เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิของนิวซีแลนด์ (Ministry of Primary Industries: MPI) ได้ประกาศแจ้งเตือนโดยอาศัยข้อกฎหมายมาตรา 289 ภายใต้กฎหมายอาหารฉบับใหม่ 2557 (Food Act 2014) มีใจความเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์การพบผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม Coconut Milk ที่มีการปนเปื้อนนมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้สำคัญที่ต้องระบุบนฉลาก
ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้ผลิตหลายยี่ห้อไม่ได้ปฏิบัติการระบุข้อมูลลงบนฉลากตามระเบียบของหน่วยงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand: FSANZ) โดยมีผลิตภัณฑ์กลุ่ม Coconut Milk และใกล้เคียง ที่พบการปนเปื้อนนมตามรายละเอียดในประกาศรวม 4 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ถูกเรียกคืนสินค้าเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่อาจมีภาวะภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ MPI ได้รายงานการพบผู้ป่วยด้วยภาวะ Anaphylaxis ในออสเตรเลียจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ Coconut Milk แล้วจำนวน 2 ราย
การติดฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารถือเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งเสริมความปลอดภัยและทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมต่อความต้องการ โดยในกรณีของผลิตภัณฑ์ Coconut Milk หน่วยงาน CODEX ซึ่งถือเป็นหน่วยงานสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารของ WTO ได้กำหนดนิยามไว้ตามมาตรฐาน CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ ซึ่งหากมีการผสมนมหรือผลิตภัณฑ์นม กฎหมายอาหารหรือมาตรการความปลอดภัยในประเทศส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องระบุนมในส่วนประกอบ หรือแสดงฉลากระบุข้อความเตือนปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้อย่างชัดเจน
สามารถศึกษาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้ดังนี้
- CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ: http://www.codexalimentarius.org/input/download/standards/10401/CXS_240e.pdf
- MPI Statement Under Food Act 2014 (23-Sep-2015) https://www.mpi.govt.nz/document-vault/9656
ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้ผลิตหลายยี่ห้อไม่ได้ปฏิบัติการระบุข้อมูลลงบนฉลากตามระเบียบของหน่วยงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Food Standards Australia New Zealand: FSANZ) โดยมีผลิตภัณฑ์กลุ่ม Coconut Milk และใกล้เคียง ที่พบการปนเปื้อนนมตามรายละเอียดในประกาศรวม 4 ผลิตภัณฑ์ ทำให้ถูกเรียกคืนสินค้าเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคโดยเฉพาะผู้ที่อาจมีภาวะภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis) จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ MPI ได้รายงานการพบผู้ป่วยด้วยภาวะ Anaphylaxis ในออสเตรเลียจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ Coconut Milk แล้วจำนวน 2 ราย
การติดฉลากผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารถือเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งเสริมความปลอดภัยและทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เหมาะสมต่อความต้องการ โดยในกรณีของผลิตภัณฑ์ Coconut Milk หน่วยงาน CODEX ซึ่งถือเป็นหน่วยงานสำคัญด้านความปลอดภัยอาหารของ WTO ได้กำหนดนิยามไว้ตามมาตรฐาน CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ ซึ่งหากมีการผสมนมหรือผลิตภัณฑ์นม กฎหมายอาหารหรือมาตรการความปลอดภัยในประเทศส่วนใหญ่กำหนดให้ต้องระบุนมในส่วนประกอบ หรือแสดงฉลากระบุข้อความเตือนปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้อย่างชัดเจน
สามารถศึกษาข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้ดังนี้
- CODEX Alimentarius ฉบับ 240 ว่าด้วยผลิตภัณฑ์มะพร้าวและกะทิ: http://www.codexalimentarius.org/input/download/standards/10401/CXS_240e.pdf
- MPI Statement Under Food Act 2014 (23-Sep-2015) https://www.mpi.govt.nz/document-vault/9656
ที่มา : FSANZ, กระทรวงอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ
นิวซีแลนด์ (29/09/58)
นิวซีแลนด์ (29/09/58)
มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น