วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

USA Food News_รูปแบบการนาเข้ากุ้งของสหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปหลังจากปัญหาโรคกุ้ง EMS

ปริมาณการนาเข้ากุ้งของสหรัฐอเมริกาช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยการประเมินจากสถิติในอดีต 13 ปีติดต่อกันพบว่า ในช่วงครึ่งแรกจะมีการนาเข้าในปริมาณร้อยละ 41.7 ของปริมาณการนาเข้าตลอดทั้งปี และนาเข้าส่วนที่เหลือคือร้อยละ 51.8 ในช่วงครึ่งปีหลัง ทาให้สามารถทานายได้ว่า ในปี 2558 นี้จะมีการนาเข้ากุ้งทั้งสิ้นประมาณ 643,261 เมตริกตัน ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์และสูงกว่า ปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.8 ทั้งนี้ การนาเข้ากุ้งในปี 2557 มีปริมาณ 574,340 เมกตริกตัน ในขณะที่ราคาสินค้ากุ้งในประเทศสหรัฐฯ ลดต่าลงเป็นลาดับ
ตามปกติแล้วสหรัฐฯ จะมีคาสั่งซื้อกุ้งมากที่สุดในช่วงต้นเดือนมิถุนายนและจะสิ้นสุดการสั่งซื้อภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ทั้งนี้ เพื่อให้ทันกับการจาหน่ายในเทศกาลช่วงวันหยุดต่างๆ ของประเทศ ในช่วงที่ประเทศผู้ผลิตกุ้งต่างประสบปัญหาโรคกุ้ง EMS (Early Mortality Syndrome) กุ้งในตลาดโลกมีปริมาณน้อยและราคาสูงมาก แต่จากการประเมินปริมาณนาเข้าในปีนี้จะเห็นว่า สถานการณ์การค้ากุ้งเข้าสู่ภาวะปกติเช่นเดียวกับช่วงก่อนการเกิดการระบาดโรคกุ้ง EMS แล้ว รูปแบบการนาเข้าของสหรัฐฯ เปลี่ยนไปจากเดิม โดยก่อนเกิดปัญหา EMS มักสั่งสินค้าล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ และนาเข้าในปริมาณสูง ขณะนี้ผู้นาเข้าส่วนมาก จะเปลี่ยนเป็นนาเข้าน้อยลงเท่าที่จาเป็น หรือเชื่อว่าไม่จาเป็นต้องนาเข้าครั้งละมากๆ เพื่อรองรับเทศกาลวันหยุดอีกต่อไป อาจเป็นเพราะว่าระบบการสั่งซื้อสินค้าในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสั่งและรับสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วงประสบปัญหา EMS กุ้งมีราคาสูงมาก แต่ปัจจุบันราคาลดลงและผู้ผลิตต่างต้องการขายและแข่งขันกันอย่างรุนแรง นักธุรกิจเรียนรู้ว่า เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลง และจะต้องใช้เวลานานกว่ามากในการสร้างอุปสงค์ให้กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง สถานการณ์นาเข้ากุ้งมายังสหรัฐฯ ในช่วงนี้ถือว่าค่อนข้างซบเซา ผู้นาเข้าสหรัฐฯ ต่างยังมีปริมาณสินค้าในสต็อคมาก
ราคาสินค้ากุ้งจากอินเดียลดลงมากเกินไป ในขณะที่ผู้นาเข้ายังคงสามารถนาเข้าสินค้ากุ้งจากไทยได้ในราคาที่ไม่สูงนัก ส่วนราคากุ้งจากเวียดนามและอินโดนีเซียกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าใกล้ช่วงเทศกาลวันหยุดที่กาลังจะมาถึง บริษัทผู้นาเข้ารายหนึ่ง (บริษัท Siam Canadian) เห็นว่า ราคากุ้งไม่น่าลดลงไปมากกว่านี้อีกแล้วถึงแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินของบางประเทศในเอเชียจะอ่อนค่าลงก็ตาม โดยบริษัทดังกล่าวเห็นว่า เกษตรกรจะไม่ลงกุ้งในช่วงที่กุ้งราคาตกต่า ผู้นาเข้าสหรัฐฯ บางรายต้องการให้ราคาลดต่ากว่านี้จึงจะออกคาสั่งซื้อ ในขณะเดียวกันประเทศผู้ผลิตกุ้งต่างก็คาดหวังว่าจะมีคาสั่งซื้อเข้ามาอีกระลอกในช่วงใกล้เทศกาลวันหยุด ซึ่งผู้นาเข้ารายหนึ่งกลับเห็นว่า ถ้าไม่มีคาสั่งซื้อเข้ามาในช่วงนี้ก็อาจจะไม่มีคาสั่งซื้ออีกเลยจนสิ้นปี

ที่มา:
Undercurrentnews: Shirimp industry: US buying patterns have changed post-EMS (August 19, 2015)
Undercurrentnews: US shrimp imports on track for record says broker (August 18, 2015)
ฝ่ายการเกษตรประจาสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น