วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

USA Food News_US ผุดแนวทางการตรวจสอบย้อนกลับใหม่ต่อสู้ IUU

คณะกรรมาธิการสภาทะเลแห่งชาติของสหรัฐ (National Ocean Council: NOC) เผยแนวทางใหม่ในการสร้างโครงการตรวสอบย้อนกลับอาหารทะเลของสหรัฐฯ จะนำไปสู่มาตรฐานระดับสากล การจัดการแหล่งทรัพยากรอาหารทะเลอย่างยั่งยืนและไม่มีการหลอกลวงทางการค้า ที่เป็นแนวทางสำคัญในการต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมาย (illegal, unreported, and unregulated: IUU fishing) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อติดตามแหล่งที่มาของการนำเข้าอาหารทะเล ด้วยการสร้างกระบวนการรายงานและการจัดการขั้นตอนการนำเข้าปลาและสินค้าปลาที่นำเข้ามาในสหรัฐฯ

                แนวทางระบบตรวสอบย้อนกลับอาหารทะเลนี้ จะมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการจับสัตว์น้ำ การขนส่งเทียบท่าเรือ และห่วงโซ่ของปลาและผลิตภัณฑ์ปลา การนำเข้าสัตว์น้ำมายังสหรัฐฯ จะถูกวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการประมงผิดกฎหมาย (IUU) และอาหารทะเลปลอม เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์จากการประมงผิดกฎหมายและผลิตภัณฑ์ปลอมแปลงเข้าสู่สหรัฐฯ ทั้งนี้แนวทางข้างต้นจะเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นเป็นเวลา 60 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 4 เมษายน 2559
 
 


 ที่มา: thefishsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การประมงผิดกฎหมาย (illegal, unreported, and unregulated: IUU fishing) ได้ที่

http://www.fao.org/docrep/005/y3554e/y3554e01.htm

http://ec.europa.eu/fisheries/cfp/illegal_fishing/index_en.htm

China Food News_จีนนำร่องโครงการพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบยั่งยืน

ในปี 2554 โครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Improvement Project: AIP) ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดยความร่วมมือของผู้ผลิตปลานิลในมณฑลไห่หนาน มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบยั่งยืนในระดับภูมิภาค มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐานสำหรับฟาร์มปลานิล และจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบองค์รวม ได่แก่ การเลี้ยงปลานิลในระบบนิเวศตามห่วงโซ่อาหาร ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อฟาร์มเลี้ยงปลานิลและฟาร์มใกล้เคียง รวมถึงระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นพัฒนาการจัดการโรคสัตว์น้ำ ต่อมาในปี 2555 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการประมงที่ยั่งยืน (SFP) ได้ก่อตั้งองค์กรความยั่งยืนของปลานิลไห่หนาน (Hainan Tilapia Sustainability Alliance: HTSA) เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการ AIP อย่างต่อเนื่องในด้านความมั่นคงและความเข้มแข็ง โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลานิลในมณฑลไห่หนาน คือ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการเลี้ยงปลานิล (Code of Good Practices: CoGP)

                ซึ่งขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมได้ให้ความร่วมมือกับโครงการดังกล่าว ทำให้โครงการ AIP ของจีนเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของโครงการ AIP ทั่วโลก โดยมี 35 ฟาร์มนำร่องที่มีการใช้ CoGP ทั้งนี้เจ้าหน้าที่เทคนิคได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล นับเป็นการเริ่มต้นในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมในจีน
 
 
 
ที่มา: thefishsite (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ)



สามารถติดตามข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Improvement Project: AIP) ได้ที่ https://www.sustainablefish.org/aquaculture-improvement 

Korea Food Law _ list หลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปเกาหลี

ถ้าส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง อย่าลืมมีรายการเกณฑ์การนำเข้าส่งออกตามนี้ไว้เป้นข้อมูลนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

USA_กระบวนการถอดถอนการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ (DWPE)

