วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

USA Food News_สหรัฐฯ เตรียมยกเลิกคว่ำบาตรพม่า-ให้สิทธิ์ GSP

อเมริกา” เตรียมยกเลิกคว่ำบาตร “เมียนมาร์” หลังใช้มาตรการมาร่วม 20 ปึ เหตุ “โอบามา” พอใจผลหารือ “อองซานซูจี” หวังปูทางฟื้นฟูความสัมพันธ์ พร้อมพิจารณาสิทธิ์จีเอสพี

         ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ประกาศว่าสหรัฐอเมริกา จะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาร์ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1997 นอกจากนี้จะพิจารณาระบุพม่าในรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized Preference System: GSP) หลังจากเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559 รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมาร์ ออง ซาน ซูจี ได้เข้าพบและหารือ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

          ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเข้าประกอบธุรกิจในเมียนมาร์ และยกเลิกคว่ำบาตรบางส่วนต่อรัฐวิสาหกิจด้านการทำป่าไม้ เหมืองแร่ และธนาคารของรัฐบาล แต่ไม่รวมถึงกิจการของฝั่งทหาร และยังคงห้ามการนำเข้าสินค้าบางชนิด เช่น หยก อัญมณี และสินค้าในบัญชีต้องห้ามจากเมียนมาร์

          แม้หลายฝ่ายจะยังมีข้อกังวลต่อบทบาทและอิทธิพลของทหารในเมียนมาร์ แต่เมียนมาร์ก็มีความคืบหน้าการเปิดเสรีทางการเมืองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 การผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนจากต่างประเทศ และการแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อย   
 
 
 
 
 
 
ที่มา: CNN, Reuters, WallStreet Journal
สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

USA Food News_U.S.FDA เตือนต่ออายุจดทะเบียนโรงงานภายในสิ้นปี 59

U.S.FDA เตือน “โรงงานผลิต-แปรรูปอาหาร-อาหารสัตว์” ส่งออกสหรัฐฯ ต่ออายุการจดทะเบียนโรงงาน ผ่านระบบ FURLS ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2559 ก่อนถูกถอนการอนุญาต-ระงับนำเข้า เผยเตรียมใช้แบบฟอร์มใหม่ในอนาคตอันใกล้
          
         องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (U.S.FDA) ได้ประกาศแจ้งเตือนสถานประกอบการผลิต-แปรรูปอาหารและอาหารสัตว์ที่จดทะเบียนในระบบ FDA Unified Registration and Listing System (FURLS) หรือ FDA Industry System เตรียมต่ออายุการจดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2559
           
         มาตรา 102 ของกฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัย (Food Safety Modernization Act: FSMA) ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่ผลิตหรือส่งออกสินค้าอาหารไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องต่ออายุการจดทะเบียนสถานประกอบทุก 2 ปี (biennial renewal) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีเลขคู่ โดยเริ่มใช้ระบบดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี 2012 (2555) 

        สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม อาทิ แก้ไขรายการสินค้าที่ผลิต ผ่านฟอร์ม “Update Facility Registration” จะต้องดำเนินการต่ออายุการจดทะเบียนก่อน จึงจะสามารถเข้าใช้ฟอร์มดังกล่าวได้ และถ้าไม่ต่ออายุการจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ระบบจะยกเลิกการอนุญาตสถานประกอบการนั้นๆ โดยอัตโนมัติ
           
        นอกจากนี้ U.S.FDA แจ้งว่าทางหน่วยงานได้เตรียมเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มการจดทะเบียนสถานประกอบการ จากเดิมที่ใช้แบบฟอร์ม FDA 3537 เป็นแบบฟอร์มใหม่ที่สอดคล้องกับกฎหมาย 21 CFR Part 1 ซึ่งผ่านการปรับปรุงเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2559 ให้มีขั้นตอนตรวจสอบและยืนยันการปรับปรุงข้อมูลหรือต่ออายุการจดทะเบียน รวมทั้งข้อกำหนดในการเป็น U.S.Agent ซึ่ง U.S.FDA จะเร่งจัดทำคู่มือปฏิบัติงานและประกาศทางเว็บไซต์ต่อไป
           
