เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2558 ผู้แทนจากรัฐบาลรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมลงนามในความตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreport and Unregulated: IUU) ของประเทศรัสเซีย ภายใต้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติของคณะทำงานเฉพาะกิจด้าน IUU ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ของสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ประกอบการในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ข้อกังวลต่ออุตสาหกรรมการจับปูอลาสกันคิงแครบของรัสเซีย ที่มีแนวโน้มการกระทำไม่เป็นไปตามหลักของกฎหมาย IUU โดยเฉพาะข้อกำหนดการติดฉลากแหล่งกำเนิด ที่พบว่ามีการปลอมแปลงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นปูซึ่งผลิตจากมลรัฐอลาสกา ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ราคาซื้อขายปูในท้องตลาดสหรัฐฯ ลดลงถึง 2.73 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ (ประมาณ 220 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็น 25% ของราคาจำหน่าย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรมปูอลาสกันคิงแครบของสหรัฐฯ รวมเป็นมูลค่าถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตั้งแต่ปี 2543 และยังเผยแพร่ข้อมูลคาดการณ์ว่า กว่า 40% ของปูอลาสกันคิงแครบที่จำหน่ายทั่วโลกในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะเป็นปูซึ่งผลิตอย่างผิดหลักการ IUU ทั้งที่ได้จากการลักลอบทำประมงของรัสเซีย จนถึงการจับปูมากกว่าโควตาที่ได้รับอนุญาต
การบรรลุความตกลงดังกล่าว ทำให้สหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตามการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ในรัสเซีย ซึ่งหากพบผู้ทำผิดกฎหมายก็จะยังคงใช้แนวทางดำเนินการตามกฎหมายของรัสเซีย แต่หากสินค้าที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สหรัฐฯ อาจดำเนินการภายใต้ระเบียบ US Lacey Act of 1900 ซึ่งมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการพิทักษ์สัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังถือเป็นการคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้า หลังจากรัสเซียประกาศห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากหลายประเทศในช่วงก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้สมาคมผู้ประกอบการในมลรัฐอลาสกาของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ข้อกังวลต่ออุตสาหกรรมการจับปูอลาสกันคิงแครบของรัสเซีย ที่มีแนวโน้มการกระทำไม่เป็นไปตามหลักของกฎหมาย IUU โดยเฉพาะข้อกำหนดการติดฉลากแหล่งกำเนิด ที่พบว่ามีการปลอมแปลงฉลากให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นปูซึ่งผลิตจากมลรัฐอลาสกา ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ราคาซื้อขายปูในท้องตลาดสหรัฐฯ ลดลงถึง 2.73 ดอลลาร์สหรัฐ/ปอนด์ (ประมาณ 220 บาท/กิโลกรัม) คิดเป็น 25% ของราคาจำหน่าย ส่งผลกระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรมปูอลาสกันคิงแครบของสหรัฐฯ รวมเป็นมูลค่าถึง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตั้งแต่ปี 2543 และยังเผยแพร่ข้อมูลคาดการณ์ว่า กว่า 40% ของปูอลาสกันคิงแครบที่จำหน่ายทั่วโลกในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะเป็นปูซึ่งผลิตอย่างผิดหลักการ IUU ทั้งที่ได้จากการลักลอบทำประมงของรัสเซีย จนถึงการจับปูมากกว่าโควตาที่ได้รับอนุญาต
การบรรลุความตกลงดังกล่าว ทำให้สหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตามการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ในรัสเซีย ซึ่งหากพบผู้ทำผิดกฎหมายก็จะยังคงใช้แนวทางดำเนินการตามกฎหมายของรัสเซีย แต่หากสินค้าที่ผิดกฎหมายเข้าสู่สหรัฐฯ อาจดำเนินการภายใต้ระเบียบ US Lacey Act of 1900 ซึ่งมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการพิทักษ์สัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังถือเป็นการคลี่คลายความตึงเครียดทางการค้า หลังจากรัสเซียประกาศห้ามการนำเข้าสินค้าประมงจากหลายประเทศในช่วงก่อนหน้านี้
ที่มา : FIS/UndercurrentNEWS (02/10/58)
มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น