วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เรียนรู้วิธีอ่าน‘ฉลากโภชนาการ’

 ตัวหนังสือ และตัวเลขที่อยู่บนฉลากอาหารบอกอะไรเราได้บ้างเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่เคยรู้ข้อมูลอาหารบนฉลากโภชนาการกันแน่ ๆ แต่ทราบไหมคะว่า ถ้าเราอ่านฉลากโภชนาการให้เป็น เราเองนั่นแหละที่จะได้ประโยชน์กับการกินอาหารแต่ละชนิดอย่างท่วมท้น
          โดยปกติแล้วอาหารทุกชนิดที่อยู่ในรูปของบรรจุภัณฑ์จะต้องมีฉลากอาหารบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาหารชนิดนั้น ๆ ซึ่งก็คือ ชื่ออาหาร ชื่อผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ส่วนผสม คำแนะนำ คำเตือน วัน/เดือน/ปีที่ผลิต และวันหมดอายุเป็นเบื้องต้นก่อน
           แต่สำหรับฉลากโภชนาการจะต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการของอาหารชนิดนั้น ๆ กำกับไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกกินตามความเหมาะสม และความต้องการทางสภาวะโภชนาการของตัวเองได้ แต่ทั้งนี้กฎหมายก็ยังไม่มีการบังคับให้ผู้ผลิตอาหารต้องแจกแจงหลักโภชนาการบนฉลากอาหารทุกชนิด เพียงแต่มีข้อบังคับสำหรับอาหารที่มีการอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการให้ต้องแสดงฉลากโภชนาการแปะเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคหลงกล ในกรณีที่ผู้ผลิตอาหารอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการเกินจริงนั่นเอง
          ทว่าความหละหลวมในการแสดงโภชนาการของอาหารก็ยังคงหลงเหลืออยู่ค่ะโดยอยู่ในรูปแบบฉลากโภชนาการแบบย่อ ที่สามารถตัดทอนส่วนผสมบางอย่างที่มีปริมาณน้อยกว่า 0.5 กรัมออกไปได้ และถือว่าส่วนผสมนั้นคิดเป็น 0 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากที่ผู้ผลิตจะไม่แสดงข้อมูลสารอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ไขมันทรานส์ หรือสารสังเคราะห์แฝงอันตรายต่อสุขภาพอื่น ๆ เอาไว้ภายใต้ฉลากโภชนาการที่สวยหรู
/data/content/2014/06/24683/cms/e_adhkmnopqw78.jpg
ภาพประกอบจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
          วิธีอ่านฉลากโภชนาการสำหรับอาหารไทย
          เรียงตามฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ สามารถแยกแยะตามหัวข้อโภชนาการหลัก ๆ ได้ดังนี้
           1. หนึ่งหน่วยบริโภค บอกให้เราทราบว่าผู้ผลิตแนะนำให้เรากินอาหารชนิดนั้นต่อครั้งในปริมาณเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น นม 1 กล่อง บรรจุ 220 มิลลิลิตร หากบนฉลากระบุไว้ว่า "หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง (220 มล.)"  ก็หมายความว่า นมกล่องนั้นควรกินให้หมดภายในครั้งเดียว แต่หากเป็นนมขวดใหญ่ ขนาดบรรจุ 1,000 มล. ฉลากโภชนาการอาจระบุไว้ว่า "หนึ่งหน่วยบริโภค: 200 มล." แปลได้ว่า เราสามารถแบ่งกินนมขวดนั้นได้ถึง 5 ครั้ง
          2. คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ช่องถัดมาเราจะเจอข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ที่จะบอกเราว่า หากเรากินอาหารชนิดนั้นตามหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุไว้ เราจะได้รับคุณค่าทางสารอาหารจากชนิดใด ในปริมาณเท่าไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไปเชื่อมโยงกับร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันในช่องถัดไปค่ะ
          3. ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน เมื่อระบุไว้แล้วว่าคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคนั้นเราจะได้รับสารอาหารชนิดใด ในปริมาณเท่าไร ต่อมาผู้ผลิตจะแจกแจงข้อมูลให้เรารู้อีกว่า คุณค่าทางโภชนาการที่อาหารชนิดนี้ให้เราจะคิดเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันได้เท่าไร ยกตัวอย่างเช่น หากฉลากระบุไว้ว่าหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารนี้ให้ปริมาณไขมันคิดเป็น 15% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน แสดงว่ากินอาหารชนิดนี้แล้วได้ไขมันเพียงแค่ 15% ส่วนไขมันอีก 85% ที่เหลือเราต้องไปรับเอาจากอาหารชนิดอื่น ๆ แทน
          อย่างไรก็ดี คุณอาจจะสังเกตเห็นได้ว่า สารอาหารบางประเภท เช่น น้ำตาล ใยอาหาร โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ อาจจะบอกเพียงปริมาณต่อหน่วยบริโภค หรือเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกปริมาณกรัม หรือมิลลิกรัมที่ควรได้รับให้เห็นชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะว่า สารอาหารเหล่านี้มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีหลายชนิดแถมยังมีคุณภาพแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันที่ชัดเจนได้ ส่วนน้ำตาลถือว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ระบุในส่วนของคาร์โบไฮเดรตอยู่แล้ว
           นอกจากนี้ ในฉลากยังมีข้อความระบุต่อด้วยว่า * ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี
           4. ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล ส่วนสุดท้ายจะเป็นการให้ข้อมูลเรื่องความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเขียนเหมือนกันทุกผลิตภัณฑ์ ว่า
          ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี่ควรได้รับสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้
               ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 ก.
            ไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 ก.
            คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มก.
            คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 300 ก.
            ใยอาหาร 25 ก.
            โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มก.
            พลังงาน (กิโลแคลอรี) ต่อกรัม : ไขมัน = 9 ; โปรตีน = 4 ; คาร์โบไฮเดรต = 4
         แม้ว่าฉลากจะบอกเพียงสารอาหารทั้งหมดที่แฝงอยู่ในอาหารชนิดนั้น ๆ หรืออาจจะมีคำเตือนเล็ก ๆ ให้กินแต่น้อย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่เพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี พร้อมกับเลี่ยงโรคร้ายไปด้วยในตัว เราก็ควรพิจารณาความเหมาะสมในการบริโภค โดยเช็กจากข้อมูลโภชนาการที่ระบุไว้บนฉลากตามนี้ค่ะ
          1. เช็กพลังงานที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
          2.  เช็กว่าหนึ่งหน่วยบริโภคให้ปริมาณไขมัน และไขมันอิ่มตัวเท่าไร หากไขมันอิ่มตัวเกิน 20 กรัมต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงนะคะ เพราะไขมันอิ่มตัวมีปริมาณเกินมาตราฐานที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน และอาจส่งผลให้คอเลสเตอรอลสูง เป็นตัวการพาโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคร้ายต่าง ๆ มาให้เราด้วย
          3. เช็กปริมาณน้ำตาล หากเกิน 24 กรัม (6 ช้อนชา) ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ถือว่าเกินขีดจำกัดของร่างกาย อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน และโรคร้ายอีกสารพัด ดังนั้นเลี่ยงเถอะค่ะ
          4.  เช็กปริมาณโซเดียม เลือกกินอาหารที่ให้โซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม เพื่อเลี่ยงโรคไต และโรคความดันโลหิตสูง
          วิธีอ่านฉลากโภชนาการสำหรับอาหารต่างประเทศ

