วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

EU Food News_EU พิจารณาแก้ไขมาตรการสุ่มตรวจเข้มผักจากไทย (Review ครั้งที่ ๒๒)

ตามกฎระเบียบ Regulation (EC) No 669/2009 ที่ EU ออกมาตรการสุ่มตรวจเข้มพืชกลุ่มเสี่ยงของประเทศที่สามที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป โดยสุ่มตรวจเข้มผักไทย ๑๐% – ๕๐% ณ ด่านนำเข้าของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ นั้น

ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศผลการพิจารณาแก้ไขมาตรการ สุ่มตรวจเข้มครั้งที่ ๒๒ อย่างเป็นทางการใน EU Official Journal L 249/7 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2015/1607 of 24 June 2015 amending Annex I to Regulation (EC) No 669/2009 implementing Regulation (EC) No 882/2004 of the European Parliament and of the Council as regards the increased level of official controls on imports of certain feed and food of non-animal origin ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย Commission Implementing Regulation ดังกล่าว ให้ยกเลิกการสุ่มตรวจเข้มหาเชื้อซัลโมแนลล่าในใบพลู (Piper betle L.) จากไทย เนื่องจากผลการสุ่มตรวจที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ  ดังนั้น จึงสรุปภาพรวมการตรวจเข้ม ผักจากไทย ณ ปัจจุบัน ได้ดังนี้
                   ๑. ตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ ๒๐% ในผัก ๒ ประเภท คือ ผักในกลุ่มมะเขือ และถั่วฝักยาว 
                   ๒.   ตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ ๑๐% ในพริก
                  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ จากการ Review ครั้งนี้ พบว่า EU
                   ๑. เพิ่มการสุ่มตรวจหาสารอัลฟลาทอกซินตกค้างที่ระดับ ๕๐% ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ ถั่วลิสงจากแกมเบีย
                   ๒.  เพิ่มการสุ่มตรวจหา Norovirus ปนเปื้อนที่ระดับ ๑๐% ในราสพ์เบอร์รี่จากเซอร์เบีย
                   ๓.  ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสาร Ochratoxin A ตกค้างที่ระดับ ๕๐% ในองุ่นแห้งที่ใช้ทำไวน์ จากอุซเบกีสถาน
                   ๔. ยกเลิกการสุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างที่ระดับ  ๑๐% ในใบสะระแหน่จากมอรอคโค
รายละเอียดตามปรากฎในภาคผนวกที่แนบ
 สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังนี้
กฎระเบียฉบับนี้จะมีผลตามกฎหมาย ๑ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘) และกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป 
รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

1 ความคิดเห็น:

  1. ทั้งนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมกฎระเบียบได้ตามที่อยู่ดังนี้

    - Regulation (EC) No 669/2009: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32009R0669&from=EN

    - Commission Implementing Regulation (EU) No 2015/1607: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:JOL_2015_249_R_0004&from=EN

    ตอบลบ