        ทั้งนี้ ระบบต่ออายุการจดทะเบียนจะเริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 1 ตุลาคม 2559(ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา) โดยสามารถเข้าถึงได้จากเว็บไซต์
https://www.access.fda.gov/oaa/logonFlow.htm
 
 
 
 
 
 
ที่มา: องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (U.S.FDA)
สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

Australia Food News_ออสซี่ประกาศเปลี่ยนแปลงระเบียบฉลากแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหาร

กระทรวงอุตสาหกรรม นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย ประกาศระเบียบใหม่สำหรับการปิดฉลาก แจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหาร (Country of Origin Food Labelling Reform) นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนให้ระเบียบดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายผู้บริโภคออสเตรเลียจากเดิมที่เคยอยู่ภายใต้มาตรฐานอาหาร โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 และมีระยะเวลาผ่อนผันให้ผู้ประกอบการเป็นระยะเวลา 2 ปี (ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2561)

                โดยสิ่งสำคัญในการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ คือ ฉลากสำหรับอาหารส่วนใหญ่ที่ปลูก ผลิต หรือทำในออสเตรเลียจะต้องมีสัญลักษณ์รูปจิงโจ้ในกรอบสามเหลี่ยม พร้อมทั้งกราฟแท่งและข้อความแสดงสัดส่วนองค์ประกอบจากออสเตรเลีย ซึ่งข้อกำหนดใหม่จะบังคับใช้กับอาหารที่จำหน่ายปลีกในออสเตรเลีย โดยไม่ครอบคลุมอาหารที่จำหน่ายในภัตตาคาร ร้านกาแฟ ร้านอาหารสำหรับซื้อกลับบ้าน หรือ โรงเรียน ทั้งนี้ หากเป็นอาหารที่ได้รับการจัดลำดับให้มีความสำคัญ (Priority foods) จะต้องเพิ่มรูปภาพและข้อมูลตามที่กำหนด เช่น โลโก้ กราฟแท่ง และข้อความภายในกรอบสี่เหลียมสำหรับสินค้าอาหารที่ไม่ใช่สินค้าที่สำคัญ (Non-priority foods) สามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ได้ตามความสมัครใจ

                 อย่างไรก็ตามระเบียบการปิดฉลากแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารจะมีผลกระทบต่ออาหารที่นำเข้ามาในออสเตรเลียน้อยมาก และสินค้านำเข้ายังคงต้องปิดฉลากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า เช่น Product of Thailand, Made in Canada เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดใหม่สำหรับข้อความ “Made in” และ “Packed in”   โดยจะต้องแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าภายในกรอบสี่เหลี่ยม และหากมีส่วนผสมจากออสเตรเลียอาจใช้ฉลากมาตรฐาน ซึ่งมีการแสดงกราฟแท่งและข้อความสัดส่วนของส่วนผสมที่มาจากออสเตรเลีย


สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
              http://www.industry.gov.au/industry/industrysectors/foodmanufacturingindustry/Pages/country-of-origin-labelling.aspx   



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์รา
: สรุปโดย มกอช.

