วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

๋Japan Food News_ญี่ปุ่นปรับแก้ กม.ควบคุมโรคสัตว์น้ำ เพิ่มตรวจกักกัน 13 โรค

ญี่ปุ่นปรับแก้ กม.ควบคุมโรคสัตว์น้ำ เพิ่มตรวจกักกัน 13 โรค
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศแจ้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า (Act on Protecion of Fishery Resources) โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

                1.เพิ่มรายชื่อโรคระบาดในสัตว์น้ำนำเข้าประเภทต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 13 โรค รวมเป็น 24 โรค (จากเดิมมี 11 โรค) เพื่อตรวจกักกัน ณ ด่านนำเข้า สรุปกลุ่มสัตว์น้ำและรายชื่อโรคได้ดังนี้

                   1)ปลาวงศ์ Salmonidae (6 โรค)
                        I.Viral haemorrhagic septicaemia (VHS)
                       II.Epizootic haematopoietic necrosis (EHN)
                      III.Piscirichettsiosis
                      IV.Enteric redmouth disease (ERM)
                       V.Salmonid Alphavirus*
                      VI.Whirling disease*

                   2)ปลาวงศ์ Cyprinidae (2 โรค)
                        I.Spring viraemia of carp (SVC)
                       II.Koi herpesvirus (KHV) disease

                   3)ปลาวงศ์ Sparidae (1 โรค)
                       I.Glugeosis of red sea bream (Pagrus major)*

                   4)สัตว์น้ำเปลือกแข็ง (10 โรค)
                       I.Infectious disease caused by Baculovirus penaei
                         (Tetrahedral baculovirosis) ในกุ้งสกุล Penaeus
                      II.Infectious disease caused by Penaeus monodon-type baculovirus
                         (Spherical baculovirosis) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     III.Yellow head disease (YHD) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     IV.Infectious hypodermal and haematopoietic necrosis (IHHN) ในกุ้งสกุล Penaeus
                      V.Taura syndrome (TS) ในกุ้งสกุล Penaeus
                     VI.Necrotising hepatopancreatitis ในกุ้งวงศ์ Panaeidae*
                    VII.Acute hepatopancreatic necrosis disease ในกุ้งชนิด Marsupenaeus japonicas (กุ้ง kuruma), Litopenaeus vannamei (กุ้งขาวแวนนาไม), Penaeus monodon (กุ้งกุลาดำ) และ Fenneropenaeus chinensis (กุ้งขาวจีน)*
                   VIII.Infectious myonecrosis ในกุ้งวงศ์ Panaeidae (สกุล Litopenaeus, Penaeus)*
                     IX.Covert mortality disease of shrimp ในกุ้งชนิด Marsupenaeus japonicas, Litopenaeus vannamei และ Fenneropenaeus chinensis*
                      X.Gill-associated virus disease ในกุ้งวงศ์ Panaeidae (สกุล Penaeus และ Fenneropenaeus และชนิด Marsupenaeus japonicas)*

                  5)สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง (5 โรค)
                       I.Infection with abalone herpesvirus ในหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis diversicolor supertexta และ H. diversicolor diversicolor*
                      II.Pustule diases of abalone/Blister disease of abalone จากเชื้อสาเหตุ Vibrio furnissii; V. fluvialis biotype II) ในหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis disvus hannai, H. discus discus, H. madaka และ H. gigantean*
                     III.Infection with ostreid herpesvirus 1 microvariant (limit to microvariant) ในสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังวงศ์ Crassostrea (หอยนางรม, หอยตะโกรม)*
                     IV.Infection with Perkinsus qugwadi ในหอย Mizuhopecten yessoensis (หอยเชลล์ญี่ปุ่น; Japanese scallop)*
                      V.Soft tunic syndrome ในสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิด Halocynthia roretzi (Sea pineapple)*

                  * รายชื่อที่เพิ่มใหม่

                     2.MAFF เตรียมประกาศแจ้งเวียนการแก้ไขกฎหมายและรับข้อคิดเห็นจากประเทศคู่ค้า ผ่านช่องทางเผยแพร่ประกาศแจ้งเวียนมาตรการสุขอนามัย SPS/WTO ขององค์การการค้าโลกในเดือนตุลาคม 2558 (แจ้งเวียนแล้วผ่านประกาศ G/SPS/N/JPN/429 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2558 พร้อมรายละเอียดมาตรการกักกัน และระยะเวลาในการกักกันกรณีพบโรคระบาดสัตว์น้ำตามรายการที่กำหนด)
                     3.MAFF กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเงื่อนไขสุขอนามัยเพื่อใช้อ้างอิงต่อการตรวจสอบและออกใบรับรองกำกับสัตว์น้ำมีชีวิตที่ส่งออกจากประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอเพื่อให้กรมประมงพิจารณาได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2558

                 รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่

                  1. ประกาศ G/SPS/N/JPN/429: 
click here

                  2. เอกสารแนบประกาศ :  click here 

 
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว/มกอช.
(12/10/58)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น