เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตีพิมพ์ประกาศข้อแนะนำว่าด้วย การลดค่าปนเปื้อนของนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ ๒ ฉบับ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑. Commission Recommendation (EU) 2016/1111 of 6 July 2016 on the monitoring of nickel in food ใน EU Official Journal L 183/70 เป็นข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของ สารนิกเกิล (nickel) ในอาหารมนุษย์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน ต้องให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจสินค้าอาหารเพื่อหาสารนิกเกิลตกค้าง เป็นเวลา ๓ ปี คือ ปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๒ โดยกำหนดให้มีการสุ่มตรวจในสินค้าอาหาร ดังต่อไปนี้
- ธัญพืช
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช
- นมผงเด็กทารก
- นมผงเด็กเล็ก
- อาหารแปรรูปจากธัญพืชสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
- อาหารสำหรับเด็กทารก
- อาหารใช้ในทางแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- ผัก
- ถั่ว และเมล็ดพืชน้ำมัน
- นม และผลิตภัณฑ์นม
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และที่ไม่มีแอลกอฮอล์
- น้ำตาลและลูกอม (รวมถึงโกโก้และชอคโกแลต)
- ผลไม้
- ผัก และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผัก (รวมถึงเห็ด)
- ใบชาแห้ง
- พืชอื่นๆ ที่มีการทำให้แห้งเพื่อใช้ในการทำชาสมุนไพร
- หอยสองฝา
ทั้งนี้ EU กำหนดให้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Regulation (EC) No 333/2007 รวมถึงให้อิงใช้ระดับค่าการปนเปื้อนของสารนิกเกิลตามมาตรฐาน EN 13804:2013 ในหมวด สินค้าอาหาร และให้ใช้วิธีตรวจวิจัยด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) Flame Atomic Absorption Spectrometry (FAAS) (๒) Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GFAAS) (๓) Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) หรือ (๔) Mass Spectrometry (ICP-MS)
โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องส่งมอบผลการสุ่มตรวจหานิกเกิลในอาหารอย่างช้า สุดภายในวันที่ ๑ ตุลาคมของทุกปีเป็นระยะเวลา ๓ ปี คือ ในปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๒
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
๒. Commission Recommendation (EU) 2016/1110 of 28 June 2016 on the monitoring of the presence of nickel in feed ใน EU Official Journal L 183/68 เป็นข้อแนะนำว่า ด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของสารนิกเกิล (nickel) ในอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU และผู้ประกอบการภาคเอกชนต้องให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจสินค้าอาหารสัตว์ เพื่อหาสารนิกเกิลตกค้าง เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum Level : ML) ของสารนิกเกิลในอาหารสัตว์หรือกำหนดมาตรการอื่นๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการปกป้องสุขภาพผู้บริโภคและ สัตว์ในอนาคต
ทั้งนี้ EU กำหนดให้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Regulation (EC) No 152/2009 โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องส่งมอบผลการสุ่มตรวจหานิกเกิลในอาหารสัตว์อย่างช้า สุดภายในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ตามแบบฟอร์มที่ EFSA กำหนดไว้ใน “Guidance of EFSA – Standard Sample Description for Food and Feed”
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ :
ก) ข้อแนะนำใหม่ในการกำหนดให้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ เพื่อตรวจหาสารนิกเกิลตกค้างนี้ เห็นได้ว่า EU พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนในกลุ่มประเทศสมาชิกได้คำนึงถึงที่มาของปัญหาการปนเปื้อนสารนิกเกิล โดยให้มีการร่วมกันสุ่มตรวจ เพื่อนำผลไปสรุปปัญหาและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
ข) การออกแนวทางให้กลุ่มประเทศสมาชิกถือปฎิบัติตรวจหาสารนิกเกิลในครั้งนี้ คาดว่าจะ ส่งผลต่อสินค้าในกลุ่มเป้าหมายที่วางจำหน่ายใน EU และที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ดังนั้น ไทยควรเพิ่ม ความระมัดระวังโดยเฉพาะกับสินค้าที่มีรายชื่อข้างต้น เนื่องจากนับแต่นี้ไป EU จะเริ่มสุ่มตรวจหาสารนิกเกิล ตกค้างในอาหารและอาหารสัตว์อย่างจริงจังมากขึ้น
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น