EU Food News_EU แก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สาม และหน่วยงาน CA และ CB ในการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศปรับปรุงและแก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สามและหน่วยงาน Control Authority และหน่วยงาน Control Body ที่มีความเท่าเทียม และได้รับอนุญาตให้รับรองการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปครั้งล่าสุด  ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1330 of 2 August 2016 amending Regulation (EC) No 1235/2008 laying down detailed rules for implementation of Council Regulation (EC) No 834/2007 as regards the arrangements for imports of organic products from third countries ตามปรากฎใน EU Official Journal L 210/43 ซึ่งการแก้ไขในครั้งนี้เป็นการ update บัญชีรายชื่อ (เพิ่ม -ถอน) CA และ CB และแก้ไขข้อมูลทั่วไป อาทิ ข้อมูลในส่วนของเลขรหัส (code number) ประเภทสินค้า ที่ได้รับการอนุญาต (category of products) และการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของแต่ละ CA และ CB ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
                   ๑. แก้ไขตามภาคผนวก ๑ (Annex I) ครอบคลุมในส่วนของบัญชีรายชื่อประเทศที่สาม ที่มีระบบการผลิตและการตรวจสอบสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เท่าเทียมกับสหภาพยุโรป :
                        ๑.๑ ออสเตรเลียแจ้งเปลี่ยนแก้ไขที่อยู่อินเตอร์เนทของหน่วยงาน Australian Certified Organic Pty. Ltd
                        ๑.๒ แคนาดาแจ้งถอนหน่วยงาน รหัสเลขที่ CA-ORG-001
                        ๑.๓ อินเดียแจ้งเพิ่มชื่อหน่วยงาน SGS India Pvt. Ltd ให้กลับมาในบัญชี CB ได้ ใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยถูกถอนออกจากรายชื่อไปเมื่อปี ๒๕๕๗
                        ๑.๔   อินเดียแจ้งเปลี่ยนแก้ไขที่อยู่อินเตอร์เนทของหน่วยงาน IMO Control Private
                        ๑.๕ สหรัฐอเมริกาแจ้งถอนชื่อหน่วยงาน รหัสเลขที่ US-ORG-032 จำนวน ๑ ราย และแจ้งเพิ่มชื่อ อีก ๑ ราย คือ Basin and Range Organics (BARO)
                        ๑.๖ นิวซีแลนด์แจ้งเปลี่ยนแก้ไขที่อยู่อินเตอร์เนทของหน่วยงาน AssureQuality Limited
                        ๑.๗ เกาหลีแจ้งเพิ่มชื่อหน่วยงาน Doalnara Organic Certificated Korea ให้กลับมาในบัญชี CB ได้ใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยถูกถอนออกจากรายชื่อไปด้วยความผิดพลาด
                 ๒. แก้ไขตามภาคผนวก ๒ (Annex II) ครอบคลุมในส่วนของบัญชีรายชื่อหน่วยงาน Control Authority และหน่วยงาน Control Body ที่ได้รับการอนุญาตจากสหภาพยุโรปให้สามารถเป็นหน่วยงาน ที่รับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป :
                       ๒.๑ หน่วยงาน Egyptian Center Of Organic Agriculture (ECOA), Istituto Certificazione Etica e Ambientale, Letis S.A., Oregon Tilth และ Organic Standard แจ้งเปลี่ยน ที่อยู่
                       ๒.๒ ยกเลิกการรับรองสินค้ากลุ่ม F ของ Australian Certified Organic ออสเตรเลีย
                       ๒.๓ AssureQuality Limited แจ้งการยกเลิกกิจการในการให้การรับรองสินค้าใน ประเทศที่สามทุกๆ ประเทศ
                       ๒.๔ Bio.inspecta AG ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A และ D ในไอวอรี่โคสต์   
                       ๒.๕ CCPB Srl ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม D (ไวน์)
                       ๒.๖ Certisys ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A และ D ในบุรุนดี แคเมอรูน รวันดา แทนซาเนีย และยูกันดา  และยกเลิกการรับรองในเวียดนาม
                       ๒.๗ Control Union Certifcations ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม B, C, D, E และ F ในบังคลาเทศ สินค้ากลุ่ม A และ D ในกาบูเวร์ดี และสินค้ากลุ่ม A, C และ D ในมัลดีฟส์
                       ๒.๘ Ecocert SA ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A ในลิกเตนสไตน์ สินค้ากลุ่ม A และ D ในแอลเบเนีย บาฮามาส เบลารุส เฟรนช์โปลินีเซีย แกมเบีย จอร์แดน เลโซโท มอนเตเนโกร ดินแดนปาเลส ไตน์ และโอมาน สินค้ากลุ่ม A, D และ E ในบังคลาเทศ และสินค้ากลุ่ม A, B และ F  ในชิลี และสำหรับ สินค้ากลุ่ม B ในเอธิโอเปีย และสำหรับสินค้ากลุ่ม B และ E ในนามิเบีย และสำหรับสินค้ากลุ่ม D ใน บอตสวานา และสินค้ากลุ่ม E ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแซมเบีย
                       ๒.๙ Ecocert SA แจ้งการเป็นหุ้นส่วนกับ IMO รวมถึง IMO-Control Sertifikasyon Tic. Ltd Sti โดยสาขา Ecocert SA ในตุรกี คือ Ecocert Denetim ve. Belgelendirme Ltd. ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Ecocert IMO Denetim ve Belgelendirme Ltd. Sti ซึ่งจะรับมอบกิจการจาก IMO-Control Sertifikasyon Tic. Ltd Sti โดยให้ยกเลิกชื่อ IMO-Control Sertifikasyon Tic. Ltd Sti และแจ้งเปลี่ยนที่อยู่และที่อยู่อินเตอร์เนทที่เกี่ยวข้องด้วย  
                       ๒.๑๐ IBD Certifications Ltd แจ้งเปลี่ยนชื่อเป็น IBD Certificacoes Ltda.
                       ๒.๑๑ IMO Control Latinoamerica Ltda. ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A และ D ในบราซิล ชิลี คิวบา ตรินิแดดและโตเบโก และอุรุกวัย รวมถึงแจ้งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น IMOcert Latinoamerica Ltda  และแจ้งเปลี่ยนที่อยู่อินเตอร์เนทด้วย
                       ๒.๑๒ IMO Control Private Limited ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A และ D ในลาว มัลดีฟส์ และปาปัวนิวกินี
                       ๒.๑๓ IMOswiss AG แจ้งการยกเลิกกิจการในการให้การรับรองสินค้าในยูเครน 
                       ๒.๑๔ International Certification Services, Inc. แจ้งการยกเลิกกิจการในการให้การ รับรองสินค้าในประเทศที่สามทุกๆ ประเทศ
                       ๒.๑๕ OneCert International PVT Ltd. ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม A และ D ในเอธิโอเปีย โมซัมบิก แทนซาเนีย และศรีลังกา สินค้ากลุ่ม D ในสิงคโปร์  
                       ๒.๑๖ Organizacion Internacional Agropecuaria ขยายการรับรองสินค้ากลุ่ม C ในชิลี
                       ๒.๑๗ Quality Assurance International แจ้งการยกเลิกกิจการในการให้การรับรอง สินค้าในปารากวัย  
                       ๒.๑๘ EU ท้วงติง Uganda Organic Certification Ltd ไม่ส่งมอบข้อมูลในการรับรอง สินค้าเกษตรอินทรีย์ตามที่ร้องขอภายใต้ Regulation (EC) No 834/2007  จึงเห็นควรให้ถอนชื่อออกจาก บัญชี CB จนกว่าจะได้รับข้อมูลจนเป็นที่ถูกต้อง
                       ๒.๑๙ จัดเรียบเรียงระเบียบรายชื่อประเทศตามรหัสเลขที่ขึ้นใหม่ ตามตารางที่ปรากฏ ในภาคผนวก
                  ๓. กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙) ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดได้จากเวปไซต์ต่อไปนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU อนุมัติให้วางจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตจากข้าวโพด GMO เพิ่ม 11 รายการ