/data/content/2014/06/24683/cms/e_bfirstuw1368.jpg
          1. หนึ่งหน่วยบริโภค ส่วนนี้บอกข้อมูลเหมือนฉลากโภชนาการอาหารของบ้านเรา ที่ระบุปริมาณที่ควรกินต่อครั้ง แต่อาหารบางชนิดอาจระบุมาด้วยว่า ควรแบ่งกินกี่คน หรือกี่ครั้งใน 1 แพคนั้น
          2. ปริมาณแคลอรี่ ฉลากส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลที่ระบุชัดเจนถึงจำนวนแคลอรี่ที่เราจะได้รับต่อการกินอาหารชนิดนี้ในหนึ่งหน่วยบริโภค พ่วงด้วยปริมาณไขมันอิ่มตัวที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภคด้วยค่ะ
          3. ร้อยละของสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน ในส่วนนี้ของฉลากก็คล้ายคลึงกับฉลากของบ้านเรา ที่จะนำคุณค่าทางโภชนาการของอาหารชนิดนี้มาคิดเป็นร้อยละของสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน เพียงแต่อาจจะมีชนิดของไขมันทรานส์ระบุเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งอย่าง เนื่องจากเป็นกฎหมายของทางกรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องชี้แจงปริมาณไขมันทรานส์ของอาหารให้ประชาชนได้รู้อย่างชัดเจน เพราะความกังวลในเรื่องของสุขภาพของชาวอเมริกันที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเองค่ะ
          4. ปริมาณสารอาหารสำคัญที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน เช่น เกลือแร่ ใยอาหาร วิตามินต่าง ๆ เหล็ก และแคลเซียมคิดเป็นร้อยละเท่าไร โดยหากอาหารที่เรากินให้ปริมาณสารอาหารสำคัญได้เพียงเล็กน้อย เราก็ต้องรับประทานอาหารชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจากอาหารชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก
           5. ร้อยละปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน เปรียบเทียบกับความต้องการมาตรฐานโดยคิดจากความต้องการพลังงาน 2,000-2,500 กิโลแคลอรี่ แบ่งตามเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งจะระบุข้อมูลเอาไว้ว่า อาหารชนิดนี้จะให้สารอาหารคิดเป็นพลังงานได้กี่กิโลแคลอรี่ แต่ทั้งนี้อาจจะต้องดูตามความเหมาะสมของสภาวะโภชนาการของตัวเราเองด้วยนะคะ เพราะอาจจะต้องเพิ่ม หรือลดหลั่นกันไปในแต่ละบุคคล
           6. สรุปร้อยละคุณค่าทางโภชนาการที่ควรได้รับต่อวัน ว่าอาหารชนิดนี้สามารถให้คุณค่าทางโภชนาการกับคุณได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งหากต่ำกว่า 5% ก็ถือว่าเป็นอัตราคุณค่าทางโภชนาการที่ค่อนข้างต่ำ แต่หากให้คุณค่าทางโภชนาการเกิน 20% ขึ้นไป ก็จัดว่าให้คุณค่าทางโภชนาการในระดับที่สูง
          อย่างไรก็ดี การอ่านฉลากโภชนาการให้เป็นก็ทำให้เราได้รู้รายละเอียดของอาหาร รวมทั้งสามารถตีความได้ว่าภายใต้แพคเกจสวย ๆ หน้าตาอาหารดี ๆ นั้นซ่อนสิ่งใดไว้บ้าง ซึ่งก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้เปรียบของการมีสุขภาพดี ห่างไกลโรคภัยอีกหลายชนิด
          นอกจากนี้การอ่านฉลากโภชนาการให้เป็นยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแคลอรี่สูงสามารถระมัดระวังเรื่องอาหารการกินของตัวเองได้อย่างแม่นยำขึ้นด้วยนะคะ

          ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Shrimp News_มะกัน-จีน-ญี่ปุ่นเร่งซื้อกุ้ง หวั่นความต้องการพุ่งทั่วโลก

 ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนามเผยว่าในปี 2560 นี้ สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่นสั่งซื้อกุ้งล็อตใหญ่เร็วกว่าช่วงเวลาปกติ ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เนื่องจากความกังวลต่อความต้องการกุ้งที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่ยุโรปคาดไม่เปลี่ยนแปลงเวลาสั่งซื้อ
                 ผู้ประกอบการส่งออกกุ้งทั่วโลกได้รับคำสั่งซื้อกุ้งจากสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม และจากญี่ปุ่นในช่วงกลางเดือนเมษายน ซึ่งเร็วกว่าปี 2559 ประมาณ 3 เดือน จากความกังวลต่อความต้องการกุ้งที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของโลกเนื่องจากความต้องการในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วรวมทั้งปัญหาการผลิตในประเทศ โดยในปีนี้ นอกจากจีนจะสั่งซื้อกุ้งเร็วกว่าปกติแล้วยังสั่งซื้อในปริมาณมากกว่าปีก่อนด้วย
     
           
ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ราคากุ้งที่คงตัวหรือลดลงนี้จะคงอยู่ไม่นาน และราคาอาจจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมซึ่งพ้นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตจำนวนมากแล้ว
 ที่มา :undercurrentnews.com สรุปโดย :มกอช. 

Taiwan Food News_ไต้หวัน เร่งตรวจหาที่มาของสาร Dioxin ที่ปนเปื้อนไข่

สภาเกษตรไต้หวัน (COA) เร่งตรวจสอบแหล่งที่มาของสาร Dioxin หลังพบการปนเปื้อนของสารดังกล่าวเป็นวงกว้าง และใช้มาตรการเฝ้าระวังพร้อมทั้ง เรียกคืนไข่ทั้งประเทศกว่า 8 ตัน ซึ่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐได้หาสาเหตุของการปนเปื้อน มุ่งประเด็นไปที่อาหารสัตว์ และได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบอาหารสัตว์ปีกอย่างเข้มงวด
                เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2560 ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ COA และศูนย์ควบคุมโรคสัตว์ของไต้หวันได้เข้าตวจสอบฟาร์มสัตว์ปีก ที่ Hung Chang พร้อมสั่งกำจัดสัตว์ปีกกว่า 42,000 ตัว วางแผนทำลายไข่ไก่กว่า 15 ตัน และใช้มาตรการเฝ้าระวังเรียกคืนไข่กว่า 8,962 กิโลกรัม ซึ่งในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การอาหารและยาไต้หวัน (FDA) ได้เข้าตรวจสอบไข่ที่วางจำหน่ายกว่า 3,730 กิโลกรัม และล่าสุดได้ทำการตรวจสอบไข่จากฟาร์มสัตว์ปีกเดิม ที่ Hung Chang พบว่า ยังคงมีการปนเปื้อนของสาร Dioxin แต่มีปริมาณสารลดลงอยู่ที่ 2.88 pg/g และ 3.34 pg/g ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่ 2.5 pg/g
                ทั้งนี้  องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนสาร Dioxin เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักสะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ หากผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
                
อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ : http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=14677&ntype=07
                และ  http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=14701&ntype=07
 
ที่มา : thepoultrysite.com สรุปโดย มกอช.

EU Food News_EU ไม่อนุญาตให้ใช้ Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 เป็นสารออกฤทธิ์

EU ไม่อนุญาตให้ใช้ Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช

เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/377 of 3 March 2017 concerning the non-approval of the active substance Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market ว่าด้วยการไม่อนุญาตสาร Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substances) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (Plant Protection Products : PPPs) สรุปดังนี้
                   ๑.       จากผลการประเมินของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA)  เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๘  จากการยื่นคำร้องของบริษัท Artechno SA  ซึ่งรับช่วงต่อจากบริษัท Maasmond-Westland เนเธอร์แลนด์ เพื่อขอขึ้นทะเบียน Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874  ให้เป็นสารตั้งต้น (Basic Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช  หากจากผลการประเมินฯ ระบุว่า  ยังไม่สามารถสรุปผลความเสี่ยงของสารดังกล่าวที่มีต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในน้ำได้ ดังนั้น EU  จึงไม่เห็นควรอนุญาตให้ใช้ Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 เป็นสารตั้งต้นตามที่บริษัทร้องขอ
                   ๒.       ในการนี้ EU กำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของ Pseudozyma flocculosa strain ATCC 64874 อย่างช้าสุดภายในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ และประเทศสมาชิกสามารถอนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านได้ แต่ต้องมีระยะเวลาสั้นที่สุดและต้องไม่เกินกว่าวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๑
                   ๓.       กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐)
                   ๔. สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังนี้
                                             โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

EU Food News_EU ต่ออายุการใช้งานและกำหนดหาสารออกฤทธิ์ตัวใหม่ที่ปลอดภัยกว่าทดแทน prosulfuron

เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๐ EU ได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2017/375 of 2 March 2017 renewing the approval of the active substance prosulfuron, as a candidate for substitution,
in accordance with Regulation (EC) No 1107/2009 of the European Parliament and of the Council concerning the placing of plant protection products on the market, and amending the Annex to Commission
Implementing Regulation (EU) No 540/2011 ซึ่งเป็นการต่ออายุการใช้งานของสาร prosulfuron  ที่เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักพืช รวมทั้งได้กำหนดให้ prosulfuron อยู่ในบัญชีรายชื่อของสาร CfS (Candidates for Substitution : CfS)
ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อสารออกฤทธิ์ที่ EU จะต้องเร่งหาสารออกฤทธิ์ตัวอื่นที่ให้ผลคล้ายคลึงกันมาทดแทนที่ปลอดภัยกว่าในอนาคต เนื่องจากพบว่า prosulfuron เป็นสารที่คงอยู่ได้นาน (persistent) และมีความเป็นพิษ (toxic)
 ตลอดจนค่าครึ่งชีวิต (half-life)* ในน้ำจืดมีมากกว่า ๔๐ วัน รวมถึง ปริมาณความเข้มข้นของสารที่ได้รับแล้วไม่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำจืด มีน้อยกว่า ๐,๐๑  มิลลิกรัม/ลิตร                                                        
             ทั้งนี้ กำหนดการใช้สาร prosulfuron ในปริมาณสูงสุดตรงพื้นที่เดิม ในปริมาณ ๒๐ กรัม/เฮกตาร์ต่อทุกๆ ๓ ปี  ยกเว้นหากใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ – วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
             สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
             กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
              

* ค่าครึ่งชีวิต (half-life) คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการสลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม                            

                                         โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

DOF_เอกสารเผยแพร่ของ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ


1. หลักเกณฑ์การรับรองสุขลักษณะสถานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพื้นเมือง
 89  mb

2. ภาชนะบรรจุสำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

ที่มา
กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