วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Japan Food News_ญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุง แก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น ครั้งที่ 193 (The 193rd Conference for Promotion of Food Import Facilitation) ในวันที่ 17 มิถุนายน 2559
               โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขที่ร่างมาตรฐานใหม่ของสารเคมีทางการเกษตร โดยเพิ่มความเข้มงวดต่อผลผลิตทางการเกษตรส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการ ดังนี้
                1.การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรและยาที่ใช้กับสัตว์รวม 11 รายการ โดยอนุญาตให้ใช้สารเคมีในประเทศ 5 รายการ ได้แก่
     - 1, 3-Dichloropropene (pesticide: insecticide)
     - Erythromycin (veterinary drug: antibiotic)
     - Flumethrin (veterinary drug: ectoparasiticide)
     - Metoclopramide (veterinary drug: gastrointestinal medicine)
     - Piperazine (veterinary drug: ectoparasiticide)
                     และไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในประเทศ 6 รายการ ได้แก่
     - Bicyclopyrone (pesticide: berbicide)
     - Etofumesate (pesticide: herbicide)
     - Etofenprox (pesticide: insecticide)
     - Fluazifop-butyl (pesticide: herbicide)
     - Isopyrazam (pesticide: fungicide)
     - Vedaprofen (veterinary drug: anti-inflammatory agent)
                    2.การพิจารณาปรับปรุงวิธีทดสอบยาและสารเคมีรายการต่างๆที่กฎหมายญี่ปุ่นห้ามมิให้มีการตกค้างในอาหารดังนี้
     - Analytical method for Ipronidazole, Dimetridazole, Metronidazole and    Ronidazole
     - Analytical method for Captafol (animal and fishery products)
     - Analytical method for Choloramphenicol
 
 

ที่มา :สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว  สรุปโดย : มกอช

USA Food News_สหรัฐฯ พบสัตว์ปีกเลี้ยงสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ Salmonella

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) พบว่าการระบาดของ Salmonella นั้นเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกที่เลี้ยงตามบ้าน จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าผู้ป่วย 138 ราย   จาก 496 ราย อยู่ในระหว่างรักษาตัว และมีผู้ป่วย 1 ราย เสียชีวิตแต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อ Salmonella         
                โดย CDC ได้มีการแจ้งเตือนถึงอันตรายของของเชื้อ Salmonella จากผลการวิจัยด้านระบาดวิทยา    การตรวจสอบย้อนกลับ และการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พบว่ามีการระบาดจำนวน 8 ครั้ง ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกมีชีวิต เช่น ลูกไก่และลูกเป็ด ในสถานที่ฟักจำนวนมาก ซึ่งอาจมีเชื้อ Salmonella ปนเปื้อนจากการซื้อที่ ไม่ระมัดระวัง แม้ว่าลูกเป็ดและลูกไก่ที่ซื้อมานั้นจะดูสะอาดและมีสุขภาพดีก็ตาม
                CDC กล่าวว่า วิธีการป้องกันการติดเชื้อ คือการล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทันทีหลังสัมผัสสัตว์ปีกหรืออะไรก็ตามในบริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์ปีกและไม่ควรเลี้ยงสัตว์ปีกไว้ภายในบ้านและระวังเรื่องการสัมผัสสัตว์ปีกในเด็กเล็ก มีการคาดดารณ์ว่าอาจมีการระบาดต่อไปอีก เจ้าของฟาร์มควรระมัดระวังพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ Salmonella จากสัตว์ปีกต่อไป
 

 
ที่มา: The Poultry Site สรุปโดย: มกอช. 

England Food News_มาตรฐานอาหารใน UK สู่การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเรื่องไข่ไก่

คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาในอาหาร (ACMSF) ของสหราชอาณาจักร ได้เผยแพร่ร่างรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าไข่ในราชอาณาจักร ซึ่งสรุปจากผลตรวจสอบอย่างกว้างขวางเพื่อประเมินและยกระดับความปลอดภัยในสหราชอาณาจักรที่ทบทวนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2544
                   ผลการวิเคราะห์พบว่า การผลิตไข่ภายใต้กฎหมาย  Lion Code หรือมาตรการที่เทียบเท่ามีความเสี่ยงด้านจุลชีววิทยาระดับต่ำ โดยสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อกับโรคทั้งในประเทศและเชิงพาณิชย์
                 ทั้งนี้รายงานของสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (FSA) แนะนำว่า ควรพิจารณาความเสี่ยงจากไข่ภายใต้โครงการ The British Lion และโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ซึ่งฝั่งภาคอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมไข่ ยินดีให้ความร่วมมือในการรายงานผลเพื่อให้ FSA  ประเมินความเสี่ยงจากโครงการและแก้ไขปรับปรุงนำไปสู่การลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

 
ที่มา: The Poultry Site สรุปโดย: มกอช.

