide
              16) flucycloxuron
              17) flucythrinate
              18) formothion
              19) mecarbam
              20) methacrifos
              21) monolinuron
              22) phenothrin
              23) phenothrin
              24) propham
              25) pyrazophos 
              26) quinalphos
              27) resmethrin
              28) tecnazene
              29) vinclozolin

            ซึ่งส่วนใหญ่จะปรับให้อยู่ในระดับต่ำสุดหรือค่า default MRL คือ 0.01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และจะมีผลกับสินค้าของไทยบางรายการ เช่น มะม่วง มะละกอ สับปะรด ทุเรียน พริก มะเขือ กะหล่ำ ถั่ว ข้าว เนื้อสัตว์ปีก ขิง ขมิ้น น้ำผึ้ง และเครื่องเทศ เป็นต้น

            โดยกฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค.2558 เป็นต้นไป อนึ่ง EU อนุโลมให้สินค้าที่ผลิตก่อนวันที่ 30 มิ.ย. 2558 สามารถใช้ค่า MRL เดิม (Regulation (EC) No 369/2005) ก่อนประกาศระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/868 ได้
            สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่          http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:JOL:_2015_145_R_0001&from=EN

ที่มา: มกอช./สปษ.บรัสเซลส์(14/07/58)

๊UK News : UK แจงอาหารทะเลแปรรูปยังมีเสถียรภาพแม้สภาวะตลาดรุนแรง

UK แจงอาหารทะเลแปรรูปยังมีเสถียรภาพแม้สภาวะตลาดรุนแรง
                 สหราชอาณาจักร (UK) ได้รายงานผลการสำรวจการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในประเทศ ซึ่งสำรวจจากประชากรทุกหน่วย โดยไม่เจาะจงกลุ่มตัวอย่าง (Census Survey)  ในปี 2557 อาทิ ด้านขนาดของโครงสร้างในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป , หน่วยการแปรรูปในส่วนต่างๆ  ,ระดับการจ้างงาน ,การกระจายสินค้าในภูมิภาค ,ประเภทกิจกรรมการแปรรูป , สายพันธุ์และจำนวนสัตว์ทะเลที่นำมาแปรรูป เป็นต้น โดยพบประเด็นสำคัญในด้านการจ้างงาน (employment) ดังนี้

                 - ผลการสำรวจอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พบว่ามีปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่จำนวนหน่วยผลิตลดลง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแซลม่อนมีอัตราการเติบโตขึ้นถึง 28 % จึงส่งผลทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น

                 - จากการสำรวจในปี 2555 พบว่าหน่วยผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่จำแนกจากจำนวนการจ้างงานเต็มเวลา (Full Time Equivalent : FTEs) โดยรวมมีปริมาณลดลง แต่ไม่ได้ส่งกระทบผลต่อหน่วยการผลิต 2 กลุ่ม ดังนี้
                   : กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดใหญ่สุด (Larges size มีปริมาณ FTEs 110 ขึ้นไป: 101+FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 29 %
                   : กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดขนาดเล็กสุด (Smallest size มีปริมาณ FTEs อยู่ที่ 1-10: 1-10 FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 10 %

                 - จากการสำรวจในปี 2557 พบว่ากลุ่มหน่วยการผลิต 101+FTEs มีสัดส่วนถึง 65 % เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งมีสัดส่วนที่ 58 % และขณะเดียวกันกลุ่มหน่วยการผลิต 1-10 FTEs ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งการขยายตัวของหน่วยผลิตทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ได้ดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้มีปริมาณการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

                 - การเพิ่มจำนวนกลุ่มหน่วยผลิตได้ส่งผลให้อัตราการจ้างงานตั้งแต่ปี 2555-2557 เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผลประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปมีมูลค่าสูงขึ้น 16 % เมื่อเทียบกับปี 2551 แต่กระนั้นก็ส่งผลให้ต้นทุนผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 % โดยคาดว่ามีปัจจัยหลักจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูป (raw material processing)  ทำให้สัดส่วนกำไรของผู้ประกอบการโดยรวมลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ อาทิ อุปกรณ์ เครื่องมือ อาคาร สถานที่ต่างๆ ส่งผลให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 49 % ในช่วงปี 2553-2555

                  แต่อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ด้านอาหารทะเล ได้กล่าวถึงผลกระทบของปัจจัยปัญหาสำคัญ ได้แก่วัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต และการพัฒนากฏระเบียบและปัจจัยรองรับทางการค้า อาทิ ความเคลื่อนไหวของอัตราการแลกเปลี่ยน , การขาดแคลนทักษะ , การเข้มงวดทางการเงิน , ผู้ค้าปลีกกดดันผู้ผลิต เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจในห่วงโซ่การผลิต แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของปริมาณความต้องการอาหารทะเลและสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กลายเป็นแรงหนุนเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรม ที่จะสามารถสร้างผลกำไรและความยั่งยืนของของการผลิตได้ในระยะยาว 


ที่มา: The Fish Site(10/07/58)
มกอช.