การตัดสินใจถอดถอนสินค้า ผู้ผลิต ผู้บรรจุ ผู้ส่งสินค้า ผู้ปลูก ประเทศ หรือผู้นำเข้าออกจากบัญชีรายชื่อการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ (Detention Without Physical Examination) หรือ DWPE ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการแก้ไขปัญหาการละเมิดกฎระเบียบ และ FDA มั่นใจว่า การนำเข้าในอนาคตจะถูกต้องตามกฎระเบียบของกฎหมาย โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการถอดถอนใน          กรณีต่าง ๆ ดังนี้
(1) การถอดถอนสินค้า ผู้ผลิต/ประเทศ (ยกเว้นสินค้าผักผลไม้)
                 FDA จะพิจารณาหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าได้มีการแก้ไขสิ่งที่ละเมิดกฎระเบียบ ได้แก่ บันทึกผลการวิเคราะห์/ตรวจสอบของห้องปฏิบัติการของเอกชน ของรัฐบาลต่างประเทศ หรือจากห้องปฏิบัติการของ FDA รวมถึงเอกสารการสั่งปล่อยสินค้าของ FDA  นอกจากนี้ อาจต้องมีเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อพิสูจน์ว่าจะไม่มีการขัดระเบียบอีกต่อไป เช่น ข้อมูลส่วนผสมผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการปรับปรุงฉลาก ข้อมูลการเปลี่ยนการใช้ส่วนผสมหรือสารเคมีปรุงแต่งอื่นๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติมีดังต่อไปนี้
·     กรณีผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งจากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ก่อนการเสนอให้มีการถอดถอนจะต้องมีการนำเข้าสินค้าเข้ามายังสหรัฐอเมริกาโดยปราศจากการละเมิดกฎระเบียบอย่างน้อย 5 ครั้งติดต่อกัน
·     กรณีผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งจากประเทศหรือภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ก่อนการเสนอให้       ถอดถอนจะต้องมีการนำเข้ามายังสหรัฐฯ โดยปราศจากการละเมิดติดต่อกันอย่างน้อย 12 ครั้ง และการนำเข้ามาทั้ง 12 ครั้งนี้ ควรเป็นจำนวนที่เป็นตัวแทนของผู้ผลิต/ผู้ส่งสินค้าจากภูมิภาคหรือประเทศที่มีการนำเข้า
·     กรณีผลิตภัณฑ์หลายชนิดซึ่งมาจากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ก่อนการเสนอให้ถอดถอนจะต้องมีการนำเข้า 12 ครั้งติดต่อกันที่ปราศจากการละเมิดกฎระเบียบ และควรจะต้องครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าตามปกติ หรือครอบคลุมผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดหากมีการระบุชนิดสินค้าที่ถูกกักกัน
(2)  การถอดถอนสินค้าผักผลไม้สด
กรณีการปนเปื้อนสารเคมี  การเสนอให้พิจารณาถอดถอนรายชื่อออกจาก DWPE อาจทำโดยหน่วยงานระดับท้องถิ่น โดยมีข้อมูลและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
กรณีสารกำจัดศัตรูพืช  FDA จะพิจารณาถอดถอนชื่อผู้ปลูกออกจาก DWPE เมื่อการนำเข้า      5 ครั้งติดต่อกันล่าสุดถูกต้องตามกฎระเบียบ และต้องเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
·    ผู้ปลูกสามาถพิสูจน์ด้วยเอกสารที่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า ปัญหาสารตกค้างไม่มีปรากฎอีกต่อไป  หรือ
·    ประเทศ/ผู้ปลูก/ผู้นำเข้า สามารถพิสูจน์ด้วยเอกสารที่เพียงพอที่จะแสดงว่า ผักผลไม้สดแต่ละรุ่น (Lot) ที่มีการนำเข้ามาจากแหล่งผลิตที่ไม่มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มีปัญหา หรือ
·    FDA ได้รับข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผักผลไม้มาจากแหล่งผลิตที่ไม่ได้มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งเอกสารแสดงชนิดสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในพื้นที่โดยรอบ วันที่และวิธีการใช้สารกำจัดศัตรูพืช และผลการวิเคราะห์ตัวอย่างจากในแหล่งปลูกที่ระบุว่าไม่ได้ใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งแสดงว่าผลผลิตจากแหล่งผลิตดังกล่าวเป็นไปตามกฎระเบียบ หรือ
