วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560

EU Food News_GMOs - Commission authorises six genetically modified products for food/feed uses

Today (22 December 2017)the Commission authorised six Genetically Modified Organisms (GMOs), all for food/feed uses. These GMOs are as follows: Soybean 305423 x 40-3-2, Soybean DAS-44406-6, Soybean FG72 x A5547-127, Soybean DAS-68416-4, Oilseed rape MON88302 x Ms8 x Rf3and the renewal of Maize 1507.

The GMOs approved today have all gone through a comprehensive authorisation procedure, including a favourable scientific assessment by the European Food Safety Authority (EFSA). The authorisation decisions do not cover cultivation. These GMOs had received "no opinion" votes from the Member States both in the Standing and the Appeal Committees and the Commission therefore had to adopt the pending decisions.
The authorisations are valid for 10 years, and any products produced from these GMOs will be subject to the EU's strict labelling and traceability rules.

Cr. Foodlaw-reading by Dr. David Jukes

EU Food News_BOTTLED WATER - Implementing EU Directive 2015/1787 on the safety and quality of Spring Water and Bottled Drinking Water for Human Consumption

มีโอกาสเปลี่ยนแปลงถึง 18 มกราคมปีหน้านะคะ

DEFRA is consulting on the plans to implement EU Directive 2015/1787.  The following is taken from the DEFRA website.  The consultation is open until 18 January 2018.  The web page and link to the on-line comment page is available at: https://consult.defra.gov.uk/food/transposing-eu-directive-2015-1787/
Overview
Commission Directive (EU) 2015/1787 (the Directive) amending Annexes II and III to Council Directive 98/83/EC on the quality of water intended for human consumption alters the monitoring requirements for spring water and bottled drinking water and makes changes to the methods of analysis to be used in monitoring. The Department for Environment, Food and Rural Affairs (Defra) is intending to implement the Directive by adjusting domestic legislation to take account of the changes the Directive makes.
In the UK, water for human consumption is covered by a range of regulatory regimes covering statutory requirements for public water supplies, private water supplies and bottled drinking water. 
1. The amendments made by the Directive have a more significant impact for public and private water regimes.
2. In England and Wales the public drinking water regulations (which govern the supply of water from water companies) are enforced by the Drinking Water Inspectorate (DWI). The private drinking water regulations (which mostly govern naturally occurring supplies) are enforced by local authorities under supervision from DWI.
3. Defra is responsible for the implementation of the Directive in relation to public and private drinking water regulations in England. The Scottish, Welsh and Northern Irish Government are responsible for the implementation of the Directive in relation to those water supplies in those regions. The transposing regulations in England will be the Water Supply (Water Quality) (Amendment) Regulations 2017 and the Private Water Supplies (England) (Amendment) Regulations 2017 although they are yet to come into force.
4. This consultation applies to the domestic legislation required to implement the Directive in relation to spring water and bottled drinking water. All water which has been bottled for human consumption is classified as a food in accordance with EU law, but Natural Mineral Water is governed by its own directive and not affected by these changes.
5. Food is devolved, and as such, Defra is responsible for the implementation of this Directive in England; The Food Standards Agency is responsible for implementation in Northern Ireland and Wales; and Food Standards Scotland is respectively responsible in Scotland.
What will change
1. The Directive concerns amendments to Council Directive 98/83/EC, taking into account the World Health Organisation (WHO) approach to risk assessment, as well as scientific and technical progress. The amendment brings EU drinking water requirements in line with international requirements and covers the parameters (microbiological and chemical criteria) currently required to be analysed for monitoring purposes; and the specifications (analytical requirements) set out for their analysis.
2. Annex II of Council Directive 98/83/EC already contained a degree of flexibility in the monitoring requirements to be applied by Member States, which allows for less frequent sampling under certain circumstances.  However these requirements are currently not applicable to bottled drinking water which has a separate monitoring regime set out in accordance with volume of production.
3. The Directive now introduces risk-based monitoring as it recognises that monitoring of all parameters is sometimes unnecessary. This should reduce the amount of monitoring required in many cases. The importance of maintaining public health remains paramount though, as reduced monitoring should only take place where there is no evident risk to human health. As such, Member States are provided the opportunity to make adjustments to the monitoring programmes they have established to take account of risk assessments.
4. The table in Annex II to Council Directive 98/83/EC which sets out minimum monitoring frequencies for ‘check’ and ‘audit’ monitoring (the difference between ‘check’ and ‘audit’ monitoring relates to the parameters and frequency of those samples) for spring water and bottled drinking water has been removed from the Directive and is now regarded as obsolete (on the grounds that food safety requirements in Regulation (EC) 178/2002 apply covering general food law). Those products are also covered by the principle of ‘hazard analysis and critical control point’ (HACCP) laid down in Regulation (EC) 852/2004 and the principles of official controls as laid down in Regulation (EC) 882/2004. As a consequence of the adoption of those Regulations, Annex II to Directive 98/83/EC no longer applies to water put into bottles or containers intended for sale. Domestic provisions which implemented Annex II will be removed from domestic legislation.
5. The Directive also make changes to the current methods of analysis. In particular, it will change the minimum performance characteristics, in other words the standards necessary for methods of analysis to comply with the requirements. Domestic provisions which implemented Annex III will be amended to reflect the new methodology in domestic legislation.
Impact and Costs
1. The changes aim to maintain a level of intervention by authorities that is proportionate, while ensuring a high degree of consumer safety and updating the methods of analysis to the latest scientist advice. 
2. The Directive will remove the requirement for enforcement authorities to provide ‘check’ and ‘audit’ monitoring for spring water and bottled drinking water under Annex II to Council Directive 98/83/EU. However, monitoring requirements under Regulations (EU) 178/2002 and 852/2004 will remain, as well residual monitoring obligations under Article 7 of the Council Directive 98/83/EU, so monitoring by food authorities will continue to be required.
3. There is no evidence to suggest that the difference in resources expended to ensure compliance with the appropriate legislation will change significantly. Similarly, there is no evidence to suggest that the responsibility of FBOs will change, as their existing HACCP plan should provide verification that they have validated systems in place. These will ensure that they provide safe food under Regulation 178/2002 and have controls in place to mitigate against any hazards under Regulation 852/2004. This includes the need to demonstrate that the product meets the parameters in the corresponding Schedules of the 2007 Regulations as appropriate to the category of water.
4. Therefore, it is considered that the measures in this consultation are cost-neutral and, as such, Defra have not prepared an impact assessment. The department would welcome comments on any costs or benefits we have not considered or challenges to the assumptions made in this section.