USA News : สส. สหรัฐฯ เข้าแนวร่วมยกเลิกระเบียบ COOL

สส. สหรัฐฯ เข้าแนวร่วมยกเลิกระเบียบ COOL
                The House Agriculture Committee ได้ลงมติให้ยกเลิกการใช้ระเบียบ COOL (Country of Origin Labeling: COOL) ว่าด้วยการติดฉลากระบุประเทศต้นกำเนิดของสัตว์ สถานที่เลี้ยงและสถานที่เชือด สำหรับสินค้าเนื้อโค, เนื้อหมูและเนื้อไก่ โดยร่างระเบียบ H.R.2393 ซึ่งแก้ไขสาระสำคัญใน Agriculture Marketing Act (1946) ได้ผ่านการลงคะแนนเห็นชอบ 38 ต่อ 6 นอกจากนี้สมาชิกพรรค เดโมแครต (Democrats) และ รีพับลิกัน(Republicans) จำนวนทั้งสิ้น 68คน ยังให้การสนับสนุน House Agriculture Committee อีกด้วย

                 แนวทางการออกเสียงยกเลิกการใช้ระเบียบCOOL ถือได้ว่าเป็นไปตามมติขององค์การการค้าโลก (The World Trade Organization: WTO) ซึ่งพิจารณาให้ระเบียบ COOL ไม่เป็นไปตามหลักการของข้อผูกพันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯที่ได้รับผลกระทบจากระเบียบ COOL อาทิ เม็กซิโกและแคนาดา ได้เตรียมประกาศมาตรการตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ จึงทำให้ House Agriculture Committee เสนอให้มีการลงมติยกเลิกการใช้ระเบียบ COOL เพื่อฟื้นคืนสถานภาพและความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ
กับประเทศคู่ค้า 

ที่มา: The Beef Site (13/07/58)
มกอช.

Russia news : รัสเซียยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จากโคลัมเบีย

รัสเซียยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จากโคลัมเบีย
                สำนักงานควบคุมสุขอนามัยสัตว์และพืชรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) เตรียมยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์จากโคลัมเบีย จากที่เคยประกาศห้ามการนำเข้าเนื้อโค, เนื้อแกะ, เนื้อหมูและผลิตภัณฑ์นมจากตอนใต้ของเมืองNariño เพื่อป้องกันการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease: FMD) ตั้งแต่ปี 2552 โดยภูมิภาคอื่นๆของโคลัมเบียยังคงสามารถส่งออกเนื้อโคได้ตามปกติ การส่งออกเนื้อโคไปยังรัสเซียในปี 2557 มีปริมาณถึง1,303 ตัน ซึ่งการยกเลิกข้อห้ามดังกล่าว จะเป็นโอกาสที่ดีของผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในเมืองNariño ของโคลัมเบีย    

               ปัจจุบันโคลัมเบียมีความพร้อมด้านการพัฒนาวัคซีน FMD และกำลังเร่งสร้างความตระหนักให้ผู้เลี้ยงต่อการป้องกันการเกิดโรค FMD ในฟาร์มเลี้ยง รวมทั้งการแจ้งหน่วยงานกำกับดูแลอย่างเร่งด่วนกรณีที่พบการระบาด

ที่มา: The Beef Site(10/07/58)
มกอช.

Russia news : รัสเซียก้าวเป็นเป้าหมายส่งออกทูน่าที่สำคัญของเวียดนาม

รัสเซียก้าวเป็นเป้าหมายส่งออกทูน่าที่สำคัญของเวียดนาม
                เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวียดนามได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ร่วมกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union: EEU) ซึ่งประกอบด้วยประเทศรัสเซีย, อาร์เมเนีย, เบลารุส, คาซัคสถานและคีร์กีซสถาน โดยข้อตกลงดังกล่าว มีพันธกรณีปลอดภาษีการนำเข้าสินค้าประมง ทำให้เวียดนามมีโอกาสต่อการขยายการส่งออกปลาทูน่าและสินค้าประมงอื่นๆเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

                สถิติจากหน่วยงานศุลกากรเวียดนามในไตรมาสที่1/2558 พบว่ามูลค่าการส่งออกปลาทูน่าไปยังรัสเซียเพิ่มขึ้นถึง1.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก1.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2557 โดยมีปลาทูน่าแช่แข็ง (Frozen Tuna) เป็นสินค้าหลัก ซึ่งมีสัดส่วนถึง 95 % ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม และผู้ส่งออกยังมีการเริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าสดและแช่แข็งเพิ่มเติมด้วย

                ปัจจุบัน เวียดนามถือเป็นหนึ่งในสามผู้ส่งออกปลาทูน่ารายใหญ่ ไปยังรัสเซียมีอัตราการเติบโตถึง 161 % ในไตรมาสที่1/2558 ส่วนจีนเพิ่มขึ้น 58.6 % ในขณะที่การนำเข้าจากไทยลดลงถึง 47.1 %

ที่มา: The Fish Site (09/07/58)
มกอช

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures NTMs)

ข้อมูลมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures NTMs) ของต่างประเทศ
มี 96 หน้า เป็นภาษาไทย update September 2014 ไปดาวน์โหลดกันได้ที่นี่ค่ะ
เมื่อเปิดแล้วอยู่ลิงค์ที่ 3 ค่ะ

http://www.acfs.go.th/interesting/

Here is
THAILAND:COMPANY PERSPECTIVES AN ITC SERIES ON NON-TARIFF MEASURES
**Draft prepared for discussion at the NTM Stakeholder Meeting 
(Bangkok, 29 October 2014)
you can download from link below ( the second link in page)

http://www.acfs.go.th/interesting/