วันที่ข่าว : 27 กรกฎาคม 2558
กระทรวงต่างประเทศออกแถลงการณ์ตอบโต้สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าผลการจัดให้ประเทศไทยยังคงอยู่ที่ระดับ Tier 3 ไม่สะท้อนพัฒนาการการแก้ปัญหาที่ดีของไทยในหลายด้าน ยืนยันรัฐบาลยังคงมุ่งมั่นดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง เพื่อความมั่นคงและมนุษยธรรมต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
Note : จัดลำดับว่าไทยแย่มาพร้อมๆกับพี่ EU เชียว =_=" มาดูผลกระทบกับไทยกัน และที่สำคัญอะไรคือ Tier ?
การจัดลำดับในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์
เทียร์ 1 (Tier 1) – หมายถึงประเทศหรือรัฐบาลที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ (ทีวีพีเอ) อย่างครบถ้วน
เทียร์ 2 (Tier 2) – หมายถึงประเทศหรือรัฐบาลที่ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของ ทีวีพีเอ ไม่ครบถ้วน แต่มีความพยายามอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านั้น
เทียร์ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watchlist) – หมายถึงประเทศที่การค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น, ล้มเหลวในการแสดงหลักฐานการเพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในปีที่ผ่านมา และถูกพิจารณาว่ากำลังพยายามอย่างมีนัยสำคัญเพื่อให้สามารถทำตามมาตรฐานขั้นต่ำของ ทีวีพีเอ โดยสัญญาว่าจะใช้มาตรการเพิ่มเติมในอนาคตภายในปีถัดไป
เทียร์ 3 (Tier 3) – หมายถึงประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายด้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ และไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
สาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยยังคงอยู่ในขั้น “เทียร์ 3″
แต่เดิมประเทศไทยเราอยู่ในลำดับ “เทียร์ 2″ แต่เมื่อปีที่แล้ว (2014) ไทยถูกลดอันดับลงไปเป็นเทียร์ 3 โดยส่วนหนึ่งมาจากปัญหาละเมิดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเล
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา รายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ปี 2015 เราก็ยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้ระดับเทียร์ 3 โดยรายงานล่าสุดของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
“รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏฺิบัติตามอย่างสมบูรณ์ต่อมาตรฐานขั้นต่ำสุด เพื่อจำกัดการค้ามนุษย์ และไม่พยายามมากพอ ไทยได้สืบสวนและดำเนินคดีกับเหล่าเจ้าหน้าที่พวกที่พัวพันการค้ามนุษย์บ้าง แต่ปัญหาคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ยังเป็นอุปสรรคในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์”
นอกเหนือจากไทยแล้ว ประเทศที่อยู่ในเทียร์ 3 ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ ก็มี รัสเซีย อิหร่าน ลิเบีย เวเนซุเอลา แอลจีเรีย ซีเรีย เยเมน เกาหลีเหนือ ซูดานใต้และซิมบับเว
ผลของการที่ประเทศไทยตกอยู่ในขั้นเทียร์ 3
- อาจสูญเสียความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯในด้านต่างๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการค้าอาจเผชิญหน้ากับการถูกสหรัฐฯคัดค้านความช่วยเหลือจากสถาบันสำคัญระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และเวิลด์ แบงก์ (หรือธนาคารโลก) อาจรวมถึงการถูกสหรัฐฯคัดค้านรวมถึงความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ระหว่างประเทศ
CR.www.zcooby.com
โดยข้อเท็จจริง การที่ประเทศใดก็ตามถูกจัดอยู่ใน Tier 2 ติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี ตามระเบียบจะถูกปรับลดลงไปอยู่ใน Tier 3 โดยอัตโนมัติ การจัดอันดับดังกล่าวนี้เป็นมาตรการที่สหรัฐอเมริกาใช้เป็นบทอ้างอิงใน การปรับลดความช่วยเหลือที่มีให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในส่วนของไทย และมาเลเซียที่ถูกปรับลดมาอยู่ใน Tier 3 พร้อมกันนี้ นับว่าโชคดีที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจไม่ดาเนินมาตรการคว่าบาตร ส่วนหนึ่งคงเพราะสถานการณ์ปัจจุบันของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการผูกมิตรกับประเทศต่างๆ มากกว่าสร้างความบาดหมางคลางแคลงใจ
ปัญหาสถานการณ์ TIP Report และ IUU(การต่อต้านการทาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมออกโดย EU) ถือว่าเป็นปัญหาที่สาคัญยิ่งของสินค้าประมงไทยในอนาคตควรต้องพัฒนาระบบควบคุมการทำประมง แบบ IUU ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งด้านกฎหมายและการดาเนินมาตรการบังคับใช้ให้เป็นรูปธรรม
การส่งออกก็ก้มหน้ารับปัญหาหาวิธีรับมือกันไป สู้ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น