Cr. Foodlaw-reading by Dr. David Jukes .

EU Food News_LABELING - Commission Notice relating to the provision of information on substances or products causing allergies or intolerances


This Notice is intended to assist businesses and national authorities in the application of the new requirements of Regulation (EU) No 1169/2011 of the European Parliament and of the Council (‘the Regulation’) related to the indication of the presence of certain substances or products causing allergies or intolerances (Article 9(1), point (c) and Annex II to the Regulation).
Regulation (EU) No 1169/2011 on the provisions of food information to consumers lays down new requirements on allergen labelling compared to the former Directive 2000/13/EC of the European Parliament and of the Council.
In particular, under the new legislation it is required that the information on the presence of allergens in foods is always provided to the consumers, including on non-prepacked foods (Article 9(1), point (c) and Article 44). The Member States are however allowed to adopt national measures concerning the means through which information on allergens on non-prepacked foods is to be made available. With regard to the prepacked foods, the Regulation lays down the modalities defining how the information on allergens has to be provided on foods (Article 21). Consequently, the existing Guidelines on allergen labelling drafted under the regime of Directive 2000/13/EC needs be updated as a reflection of this change in the law.
This Notice is without prejudice to the interpretation which the Court of Justice of the European Union may provide.

http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:52017XC1213(01)&from=EN

cr.

Foodlaw-Reading

Dr David Jukes, The University of Reading, UK

วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Food News India : อินเดียปรับปรับแก้กฎระเบียบกักกันพืชสำหรับพืชที่จะนำเข้ามายังอินเดีย

สินค้าที่มีผลกระทบ: มะขามสด (ทั้งฝัก แกะฝัก และเมล็ด)
ข้อกำหนด 1. ต้องปลอดแมลงศัตรูพืช 5 ชนิด ได้แก่
                      (1) Apomyelois ceratoniae (knothorn, blunt-winged, carob moth)
                      (2) Ceroplastes cirripediformis (barnacle scale)
                      (3) Hypothenemus obscurus (tropical nut borer)
                      (4) Sitophilus linearis (tamarind weevil)
                      (5) Selenaspidus articulatus (West Indian red scale)
                  2. ไม่มีการปนเปื้อนจากดินหรือซากพืช
                  3. ต้องผ่านการรมด้วย Methyl bromide 32 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
                  4. ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary certificate) จากกรมวิชาการเกษตรไทย
วันที่มีผลบังคับใช้ 20 มกราคม 2561
ระยะเวลาการให้ข้อคิดเห็น  สามารถให้ข้อคิดเห็นได้ถึงวันที่ 14 มกราคม 2561
รายละเอียดฉบับเต็มสามารถดูได้ที่


 

สรุปโดย: มกอช.

Food News : รวมข่าวหลายประเทศ

ทุกข่าวสรุปโดย มกอช.นะคะ นำมารวมแบ่งกันอ่านข่าวเดือนสุดท้ายของปี 2560


เวียดนามขยายส่งออกสินค้าทะเล - กุ้งครองสัดส่วนเกือบครึ่ง
                สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลประเทศเวียดนาม (VASEP) เผยในปี 2560 เวียดนามมีปริมาณการส่งออกอาหารทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณการส่งออกสินค้ากุ้งที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก  โดยในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เวียดนามมีมูลค่าส่งออกอาหารทะเลแล้วกว่า 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยมีมูลค่าการส่งออกกุ้งถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทาง VASEP คาดว่าภายในปี 2560 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลอาจสูงถึง 8.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18
 
               ทั้งนี้  ในปัจจุบันเวียดนามยังคงมีการส่งออกปลากลุ่ม Catfish (โดยเฉพาะ Pangasius) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกกว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 5 และส่งออกปลาทูน่ามูลค่า 541 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 19 ถึงแม้ว่าการส่งออกสินค้าประมงเวียดนามจะมีการชะลอตัว หลังถูกสหภาพยุโรปตักเตือนเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมายก็ตาม 
 
 
ที่มา : undercurrentnews.com 


ไต้หวัน แจ้งอาหารเด็กฝรั่งเศส ผ่านการตรวจสอบปลอดภัยแล้ว
                ผู้ประกอบการนำเข้าอาหารเด็กในไต้หวัน 3 ราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลิตภัณฑ์อาหารเด็กที่มีการนำเข้าจากผู้ผลิตรายใหญ่ของฝรั่งเศสผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอาหารแล้ว หลังจากเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของฝรั่งเศสสั่งเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารเด็กจากบริษัทดังกล่าวที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ Salmonella  และพบเด็กทารกป่วยจากการติดเชื้อดังกล่าวในฝรั่งเศสจำนวน 26 ราย  ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไต้หวันได้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเด็กจากบริษัทดังกล่าวหลายรายการ และภาครัฐได้ประกาศเรียกคืน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสินค้าที่พบการปนเปื้อน
 
                อนึ่ง การบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน และท้องเสียอย่างรุนแรง และถ้าพบการติดเชื้อในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจาก อาจก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน 
 
ที่มา : taipeitimes.com

เนเธอร์แลนด์ ยืนยันพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงระบาด
                วันที่ 11 ธันวาคม 2560 องค์การโรคระบาดสัตว์ (OIE) ยืนยันพบไข้หวัดนก H5N6 สายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเลี้ยงเป็ด ที่จังหวัด Flevoland ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการใช้มาตรการเฝ้าระวังสั่งกำจัดเป็ดกว่า 16,000 ตัว เฝ้าระวังในรัศมี 3 กิโลเมตร และป้องกันในรัศมี 10 กิโลเมตร โดยก่อนหน้านี้เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าวพบการแพร่ระบาดในฟาร์เป็ดขุน ที่เมือง Biddinghuizen ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2560

                ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N6 ในเนเธอร์แลนด์ อาจมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N8 ที่พบการแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา รวมทั้งล่าสุดที่พบการแพร่ระบาดในอิตาลี และเยอรมนีเมื่อเดือน ตุลาคม 2560
 
 
 
ที่มา : uk.reuters.com

เกาหลีใต้พบไข้หวัดนก H5N6 ระบาดอีกครั้ง
                 เมื่อวันที่  11 ธันวาคม 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ ได้ยืนยันการตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ชนิดรุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Yeongam ในเขต South Jeolla  โดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐเกาหลีใต้ได้ทำการดำเนินการตรวจสอบฟาร์มเป็ดในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเข้มงวดและเพิ่มมาตรการฆ่าเชื้อในพื้นที่ใกล้เคียงและห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก
 
                ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการตรวจพบไข้หวัดนกในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Gochang ในจังหวัดเดียวกัน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งทางการได้สั่งกำจัดสัตว์ปีกจำนวนเกือบ 100,000 ตัว 
 
ที่มา : http://world.kbs.co.kr 

รัสเซียเล็งขยายส่งออกสัตว์ปีกฮาลาล-เน้นตลาดประเทศมุสลิม
                รัสเซียเล็งขยายปริมาณการส่งออกสัตว์ปีก พร้อมทั้งขยายสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากเดิมน้อยกว่าร้อยละ 30 เป็นอย่างน้อยร้อยละ 75-80 คาดว่าในปี 2020 รัสเซียจะสามารถส่งออกสัตว์ปีกได้ประมาณ 370000 ตัน โดยจะเป็นสินค้าที่ได้รับตราฮาลาลประมาณ 270000-300000 ตัน ด้านศูนย์ฮาลาลของรัสเซียเชื่อว่าสินค้าจากรัสเซียจะดึงดูดใจลูกค้าในกลุ่มประเทศมุสลิมได้เป็นอย่างมากจากข้อดีทั้งด้านคุณภาพและราคา และยังเชื่อว่าผู้นำเข้าของประเทศเหล่านี้จะต้องการนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากรัสเซียแทนผู้ผลิตรายเดิม เช่น บราซิล  อีกด้วย
                ทั้งนี้ ปริมาณการส่งออกไก่ที่ได้รับตราฮาลาลของรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 เท่า จากเดิม 15000 ตันในปี 2014 เป็น 45000 ตันในปี 2017 นอกจากนิ้ รัสเซียยังเพิ่งจะเปิดตลาดส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไปยังซาอุดิอาระเบียและอิหร่านได้สำเร็จ และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเปิดตลาดไปยังอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีลูกค้ากว่า 230 ล้านคน
ที่มา: globalmeatnews.com


แคนาดาเชื่อมั่นอาหารสัตว์ไทย พร้อมลดความถี่การตรวจประเมิน
                เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2560 หน่วยงานตรวจสอบอาหารของแคนาดา (CFIA) ได้เข้าตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิท 5 แห่ง และโรงงานขนมขบเคี้ยวสำหรับสัตว์เลี้ยง 2 แห่ง ซึ่งมีผลการรายงานอย่างไม่เป็นทางการ สรุปว่าแคนาดาเชี่อมั่นระบบการตรวจสอบและกำกับดูแลโรงงานอาหารสัตว์ไทย เนื่องจาก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน และมีผู้กำกับดูแลตามระบบมาตรฐานสากล ส่งผลให้หน่วยงาน CFIA เตรียมปรับรายละเอียด MOU การตรวจสอบรับรองที่ลงนามไว้ตั้งแต่ปี 2552 โดยจะขยายระยะเวลาในการเข้าตรวจประเมินระบบรับรองของกรมปศุสัตว์จากเดิม 1 – 2 ครั้ง เป็น 5 ปี/ครั้ง ปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของไทยจำนวน 17 แห่ง ที่สามารถส่งออกไปยังแคนาดาได้ และหากหน่วยงาน CFIA ได้ตรวจสอบรับรองครั้งล่าสุดเสร็จสิ้น คาดว่าอาจมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่ง
                    ทั้งนี้ แคนาดาเป็นตลาดส่งออกอาหารสัตว์ที่สำคัญของไทย และมีการส่งออก ทั้ง อาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิท อาหารเม็ด และขนมขบเคี้ยว โดยภายในปี 2560 มีปริมาณการส่งออกสูงถึง 3,500 ตัน เป็นมูลค่า 460 ล้านบาท  

วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พยาธิในปลากระป๋อง

จากกรณีพบพยาธิในปลากระป๋อง😨😰


สิ่งปลอมปนที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ก็หลุดจากกระบวนการมาจนผู้บริโภคตรวจพบ 😓

เจ้าของบริษัทออกมายอมรับว่าเป็นพยาธิ แต่ก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก พี่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพยาธิปลาทะเลอะนิซาคิส หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anisakis simplex  รายละเอียดอ่านตามลิงค์ข้างล่างเอาเน้อ
www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/62/ปลาดิบไม่มีพยาธิ-พยาธิในปลาดิบ
============================================================
~ถ้าเจอแล้วทำไง / ถ้าเป็นพี่ก็ไม่กินกระป๋องนั้น แต่ยังกินปลากระป๋องได้ต่อไป มันมีโอกาสที่จะเจอในทุกยี่ห้อ แต่ไม่ควรถี่แค่นั้นเอง (ยอมรับซะเถอะ ทุกวงการ ทุกอาชีพ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100%ไม่มีคนประสบความสำเร็จไหนไม่เคยล้ม เกี่ยวกันป่ะ) ถ้าเจอก็แจ้งบริษัท รับของขอโทษ โพสต์เฝ้าระวังแบบไม่เปิดเผยยี่ห้อ
============================================================
~อันตรายไหม ตัวพยาธิ ตัวพยาธินั้น โดนความร้อน 100องศา ก็ตาย แต่ไข่พยาธิ จะทนความร้อนได้มากกว่า 200 องศา ทีนี้มาดูกัน ว่า ซึ่งกระบวนการผลิตทำให้เราวางใจในการฆ่ามันไหม

ที่มารูปภาพ ที่มา : http://www.bonduelle.com/en/our-activities/process.html





ขั้นตอนการผลิตปลากระป๋อง

1. การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ต้องมีการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของวัตถุดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยตรวจสอบความสด เช่น ลักษณะทางกายภาพ

ปริมาณฮิสทามิน (histamine) และคัดขนาดของปลา เพื่อความสม่ำเสมอ

2. การตัดแต่ง นำปลาสดที่คุณภาพดีมาตัดแต่ง โดยตัดหัวปลา หางปลา ดึงไส้ และเครื่องในอื่นๆ ตามคุณภาพที่ต้องการ

3. การล้างทําความสะอาด (washing) นำปลาที่ตัดแต่งแล้วมาล้าง เพื่อล้างเอาเลือด เมือก และสิ่งสกปรกอื่นๆ

4. การบรรจุ (can filling) นำปลาที่ล้างทําความสะอาดแล้ว มาบรรจุลงในกระป๋อง สำหรับปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูน่า อาจมีการนึ่ง (steaming) ให้สุก แล้วแยกเอาเฉพาะส่วนเนื้อเพื่อบรรจุกระป๋อง

5. การเติมของเหลว หลังจากปลาที่บรรจุลงในกระป๋องถูกตรวจสอบสิ่งปลอมปนแล้ว จะเติมนํ้ามันพืช ซอสมะเขือเทศ หรืออื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์

6. การไล่อากาศ (exhasting) นํากระป๋องที่บรรจุปลาและเติมส่วนผสมอื่นๆ แล้ว มาผ่านการไล่อากาศและปิดผนึกฝา โดยใช้ไอนํ้าไล่และแทนที่อากาศในกระป๋อง โดยหลังจากไอนํ้าเกิดการควบแน่นจะเกิดสภาพสุญญากาศภายในกระป๋อง แล้วนำมาปิดผนึกฝากระป๋อง

7. การฆ่าเชื้อ (sterilization) กระป๋องที่ปิดผนึกแล้ว จะนําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งฆ่าเชื้อความดันสูง (retort) การฆ่าเชื้อระดับ Commercial sterilization ซึ่งหมายถึง การใช้ความร้อนสูงเพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) ที่มีอยู่ในอาหารเกือบทั้งหมด เพื่อให้อาหารนั้นสามารถบริโภคได้โดยไม่เป็นอันตราย และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียในสภาวะปกติ โดยใช้อุณหภูมิในการฆ่าเชื้อที่ประมาณ 118-122 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60-70 นาที เพื่อให้ได้ค่า Fo ตามที่กำหนด ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ ขนาดของปลาที่บรรจุและขนาดของกระป๋อง