·    ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดการเพื่อป้องกันสารตกค้างที่ผิดกฎหมายในการนำเข้าในอนาคต
    FDA อาจเสนอให้ถอดถอนรายชื่อผักผลไม้หรือผู้นำเข้า ออกจาก DWPE ได้ตลอดเวลาหากมีข้อมูลสนับสนุนซึ่งแสดงว่า ไม่มีความจำเป็นต้องกักกันอีกต่อไป
    FDA อาจร้องขอให้ยุติการกักกันโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบได้หลังจาก 1 ปีที่การประกาศการกักกันมีผลบังคับใช้ หากเข้าเงื่อนไขทั้งหมดดังต่อไปนี้
·    มีการกำหนดฤดูการเพาะปลูกอย่างชัดเจน และ
·    ไม่ปรากฎว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอีก และ
·    มีโครงการซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลเพื่อตรวจสอบดูแลและแก้ไขปัญหา และ
·    มีหลักฐานแสดงว่าปัญหาจะไม่เกิดขึ้นอีก
(3)  การถอดถอนผู้นำเข้า
                   การถอดถอนผู้นำเข้าสามารถแยกออกได้เป็น 3 กรณี ได้แก่
·    กรณีผู้นำเข้าถูกขึ้นบัญชี DWPE เป็นครั้งแรกสำหรับการนำเข้าสินค้าผิดระเบียบ 1 ชนิด  FDA จะเสนอให้มีการถอดถอนรายชื่อหลังจากที่ผู้นำเข้าสามารถนำเอกสารที่ยอมรับได้ไปแสดง เพื่อให้เห็นว่า       มีการนำเข้าสินค้าจากผู้ผลิตที่ระบุล่าสุดอย่างน้อยติดต่อกัน 5 ครั้ง ถูกต้องตามกฎระเบียบอย่างสมบูรณ์
·    กรณีผู้นำเข้าถูกขึ้นบัญชี DWPE เป็นครั้งแรกสำหรับการนำเข้าสินค้าหลายชนิด  FDA     จะเสนอถอดถอนรายชื่อผู้นำเข้าหลังจากที่ผู้นำเข้าสามารถแสดงเอกสารที่ยอมรับได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการนำเข้า   12 ครั้งล่าสุดติดต่อกัน มีความถูกต้องตามกฎระเบียบอย่างสมบูรณ์ และการนำเข้าทั้ง 12 ครั้งนั้น ครอบคลุมสินค้าที่ถูกกักกันและเป็นการนำเข้าโดยปกติ
·    กรณีไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้นำเข้าถูกขึ้นบัญชี DWPE   FDA จะเสนอให้มีการถอดถอนรายชื่อหลังจากที่ผู้นำเข้าสามารถนำเอกสารที่ยอมรับได้ไปแสดงเพื่อให้เห็นว่ามีการนำเข้าสินค้าจากผู้ผลิตที่ระบุล่าสุดอย่างน้อย 10 ครั้งติดต่อกันถูกต้องตามฎระเบียบอย่างสมบูรณ์สำหรับกรณีสินค้าถูกกักกันเพียงชนิดเดียว หรือ 24 ครั้งติดต่อกันสำหรับกรณีสินค้าที่ถูกกักกันมีหลายชนิด
นอกจากนี้ คำร้องขอให้ถอดถอนรายชื่อผู้นำเข้าออกจาก DWPE ของผู้นำเข้าจะต้องมีรายละเอียดที่เพียงพอ และมีรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ ที่ดำเนินการเพื่อป้องกันการนำเข้าที่ผิดกฎระเบียบในอนาคต
(4)  การถอดถอนสถานประกอบการ 
ผู้ประกอบการหรือสินค้าที่ถูกขึ้นบัญชี DWPE อันเนื่องมาจากตรวจพบการละเมิดในระหว่าง  การตรวจสอบสถานประกอบการ หรือเนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ได้ผลิตภายใต้สุขลักษณะที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices) หรือ GMPs การเสนอให้ถอดถอนจะกระทำได้หลังจากที่มีการตรวจสอบซ้ำโดย        ผู้ตรวจสอบที่ไม่ใช่ผู้ตรวจสอบเดิม และยืนยันว่าได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว หรือในบางกรณีผู้ประกอบการอาจแสดงข้อมูลหรือเอกสารที่เพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการดำเนินการแก้ไข โดยทั้งสองกรณีจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ FDA ก่อนที่จะมีการแจ้งการถอดถอนรายชื่อออกจากบัญชี DWPE
                 นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดกฎระเบียบปลีกย่อยสำหรับการถอดถอนรายชื่อออกจาก DWPE สำหรับกรณีหรือเงื่อนไขอื่น ได้แก่
·    ผู้ส่งสินค้าหรือ Shipper ที่ถูกขึ้นบัญชี DWPE อันเนื่องมาจากไม่สามารถระบุที่มาของผู้ผลิตได้  FDA จะเสนอให้พิจารณาถอดถอนรายชื่อออกจากการกักกัน หากภายใน 6 เดือน ผู้ส่งสินค้าดังกล่าว   ไม่มีการส่งสินค้าที่ละเมิดกฎระเบียบ FD&C Act และสามารถจัดทำเอกสารระบุขั้นตอนที่ได้ดำเนินการเพื่อไม่ให้มีการละเมิดกฎระเบียบ