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 EU อนุมัติให้วางจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตจากข้าวโพด GMO (GM maize) เพิ่มเติม 11 รายการ โดยมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 10 ปี ประกอบด้วย
1. Bt11 x MIR162 x MIR604 x GA21
2. Bt11 × MIR162 × MIR604
3. Bt11 × MIR162 × GA21
4. Bt11 × MIR604 × GA21
5. MIR162 × MIR604 × GA21
6. Bt11 × MIR162
7. Bt11 × MIR604
8. Bt11 × GA21
9. MIR162 × MIR604
10. MIR162 × GA21
11. MIR604 × GA21
ทั้งนี้ การวางจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตจากพืช GMO สำหรับอาหารคนและอาหารสัตว์ในตลาด EU จะต้องติดฉลากแสดงข้อมูลให้กับผู้บริโภค ตามกฎระเบียบการตรวจสอบย้อนกลับและการติดฉลากสินค้า GMO (Regulation (EC) No 1830/2003 concerning the traceability and labeling of genetically modified organisms and traceability of food and feed products produced from genetically modified organisms and amending Directive 2001/18/EC) โดยผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          1. ขั้นตอนเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
          ผู้ประกอบการจะต้องแสดงข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทาน โดยประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
          – ข้อความชี้แจงว่าสินค้ามีส่วนประกอบหรือผลิตจากพืช GMO
          – รหัสเฉพาะ (unique identifier) ของพันธุ์พืช/สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม
          – ในกรณีที่สินค้า GMO สำหรับอาหารคน/สัตว์ หรือสำหรับแปรรูปเป็นอาหารคน/สัตว์ มีส่วนผสมหรือมีส่วนประกอบต่างๆ ของพันธุ์พืช/สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (mixtures of GMO) ผู้ประกอบการอาจแสดงรายละเอียดในลักษณะของคำประกาศ (declaration of use) แทนการระบุข้อความพร้อมรหัสเฉพาะข้างต้น โดยจะต้องแนบรหัสเฉพาะของส่วนผสมหรือส่วนประกอบทั้งหมดด้วย
          ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องมีระบบและกระบวนการเก็บรักษาข้อมูลที่ได้มาตรฐานตลอดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่มีการจัดจำหน่ายสินค้าดังกล่าว
          2. ขั้นตอนเกี่ยวกับการติดฉลาก (Labelling)
          ผู้ประกอบการจะต้องติดฉลากระบุรายละเอียดสินค้า ดังนี้
          2.1 สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์
                   – ข้อความระบุว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้า GMO เช่น genetically modified หรือ produced from genetically modified (name of organism)
          2.2 สินค้าที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์
                   – ข้อความระบุว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้า GMO ในบริเวณที่ผู้บริโภคสามารถเห็นได้ เช่น บนชั้นวางสินค้า เป็นต้น
          อย่างไรก็ดี สินค้าอาหารคนและอาหารสัตว์ ที่มีส่วนผสมหรือส่วนประกอบ GMO ไม่เกิน 0.9% ของส่วนผสมหรือส่วนประกอบทั้งหมด ไม่ต้องติดฉลากสินค้า GMO โดยเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
ท่านผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้า GMO ได้ที่ http://ec.europa.eu/food/plant/gmo/traceability_labelling/index_en.htm

โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU กำหนดเงื่อนไขการใช้สารออกฤทธิ์ Glyphosate ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืชเพิ่มเติม

ด้วย สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1313 of 1 August 2016 amending Implementation Regulation (EU) No 540/2011 as regards the conditions of approval of the active substance glyphosate ใน EU Official Journal L 208/1 ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไขการใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substance) Glyphosate ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) เพิ่มเติม
             เนื่องจากการประเมินผลของ EFSA พบว่า เมื่อมีการใช้สาร POE-tallowamine (CAS No 61791-26-2) ร่วมกับสาร Glyphosate สามารถส่งผลอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ได้  ดังนั้น  EU จึงเห็นควร กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการใช้งานของสาร Glyphosate ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) คือ
           -             ห้ามการใช้งานร่วมระหว่างสาร POE-tallowamine (CAS No 61791-26-2) และสาร Glyphosate
           -             อนุญาตการใช้งานของสาร Glyphosate เฉพาะเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชเท่านั้น (herbicide)
           -             ประเทศสมาชิก EU ต้องให้ความสำคัญในการป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของสาร Glyphosate ไปยังน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่ได้มีการทำเกษตรกรรม รวมถึง ให้คำนึงถึงความเสี่ยงจากการใช้งานของสาร Glyphosate ในพื้นที่สวนสาธารณะ สนามกีฬา สถานที่พักผ่อน สนามโรงเรียน สนามเด็กเล่น และสถานที่รักษาพยาบาล ด้วย
           -             ควบคุมการใช้สาร Glyphosate ในช่วงระหว่างก่อนการเก็บเกี่ยว ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agricultural Practices : GAP)
             กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ลงประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙) แล้ว
             สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

