เครือข่าย Foodwatch ในเยอรมนี กระตุ้นภาครัฐเรียกคืนสินค้าอาหารหลายชนิด เหตุพบสาร MOAH ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร 3 ชนิด ได้แก่ ช็อกโกแลตแท่ง Kinder Riegel, Nougat Minis ของ Ferrero และ Schokohappen Classic ของ Sun Rice
Foodwatch ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดกว่า 20 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบ และพบว่าสินค้า 3 ชนิดข้างต้น มีปริมาณสาร Mineral Oil Aromatic Hydrocarbons (MOAH) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอ้างอิงผลการวิจัยของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ที่ระบุว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์ (mutagenic) รวมทั้งรายงานของหน่วยงาน Bundesinstitut fuer Risikobewertung (BfR) ของเยอรมนีเกี่ยวกับข้อกังวลความปลอดภัยของสารดังกล่าว
MOAHs เป็นสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับปิโตรเลียม ไม่มีสีและกลิ่นรส สารดังกล่าวเคยถูกใช้ผสมในหมึกพิมพ์ที่มีพื้นฐานเป็นส่วนประกอบน้ำมัน (oil-based) ซึ่ง Foodwatch สันนิษฐานว่า MOAHs อาจปนเปื้อนจากการเคลื่อนย้าย (migration) จากฉลากหรือบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลได้ และปัจจุบันในสหภาพยุโรปยังไม่มีมาตรฐานข้อกำหนดการปนเปื้อนในอาหารของสาร MOAHs
ทั้งนี้จากผลการทดสอบดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตของหวานในเยอรมนี (BDSI) ได้ให้ความเห็นว่าปริมาณสาร MOAHs ที่พบในรายงานของ Foodwatch ถือเป็นระดับที่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
อนึ่ง Foodwatch เป็นองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (Non-Governmental Organization: NGO) ด้านสิทธิของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีเครือข่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
Foodwatch ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดกว่า 20 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบ และพบว่าสินค้า 3 ชนิดข้างต้น มีปริมาณสาร Mineral Oil Aromatic Hydrocarbons (MOAH) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอ้างอิงผลการวิจัยของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ที่ระบุว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์ (mutagenic) รวมทั้งรายงานของหน่วยงาน Bundesinstitut fuer Risikobewertung (BfR) ของเยอรมนีเกี่ยวกับข้อกังวลความปลอดภัยของสารดังกล่าว
MOAHs เป็นสารกลุ่มไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับปิโตรเลียม ไม่มีสีและกลิ่นรส สารดังกล่าวเคยถูกใช้ผสมในหมึกพิมพ์ที่มีพื้นฐานเป็นส่วนประกอบน้ำมัน (oil-based) ซึ่ง Foodwatch สันนิษฐานว่า MOAHs อาจปนเปื้อนจากการเคลื่อนย้าย (migration) จากฉลากหรือบรรจุภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลได้ และปัจจุบันในสหภาพยุโรปยังไม่มีมาตรฐานข้อกำหนดการปนเปื้อนในอาหารของสาร MOAHs
ทั้งนี้จากผลการทดสอบดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตของหวานในเยอรมนี (BDSI) ได้ให้ความเห็นว่าปริมาณสาร MOAHs ที่พบในรายงานของ Foodwatch ถือเป็นระดับที่สามารถบริโภคได้โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
อนึ่ง Foodwatch เป็นองค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ (Non-Governmental Organization: NGO) ด้านสิทธิของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีเครือข่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
ที่มา: Foodwatch, Thelocal สรุปโดย: มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น