ทั้งนี้ ผู้ส่งสินค้าอาจแสดงหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ระบุไม่ได้มีการละเมิดกฎระเบียบและไม่สมควรที่จะถูกกักกัน อย่างไรก็ตาม หากสามารถระบุผู้ผลิตสินค้าละเมิดกฎระเบียบได้         การถอดถอนรายชื่อสินค้าออกจากบัญชี DWPE จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จะลบล้างข้อกล่าวหาการละเมิด ซึ่งจะต้องยื่นโดยผู้ผลิต แทนที่จะเป็นผู้ส่งสินค้า
·    สินค้าถูกขึ้นบัญชี DWPE เนื่องจากละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 801 (a) (1) หรือ (2) การถอดถอนรายชื่อออกจาก DWPE ด้วยการเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบเพื่อให้พ้นข้อกล่าวหาการละเมิดกฎระเบียบอาจไม่เพียงพอ  อาจต้องมีการตรวจสอบในสถานประกอบการ หรือมาตรการอื่น ๆ ที่เหมาะสม
·         สินค้าถูกขึ้นบัญชี DWPE เนื่องจากละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 801 (a) (3)          FDA จะพิจารณาเสนอให้ถอดถอนรายชื่อออกจาก DWPE หลังจากที่มีการส่งสินค้าโดยถูกต้องตามกฎระเบียบอย่างน้อย 5 ครั้งติดต่อกัน และ FDA จะทำการตรวจสอบ (Audit) เพื่อความมั่นใจในความถูกต้องของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าเข้าโดยปราศจากการละเมิดกฎระเบียบอาจมากกว่าที่กำหนดได้  เช่น กรณีผู้ส่งสินค้าที่เคยถูกถอดถอนออกจาก DWPE แต่ได้กระทำความผิดซ้ำจนต้องถูกกักกันการนำเข้าอีกครั้ง กระบวนการถอดถอนครั้งต่อไปอาจต้องมีการขนส่งสินค้าปราศจากการละเมิดกฎระเบียบมากกว่า 5 ครั้งติดต่อกัน เป็นต้น 
·    การแยกการขนส่งสินค้า (Shipment) ด้วยการแยกนำเข้า (Entries) หลาย ๆ ครั้ง        จะไม่ได้รับการพิจารณาจาก FDA ในกระบวนการถอดถอนรายชื่อจาก DWPE เนื่องจากส่อเจตนาเพื่อการเพิ่มจำนวนการขนส่งโดยปราศจากการละเมิดให้ครบตามที่กำหนด การขนส่งสินค้าควรเป็นไปตามปกติทางการค้า และไม่ควรแบ่งแยกการขนส่งสินค้าในปริมาณที่น้อยกว่า 10-15 กล่อง (Cartons) ซึ่งไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามการค้าปกติทั่วไป (ตัวอย่างสินค้าอาหารที่มีมูลค่าสูง เช่น ชีส) อาจไม่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในกระบวนการ     ถอดถอนสินค้าออกจาก DWPE
·    เอกสารอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องใช้ก่อนการแจ้งการหลุดพ้นข้อกล่าวหาการละเมิดกฎระเบียบ และการถอดถอนรายชื่อออกจาก DWPE เช่น เอกสารการจดทะเบียน หรือ Premarket Approval Application เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการละเมิด
·    ถ้ารายการสินค้านั้นอยู่ในกรณีการกักกันประเภททั้งประเทศ (Countrywide) ทั้งภูมิภาค (Region Wide) หรือทั่วโลก (Worldwide) ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าสามารถส่งหลักฐานหรือข้อโต้แย้งไปยัง FDA       เพื่อพิสูจน์ว่า ไม่ควรนำข้อกำหนดในกรณีดังกล่าวมาบังคับใช้กับสินค้าของบริษัทตน ซึ่งหากบริษัทสามารถ     พิสูจน์ได้ ก็จะได้รับการยกเว้นจาก FDA ไม่ต้องถูกกักกันสินค้าโดยทันทีที่นำเข้าโดยไม่ต้องตรวจสินค้าทางกายภาพ โดยจะได้รับการถูกบรรจุอยู่ใน Green List (Good Company List) ทำให้ทางบริษัทสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าไปตรวจยังห้องปฏิบัติการเอกชน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บริษัทจะมีรายชื่ออยู่ใน Green List แต่อาจจะมีการสุ่มตรวจสินค้าจากทาง FDA ได้ทุกเมื่อ
การแจ้งการถอดถอนการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ
                   FDA โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการเสนอการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ จะเป็นผู้แจ้งเรื่องการถอดถอนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเช่นเดียวกันกับเมื่อมีการแจ้งการกักกัน


