วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

EU News : EU ปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่วในสินค้าพืช สัตว์ และสินค้าสัตว์น้ำบางรายการ

               ๑. เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1005 of 25 June 2015 amending Regulation (EC) No 1881/2006 as regards maximum levels of lead in certain foodstuffs โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 161/9 ซึ่งเป็น การกำหนดระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่ว (lead) ในสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน อันเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม ซึ่งได้แก่ Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อให้สอดคล้องกับผลงานวิจัย ของคณะทำงาน CONTAM Panel ของ EFSA ซึ่งได้ระบุว่า สารตะกั่วที่ได้รับผ่านการบริโภคอาหาร สามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพัฒนาการทางสมองในเด็กเล็ก และก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และ ความเป็นพิษต่อไตในผู้ใหญ่ได้ จึงเห็นควรให้มีการปกป้องกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กเล็กและ ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้น ในครั้งนี้ จึงให้มีการปรับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารตะกั่วในสินค้าพืช สัตว์ และสัตว์น้ำบางรายการขึ้นใหม่
                ๒. สรุปการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง ได้ดังนี้  
                     ๒.๑      กำหนดค่า MLs ของสารตะกั่วในสินค้าอาหาร ดังนี้
                                 -   นมดิบ นมที่ผ่านความร้อน และนมที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 -   นมผงสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) และชนิดเหลว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๑๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 - อาหารที่มีส่วนผสมของธัญพืชแปรรูปสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 - อาหารชนิดผงที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์สำหรับเด็กทารกและ เด็กเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนอาหาร ชนิดเหลวเพื่อการดังกล่าว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 – เครื่องดื่มชนิดเหลวสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กที่ติดฉลากและวางจำหน่ายใน ลักษณะที่ปรากฎ (ที่ไม่ใช่นมหรืออาหารที่ใช้ในทางการแพทย์พิเศษสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก) หรือที่ต้อง นำไปผสมต่อตามข้อแนะนำของผู้ผลิต รวมถึงน้ำผลไม้ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight) และชนิดที่ต้องนำไปผสมน้ำร้อนหรือที่ต้องนำไปต้มให้ร้อน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๑.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                – เนื้อสัตว์ (ไม่รวมเครื่องใน) ของสัตว์โค-กระบือ แกะ สุกร และสัตว์ปีก
กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 – เครื่องในของโค-กระบือ แกะ สุกร และสัตว์ปีก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) เนื้อในส่วนกล้ามเนื้อของปลา กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -   ปลาหมึก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – สัตว์น้ำกลุ่มครัชเตเชียน (กุ้ง กั้ง ปู) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -   หอยสองฝา กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๑.๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนัก เปียก (wet weight)
                                  -   ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผัก ยกเว้นผักกลุ่มกะหล่ำใบ, salsify, ผักใบและผักสมุนไพรสด, เห็ด,
สาหร่ายทะเล และผักที่ให้ผล (fruiting vegetables) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผักกลุ่มกะหล่ำใบ, salsify, ผักใบ ยกเว้นผักสมุนไพรสด และเห็ด ดังต่อไปนี้ Agaricus bisporus (common mushroom), Pleurotus ostreatus (Oyster mushroom), Lentinula edodes (Shiitake mushroom) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๓๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                   -   ผักที่ให้ผล : ข้าวโพดหวาน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักเปียก (wet weight) ผักอื่นที่ไม่ใช่ข้าวโพดหวาน กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        ผลไม้ ยกเว้น cranberries, currants, elderberries และ strawberry tree fruit กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -        cranberries, currants, elderberries และ strawberry tree fruit กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – ไขมันและน้ำมัน รวมถึงไขมันนม กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/ กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  -         น้ำผลไม้ น้ำผลไม้ชนิดเข้มข้นที่นำไปผสมและเนกต้าผลไม้ : จากเบอร์รี่และผลไม้ขนาดเล็กอื่นๆ  กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนน้ำผลไม้ น้ำผลไม้ชนิดเข้มข้นที่นำไปผสมและเนกต้าผลไม้จากผลไม้อื่นๆ ที่ไม่ใช่เบอร์รี่และผลไม้ขนาดเล็ก กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๐๓ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                 -        ไวน์ (รวมถึง sparkling wine ยกเว้น liqueur wine), cider, perry และไวน์ผลไม้ : สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในปี ๒๐๐๑ ถึงปี ๒๐๑๕ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) ส่วนสินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ เป็นต้นไป กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                   - ไวน์หอม (aromatized wine), เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของไวน์หอม และคอกเทลที่มีส่วนผสมของไวน์หอม : สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในปี ๒๐๐๑ ถึงปี ๒๐๑๕ กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๒๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight) และสินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี ๒๐๑๖ เป็นต้นไป กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๕ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  - อาหารเสริม (food supplements) กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๓.๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
                                  – น้ำผึ้ง กำหนดค่า MLs ที่ระดับ ๐.๑๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักเปียก (wet weight)
            ๓. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
                  อย่างไรก็ดี EU อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าที่วางจำหน่ายก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๙ (ที่ใช้ค่าอนุโลมเดิม) ยังคงสามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนถึงวันที่สินค้ามีอายุการบริโภคต่ำสุด (date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่สินค้าหมดอายุการบริโภค (use-by-date)
            ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
             ๕. ที่ผ่านมา ไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับสารตะกั่วตกค้างในสินค้าเกษตรและอาหาร อย่างไรก็ดี ไทยก็ควรให้ความสำคัญในการสุ่มตรวจหาสารตะกั่วในสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายยัง EU อย่างต่อเนื่อง ตามค่าปนเปื้อน ที่ไม่ควรเกินกว่าค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดที่ EU กำหนดขึ้นใหม่นี้ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้าที่กำหนดข้างต้น 
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 
- See more at: http://www2.thaieurope.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น