วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

EU News : EU ปรับแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (Maximum Levels) ของสาร Ochratoxin A ในสินค้าพริก

เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ 
                  สหภาพยุโรปออกประกาศกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2015/1137 of 13 July 2015 amending Regulation (EC) No  1881/2006 as regards the maximum levels of Ochratoxin A in Capsicum spp. Spices 
                  โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 185/11 ซึ่งเป็นการปรับระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum levels) ของสาร ochratoxin A สินค้าพริก (เครื่องเทศ) ขึ้นใหม่ โดยแก้ไขค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดที่เคยกำหนดไว้ในกฎระเบียบเดิม คือ  Regulation (EC) No 1881/2006 เพื่อให้ค่าตกค้างสูงสุดของสารดังกล่าวมีความสอดคล้องกับผลวิจัยประเมินความเสี่ยงและผลจากการที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับใช้หลักการปฎิบัติที่ดี (good practices) ทางการผลิตควบคู่ไปด้วย ซึ่งสามารถใช้ควบคุมการปนเปื้อนได้ในระดับหนึ่ง
ที่ผ่านมา EU เคยกำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสาร Ochratoxin A ที่ตกค้างในพริก ไว้ที่ระดับ ๓๐ ug/kg จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ขณะนี้ EU ต้องการยกระดับการควบคุมความ ปลอดภัยของห่วงโซ่อาหารและสุขอนามัยผู้บริโภคในสหภาพยุโรป จึงปรับลดค่าดังกล่าวให้อยู่ที่ระดับระหว่าง  ๑๕ – ๒๐ ug/kg (ค่าตกค้างสูงสุดใหม่ตามปรากฎในภาคผนวกของกฎระเบียบฉบับนี้) กล่าวคือ
-        เครื่องเทศ รวมถึงเครื่องเทศแห้ง Piper spp. (ผลของ Piper spp. รวมถึงพริกไทยขาวและดำ)    กำหนดที่ระดับ ๑๕  ug/kg (จันทร์เทศ ขิง และขมิ้นชัน)
-        พริก (ผลแห้ง ทั้งเม็ดหรือในรูปผง รวมถึงพริก พริกแห้ง พริกคาเยน และพริกหยวก) กำหนดที่ระดับ ๒๐ ug/kg
-       เครื่องเทศผสมที่มีส่วนประกอบใดๆ ตามที่กล่าวข้างต้น    กำหนดที่ระดับ ๑๕ ug/kg
กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘) และให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังมาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี EU อนุโลมให้พริกที่ใช้ค่าอนุโลมเดิมสามารถวางจำหน่ายต่อไปได้จนถึงวันที่สินค้าอยู่ในสภาพที่ควรบริโภคได้ (until their date of minimum durability) หรือเมื่อถึงวันที่สินค้าหมดอายุการบริโภค (use-by-date)
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้


รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (2.thaieurope)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น