อ้างอิงจาก
http://www.fda.gov/ICECI/ComplianceManuals/RegulatoryProceduresManual/ucm179271.htm

http://www.importalerts.com/removal-from-import-alert/

สรุปโดย ฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นคลอสแอนเจลิส

USA_การกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา



























































































การกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ (Detention Without Physical Examination, DWPE) โดยหน่วยงาน Food and Drug Administration (FDA)         ประเทศสหรัฐอเมริกา
                   การกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ (Detention Without Physical Examination) หรือ DWPE เป็นมาตรการกักกันสินค้าทันที ณ ด่านนำเข้า โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบทางกายภาพ เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ละเมิดกฎระเบียบ ซึ่งเริ่มบังคับใช้โดย FDA เมื่อปี 2517 ในกรณีที่พบว่ามีประวัติการนำเข้าสินค้าละเมิดกฎระเบียบ หรืออาจมีการละเมิด หรือมีข้อมูลอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าจะมีการละเมิดกฎระเบียบการนำเข้าของ FDA ในอนาคต ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการพิจารณาการกักกัน เผยแพร่ และถอดถอน ได้แก่ หน่วยงาน Office of Enforcement and Import Operations (OEIO) ซึ่งอยู่ภายใต้ Division of Import Operations (DIO) ของ FDA โดยจะพิจารณาจากข้อมูลของหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ FDA เมื่อ DIO ได้รับการแจ้งข้อมูลการละเมิดและข้อแนะนำให้มีกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ จะทำการพิจารณาตรวจสอบ หากเห็นว่าสมควรให้ดำเนินการตามที่เสนอ ก็จะแจ้งการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ ในรูปแบบ การแจ้งเตือนการนำเข้าหรือ “Import Alert” ไปยังหน่วยงานที่ดูแลด้านการนำเข้า ยกเว้นในกรณีที่มีการเสนอให้กักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ อันเนื่องมาจากการพบสารกำจัดศัตรูพืชชนิดที่ไม่ได้มีการกำหนดค่า Tolerance จะต้องผ่านการพิจารณาและความเห็นชอบจากหน่วยงาน Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN) เสียก่อน
นอกจาก FDA จะมีอำนาจในการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพแล้ว ยังมีอำนาจใน   การปฏิเสธการนำเข้าสินค้าภายใต้กฎหมาย  Food, Drug and Cosmetic Act (FD&C Act) มาตรา 801 (a) เมื่อปรากฎข้อมูลผลการตรวจสอบของตัวอย่างที่สุ่มตรวจว่ามีการละเมิดกฎระเบียบ หรือ (1) เป็นสินค้าที่มีการผลิต แปรรูป บรรจุหีบห่อภายใต้สภาพที่ไม่ถูกสุขอนามัย หรือสถานประกอบการหรือการควบคุมการผลิต        การบรรจุหีบห่อ หรือการเก็บรักษา หรือการติดตั้งอุปกรณ์ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบภายใต้มาตรา 520 (f)          (2) เป็นสิ่งของต้องห้ามหรือมีการควบคุมการจำหน่ายในประเทศที่ผลิตหรือประเทศที่ส่งออก (3) เป็นสิ่งของที่มีการปนเปื้อน ปิดฉลากไม่ถูกต้องหรือบิดเบือน หรือละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 505 (บทบัญญัติเกี่ยวกับ     ยาชนิดใหม่) ซึ่งสินค้าที่เข้าข่ายดังกล่าวข้างต้นจะถูกปฏิเสธการนำเข้า
การเสนอการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบทางกายภาพ 
การเสนอให้กักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลหลายรูปแบบ โดยอาจพิจารณาจากฐานข้อมูลในอดีตที่พบว่ามีการละเมิดบ่อยครั้งของสินค้า ผู้ผลิต ผู้ส่งสินค้า ผู้ปลูก ผู้นำเข้า ภูมิภาค หรือประเทศ เป็นต้น หรือพิจารณาจากพื้นฐานข้อมูลอื่น เช่น ข้อมูลระบุว่ามีการจับจากแหล่งน้ำที่มีมลภาวะ หรือสินค้ามีการผลิตหรือเก็บรักษาในสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ  หรือผลิตในสถานประกอบการที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตหรือ GMPs (Good Manufacturing Practices) นอกจากนี้ สินค้าที่ไม่เคยมีประวัติการละเมิดกฎระเบียบอาจถูกเสนอให้มีการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ ได้ หากมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอที่ระบุได้ว่า การนำเข้าในอนาคตอาจมีการละเมิดกฎระเบียบ ทั้งนี้สามารถแบ่งการเสนอการกักกันโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบฯ เป็นกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1)  การกักกันสินค้าอันเนื่องมาจากการพบการละเมิดกฎระเบียบเพียงหนึ่งตัวอย่าง (One Violative Sample)
