วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Update Food Law_Thai : กฎหมายใหม่และกฎหมายที่มีผลบังคับใช้

รายการกฎหมายใหม่
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) 629 หน้า ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
            ข้อ 1 ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข 1 และบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559
และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน
            ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559
เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559
            ข้อ 3 ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาหารซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารแตกต่าง
จากบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้ อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้แล้วแต่กรณี ดังนี้
(1) อาหารที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารซึ่งข้อกำหนดการใช้ได้รับการรับรองค่ากำหนดในปี
พ.ศ. 2559 ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศฉบับนี้ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้
ภายในสองปีนับจากวันที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
(ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 มีผลใช้บังคับ
(2) อาหารที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารซึ่งข้อกำหนดการใช้ได้รับการรับรองค่ากำหนดในปี
พ.ศ. 2561 ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศฉบับนี้ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศฉบับนี้
ภายในสองปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
           ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
2. ประกาศสานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) 145 หน้า







ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่จะมีผลบังคับใช้ 

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ.2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก (ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2560 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2561)

  2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) (ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2560 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 เว้นแต่ข้อความเกี่ยวกับสารอาหาร ตารางสารอาหารเทียบกับ WHO วิธีเตรียม ฉลากโภชนาการ ฉลากแบบจีดีเอ การกล่าวอ้างทางโภชนาการ การใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย การระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย สำหรับอาหารที่มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2562 เป็นต้นไป)

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การดำเนินการตามกฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561

       เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศ กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ที่ลงนามโดยศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 180 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษายังผล ให้ 
       1. ร้านอาหารขนาดพื้นที่ไม่ถึงหรือเกิน 200 ตารางตร.ม. ต้องดำเนินการผ่านการรับรองให้ถูกตามสุขลักษณะ 4 หมวดใน 180 วันนับจากวันที่ 20 มิ.ย.2561 ยกเว้นร้านพื้นที่ทางสาธารณะที่ผู้ซื้อบริโภคได้ทันที ฝ่าฝืนระวางโทษปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
       2. ในส่วนที่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์นั้น ให้ดำเนินการภายในกำหนดเวลา 2 ปีนับตั้งแต่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะกำหนดให้ต้องมีการอบรมเรื่องใดบ้างในการประกอบอาหาร การปรุงต่างๆ)เบื้องต้นต้องการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ฝึกอบรม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการดำเนินการตามกฎกระทรวงนี้จะต้องมีการหารืออีกครั้ง
       3. สำหรับสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหา(GMP) รตามกฎกระทรวงนี้ หากเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองก่อนวันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ ให้ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เป็นไปตามกำหนดภายในเวลา 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ เว้นแต่ สถานที่จำหน่ายอาหารที่พื้นที่ไม่เกิน 200 ตร.ม.ให้ดำเนินการเรื่องมาตรการ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารภายใน 1 ปีนับแต่ใช้บังคับ













ที่มา กรมอนามัย

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Link อ่าน ebook คู่มือคุณภาพ วิธีทำระบบคุณภาพต่างๆฟรี_4

ให้ click ตรงคำว่า full text ในแต่ละ Link นะคะ แล้วก็จะได้อ่านหนังสือฟรีๆ โชคดีก็ได้ไฟล์เลย
แต่อย่างว่า พอเป็นหนังสือจริง การ update จะล่าช้ากว่าอ่านจาก web นะคะ

1. แนวทางการผลิตเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ในอาหารพร้อมปรุง

2.แนวทางการพิจารณารูปแบบขวดนมและคุณภาพหรือมาตรฐานของขวดนม ภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

3. การวิเคราะห์ความเสี่ยงของสาร 3-MCPD ที่ปนเปื้อนในอาหารและมาตรการที่ใช้ในการควบคุม

4. การวิเคราะห์ความเสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำ

5. การผลิตก๋วยเตี๋ยวให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

6. คู่มือประกอบวีดิทัศน์ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ


==================================================================

I'm a Researcher not Auditor

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Food Preservative_สารกันบูด

สารกันบูดคืออะไร 
“สารกันบูด” , “สารกันเสีย” หรือ "วัตถุกันเสีย" เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เติมในอาหาร เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสียและช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหาร

สารกันบูดในเมืองไทยมีอะไรบ้าง        
สารกันบูดตามประกาศกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ.2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

    1. กลุ่มของกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน (acid and its salts) นิยมใช้กันมากในระดับอุตสาหกรรม เพราะมีความเป็นพิษน้อยและละลายน้ำได้ดี สารกันบูดในกลุ่มของกรดอ่อน ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก กรดโปรปิโอนิก ที่นิยมใส่ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ กรดฟอร์มิก และกรดอะซีติก ที่ให้ความเปรี้ยว ส่วนเกลือของกรดอ่อน ได้แก่ โซเดียมซอร์เบต โพแทสเซียมซอร์เบต โซเดียมเบนโซเอต โพแทสเซียมเบนโซเอท และโซเดียมอะซีเตท ซึ่งมีประสิทธิภาพดี ในอาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรือมีค่า pH ต่ำ อนุญาตให้ใส่ในอาหารหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง รวมทั้งเครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม
    2. กลุ่มของไนเตรตและไนไตรท์ (nitrate and nitrite) นอกจากคุณสมบัติเป็นสารกันบูดแล้ว ยังมีคุณสมบัติเป็นสารตรึงสีหรือเรียกง่ายๆ ว่าดินประสิว เช่น โซเดียมไนเตรต โซเดียมไนไตรท์ อนุญาตให้ใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักต่างๆ เช่น แฮม ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เบคอน หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง
    3. กลุ่มของซัลไฟต์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfites and sulfur dioxide) เป็นสารที่ใช้ป้องกันการเกิดสีน้ำตาลอันเป็นผลจากอาหารทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจนในอากาศ โดยซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารฟอกสี อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์พืชผักผลไม้ชนิดแห้งและแช่อิ่ม ไวน์ เครื่องดื่ม น้ำตาลทราย วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ อนุญาตให้ใช้ในพืชผักผลไม้แห้งและแช่อิ่ม ได้แก่ โซเดียมซัลไฟต์ โซเดียมไบซัลไฟต์ โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ และแคลเซียมไบซัลไฟต์
    4. กลุ่มอื่นๆ ที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศ เช่น ไนซิน ที่ใส่ในชีสบางชนิด โพรพิลพาราเบน เมทิลพาราเบน เอทิลพาราเบน ที่ใช้เฉพาะในแยมและเยลลี่ ไพมาริซิน ใช้เฉพาะที่ผิวของเนยแข็ง และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หมักเกลือที่ผ่านหรือไม่ผ่านความร้อน


อาหารชนิดใดที่เต็มไปด้วยสารกันบูด        

อาหารที่มักมีสารกันบูดเพื่อยืดอายุการบริโภค ได้แก่ อาหารที่มีปริมาณน้ำอิสระ (water activity) สูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากแป้ง ไม่ว่าจะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะเส้นสด เช่น เส้นเล็กและเส้นใหญ่ ขนมจีน วุ้นเส้น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่บางชนิด ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ทั้งลูกชิ้น หมูยอ ไส้กรอก ผลิตภัณฑ์จากผักผลไม้ เช่น ผักผลไม้ดอง พริกแกง เครื่องดื่มบางชนิด เป็นต้น
        หากจะกล่าวว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาดทั้งชนิดสด แห้ง หรือบรรจุกระป๋อง ล้วนผ่านกระบวนการป้องกัน หรือชะลอการเน่าเสียมาแล้วทั้งสิ้นก็ย่อมได้ แต่ใช่ว่าหมูยอทุกยี่ห้อจะมีสารกันบูด ไม่ได้หมายความว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทุกเจ้าจะปนเปื้อนสารเคมี หรือแม้แต่อาหารทุกกระป๋องก็ไม่ได้มีวัตถุกันเสีย เพราะในผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีขั้นตอนการผลิต ฆ่าเชื้อและบรรจุภัณฑ์สะอาดได้มาตรฐานก่อนถึงมือผู้บริโภคก็ไม่จำเป็นต้อง ใช้สารกันบูดเพื่อยืดอายุอาหารแต่อย่างใด


อันตรายจากสารกันบูด          

สารกันบูดแต่ละชนิดที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง เนื่องจากผ่านการทดสอบทางด้านพิษวิทยาและการประเมินความปลอดภัยแล้ว แต่ก็ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าอาหารที่คุณซื้อใส่สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับชนิดอาหาร แม้สารกันบูดบางชนิดจะระเหยได้เมื่อผ่านความร้อน แต่การบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดเป็นประจำอาจส่งผลให้ร่างกายขับออกไม่ทัน กลายเป็นสารพิษตกค้างสะสมและนำมาซึ่งความเจ็บป่วยได้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น

1. Thai_คุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ.2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
เงื่อนไขการใช้ (กำหนดชนิดอาหารและปริมาณการใช้)ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)

2. USA_Food additives and color additives that are listed in FDA regulations (21 CFR Parts 172, 173 and Parts 73, 74 respectively), and flavoring substances evaluated by FEMA* and JECFA*.

   -Generally Recognized as Safe ("GRAS") substances that are listed in FDA regulations (21 CFR Parts 182 and 184).
   -Substances approved for specific uses in foods (21 CFR Part 181).

3. Codex_GENERAL STANDARD FOR FOOD ADDITIVES

CODEX STAN 192-1995 Adopted in 1995. Revision 2018

4. Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council of 16 December 2008 on food additives





ที่มาบางส่วนจาก ศูนย์วิทยบริการ อย. 

Link อ่าน ebook คู่มือคุณภาพ วิธีทำระบบคุณภาพต่างๆฟรี_3

ให้ click ตรงคำว่า full text ในแต่ละ Link นะคะ แล้วก็จะได้อ่านหนังสือฟรีๆ โชคดีก็ได้ไฟล์เลย
แต่อย่างว่า พอเป็นหนังสือจริง การ update จะล่าช้ากว่าอ่านจาก web นะคะ

1. หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเยือกแข็ง

2. HACCP Plan สัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง : แนวทางการดำเนินการเพื่อการส่งออก

3. HACCP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเล

4.การควบคุมการใช้วัตถุเจือปนอาหารในอาหารฮาลาล

5. การควบคุมและป้องกันอันตรายที่เกิดจากการบริโภคน้ำผักหรือผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ

6. การพัฒนาเครื่องมือประเมินมาตรฐาน (ระยะต้น) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจประเมินระบบ HACCP

7. การลดความเสี่ยงอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ที่ผ่านการแปรรูปขั้นต่ำ

8. แนวทางการควบคุมภาชนะเมลามีนสำหรับบรรจุอาหาร

9. สารพิษจากเชื้อรา : พาทูลิน (Patulin)

10. เอกสารวิชาการเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อราในอาหาร

==================================================================

I'm a Researcher not Auditor

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Link อ่าน ebook คู่มือคุณภาพ วิธีทำระบบคุณภาพต่างๆฟรี_2

ให้ click ตรงคำว่า full text ในแต่ละ Link นะคะ แล้วก็จะได้อ่านหนังสือฟรีๆ โชคดีก็ได้ไฟล์เลย
แต่อย่างว่า พอเป็นหนังสือจริง การ update จะล่าช้ากว่าอ่านจาก web นะคะ

1. คู่มือการปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ. 2545

2. คู่มือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารกระป๋อง

3. คู่มือการผลิตเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรส์ ชนิดบรรจุขวดและถุงพลาสติก

4.คู่มือการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

5. แนวทางการผลิตเครื่องดื่มผงตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จี.เอ็ม.พี)

6. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการผลิตเครื่องดื่ม

7. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการผลิตน้ำแข็ง

8. หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารที่มีสภาพเป็นกรด

9. คู่มือการตรวจสอบสถานที่ผลิตไอศกรีม

10. หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารผ่านความร้อนที่มีความเป็นกรดต่ำและบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท

==================================================================

I’m a Researcher not Auditor