German Food News_เครือข่าย Foodwatch เตือน “สารก่อมะเร็ง” ในช็อกโกแลตเมืองเบียร์

เครือข่าย Foodwatch ในเยอรมนี กระตุ้นภาครัฐเรียกคืนสินค้าอาหารหลายชนิด เหตุพบสาร “MOAH” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร 3 ชนิด ได้แก่ ช็อกโกแลตแท่ง Kinder Riegel, Nougat Minis ของ Ferrero และ Schokohappen Classic ของ Sun Rice
                Foodwatch ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดกว่า 20 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบ และพบว่าสินค้า 3 ชนิดข้างต้น มีปริมาณสาร Mineral Oil Aromatic Hydrocarbons (MOAH) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอ้างอิงผลการวิจัยของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ที่ระบุว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์ (mutagenic) รวมทั้งรายงานของหน่วยงาน Bundesinstitut fuer Risikobewertung (BfR) ของเยอรมนีเกี่ยวกับข้อกังวลความปลอดภัยของสารดังกล่าว
                MOAHs เป็นสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับปิโตรเลียม ไม่มีสีและกลิ่นรส สารดังกล่าวเคยถูกใช้ผสมในหมึกพิมพ์ที่มีพื้นฐานเป็นส่วนประกอบน้ำมัน (oil-based) ซึ่ง Foodwatch สันนิษฐานว่า MOAHs อาจปนเปื้อนจากการเคลื่อนย้าย (migration) จากฉลากหรือบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลได้ และปัจจุบันในสหภาพยุโรปยังไม่มีมาตรฐานข้อกำหนดการปนเปื้อนในอาหารของสาร MOAHs
                 ทั้งนี้จากผลการทดสอบดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตของหวานในเยอรมนี (BDSI) ได้ให้ความเห็นว่าปริมาณสาร MOAHs ที่พบในรายงานของ Foodwatch ถือเป็นระดับที่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
             อนึ่ง Foodwatch เป็นองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (Non-Governmental Organization: NGO) ด้านสิทธิของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีเครือข่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส


ที่มา: Foodwatch, Thelocal สรุปโดย: มกอช.

EU Food News_EUเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือสินค้าเนยและหางนมผงผ่านมาตรการการรับซื้อโดยรัฐ (public intervention)

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2559 คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปเห็นชอบการช่วยเหลือผลิตภัณฑ์เนยและหางนมผงผ่านมาตรการการการรับซื้อโดยรัฐ (public intervention) ตาม Council Regulation (EU) 2014/1042 amending Regulation (EU) No 1370/2013 determining measures on fixing certain aids and refunds related to the common organisation of the markers in agricultural products, as regards applicable quantitative limitation for the buying-in of skimmed milk powder โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. 2559 และมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สาระสำคัญของมาตรการ
มาตรการดังกล่าวเป็นการเพิ่มเพดานให้ ประเทศสมาชิกรับซื้อผลิตภัณฑ์เนยจากเดิม 50,000 ตัน เป็น 100,000 ตัน และผลิตภัณฑ์หางนมผง จากเดิม 218,000 ตัน เป็น 350,000 ตัน ในราคาคงที่ (fixed price)
2. เหตุผลและความจำเป็น
ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์นมใน EU ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2559 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 แต่มาตรการอนุญาตให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมร่วมกันกำหนดปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์นม ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหานมล้นตลาด โดยจนถึงปัจจุบันยังไม่มีประเทศสมาชิกใดแจ้งใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์นมและผลิตภัณฑ์จากนมภายใน EU ตกต่ำ โดยเฉพาะเนยและหางนมผง
นอกจากนี้ ความต้องการของตลาดโลกที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นยังไม่สามารถรองรับปริมาณการผลิตของ EU และประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 7 เท่าของความต้องการรวมในตลาดโลกได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์หางนมผงซึ่งมีอัตราการส่งออกลดลงร้อยละ 8 ในเดือน เม.ย. 2559 เนื่องจากยังมีราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ส่งออกสินค้าชนิดเดียวกัน จึงมีความจำเป็นต้องออกมาตรการใหม่เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมใน EU
3. ผลกระทบต่อประเทศไทย
ราคานำเข้าเนยที่นำเข้าภายใต้พิกัด  04051000 (เนย) รวมทั้งราคานำเข้าหางนมผงที่นำเข้าภายใต้พิกัด 040210 (นมและครีมเป็นผง เม็ด หรือเป็นลักษณะของแข็งอื่นๆ มีไขมันไม่เกินร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนัก) อาจมีแนวโน้มลดลง หาก ปท. สมาชิก พยายามระบายผลิตภัณฑ์ที่รับซื้อออกสู่ตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทยที่ใช้วัตถุดิบเนยและหางนมผมปรับลดลง อนึ่ง EU เป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์จากนมที่สำคัญของไทย โดยในปี 2558 ไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์เนย  รวม 110 ล้านบาท หรือร้อยละ 50 ของการนำเข้าทั้งหมด และผลิตภัณฑ์หางนมผงจาก EU รวม 2.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 37 ของการนำเข้าสินค้าหางนมผงทั้งหมด
โดยนัยเดียวกัน มาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยเนื่องจากเกษตรกรไทยยังขาดศักยภาพในการแข่งขัน และการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทยยังมีต้นทุนสูง

EU Food News_EU ออกข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนสารนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์

เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตีพิมพ์ประกาศข้อแนะนำว่าด้วย การลดค่าปนเปื้อนของนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ ๒ ฉบับ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
             ๑. Commission Recommendation (EU) 2016/1111 of 6 July 2016 on the monitoring of nickel in food ใน EU Official Journal L 183/70 เป็นข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของ สารนิกเกิล (nickel) ในอาหารมนุษย์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ต้องให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจสินค้าอาหารเพื่อหาสารนิกเกิลตกค้าง เป็นเวลา ๓ ปี คือ ปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๒ โดยกำหนดให้มีการสุ่มตรวจในสินค้าอาหาร ดังต่อไปนี้
-        ธัญพืช
-        ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช
-        นมผงเด็กทารก
-        นมผงเด็กเล็ก
-        อาหารแปรรูปจากธัญพืชสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
-        อาหารสำหรับเด็กทารก
-        อาหารใช้ในทางแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
-        ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
-        ผัก
-        ถั่ว และเมล็ดพืชน้ำมัน
-        นม และผลิตภัณฑ์นม
-        เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และที่ไม่มีแอลกอฮอล์
-        น้ำตาลและลูกอม (รวมถึงโกโก้และชอคโกแลต)
-        ผลไม้
-        ผัก และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผัก (รวมถึงเห็ด)
-        ใบชาแห้ง
-        พืชอื่นๆ ที่มีการทำให้แห้งเพื่อใช้ในการทำชาสมุนไพร
-        หอยสองฝา
                    ทั้งนี้ EU กำหนดให้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Regulation (EC) No 333/2007 รวมถึงให้อิงใช้ระดับค่าการปนเปื้อนของสารนิกเกิลตามมาตรฐาน EN 13804:2013 ในหมวด สินค้าอาหาร และให้ใช้วิธีตรวจวิจัยด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) Flame Atomic Absorption Spectrometry (FAAS) (๒) Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GFAAS) (๓) Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) หรือ (๔) Mass Spectrometry (ICP-MS)
                       โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องส่งมอบผลการสุ่มตรวจหานิกเกิลในอาหารอย่างช้า สุดภายในวันที่ ๑ ตุลาคมของทุกปีเป็นระยะเวลา ๓ ปี คือ ในปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๒
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
               ๒.  Commission Recommendation (EU) 2016/1110 of 28 June 2016 on the monitoring of the presence of nickel in feed ใน EU Official Journal L 183/68 เป็นข้อแนะนำว่า ด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของสารนิกเกิล (nickel) ในอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU และผู้ประกอบการภาคเอกชนต้องให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจสินค้าอาหารสัตว์ เพื่อหาสารนิกเกิลตกค้าง เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum Level : ML) ของสารนิกเกิลในอาหารสัตว์หรือกำหนดมาตรการอื่นๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการปกป้องสุขภาพผู้บริโภคและ สัตว์ในอนาคต             
                      ทั้งนี้ EU กำหนดให้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Regulation (EC) No 152/2009 โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องส่งมอบผลการสุ่มตรวจหานิกเกิลในอาหารสัตว์อย่างช้า สุดภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ตามแบบฟอร์มที่ EFSA กำหนดไว้ใน “Guidance of EFSA – Standard Sample Description for Food and Feed”
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
              ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ :        
                  ก) ข้อแนะนำใหม่ในการกำหนดให้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ เพื่อตรวจหาสารนิกเกิลตกค้างนี้ เห็นได้ว่า EU พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนในกลุ่มประเทศสมาชิกได้คำนึงถึงที่มาของปัญหาการปนเปื้อนสารนิกเกิล โดยให้มีการร่วมกันสุ่มตรวจ เพื่อนำผลไปสรุปปัญหาและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
                   ข) การออกแนวทางให้กลุ่มประเทศสมาชิกถือปฎิบัติตรวจหาสารนิกเกิลในครั้งนี้ คาดว่าจะ ส่งผลต่อสินค้าในกลุ่มเป้าหมายที่วางจำหน่ายใน EU และที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ดังนั้น ไทยควรเพิ่ม ความระมัดระวังโดยเฉพาะกับสินค้าที่มีรายชื่อข้างต้น เนื่องจากนับแต่นี้ไป EU จะเริ่มสุ่มตรวจหาสารนิกเกิล ตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์อย่างจริงจังมากขึ้น 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU ประกาศถอนใบแดง IUU ให้กีนี

ตามที่ กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และการประมง (DG-MARE) ได้เคยให้ใบเหลืองกับประเทศกีนีในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และต่อมาได้ให้ใบแดงในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ สืบเนื่องจากที่กีนีไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU นั้น
             ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีมติให้ถอนประเทศกีนีออกบัญชีรายชื่อกลุ่มประเทศ“ที่ไม่ให้ความร่วมมือ” หรือ“ใบแดง” เรียบร้อยแล้วเนื่องจากประเทศกีนีได้มีการปฎิรูปกฎหมายประมงใหม่เพื่อควบคุมการทำประมง IUU อย่างเป็นรูปธรรม มีบทลงโทษกรณีที่มีการฝ่าฝืน มีการปรับปรุงระบบ เฝ้าระวัง ควบคุม และตรวจสอบเรือประมงและน่านน้ำการทำประมงได้อย่างรัดกุมตามมาตรฐานสากล และล่าสุดกีนีก็ได้ให้สัตยาบันต่อข้อตกลง Port State Measures Agreement (PSMA) ของ FAO ด้วยแล้ว
             ขณะนี้ มีเพียงกัมพูชาประเทศเดียวที่ยังคงสถานะใบแดง (ได้ใบแดงเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๖) 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Food Law Update_DOF Thai :มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำประมง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำประมงทั้งทางเคมี จุลชีววิทยาและทางกายภาพ
เผื่อใครยังไม่ทราบนะจ๊ะ

มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางเคมี
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางจุลชีววิทยา
มาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางกายภาพ เริ่มใช้ 1/11/58
ที่มาจากกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

EU Food News_EU อนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืชในช่วงที่รอผลประเมินต่ออายุ