EU Food News _EU กำหนดค่าชี้แนะปนเปื้อนของสาร Deoxynivalenol, Zearalenone และ Ochratoxin A ในอาหารสัตว์เลี้ยง

เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Recom- mendation (EU) 2016/1319 of 29 July 2016 amending Recommendation 2006/576/EC as regards deoxynivalenol, zearalenone and ochratoxin A in pet food ว่าด้วย ข้อแนะนำการ กำหนดค่าปนเปื้อนของสาร Deoxynivalenol, Zearalenone และ Ochratoxin A ในอาหารสัตว์เลี้ยงใน EU Official Journal L 208/58 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                 ๑. จากที่ Commission Recommendation of 17 August 2006 on the presence of deoxynivalenol, zearalenone, ochratoxin A, T-2 and HT-2 and fumonisins in products intended for animal feeding ได้เคยกำหนดค่าชี้แนะปนเปื้อนของสาร Deoxynivalenol, Zearalenone, Ochratoxin A, T-2 and HT-2  และ Fumonisins ไว้สำหรับอาหารสัตว์ หากบัดนี้ จาก การผลประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA) เห็นควรให้มีการปรับ/กำหนดค่าชี้แนะ (guidance value) ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                        – ปรับลดค่าชี้แนะ (guidance value) ของสาร Deoxynivalenol ที่เดิมเคยกำหนด ไว้ในอาหารสุนัขและแมวอยู่ที่ระดับ ๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ต่ำลงเป็นที่ระดับ ๒ มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เพื่อให้ครอบคลุมความปลอดภัยของสุขภาพสัตว์ที่บริโภคอาหารดังกล่าว
                        – กำหนดค่าชี้แนะ (guidance value) ของสาร Zearalenone  ในอาหารสำหรับแมวและสุนัข โดยกำหนดไว้ในอาหารลูกสุนัข-ลูกแมว สุนัขและแมวเพื่อการสืบพันธุ์ ที่ระดับ ๐.๑ มิลลิกรัม / กิโลกรัม และในสุนัขและแมวที่ไม่ใช่เพื่อการสืบพันธุ์ ที่ระดับ ๐.๒ มิลลิกรัม/กิโลกรัม
                        – กำหนดค่าชี้แนะ (guidance value) ของสาร Ochratoxin A ในอาหารสำหรับแมวและสุนัข ที่ระดับ ๐.๐๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัม
                 ๒. ข้อแนะนำดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๓ วันหลังจากที่ประกาศข้อแนะนำดังกล่าวใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๙) ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าวสามารถ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ ดังต่อไปนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Russia Food News_รัสเซียแบนเพาะปลูกพืช GMO

 วันที่ 29 มิถุนายน 2559 รัสเซียได้ประกาศระเบียบN358โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการห้ามดัดแปรพันธุกรรมพืชและสัตว์ โดยอ้างอิงผลการตรวจสอบผลกระทบของการดัดแปรพันธุกรรมที่จะเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดระเบียบการนำเข้าอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดัดแปรพันธุกรรมที่เข้มงวดมากขึ้นกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
                - เพิ่มความเข้มงวดของระเบียบด้านการควบคุม การลงทะเบียน การตรวจสอบและการนำเข้าสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม
                - การสั่งห้ามเพาะปลูก ผสมพันธุ์และนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่มีการดัดแปรพันธุกรรมมายังรัสเซีย ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการวิจัย
                - การตั้งค่าปรับสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรมจำนวน 50,000-500,000รูเบิล
              ทั้งนี้การแก้ไขระเบียบเพิ่มเติมด้านการห้ามนำเข้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมที่มีการลงทะเบียนไว้กับรัสเซียก่อนหน้านี้แล้ว เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะพบว่ามีผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามระเบียบดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการทดลองวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีชีวภาพในรัสเซีย
              สำหรับการประกาศใช้กฎหมายเรื่องการห้ามเพาะปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมนั้น ก่อนหน้านี้ได้มีประเทศในกลุ่ม EU และประเทศนอกกลุ่ม EUเคยกำหนดไว้ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย EU ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการจำกัดและการสั่งห้ามการเพาะปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกอาหารและอาหารสัตว์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมจะต้องได้รับการอนุญาตจาก European Food Safety Authority ก่อนนำเข้าในตลาด EU ได้

