U.S. Food and Drug Administration (USFDA) แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบความปลอดภัยสารเติมแต่งอาหาร โดยอนุญาตให้ใช้เมล็ดดอกคำฝอยที่ตัดแต่งพันธุกรรม (Bioengineered safflower) (Carthamus tinctorius L.) ในอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อและสัตว์ปีก โดยเฉพาะดอกคำฝอยที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมที่เกิดจากเชื้อราน้ำ Saprolegnia diclina เพื่อการผลิต gamma-linolenic acid ในน้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เนื่องจากมีสารตกค้าง ในดินจากขั้นตอนการสกัดน้ำมันของเมล็ดดอกคำฝอย เพื่อความปลอดภัยในสินค้าโคเนื้อและสัตว์ปีกจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
1) สารเติมแต่งต้องมีโปรตีนหยาบมากกว่าร้อยละ 20/ไฟเบอร์หยาบน้อยกว่าร้อยละ 40/ความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 10 และ ไขมันดิบน้อยกว่าร้อยละ 2
2) ไขมันดิบในสารเติมแต่งอาหารจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้ ปริมาณ gamma-linolenic acid ไม่เกินร้อยละ 55/ปริมาณ stearidonic acid และ cis, cis-6และ 9-octadecadienoic acid ไม่เกินร้อยละ 0.5 และ ปริมาณทั้งหมดของ palmitic, stearic, oleic, linoleic และกรดไขมันอื่นๆไม่เกินร้อยละ 40
3) การใช้สารเติมแต่งอาหารโคเนื้อและสัตว์ปีกที่เป็นแหล่งของโปรตีนจะต้องเป็นไปตามการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์ (Good manufacturing practice: GMP)
4) ระบุชื่อสารเติมแต่งอาหารหรือชื่อสามัญของดอกคำฝอยและวิธีการใช้ที่เพียงพอของอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อและสัตว์ปีกบนฉลาก
กรมการค้าต่างประเทศจะติดตามความเคลื่อนไหวการกำหนดมาตรฐานและการปรับแก้ไขมาตรการ/กฎระเบียบ ต่าง ๆ ของประเทศคู่ค้าของไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะประสานเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถผลิตและปรับปรุงสินค้าให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่ ประเทศคู่ค้ากำหนดได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://hkmb.hktdc.com/en/1X0A2WZD/hktdc-research/FDA-Allows-Use-of-Certain-Safflower-Seed-Meal-in-Animal-Feed
ที่มา : http://hkmb.hktdc.com
กรมการค้าต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น