ด้วย สหภาพยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบใหม่ Commission Implementing Regulation (EU) 2016/950 of 15 June 2016 amending Implementing Regulation (EU) No 540/2011 as regards the extension of the approval periods of the active substances 2,4-DB, beta-cyfluthrin, carfentrazone ethyl, Coniothyrium minitansStrain CON/M/91-08 (DSM 9660), cyazofamid, deltamethrin, dimethenamid-P, ethofumesate, fenamidone, flufenacet, flurtamone, foramsulfuron, fosthiazate, imazamox, iodosulfuron, iprodione, isoxaflutole, linuron, maleic hydrazide, mesotrione, oxasulfuron, pendimethalin, picoxystrobin, silthiofam and trifloxystrobin เพื่อขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substances) จำนวน ๒๕ รายการ ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   ๑. เนื่องจาก การอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substances) จำนวน ๒๕ รายการ ซึ่งได้แก่สาร carfentrazone ethyl, cyazofamid, ethofumesate, fenamidone, foramsulfuron, imazamox, isoxaflutole, linuron, mesotrione, oxasulfuron, pendimethalin และ trifloxystrobin กำลังจะหมดอายุลงภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ และสาร 2,4-DB, beta-cyfluthrin, Coniothyrium minitans Strain CON/M/91-08 (DSM 9660), deltamethrin, dimethenamid-P, flufenacet, flurtamone, fosthiazate, iodosulfuron, iprodione, maleic hydrazide, picoxystrobin และ silthiofam กำลังจะหมดอายุลงภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙  ซึ่งการขอต่ออายุการใช้งานสารดังกล่าว กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการและ EU จำต้องใช้เวลาในการพิจารณา ดังนั้น เพื่อไม่ให้การใช้สารดังกล่าว หยุดชะงักลงก่อนที่ผลการอนุญาตให้ต่ออายุการใช้งานใหม่จะออกมา จึงเห็นควรให้ขยายเวลาการใช้สารเป็นการชั่วคราว โดยแยกเป็นสาร carfentrazone ethyl, cyazofamid, ethofumesate, fenamidone, foramsulfuron, imazamox, isoxaflutole, linuron, mesotrione, oxasulfuron, pendimethalin และ trifloxystrobin ให้ขยายเวลาการใช้งานไปจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ และสาร  2,4-DB, beta-cyfluthrin, Coniothyrium minitans Strain CON/M/91-08 (DSM 9660), deltamethrin, dimethenamid-P, flufenacet, flurtamone, fosthiazate, iodosulfuron, iprodione, maleic hydrazide, picoxystrobin และ silthiofam ให้ขยายเวลาการใช้งานไปจนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
                  ๒. อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมการขยายเวลาในครั้งนี้ ตามมาตราที่ ๑๗ ย่อหน้าที่ ๑ ของ Regulation (EC) No 1107/2009 ว่าหากในกรณีที่ EU พิจารณาแล้วเห็นว่า สารรายการ ใดไม่สมควรต่ออายุการใช้งาน EU ก็สามารถขอปรับร่นมาให้ใช้วันที่หมดอายุเดิมได้ หรือสามารถยกเลิกการขยายอายุครั้งใหม่นี้ได้ด้วย แม้ผลการพิจารณาจะแล้วเสร็จหลังจากการขยายอายุการใช้งานชั่วคราวนี้ แล้วก็ตาม หรือหากว่า  EU จะอนุญาตให้ต่ออายุการใช้สาร นั้นๆ ก็จะมีการกำหนดวันที่มีผลปรับใช้ให้โดยเร็วที่สุดต่อไป 
                  ๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ลงประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙) แล้ว
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ต่อไปนี้  
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

EU Food News_EU ไม่ต่ออายุสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ๓ รายการ

ด้วย สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation จำนวน ๓ ฉบับ ครอบคลุมการไม่ต่ออายุการอนุญาตให้ใช้สารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ๓ รายการ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
              ๑. Commission Implementing Regulation (EU) 2016/864 of 31 May 2016 concerning the non-renewal of approval of the active substance triasulfuron, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ใน EU Official Journal L 144/32 ว่าด้วยการไม่ต่ออายุการอนุญาตให้ใช้ triasulfuron เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ในสหภาพยุโรป เนื่องจากการประเมินผลของ EFSA พบว่า ข้อมูลผลของการเป็นพิษต่อระบบพันธุกรรม และสารที่ใช้ในการผลิตไม่ครบถ้วน   จึงทำให้ไม่สามารถกำหนดค่าอ้างอิงพิษวิทยาต่อสุขภาพได้ (health based  toxicological reference values) ดังนั้น จึงทำให้ไม่สามารถประเมินความเสี่ยงต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการ บุคคลทำงาน บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสารได้ รวมถึง พบว่าในบางสภาพพื้นที่ภูมิอากาศมีความเสี่ยงสูงจากน้ำบาดาลที่มีการปนเปื้อนของ triasulfuron หรือจากเมแทบอไลต์ของดิน CGA ๑๕๐๘๒๙ ที่สูงกว่าค่าพาราเมตริกสำหรับน้ำดื่มที่ระดับ ๐.๑ µg/l. รวมทั้ง มีความเสี่ยงสูงต่อพืชน้ำต่างๆ ด้วย ดังนั้น  EU จึงเห็นควรไม่อนุญาตต่ออายุการใช้งานให้กับ triasulfuron เพื่อใช้เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) อีกต่อไป
                     กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อย่างไรก็ดี EU กำหนดให้ประเทศสมาชิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสาร triasulfuron ภายใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ และอนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้แต่ต้อง มีระยะเวลาสั้นที่สุดและต้อง ไม่เกินกว่าวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
                     สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
               ๒. Commission Implementing Regulation (EU) 2016/871 of 1 June 2016 concerning the non-renewal of approval of the active substance amitrole, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ใน EU Official Journal L 145/4 ว่าด้วยการไม่ต่ออายุการอนุญาตให้ใช้ amitrole เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์ อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ในสหภาพยุโรป เนื่องจากการประเมินผลของ EFSA พบว่า มีความเสี่ยงสูงของน้ำบาดาลที่มีการปนเปื้อนของ amitrole หรือจากระดับเมแทบอไลต์ที่สูงกว่า ค่าพาราเมตริกสำหรับน้ำดื่มที่ระดับ ๐.๑ µg/l. รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงต่อผู้ประกอบการ บุคคลทำงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสาร รวมถึง amitrole ถูกจัดให้เป็นสารที่มีพิษที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่อมไร้ท่อ ในกลุ่มสารที่เป็นพิษต่อการสืบพันธุ์ประเภท ๑B ดังนั้น  EU จึงเห็นควรไม่อนุญาตต่ออายุการใช้งานให้กับ amitrole เพื่อใช้เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) อีกต่อไป
                     กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อย่างไรก็ดี EU กำหนด ให้ประเทศสมาชิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสาร amitrole ภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ และอนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้แต่ต้อง มีระยะเวลาสั้นที่สุดและต้องไม่เกินกว่า วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
                     สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
               ๓. Commission Implementing Regulation (EU) 2016/872 of 1 June 2016 concerning the non-renewal of approval of the active substance isoproturon, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ใน EU Official Journal L 145/7 ว่าด้วยการไม่ต่ออายุการอนุญาตให้ใช้ isoproturon เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์ อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ในสหภาพยุโรป เนื่องจากการประเมินผลของ EFSA พบว่า มีความเสี่ยงสูงของน้ำบาดาลที่มีการปนเปื้อนของ isoproturon หรือจากระดับเมแทบอไลต์ ที่สูงกว่าค่าพาราเมตริกสำหรับน้ำดื่มที่ระดับ ๐.๑ µg/l. รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงในระยะยาวต่อนก สัตว์ป่า ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์น้ำมีชีวิต รวมถึง isoproturon ถูกจัดให้เป็นสารที่ก่อมะเร็งในกลุ่มสารที่เป็น พิษต่อการสืบพันธุ์ประเภท ๒ ดังนั้น  EU จึงเห็นควรไม่อนุญาตต่ออายุการใช้งานให้กับ isoproturon เพื่อใช้เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) อีกต่อไป
                     กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ อย่างไรก็ดี EU กำหนดให้ประเทศสมาชิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสาร isoproturon ภายใน วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ และอนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้แต่ต้อง มีระยะเวลาสั้นที่สุดและต้อง ไม่เกินกว่าวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
                     สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Food Law Update_Thai :LIST OF APPROVED ESTABLISHMENTS


