UK แจงอาหารทะเลแปรรูปยังมีเสถียรภาพแม้สภาวะตลาดรุนแรง
สหราชอาณาจักร (UK) ได้รายงานผลการสำรวจการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลในประเทศ ซึ่งสำรวจจากประชากรทุกหน่วย โดยไม่เจาะจงกลุ่มตัวอย่าง (Census Survey) ในปี 2557 อาทิ ด้านขนาดของโครงสร้างในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป , หน่วยการแปรรูปในส่วนต่างๆ ,ระดับการจ้างงาน ,การกระจายสินค้าในภูมิภาค ,ประเภทกิจกรรมการแปรรูป , สายพันธุ์และจำนวนสัตว์ทะเลที่นำมาแปรรูป เป็นต้น โดยพบประเด็นสำคัญในด้านการจ้างงาน (employment) ดังนี้
- ผลการสำรวจอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พบว่ามีปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่จำนวนหน่วยผลิตลดลง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแซลม่อนมีอัตราการเติบโตขึ้นถึง 28 % จึงส่งผลทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
- จากการสำรวจในปี 2555 พบว่าหน่วยผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่จำแนกจากจำนวนการจ้างงานเต็มเวลา (Full Time Equivalent : FTEs) โดยรวมมีปริมาณลดลง แต่ไม่ได้ส่งกระทบผลต่อหน่วยการผลิต 2 กลุ่ม ดังนี้
: กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดใหญ่สุด (Larges size มีปริมาณ FTEs 110 ขึ้นไป: 101+FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 29 %
: กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดขนาดเล็กสุด (Smallest size มีปริมาณ FTEs อยู่ที่ 1-10: 1-10 FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 10 %
- จากการสำรวจในปี 2557 พบว่ากลุ่มหน่วยการผลิต 101+FTEs มีสัดส่วนถึง 65 % เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งมีสัดส่วนที่ 58 % และขณะเดียวกันกลุ่มหน่วยการผลิต 1-10 FTEs ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งการขยายตัวของหน่วยผลิตทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ได้ดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้มีปริมาณการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล
- การเพิ่มจำนวนกลุ่มหน่วยผลิตได้ส่งผลให้อัตราการจ้างงานตั้งแต่ปี 2555-2557 เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผลประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปมีมูลค่าสูงขึ้น 16 % เมื่อเทียบกับปี 2551 แต่กระนั้นก็ส่งผลให้ต้นทุนผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 % โดยคาดว่ามีปัจจัยหลักจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูป (raw material processing) ทำให้สัดส่วนกำไรของผู้ประกอบการโดยรวมลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ อาทิ อุปกรณ์ เครื่องมือ อาคาร สถานที่ต่างๆ ส่งผลให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 49 % ในช่วงปี 2553-2555
แต่อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ด้านอาหารทะเล ได้กล่าวถึงผลกระทบของปัจจัยปัญหาสำคัญ ได้แก่วัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต และการพัฒนากฏระเบียบและปัจจัยรองรับทางการค้า อาทิ ความเคลื่อนไหวของอัตราการแลกเปลี่ยน , การขาดแคลนทักษะ , การเข้มงวดทางการเงิน , ผู้ค้าปลีกกดดันผู้ผลิต เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจในห่วงโซ่การผลิต แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของปริมาณความต้องการอาหารทะเลและสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กลายเป็นแรงหนุนเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรม ที่จะสามารถสร้างผลกำไรและความยั่งยืนของของการผลิตได้ในระยะยาว
- ผลการสำรวจอัตราการจ้างงานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พบว่ามีปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่จำนวนหน่วยผลิตลดลง ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแซลม่อนมีอัตราการเติบโตขึ้นถึง 28 % จึงส่งผลทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลมีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น
- จากการสำรวจในปี 2555 พบว่าหน่วยผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่จำแนกจากจำนวนการจ้างงานเต็มเวลา (Full Time Equivalent : FTEs) โดยรวมมีปริมาณลดลง แต่ไม่ได้ส่งกระทบผลต่อหน่วยการผลิต 2 กลุ่ม ดังนี้
: กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดใหญ่สุด (Larges size มีปริมาณ FTEs 110 ขึ้นไป: 101+FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 29 %
: กลุ่มหน่วยการผลิตขนาดขนาดเล็กสุด (Smallest size มีปริมาณ FTEs อยู่ที่ 1-10: 1-10 FTEs) พบว่ามีจำนวนหน่วยการผลิตเพิ่มขึ้น 10 %
- จากการสำรวจในปี 2557 พบว่ากลุ่มหน่วยการผลิต 101+FTEs มีสัดส่วนถึง 65 % เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งมีสัดส่วนที่ 58 % และขณะเดียวกันกลุ่มหน่วยการผลิต 1-10 FTEs ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งการขยายตัวของหน่วยผลิตทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ได้ดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้มีปริมาณการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล
- การเพิ่มจำนวนกลุ่มหน่วยผลิตได้ส่งผลให้อัตราการจ้างงานตั้งแต่ปี 2555-2557 เพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผลประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปมีมูลค่าสูงขึ้น 16 % เมื่อเทียบกับปี 2551 แต่กระนั้นก็ส่งผลให้ต้นทุนผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 % โดยคาดว่ามีปัจจัยหลักจากราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูป (raw material processing) ทำให้สัดส่วนกำไรของผู้ประกอบการโดยรวมลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ อาทิ อุปกรณ์ เครื่องมือ อาคาร สถานที่ต่างๆ ส่งผลให้มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 49 % ในช่วงปี 2553-2555
แต่อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์ด้านอาหารทะเล ได้กล่าวถึงผลกระทบของปัจจัยปัญหาสำคัญ ได้แก่วัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต และการพัฒนากฏระเบียบและปัจจัยรองรับทางการค้า อาทิ ความเคลื่อนไหวของอัตราการแลกเปลี่ยน , การขาดแคลนทักษะ , การเข้มงวดทางการเงิน , ผู้ค้าปลีกกดดันผู้ผลิต เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจในห่วงโซ่การผลิต แต่ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของปริมาณความต้องการอาหารทะเลและสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้กลายเป็นแรงหนุนเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคอุตสาหกรรม ที่จะสามารถสร้างผลกำไรและความยั่งยืนของของการผลิตได้ในระยะยาว
ที่มา: The Fish Site(10/07/58)
มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น