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ 
 
http://publication.pravo.gov.ru/Document/View/0001201607040147?index=0
 

ที่มา : Compliancecloud.selerant.com สรุปโดย : มกอช

GCC Food News_องค์การมาตรฐานแห่งอ่าวอาหรับออกมาตรฐานผลิตอาหารใหม่ปี 2559

องค์การมาตรฐานแห่งอ่าวอาหรับออกมาตรฐานผลิตอาหารใหม่ปี 2559
             องค์การมาตรฐานแห่งอ่าวอาหรับ (GSO) ได้ประกาศกฎระเบียบทางเทคนิคใหม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุภัณฑ์และอาหารสัตว์ โดยเป็นผลมาจากการประชุมคณะกรรมการมาตรฐาน (SCS) ของประเทศซาอุดิอาระเบียครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการจัดกลุ่มประเภทสินค้าอาหารใหม่
             ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดสินค้าอาหารในประเทศในอ่าวอาหรับมีการเติบโตและมีมูลค่ามหาศาล จึงทำให้ GSOพัฒนามาตรฐานให้ตรงตามความต้องการ โดยการกำหนดและปรับปรุงระเบียบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (CODEX และ ISO)และครอบคลุมการจัดประเภทอาหารแบบใหม่
          การเปลี่ยนแปลงนี้มุ่งหวังให้เกิดการความสมบูรณ์ความถูกต้องและง่ายต่อการออกกฎหมายอาหารสำหรับผู้ผลิตและผู้ส่งออก ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดระเบียบใหม่ได้ที่ GSO Online Catalogue (
http://www.gso.org.sa/standards/public/standardslist.seam)
โดยมาตรฐานที่ออกใหม่ ได้แก่ 
Standard Number Standard Name
GSO 2524:2016 Flavour Infused Olive Oil
GSO 2521:2016 Animal Feed - Corn
GSO 2522:2016 Electrolyte Drinks))Sports Drinks
GSO 2511:2016 Pre-packaged whole organic dates
GSO 2513:2016 Cereal Flakes
GSO 2519:2016 Fermented milk products heat treated after fermentation (long life)
GSO 2527:2016 Certain Canned Vegetables
GSO 2518:2016 Standard for Cocoa (Cacao syrup) Mass (Cocoa/Chocolate)
and Cocoa Cake
GSO 2514:2016 Pummelos
GSO 2504:2016 General requirements for the transportation of food
(Non-chilled and frozen)
GSO 2506:2016 Code of good irradiation practice of insect disinfestations of cereal grains
GSO 2517:2016 Canned sausage
 
Standard Number Standard Name
GSO 2512:2016 Milk product with probiotics
GSO 2515:2016 Food packages made of aluminium foil
GSO 2523:2016 Concentrates for carbonated beverages
GSO 2516:2016 Pre-packaged mixed improvers of Arabic coffee
GSO 2520:2016 Wheat protein products including wheat gluten
GSO 2526:2016 Grinded thyme mix
GSO 2525:2016 Natural Pomegranate Syrup (Debs)
ระเบียบที่มีการปรับปรุง ได้แก่
Standard Number Standard Name
GSO 322:2016   Chilled chicken
GSO 1328:2016  Processed meat: Poultry sausage
GSO 989:2016    Biscuits
GSO 1869:2016  Date paste
GSO 996:2016    Beef, buffalo, mutton and goat fresh meat
GSO 992:2016    Yoghurt
GSO 709:2016    Chewing gum
GSO 1359:2016  Oats
GSO 997:2016    Beef, buffalo, mutton and goat meat, chilled and frozen
GSO 1817:2016  Canned tuna
GSO 342:2016    Cakes

 
ที่มา Compliancecloud.selerant.com สรุปโดย : มกอช. 

Food Law Update_Thai :LIST OF APPROVED ESTABLISHMENTS(THDOF)_Korea


ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง