วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พยาธิในปลากระป๋อง

จากกรณีพบพยาธิในปลากระป๋อง😨😰


สิ่งปลอมปนที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ก็หลุดจากกระบวนการมาจนผู้บริโภคตรวจพบ 😓

เจ้าของบริษัทออกมายอมรับว่าเป็นพยาธิ แต่ก็ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก พี่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพยาธิปลาทะเลอะนิซาคิส หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anisakis simplex  รายละเอียดอ่านตามลิงค์ข้างล่างเอาเน้อ
www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/62/ปลาดิบไม่มีพยาธิ-พยาธิในปลาดิบ
============================================================
~ถ้าเจอแล้วทำไง / ถ้าเป็นพี่ก็ไม่กินกระป๋องนั้น แต่ยังกินปลากระป๋องได้ต่อไป มันมีโอกาสที่จะเจอในทุกยี่ห้อ แต่ไม่ควรถี่แค่นั้นเอง (ยอมรับซะเถอะ ทุกวงการ ทุกอาชีพ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100%ไม่มีคนประสบความสำเร็จไหนไม่เคยล้ม เกี่ยวกันป่ะ) ถ้าเจอก็แจ้งบริษัท รับของขอโทษ โพสต์เฝ้าระวังแบบไม่เปิดเผยยี่ห้อ
============================================================
~อันตรายไหม ตัวพยาธิ ตัวพยาธินั้น โดนความร้อน 100องศา ก็ตาย แต่ไข่พยาธิ จะทนความร้อนได้มากกว่า 200 องศา ทีนี้มาดูกัน ว่า ซึ่งกระบวนการผลิตทำให้เราวางใจในการฆ่ามันไหม

ที่มารูปภาพ ที่มา : http://www.bonduelle.com/en/our-activities/process.html





ขั้นตอนการผลิตปลากระป๋อง

1. การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ต้องมีการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพของวัตถุดิบก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต โดยตรวจสอบความสด เช่น ลักษณะทางกายภาพ

ปริมาณฮิสทามิน (histamine) และคัดขนาดของปลา เพื่อความสม่ำเสมอ

2. การตัดแต่ง นำปลาสดที่คุณภาพดีมาตัดแต่ง โดยตัดหัวปลา หางปลา ดึงไส้ และเครื่องในอื่นๆ ตามคุณภาพที่ต้องการ

3. การล้างทําความสะอาด (washing) นำปลาที่ตัดแต่งแล้วมาล้าง เพื่อล้างเอาเลือด เมือก และสิ่งสกปรกอื่นๆ

4. การบรรจุ (can filling) นำปลาที่ล้างทําความสะอาดแล้ว มาบรรจุลงในกระป๋อง สำหรับปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาทูน่า อาจมีการนึ่ง (steaming) ให้สุก แล้วแยกเอาเฉพาะส่วนเนื้อเพื่อบรรจุกระป๋อง

5. การเติมของเหลว หลังจากปลาที่บรรจุลงในกระป๋องถูกตรวจสอบสิ่งปลอมปนแล้ว จะเติมนํ้ามันพืช ซอสมะเขือเทศ หรืออื่นๆ แล้วแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์

6. การไล่อากาศ (exhasting) นํากระป๋องที่บรรจุปลาและเติมส่วนผสมอื่นๆ แล้ว มาผ่านการไล่อากาศและปิดผนึกฝา โดยใช้ไอนํ้าไล่และแทนที่อากาศในกระป๋อง โดยหลังจากไอนํ้าเกิดการควบแน่นจะเกิดสภาพสุญญากาศภายในกระป๋อง แล้วนำมาปิดผนึกฝากระป๋อง

7. การฆ่าเชื้อ (sterilization) กระป๋องที่ปิดผนึกแล้ว จะนําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งฆ่าเชื้อความดันสูง (retort) การฆ่าเชื้อระดับ Commercial sterilization ซึ่งหมายถึง การใช้ความร้อนสูงเพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) ที่มีอยู่ในอาหารเกือบทั้งหมด เพื่อให้อาหารนั้นสามารถบริโภคได้โดยไม่เป็นอันตราย และสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เน่าเสียในสภาวะปกติ โดยใช้อุณหภูมิในการฆ่าเชื้อที่ประมาณ 118-122 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60-70 นาที เพื่อให้ได้ค่า Fo ตามที่กำหนด ขึ้นกับชนิดของผลิตภัณฑ์ ขนาดของปลาที่บรรจุและขนาดของกระป๋อง

8. การลดอุณหภูมิกระป๋อง (cooling) ภายหลังจากนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ต้องลดอุณหภูมิของปลากระป๋องโดยเร็ว นํ้าที่ใช้ในการลดอุณหภูมิต้องเป็นนํ้าสะอาดที่มีการเติมคลอรีน เพื่อลดอุณหภูมิของกระป๋องให้เหลือราว 35-40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ความร้อนที่สะสมอยู่ที่ตัวกระป๋องจะทําให้กระป๋องแห้ง ถ้าใช้อุณหภูมิตํ่ากว่านี้ กระป๋องจะเป็นสนิมเพราะไอนํ้าที่เกาะอยู่ที่กระป๋องระเหยไปไม่หมด

9. การปิดฉลากและบรรจุกล่อง เมื่อกระป๋องแห้งสนิทแล้ว จะนํามาปิดฉลาก บรรจุกล่อง เก็บรักษาและรอการขนส่งต่อไป

www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3097/ปลากระป๋อง
==============================================================
เราจะป้องกันตัวเองเบื้องต้นกันอย่างไร?
~สำหรับคนกิน ก็อย่าลืมกินร้อน (ปรุงสุก) ช้อนกลาง ถ่ายพยาธิ  3 เดือนครั้ง เพราะมีโอกาสได้พยาธิจากแหล่งอื่นด้วย(เติมเรื่องยา)
~ส่วนถ้ามโนว่าตัวเองเป็นฝ่ายผลิต อันนี้เชื่อเถอะ เจ้าของบริษัทและ QC/QA ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าหลุดตรงไหน เพราะกระบวนการไม่ได้เอื้อให้พยาธิเจริญเติบโตเหมือนเชื้อโรค อยู่แต่ว่า การจัดการวัตถุดิบเหมาะสม เพียงพอ หรือยัง
เอาใจช่วยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น