ตามที่ สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักไทย ๑๐% – ๕๐% ณ ด่านนำเข้าของสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 669/2009 ที่ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มพืชกลุ่มเสี่ยงของประเทศที่สามที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ นั้น
ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศผลการพิจารณาแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มครั้งที่ ๒๔ อย่างเป็นทางการใน EU Official Journal L 168/1 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2016/1024 of 24 June 2016 amending Regulation (EC) No 669/2009 implementing Regulation (EC) No 882/2004 of the European Parliament and of the Council as regards the increased level of official controls on imports of certain feed and food of non-animal origin ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย Commission Implementing Regulation ดังกล่าวยังคงเป็นมาตรการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากการ Review ครั้งที่ผ่าน มา ดังนั้น จึงสรุปภาพรวมการตรวจเข้มผักจากไทย ณ ปัจจุบัน ได้ดังนี้
๑. คงการตรวจหาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในผัก ๒ ประเภท คือ ผักในกลุ่มมะเขือและถั่วฝักยาวจากไทย
๒. คงการตรวจหาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับ ๑๐% ในพริกจากไทย
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ จากการ Review ครั้งนี้ พบว่า EU
๑. เพิ่มการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในถั่วเฮเซลนัทจากประเทศจอร์เจีย
๒. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารโอคราทอกซิน A ตกค้างที่ระดับ ๕๐% ในองุ่นแห้งจากประเทศอัฟกานิสถาน
๓. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในถั่วอัลมอนต์จากประเทศออสเตรเลีย
ทั้งนี้ EU ได้ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มดังกล่าวมาแล้วเป็นระยะเวลา ๖ ปี ซึ่งที่ผ่านมา EU กำหนดให้มีการ Review มาตรการกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สามที่มีปัญหาทุกๆ ๓ เดือน หากแต่ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เห็นควรให้เปลี่ยนเป็นทุกๆ ๖ เดือนแทน โดยขอให้ประเทศสมาชิก EU จัดส่งรายงานสรุปปัญหาการตรวจพบสินค้านำเข้าที่มีปัญหาทุกๆ ๖ เดือนต่อคณะกรรมาธิการยุโรปทราบด้วยเช่นกัน
สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังนี้
กฎระเบียฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๓ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙) และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น