                        กรณีมีหลักฐานอย่างน้อยหนึ่งตัวอย่างสินค้าที่พบว่ามีการละเมิด และการละเมิดนั้นมีความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการเก็บตัวอย่างและ/หรือการวิเคราะห์อาจกระทำโดย FDA หรือหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หน่วยงานของมลรัฐ หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่เชื่อถือได้ สำหรับสินค้าที่หากพบการละเมิดแม้เพียงหนึ่งตัวอย่าง ก็สามารถเสนอให้มีการกักกันฯ ได้แก่
·  ผลิตภัณฑ์มีอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งอยู่ในระดับ Class I และ II ภายใต้กฎระเบียบการเรียกคืนของ FDA
·  ผลิตภัณฑ์ (สด แช่แข็ง หรือแปรรูป) ที่มีการการตกค้างของสารฆ่าแมลง เชื้อรา Aflatoxin หรือการปนเปื้อนสารเคมีในระดับที่ออกฤทธิ์ได้
·  ผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดกฎระเบียบเรื่องอาหารบรรจุกระป๋องประเภทกรดต่ำ (Low Acid Canned Food) หรือ อาหารที่เป็นกรด (Acidified Food) เช่น ไม่ได้จดทะเบียนผู้ประกอบการ
·  ผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มที่จะละเมิดกฎระเบียบอันเนื่องมาจากส่วนผสมหรือสูตร เช่น       ไม่แจ้งส่วนประกอบที่สำคัญอย่างชัดเจน (เช่น สารก่อภูมิแพ้) มีส่วนผสมของสีที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นยาชนิดใหม่   ที่ใช้สำหรับคนหรือสัตว์ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการละเมิดกรณีดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนฉลากหรือสูตรผลิตภัณฑ์ หรือได้รับอนุญาตจาก FDA ให้วางตลาดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
· ผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดกฎระเบียบเรื่องการปิดฉลาก และ/หรือ ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบภายใต้กฎหมาย Nutritional Labeling and Education Act (NLEA)
(2)  การกักกันสินค้าอันเนื่องมาจากการพบการละเมิดกฎระเบียบในหลายตัวอย่าง (Multiple Violative Samples) มีเงื่อนไขในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
·  กรณีที่ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งสินค้ารายใดรายหนึ่ง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมที่มีแหล่งที่มาจากสัตว์ (Filths) หรือละเมิดกฎระเบียบเกี่ยวกับฉลาก เป็นต้น โดยเข้าข่ายทั้ง 2 เงื่อนไขดังต่อไปนี้
-      ผลิตภัณฑ์ถูกกักกันอย่างน้อย 3 ครั้งภายในรอบระยะเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า และการกักกันทั้ง 3 ครั้งนั้น คิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของการนำเข้าสินค้านั้นทั้งหมด      
·  ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่มาจากประเทศ หรือภูมิภาค หรือ โดยเข้าข่ายทั้ง 3 เงื่อนไขดังต่อไปนี้
-      มีการถูกกักกันอย่างน้อย 12 ครั้ง ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า และ
-      การกักกันทั้ง 12 ครั้งนั้น คิดเป็นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของการนำเข้าสินค้านั้นทั้งหมด      
-      การกักกันทั้ง 12 ครั้งนั้น สามารถเป็นตัวแทนจำนวนที่มีนัยสำคัญของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้ส่ง หรือผู้ปลูกผลผลิตซึ่งมาจากเขตทางภูมิศาสตร์หรือประเทศนั้น
·  ผลิตภัณฑ์หลายชนิดจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งรายใดรายหนึ่ง โดยเข้าข่ายทั้ง 2 เงื่อนไข        ดังต่อไปนื้
-      มีการกักกันอย่างน้อย 6 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน หรือน้อยกว่า และ
-      การกักกันเหล่านั้นเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ชนิดอย่างรวมกันอย่างน้อยร้อยละ 25 ของการนำเข้าสินค้านั้นทั้งหมดจากผู้ประกอบการนั้น    
(3)    การกักกันสินค้าอันเนื่องมาจากข้อมูลและสถิติในอดีต (Information and Historical Data) 
กรณีเมื่อมีหลักฐานที่เป็นข้อมูลปรากฎว่าผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูไม่ภาค หรือประเทศอาจจะก่อให้เกิดอันตราย และมีข้อมูลชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะยังคงละเมิดกฎระเบียบต่อไป นอกจากนี้อาจมี  การเสนอให้กักกันสินค้าที่นำเข้าจากผู้ผลิต ผู้ส่ง ผู้ปลูก เขตพื้นทางภูไม่ศาสตร์ หรือประเทศ ซึ่งมีข้อมูลบ่งชี้ว่า    การนำเข้าครั้งต่อไปมีแนวโน้มจะมีการละเมิดกฎระเบียบภายใต้กฎหมาย FD&C 