ที่มา กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง

EU Food News_EU ถอนการอนุญาตสารออกฤทธิ์ ๒ รายการ

สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ ๒ ฉบับ คือ (๑) Commission Implementing Regulation (EU) 2016/636 of 22 April 2016 withdrawing the approval of the active substance Z,Z,Z,Z-7,13,16,19-docosatetraen-1-yl isobutyrate, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 และ (๒) Commission Implementing Regulation (EU) 2016/638 of 22 April 2016 withdrawing the approval of the active substance Z-13-hexadecen-11yn-1-yl acetate, in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council, and amending Commission Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ใน EU Official Journal L 108/22 และ L 108/28 ว่าด้วยการถอนการอนุญาตไม่ให้ใช้ Z,Z,Z,Z-7,13,16,19-docosatetraen-1-yl isobutyrate และ Z-13-hexadecen-11yn-1-yl acetate เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) ในสหภาพยุโรป สรุปดังนี้
              ๑. ตามที่ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ร้องขอข้อมูลคุณลักษณะด้านเทคนิคที่ผลิตจำหน่ายของสาร รวมถึงข้อมูลสิ่งเจือปนที่เกี่ยวข้องของสารทั้ง ๒​ รายการจากบริษัทผู้ยื่นคำร้อง โดยกำหนดให้ส่งมอบข้อมูล ภายในเวลาที่กำหนดคือวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ หากแต่บริษัทผู้ยื่นคำร้องก็ไม่ได้จัดส่งข้อมูลหรือแจ้ง ยืนยันที่จะส่งมอบข้อมูลดังกล่าวตามเวลาที่กำหนด ดังนั้น    EU จึงเห็นควรถอนการอนุญาตให้ใช้ Z,Z,Z,Z-7,13,16,19-docosatetraen-1-yl isobutyrate และ Z-13-hexadecen-11yn-1-yl acetate เป็นสาร ออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) นับแต่ บัดนี้เป็นต้นไป
              ๒. กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลปรับใช้ ๒๐ วันหลังจากที่ลงประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙)
              ๓. อย่างไรก็ดี EU กำหนดให้ประเทศสมาชิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสม ของสารดังกล่าวภายในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ และอนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้แต่ต้อง มีระยะเวลาสั้นที่สุดและต้องไม่เกินกว่าวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
              ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซด์ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

โปรแกรมการตรวจโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศของ USFDA

เป้าหมายและวัตถุประสงค์
โปรแกรมการตรวจโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯเป็น โปรแกรมที่บริหารโดยหน่วยงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) เป้าหมายก็เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าอาหารที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงาน USFDA ที่บริโภคภายในประเทศสหรัฐฯและที่มีแหล่งกำเนิดสินค้าอยู่ในต่างประเทศ มีการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ผลิต จัดการ ทำบรรจุภัณฑ์ และเก็บรักษา ที่ได้มาตรฐานที่เป็นระดับเดียวกันกับที่กฎหมายบังคับใช้กับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศสหรัฐฯ
วัตถุประสงค์ของการตรวจโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศก็เพื่อระบุศักยภาพปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหารที่แหล่งกำเนิดสินค้าและก่อนที่สินค้าจะเดินทางเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของหน่วยงาน USFDA และตามกฎหมาย Federal Food, Drug and Cosmetic Act เป็นสินค้าอาหารที่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยในการบริโภค และเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาตัดสินใจปล่อยสินค้าอาหารเหล่านั้นเข้าสู่ประเทศสหรัฐฯ
ปัจจุบันสหรัฐฯมีนโยบายที่จะเพิ่มระดับการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อเสนอแนะนำของคณะทำงานด้านความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Working Group) ที่ประธานาธิบดีโอบามาจัดตั้งขึ้น และจากความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯที่ให้งบประมาณ USFDA เพิ่มมากเพื่อใช้ในการดำเนินงานที่เป็นการสอดส่องดูแลสินค้าอาหารนำเข้าสหรัฐฯเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภค
หลักการที่ใช้ในการตรวจโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศ
Food Safety Working Group กำหนดหลักการที่ใช้ในการตรวจโรงงานไว้ดังนี้คือ “การตรวจและการบังคับใช้กฎหมายเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ดีข้อมูลข่าวสารต่างๆที่มีคุณภาพจะช่วยนำทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องให้รู้ว่าอาหารรายการใดที่มีความเสี่ยงแนวทางแก้ไขใดที่ควรนำมาใช้ และใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบ คณะทำงานเรื่องความปลอดภัยของอาหารแนะนำรัฐบาลกลางสหรัฐฯว่าจะต้องให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายสหรัฐฯอย่างทั่วถึงในทุกประเทศทั่วโลก ให้การสนับสนุนการทำความพยายามด้านความปลอดภัยที่เป็นในระดับมลรัฐ ท้องถิ่นและในหมู่ภาคธุรกิจในประเทศ และใช้ข้อมูลที่ได้มาเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อนำไปสู่การทำความพยายามและการประเมินผลลัพท์ที่เกิดขึ้น”
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกโรงงานเพื่อเข้าไปตรวจสอบ
หน่วยงาน USFDA จะเน้นไปที่การตรวจสอบการผลิตอาหารที่เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ผลิตอาหารในที่นี้รวมถึง เกษตรกรผู้ปลูก/เก็บเกี่ยว โรงงานผลิต/จัดการ ผู้ทำบรรจุภัณฑ์ครั้งแรก/ผู้ทำบรรจุภัณฑ์อีกครั้งหนึ่งและผู้เก็บรักษาสินค้าอาหาร “อาหารที่มีความเสี่ยงสูง” ในที่นี้หมายถึงสินค้าอาหารที่หน่วยงาน USFDA มีความเชื่อที่ตั้งอยู่บนหลักฐานที่เป็นทางวิทยาศาสตร์ว่าอาจจะมีศักยภาพสูงที่จะก่อให้เกิดอันตรายเมื่อบริโภค
อาหารที่มีความเสี่ยงสูง คือ สินค้าอาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีการปรับสภาวะอากาศ สินค้าอาหารกระป๋องรสเปรี้ยวและ/หรือที่มีความเป็นกรดต่ำ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ขนมปังอบไส้สังขยา (custard) ผลิตภัณฑ์เนื้อนมไข่และเนย น้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านเข้าขบวนการฆ่าเชื้อโรค ผักและผลไม้สด ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ เครื่องเทศ ไข่ประเภทที่มีเปลือกหุ้ม (shell egg) แซนวิช อาหารประเภทสลัด นมสำหรับเด็กอ่อน และอาหารที่เป็นด้าน การแพทย์ รายการอาหารที่มีความเสี่ยงสูงไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเท่านั้น หน่วยงาน USFDA มีสิทธิที่จะเพิ่มเติมรายการอาหารอื่นๆเข้าไปไว้ในกลุ่มความเสี่ยงสูงได้ทุกเวลาเมื่อมีข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ เพิ่มเติมเมื่อไม่นานมานี้หน่วยงาน USFDA ได้เพิ่มอาหารที่มีความเสี่ยงสูงเข้าไปอีกหนึ่งรายการคือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ในตัวของมันเองไม่มีส่วนผสมที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ถูกผลิตในโรงงานผลิตที่มีการผลิตสินค้าอาหารที่มีส่วนผสมที่จะก่อให้เกิดอาหารแพ้ได้ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์อาหารตัวแรกจึงอาจจะมีการปนเปื้อนส่วนผสมที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ได้และที่ไม่ได้มีการแจ้งไว้บนฉลากสินค้า ส่วนผสมพื้นฐานที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้คือ นม ไข่ ปลา สัตว์ทะเลเปลือกแข็ง ผลไม้ประเภทถั่ว (Nut) ถั่วลิสง และถั่วเหลือง
การเลือกโรงงานในต่างประเทศเพื่อทำการตรวจ USFDA จะกระทำบนการประเมินความเสี่ยงของอาหารแต่ละประเภทที่ถูกนำเข้าสหรัฐฯ ในแต่ละปีงบประมาณสหรัฐฯจะระบุอาหารที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูง หลังจากนั้น USFDA จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆจากทั่วโลกและจากเฉพาะประเทศ ข้อมูลนี้จะรวมถึงจำนวนรายการสินค้าที่มีการนำเข้าสหรัฐฯ (ปริมาณการนำเข้า) และเงื่อนไขอื่นๆเช่น อัตราการถูกปฏิเสธการนำเข้าของสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านั้น
นโยบายเพิ่มจำนวนการตรวจสอบโรงงานในต่างประเทศเป็นนโยบายเน้นการปฏิบัติเสมอภาคทั่วโลกไม่ได้เจาะจงลงไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ
ระยะเวลาการดำเนินงานตรวจสอบโรงงานผลิตในต่างประเทศ
การเดินทางไปตรวจสอบโรงงานในต่างประเทศของ USFDA ในประเทศใดประเทศหนึ่งในแต่ละครั้งจะห่างกัน ๓ สัปดาห์ (ในกรณีที่ USFDA เดินทางไปตรวจสอบในประเทศนั้นเกินกว่าหนึ่งครั้ง ขึ้นกับความจำเป็นต้องกระทำเพื่อให้บรรลุครบตามจำนวนโรงงานที่ต้องตรวจสอบในประเทศนั้นตามที่ได้ระบุไว้แล้วในแผนงานของปีนั้น) ในแต่ละครั้งของการเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึ่ง USFDA จะตรวจสอบโรงงานระหว่าง ๖ – ๙ โรงงาน การตรวจสอบโรงงานหนึ่งโรงงานจนแล้วเสร็จสมบูรณ์จะใช้เวลาระหว่าง ๑ – ๓ วัน