8. การลดอุณหภูมิกระป๋อง (cooling) ภายหลังจากนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ต้องลดอุณหภูมิของปลากระป๋องโดยเร็ว นํ้าที่ใช้ในการลดอุณหภูมิต้องเป็นนํ้าสะอาดที่มีการเติมคลอรีน เพื่อลดอุณหภูมิของกระป๋องให้เหลือราว 35-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ความร้อนที่สะสมอยู่ที่ตัวกระป๋องจะทําให้กระป๋องแห้ง ถ้าใช้อุณหภูมิตํ่ากว่านี้ กระป๋องจะเป็นสนิมเพราะไอนํ้าที่เกาะอยู่ที่กระป๋องระเหยไปไม่หมด

9. การปิดฉลากและบรรจุกล่อง เมื่อกระป๋องแห้งสนิทแล้ว จะนํามาปิดฉลาก บรรจุกล่อง เก็บรักษาและรอการขนส่งต่อไป

www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3097/ปลากระป๋อง
==============================================================
เราจะป้องกันตัวเองเบื้องต้นกันอย่างไร?
~สำหรับคนกิน ก็อย่าลืมกินร้อน (ปรุงสุก) ช้อนกลาง ถ่ายพยาธิ  3 เดือนครั้ง เพราะมีโอกาสได้พยาธิจากแหล่งอื่นด้วย(เติมเรื่องยา)
~ส่วนถ้ามโนว่าตัวเองเป็นฝ่ายผลิต อันนี้เชื่อเถอะ เจ้าของบริษัทและ QC/QA ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าหลุดตรงไหน เพราะกระบวนการไม่ได้เอื้อให้พยาธิเจริญเติบโตเหมือนเชื้อโรค อยู่แต่ว่า การจัดการวัตถุดิบเหมาะสม เพียงพอ หรือยัง
เอาใจช่วยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2560

India Food News_อินเดียเตรียมออกระเบียบจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะเลี้ยงสัตว์

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการครอบครัวอินเดียเตรียมปรับปรุงระเบียบกำหนดปริมาณตกค้างสูงสุดของยาสัตว์และยาปฏิชีวนะที่ใช้ในไก่ สุกร และปศุสัตว์ชนิดอื่นๆ ครอบคลุมยาปฏิชีวนะ 42 ชนิด และยาสัตว์ 77 ชนิด เพื่อลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมปศุสัตว์
                ทั้งนี้ การปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเป็นผลจากความกังวลต่อเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ หลังองค์กรควบคุมความปลอดภัยและมาตรฐานด้านอาหารของอินเดีย (FSSAI) ศึกษาปริมาณยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกที่จำหน่ายในประเทศ ส่วนศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมพบว่ากระบวนการกำจัดของเสียในฟาร์มสัตว์ปีกอย่างไม่เหมาะสมอาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อต่างๆติดต่อมาสู่คน นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ทุกตัวอย่าง เชื้อ Klebsiella 
pneumoniae ร้อยละ 92 และเชื้อ Staphylococcus lentus ร้อยละ 78 ดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิด
 
ที่มา: globalmeatnews.com สรุป: โดย มกอช.

Japan Food News_ญี่ปุ่นพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง 7 รายการ และวิธีทดสอบ Propham

 กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง (MRL) ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น โดยมีค่า MRL ที่ถูกปรับเข้มงวดขึ้น และมีผลกระทบต่อสินค้าเกษตร สรุปได้ดังนี้ 

click ที่ link เพื่อดาวน์โหลดนะคะ
                
ตารางสรุป

                MHLW พิจารณากำหนดวิธีทดสอบสำหรับสาร Propham ซึ่งกฎหมายญี่ปุ่นห้ามมิให้มีการตกค้างในอาหารทุกประเภท วิธีทดสอบที่กำหนดนี้มี Limit of quantification ณ ระดับ 0.01 mg/kg
(รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ : http://www.acfs.go.th/news/docs/Earlywarning_acfs_27_11_60.pdf )
ที่มา: มกอช. 