(4)    การกักกันอันเนื่องมาจากการตรวจสอบสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาต (Establishment Inspection)
กรณีที่มีการตรวจสอบ และหลักฐานพบว่าสถานประกอบการในต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตหรือแต่งตั้งจาก FDA ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการปฏิบัติในการผลิตที่ดี (GMPs) หรือสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลให้มีการติดฉลากปลอม มีการปนเปื้อน หรือมีการละเมิดกฎระเบียบภายใต้กฎหมาย FD&C มาตรา 801 (a) จะมีการเสนอให้มีการกักกันสินค้าที่ผลิตจากผู้ประกอบการดังกล่าวหากมีการนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ การกักกันอาจจะระบุเพียงผู้ประกอบการเดียว หรือสาขาหลายแห่งภายใต้ผู้ประกอบการ    รายเดียวกัน หรือผลิตภัณฑ์บางอย่างจากผู้ผลิตรายเดียวหรือหลายรายตามความเหมาะสม
(5)    การกักกันการนำเข้าของผู้นำเข้า 
กรณีนี้ FDA ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบสินค้าที่นำเข้าจะต้องไม่มีการละเมิดกฎระเบียบภายใต้กฎหมายของ FDA โดยต้องทำการตรวจสอบ ทำความตกลงกับผู้ผลิตหรือผู้ปลูกให้มีการทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ ตรวจสอบการติดฉลากที่ถูกต้อง และผลิตภัณฑ์มีความสอดคล้องกับกฎหมาย FD&C Act ก่อนที่จะนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา หาก FDA พบว่าผู้นำเข้ารายใดมีพฤติกรรมการนำเข้าสินค้าละเมิดกฎระเบียบ และมีความพยายามจะดำเนินการแก้ไขก็ต่อเมื่อถูกกักกัน หรือ มีความพยายาม    ที่จะส่งออกหรือนำสินค้าออกภายหลังที่ได้รับการแจ้งการเก็บตัวอย่างหรืออื่นๆ ของ FDA หรือพบว่าสินค้า       กลุ่มสินค้า หรือสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดของผู้นำเข้ารายใดมีการละเมิดกฎระเบียบในอัตราที่สูง FDA จะเสนอให้กักกันสินค้าที่นำเข้าโดยผู้นำเข้าดังกล่าวโดยปราศจากการตรวจสอบฯ ซึ่งอาจเป็นการกักกันเฉพาะบางรายการ หรือการนำเข้าสินค้าควบคุมทั้งหมด
                       การเสนอการกักกันอาจทำได้หากมีข้อมูลหลักฐานอย่างอื่นซึ่งระบุได้ว่า การนำเข้าครั้งต่อไปอาจมีการละเมิดกฎระเบียบโดยผู้นำเข้ารายใดรายหนึ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
·    ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น หน่วยงานศุลกากร (Customs and Border Protection, CBP) เกี่ยวกับพฤติกรรมการละเมิดของผู้นำเข้า
·    ประวัติข้อมูลผู้นำเข้าที่มีพยายามนำเข้าสินค้าละเมิดกฎระเบียบจนได้รับหนังสือแจ้งเตือน (Warning letter) โดยไม่ได้มีการตอบรับหรือแก้ไขพฤติการดังกล่าว
·    ข้อมูลการร้องเรียนของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปนเปื้อน การใช้ตราสินค้าบิดเบือน หรือการละเมิดกฎหมาย FD&C Act นอกจากนี้ ยังรวมถึง การร้องขอให้แจ้งปฏิเสธสินค้าซ้ำหลายครั้ง หรือมีความพยายามยกเลิกหรือส่งออกสินค้าที่นำเข้า หลังจากได้รับการแจ้งขอเก็บตัวอย่างหรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ แสดงว่าอยู่ในความสนใจของ FDA    .
(6)   การกักกันอันเนื่องมาจากสถานการณ์อื่น
                       นอกเหนือจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว การเสนอให้มีการกักกันสามารถทำได้หากมีเหตุผลอันเชื่อถือได้และมีหลักฐานสนับสนุนว่าการนำเข้าในอนาคตจะมีละเมิดกฎระเบียบภายใต้มาตรา 801 (a)
การแจ้งการกักกัน
         โดยปกติ FDA แจ้งการกักกันโดยไม่ต้องตรวจสอบฯ โดยการส่งสำเนา Import Alert ไปยังหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
(1)    แจ้งหน่วยงาน CBP หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง
(2)    แจ้งหน่วย CBP ในท้องถิ่น
(3)    แจ้งสถานทูตต่างประเทศ หรือรัฐบาลต่างประเทศตามความเหมาะสม
(4)    แจ้งผู้นำเข้า/สมาคมผู้ออกตามความเหมาะสม
(5)    แจ้งผู้ผลิตในต่างประเทศ หรือผู้ส่งสินค้าที่ระบุตามความเหมาะสม ถ้าไม่สามารถแจ้งผู้ผลิตหรือผู้ส่งสินค้าในต่างประเทศที่ระบุได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม FDA จะขอให้ผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งผ่านการแจ้งนั้นไปยังผู้ผลิตหรือผู้ส่งสินค้าเพื่อให้มีการตอบรับพร้อมกับแผนการแก้ไขปัญหาสินค้าที่ถูกกักกันนั้น
(6)    สมาคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และศูนย์ที่เกี่ยวข้องของของ FDA  