ขั้นตอนการเดินทางไปตรวจสอบโรงงานผลิตในต่างประเทศ
หลังจากจัดทำแผนงานการตรวจสอบโรงงานผลิตแล้ว ขั้นตอนการดำเนินงานโดยสรุปของ USFDA จะเป็นดังนี้คือ
๑.   แจ้งสถานทูตของประเทศที่จะเดินทางไปตรวจสอบโรงงานให้ทราบล่วงหน้า (USFDA จะไม่เปิดเผยรายชื่อประเทศและโรงงานที่ USFDA มีแผนจะออกไปตรวจให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง)
๒.   แจ้งบริษัทที่ต้องการไปตรวจสอบถึงความประสงค์จะเดินทางไปตรวจสอบ การแจ้งกระทำผ่านทางอีเมล์ โทรสาร และหรือส่งไปรษณีย์ เอกสารที่ส่งแจ้งจะกระทำในภาษาอังกฤษและภาษาพื้นเมืองของประเทศเป้าหมาย [USFDA จะไม่ตรวจสอบบริษัทส่งออก (exporter) หรือบริษัทนายหน้า (broker)
๓.   ติดต่อหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยของอาหารในประเทศเป้าหมาย เพื่อขอความร่วมมือและความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ พร้อมทั้งแจ้งชื่อโรงงานที่เป้าหมายของการเดินทางไปตรวจสอบ
๔.   แจ้งสถานทูตให้ทราบอีกครั้งถึงข้อมูลพื้นฐานของขั้นตอนและขบวนการตรวจสอบโรงงานผลิตสินค้าอาหารในต่างประเทศของสหรัฐฯ
๕.   USFDA ติดต่อโรงงานที่เป็นเป้าหมายของการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งทางจดหมายเพื่อแจ้งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงวันที่ที่จะไปทำการตรวจสอบและข้อมูลโลจิสติกส์อื่นๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงความช่วยเหลือเรื่องล่าม
๖.   รายละเอียดต่างๆที่ USFDA แจ้งโรงงานเป้าหมายของการตรวจสอบจะถูกส่งต่อให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัยของอาหารในประเทศเป้าหมายได้ทราบด้วย
๗.   การตรวจสอบโรงงานผลิต USFDA จะเน้นไปที่การปฏิบัติตามกฎหมาย Federal Food, Drug, and Cosmetic Act โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขบวนการผลิตที่เป็นไปตามที่สหรัฐฯระบุไว้ใน “Current Good Manufacturing Practice in Manufacturing, Packing, or Holding Human Food” และตามที่ระบุไว้ในกฎระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้องสำหรับอาหารประเภทนั้นๆ
๘.   เมื่อการตรวจสอบสิ้นสุดลง USFDA จะออกเอกสาร FDA-483 (Inspectional Observations Form) ให้แก่ฝ่ายจัดการของบริษัท และ USFDA จะดำเนินงานขั้นตอนต่อไปตามที่จำเป็น ในกรณีที่ USFDA เห็นว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่เป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบของสหรัฐฯ USFDA จะส่งเอกสาร “Establishment Inspection Report –EIR) ให้แก่โรงงาน เอกสารเหล่านี้ถือเป็นเอกสารเปิดเผยต่อสาธารณะชนตามกฎหมาย Freedom of Information ดังนั้นทุกคนมีสิทธิที่จะร้องขอเอกสารการตรวจสอบโรงงานใดโรงงานหนึ่งได้เมื่อต้องการ ภาครัฐบาลต่างชาติยื่นคำขอไปที่ Office of International Programs, 10903 New Hampshire Avenue, Building 31, Silver Spring, MD 20993, Fax: 301 595-5063, Tel: 301 796-4600 ภาคเอกชนยื่นคำขอผ่านทางระบบ Freedom of Information Act ที่ Food and Drug Administration, Division of Freedom of Information, Office of Shared Services, Office of Public Information and Library Services, 12420 Parklawn Drive, ELEM-1029, Rockville, MD 20857, Fax: 301 827-9267, Tel: 301 796-3900
๙. เพื่อลดปัญหาเรื่องความผิดพลาดและการเข้าใจผิด ในระหว่างการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ USFDA จะแจ้งให้เจ้าของโรงงานได้ทราบถึงปัญหาต่างๆที่ตรวจพบ ตอบคำถามต่างๆที่เจ้าของโรงงานมี และให้คำแนะนำต่างๆเพื่อโรงงานสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ถูกต้อง
รายละเอียดวิธีการตรวจสอบศึกษาได้ที่คู่มือสำหรับการตรวจสอบที่เจ้าหน้าที่ USFDA ใช้ในการทำงานคือ Investigations Operations manual: Chapter 5, General Procedures Used by FDA Investigators when conducting inspections หรือติดต่อสอบถาม FDA’s Office of International Program, 10903New Hampshire Ave., Building 31, Silver Spring, MD 20993
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายในการตรวจโรงงานในการตรวจครั้งที่ ๑ เป็นความรับผิดชอบของ USFDA
ภายใต้กฎหมาย Food Safety Modernization Act ที่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๐๑๑ กำหนดว่าตั้งแต่วันที่๑ ตุลาคม ๒๐๑๑ เป็นต้นไปโรงงานผลิตสินค้าอาหารใดๆก็ตามที่ USFDA เดินทางไป ตรวจเป็นครั้งแรกและจำเป็นจะต้องเดินทางกลับไปตรวจโรงงานเดิมอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากพบว่ามีการฝ่าฝืนและจะต้องแก้ไข การตรวจในครั้งที่ ๒ นี้ USFDA หากจะต้องมีการเดินทางไปปฏิบัติงานในต่างประเทศอีกจะเรียกเก็บค่าธรรมเบียมคิดเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ ๓๒๕ เหรียญฯ คำนวนตามจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทั้งนี้รวมเวลาการเดินทางไปและกลับระหว่างสำนักงาน USFDA และที่ตั้งโรงงานไว้ด้วย ในปี ๒๐๑๒ USFDA แจ้งว่า อาจจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมหรือไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากบางโรงงานเป็นกรณีพิเศษด้วยเหตุผลเรื่องความยากลำบากในการประกอบธุรกิจในระหว่างสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
การฝ่าฝืนหลักที่จะส่งผลให้เกิดการตรวจครั้งที่สองคือ
๑.  การเจือปนสกปรก เช่น การมียาฆ่าแมลงตกค้างเกินกว่าระดับที่กำหนด การเกิดเชื้อราหรือเชื้อโรคในอาหาร การขาดระบบการควบคุมอันตรายที่เหมาะสมในระหว่างการผลิต
๒.  การปิดฉลากสินค้าไม่ถูกต้อง
การปฏิเสธการตรวจสอบโรงงานโดย USFDA
ประเทศเป้าหมายหรือโรงงานเป้าหมายมีสิทธิที่จะปฏิเสธการขอเข้าไปตรวจสอบโรงงานของ USFDA หากโรงงานปฏิเสธไม่ให้ USFDA เข้าตรวจโรงงาน USFDA จะพิจารณาทางเลือกอื่นที่อยู่ภายใต้กฎหมายที่อาจจะรวมถึงการปฏิเสธการนำเข้า การขอสุ่มตัวอย่างสินค้ามาตรวจสอบ หรือการตรวจสอบสินค้าทั้งหมดของบริษัทเมื่อมีการเสนอนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯ เพื่อตัดสินว่าจะยอมปล่อยสินค้าเหล่านั้นให้เข้าสหรัฐฯหรือปฏิเสธการนำเข้าสหรัฐฯ
กฎหมาย Food, Drug, and Cosmetic Act ให้อำนาจที่สมบูรณ์ต่อ USFDA ที่จะทำการตรวจสอบ สุ่มตัวอย่าง กักสินค้า และ/หรือปฏิเสธการนำเข้าสินค้าใดๆก็ได้ที่อยู่ภายใต้อำนาจของ USFDA
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นครลอสแอนเจลิส