AI/Bird Flu News: สถานการณ์ไข้หวัดนก

ไล่ตามลำดับนะคะ

เกาหลีใต้ พบไข้หวัดนก LPAI สายพันธุ์ H5N2
               เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทเกาหลีใต้ รายงานพบไข้หวัดนกระบาดที่จังหวัดคย็องกี และเกาะเชจู ซึ่งได้รับการยืนยันว่าไข้หวัดนกดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ H5N2 มีระดับความรุนแรงต่ำ โดยเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าว ตรวจพบจากตัวอย่างมูลสัตว์ปีกที่รวบรวมจากแถบแม่น้ำที่ Suwon พื้นที่ที่ห่างจากโซล 45 กิโลเมตร และทางตอนใต้ของเกาะเชจู
                ทั้งนี้ จากการตรวจพบไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N2 ซึ่งมีความรุนแรงต่ำ ทำให้มีความสามารถต่อการก่อโรคน้อย และตรวจพบได้ยาก ในขณะที่เชื้อที่มีความรุนแรง มีความสามารถในการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการฆ่าเชื้อ และเข้าตรวจสอบฟาร์มสัตว์ปีก พร้อมเตรียมเฝ้าระวังสัตว์ปีกที่อพยพข้ามคาบสมุทรเกาหลีในช่วงฤดูหนาวนี้
 
ที่มา: english.yonhapnews.co.kr 


เกาหลีใต้ ยืนยันพบหวัดนก H5N6 สายพันธุ์รุนแรง
                   เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2560 กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ยืนยันพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ชนิดรุนแรง (HPAI) ระบาดภายในฟาร์มเป็ด ที่เมือง Gochang ห่างจากกรุงโซลทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 270 กิโลเมตร โดยในฟาร์มดังกล่าวพบเป็ดติดเชื้อจำนวน 12,000 ตัว โดยหน่วยงานสั่งกำจัดสัตว์ปีกทั้งหมด
                  ทั้งนี้ ภาครัฐเกาหลีใต้ได้สั่งกำจัดเชื้อภายในฟาร์มสัตว์ปีกและได้มีการออกคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกทั่วประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง นับจากเที่ยงคืนของ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2560
ที่มา: www.reuters.com

ฮ่องกง สั่งแบนเนื้อไก่จากเกาหลีใต้
               ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารของฮ่องกง (CFS) ประกาศสั่งระงับห้ามนำเข้าสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก จากจังหวัด Jeollabuk-do , Gyeongsangnam-do และ เมือง Daegu Metropolitan ของเกาหลีใต้ โดยมีผลทันที หลังมีรายงานพบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์รุนแรง (HPAi) H5N6 และ H5N8 จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเกาหลีใต้
                      ทั้งนี้ ศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารของฮ่องกง เผยข้อมูลในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 พบว่าฮ่องกงมีการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก แช่แข็ง และแช่เย็น ปริมาณกว่า 77 ตัน และไข่ไก่กว่า 390,000 ตันจากเกาหลีใต้ 
ที่มา: thepoultrysite.com 

ญี่ปุ่นตรวจพบไข้หวัดนก H5N6
                กระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นได้ดำเนินมาตรการตรวจสอบเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกในนกอพยพและนกป่าทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ในซากหงส์ขาว (Mute Swan: Cygnus olor) และเป็ดเปีย (Tufted duck: Aythya fuligula) ในเมือง Matsue City จังหวัด Shimane ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังพบซากนกอพยพในพื้นที่จังหวัดเดียวกันอีก 5 ตัว ตั้งแต่วันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเชื้อไวรัส
                   
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ใช่การตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็นอาหาร กระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น ได้มีคำสั่งให้ยกระดับการตรวจสอบเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
 
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว 

ทั้งหมดสรุปโดย: มกอช.

Strengths of Asean Country

เครดิตในภาพนะคะ





วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

Food Allergen Labelling


แหล่งที่มา : หน่วยทดสอบสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร FQA LAB มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์