- การวางแผนบริหารจัดการประมงแบบต่อเนื่องหลายปี (multi-annual plans) และการ เปลี่ยนจาก “single-stock plans” เป็น “fisheries-based plans” ทำให้จำนวนแผนลดลง แต่ครอบคลุม สต็อกปลามากชนิดขึ้น อันจะนำไปสู่ความยั่งยืน
- การบริหารจัดการประมงโดยยึดระบบนิเวศ (ecosystem oriented approach) และ การป้องกันล่วงหน้า (precautionary approach) เป็นหลัก เพื่อจำกัดผลกระทบจากการทำประมงต่อระบบนิเวศ ทางทะเลและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
- ความยั่งยืนเป็นหัวใจของการปฏิรูปนโยบาย โดยบังคับให้การจับสัตว์น้ำต้องไม่เกินระดับศักย์ การผลิตสูงสุด (Maximum Sustaibable Yield: MSY)[3] เพื่อฟื้นฟูให้สต็อกปลากลับมาอยู่ในสภาพอุดมสมบูรณ์ การกำหนด MSY ของสต็อกปลาบางชนิดสามารถทำได้โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ และอย่างช้าที่สุดภายในปี ๒๕๖๓ จะกำหนด MSY สำหรับสต็อกปลาทุกชนิด
- ยกเลิกพฤติกรรมทิ้งสัตว์น้ำลงทะเล (discard ban) โดยบังคับให้ชาวประมงต้องนำสัตว์น้ำที่ จับได้ขึ้นฝั่งทั้งหมด (landing obligation) แต่จะเริ่มดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ เพื่อให้ชาวประมงปรับตัว โดย landing obligation จะมีผลบังคับใช้เฉพาะการจับสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้ระบบ TACs เท่านั้น
- บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปรับอัตรากำลังการผลิตของกองเรือประมงให้สมดุลกับโอกาส ทำประมงของประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศสมาชิกที่มีกำลังการผลิตของกองเรือประมงมากเกินไปต้องวางแผนลดความ ไม่สมดุลดังกล่าว
- สนับสนุนการทำประมงขนาดเล็ก เพราะนอกจากส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลต่ำแล้ว การทำประมงขนาดเล็กยังมีความสำคัญต่อสังคมและการอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมตามแนวชายฝั่งหลายแห่ง ในยุโรป โดยประเทศสมาชิกสามารถขยายเวลาจำกัดเขตการทำประมง (exclusion zone) ในระยะทางไม่เกิน ๑๒ ไมล์จากชายฝั่งทะเลไว้เป็นพื้นที่สำหรับทำประมงพื้นบ้านไปจนถึงปี ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒)
- การกระจายอำนาจตัดสินใจไปสู่ระดับภูมิภาค (regionalisation) โดยให้ประเทศสมาชิกมี อิสระในการพัฒนาและเลือกมาตรการที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ CFP กำหนดไว้
- กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีหน้าที่รวบรวม ดูแลรักษา และแบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นต่อการ บริหารจัดการประมง (เช่น ข้อมูลเทคนิค ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ-สังคม) โดยการจัดทำและบริหารจัดการ ข้อมูลดังกล่าวจะได้รับเงินอุดหนุนจาก European Maritime and Fisheries Fund (EMFF)
- เรือประมง EU ที่จับปลานอกเขตน่านน้ำ EU ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สอดคล้อง กับหลักการของ CFP ส่วนการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศพันธมิตรจะอยู่ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือด้านการประมง (Fisheries Partnership Agreements)
- ภาคเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของ CFP ด้วย โดยมุ่งส่งเสริมการเติบโตอย่าง ยั่งยืน การจ้างงานและผลิตภาพของภาคเพาะการเลี้ยงสัตว์น้ำ ขจัดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และกำหนดให้ มีการจัดตั้งคณะทำงานที่ปรึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Advisory Councils)
- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www2.thaieurope.net/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9b/#sthash.DEUo0jBV.dpufที่มาสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น