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

EU Food News_EU_EU พิจารณาแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักจากไทยที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป (Review ครั้งที่ ๒๔)

ตามที่  สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักไทย ๑๐% – ๕๐% ณ ด่านนำเข้าของสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 669/2009 ที่ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มพืชกลุ่มเสี่ยงของประเทศที่สามที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ นั้น
                ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศผลการพิจารณาแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มครั้งที่ ๒๔ อย่างเป็นทางการใน EU Official Journal L 168/1 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1024 of 24 June 2016 amending Regulation (EC) No 669/2009 implementing Regulation (EC) No 882/2004 of the European Parliament and of the Council as regards the increased level of official controls on imports of certain feed and food of non-animal origin ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย Commission Implementing Regulation ดังกล่าวยังคงเป็นมาตรการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากการ Review ครั้งที่ผ่าน มา ดังนั้น จึงสรุปภาพรวมการตรวจเข้มผักจากไทย ณ ปัจจุบัน ได้ดังนี้
                   ๑. คงการตรวจหาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในผัก ๒ ประเภท คือ ผักในกลุ่มมะเขือและถั่วฝักยาวจากไทย 
                   ๒. คงการตรวจหาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับ ๑๐% ในพริกจากไทย
                  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ จากการ Review ครั้งนี้ พบว่า EU
                   ๑.  เพิ่มการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในถั่วเฮเซลนัทจากประเทศจอร์เจีย
                   ๒. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารโอคราทอกซิน A ตกค้างที่ระดับ ๕๐% ในองุ่นแห้งจากประเทศอัฟกานิสถาน  
                   ๓. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในถั่วอัลมอนต์จากประเทศออสเตรเลีย
            ทั้งนี้ EU ได้ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลา ๖ ปี ซึ่งที่ผ่านมา EU กำหนดให้มีการ Review มาตรการกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สามที่มีปัญหาทุกๆ ๓ เดือน หากแต่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เห็นควรให้เปลี่ยนเป็นทุกๆ ๖ เดือนแทน โดยขอให้ประเทศสมาชิก EU จัดส่งรายงานสรุปปัญหาการตรวจพบสินค้านำเข้าที่มีปัญหาทุกๆ ๖ เดือนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปทราบด้วยเช่นกัน
            สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังนี้
            กฎระเบียฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๓ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙) และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

Food News_เทคนิคใหม่ลดเชื้อ Salmonella ในเนื้อสัตว์ถึง 90%

เทคโนโลยีสมัยเก่าที่ใช้ทำลายแบคทีเรียโดยธรรมชาติเรียกว่า Bacteriophages นั้นกลายเป็นจุดสำคัญในการทำวิจัยใหม่ของ มหาวิทยาลัยเนวาดา เมืองเรโน ซึ่งเทคนิคนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
            ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากวิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่มหาวิทยาลัยเนวาดาได้นำเสนอการวิจัยในที่ประชุม International American Meat Science Association’s Conference ที่เท็กซัส ว่าสามารถลดเชื้อ Salmonella ได้ร้อยละ 90 ในผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก, หมูบดและเนื้อบด  ซึ่งSalmonella เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคที่เกิดจากอาหารที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา
              โดยงานวิจัยดังกล่าวใช้วิธีการรักษาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อ Salmonella สี่ชนิด ด้วยการใช้ Myoviridae Bacteriophages ในระหว่างการผสม ซึ่ง Bacteriophages มักจะพบได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไป  มีคุณสมบัติที่เป็นอันตรายต่อเซลล์แบคทีเรียโดยเฉพาะแต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช จากการทดลองพบว่าแบคทีเรีย Salmonella จะเกิดในเนื้อสัตว์และเนื้อสัตว์ปีกแช่เย็นซึ่งการใช้วิธีการใหม่นี้จะใช้กับเนื้อสัตว์ก่อนนำไปบด Bacteriophages จะเข้าไปในเซลล์ของแบคทีเรียและทำลายมัน ทั้งนี้พบว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มีเชื้อ Salmonella  ลดลง 10 เท่า ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจและหวังว่างานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้โดยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของอาหาร”
ที่มา : the Beef site สรุปโดย : มกอช.