อ้างอิงจาก
http://www.fda.gov/ICECI/ComplianceManuals/RegulatoryProceduresManual/ucm179271.htm
สรุปโดย ฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นคลอสแอนเจลิส 

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Thai-USA_รายชือผักและผลไม้ที่สหรัฐฯอนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้







ที่มา
https://epermits.aphis.usda.gov/manual/index.cfm?NEW=1&REGION_ID=191&ACTION=countrySummCommPI

List of Importers-Exporters Thai-USA

วันนี้นำlink รายชื่อ Importers-Exporters  มาฝาก 5 รายการนะคะ


ที่มา 
ฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นคลอสแอนเจลิส

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

China Food LAW_China Dairy Regulations

From an investment standpoint the Chinese dairy market has been one of the most desirable markets across the globe. The huge population and poor reputation of domestic dairy products has led to an enormous demand for overseas dairy, particularly baby formula. However constant changes in regulations and standards have made the Chinese market an extremely difficult nut for foreign enterprises to crack. Every year a significant volume of imported dairy products fail to pass CIQ inspection and quarantine and are held at port or destroyed. In the majority of cases lack of regulatory knowledge and failure to comply with regulations are primary causative factors in CIQ inspection failure at port.
To facilitate market access it is advisable to arm yourself with a rudimentary understanding of Chinese dairy regulations and dairy product standards

Contents

  1. Main competent authorities and Organizations
  2. Main regulatory updates for dairy products since 2008
    • National food safety standards (dairy)
    • Regulations for imported dairy products since 2009
    • Regulations for domestic dairy products
  3. Labeling and claims for dairy products
    • Labeling
    • Claims
  4. Obligation checklist for exporters of dairy products
    • Registration of overseas dairy manufacturers
    • Exporter filing
    • Design China compliant packaging and labels
    • Testing report
  5. Obligation checklist for importers of dairy products
  6. Compliance advice
ดูรายละเอียด เพิ่มเติมที่
1. (มีให้ดาวโหลดเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องสมัครสมาชิกนะคะ ราคาก็ 1299-3699 US/year )
https://food.chemlinked.com/node/4288
2. http://eng.sfda.gov.cn/WS03/CL0766/61638.html

INDIA Food Law _India to Revise Microbiological Standards for Fish and Fish Products

ตัวนี้ยังเป็น draft อยู่นะคะ ฉบับจริงยังไม่ออกมา เดือน มีนาคมน่าจะปล่อยออกมาแล้วค่ะ
On Jan. 28, 2016, Food Safety and Standards Authority of India (FSSAI) announced the revision of Food Safety and Standards (Food Product Standards and Food Additives) Regulations, 2011 related to microbiological standards of fish and fish products, which will be open for public consultation until Mar. 28, 2016.
The scope of the new regulation will include the raw materials and finished products of fish and fish products, including the requirements on food additives and microbiological indexes, as well as the following requirements:
Item
Requirements
Water activity (25℃)
<0.78
Salt content (sodium chloride %)
≥12%
Histamine
200mg/kg
Acid-insoluble ash
≤1%

ที่มา FOOD.CHEMLINKED.COM