วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

EU Food News_EU ออกข้อแนะนำควบคุมการปนเปื้อน Δ9-tetrahydrocannabinol และ cannabinoids อื่นๆ ในอาหาร

     เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตีพิมพ์ประกาศ Commission Recommendation (EU) 2016/2115 of 1 December 2016 on the monitoring of the presence of Δ9-tetrahydrocannabinol, its precursors and other cannabinoids in food ใน EU Official Journal L 327/103  ซึ่งเป็นข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของ Δ9-tetrahydrocannabinol และสารตั้งต้น รวมถึง cannabinoids อื่นๆ ในอาหาร สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
               ข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนของ Δ9-tetrahydrocannabinol และสารตั้งต้น รวมถึง cannabinoids อื่นๆ ในอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกผู้ประกอบการภาคเอกชนใน EU  ต้องให้ความร่วมมือในการสุ่มตรวจสินค้าอาหารเพื่อหา     Δ9-tetrahy- drocannabinol และสารตั้งต้น (precursors) รวมถึง cannabinoids อื่นๆ
                สาเหตุเนื่องจากมีการตรวจพบ tetrahydrocannabinol (THC) ตกค้างในนมและอาหาร อื่นๆ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ ซึ่ง tetrahydrocannabinol หรือ delta-9-tetrahydrocannabinol (Δ9-THC) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มาจากกัญชง (Hemp : Cannabis sativa) โดย EFSA ได้กำหนด ค่าอ้างอิงวิกฤต* (Acute Reference Dose : ARfD) ของ delta-9-tetrahydrocannabinol ไว้ที่ระดับ ๑ µg Δ9-THC/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว
                  ดังนั้น เพื่อให้ EU ได้มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกค้างของสารดังกล่าวในสินค้าอาหาร ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ รวมถึงค่าถ่ายเทจากอาหารสัตว์ไปสู่อาหารมนุษย์ จึงกำหนดให้มีการสุ่มตรวจ สินค้าอาหารที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์ โดยเฉพาะอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ที่ถูกเลี้ยงมาด้วยอาหารสัตว์ ที่มีส่วนผสมของกัญชง หรือจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีกัญชงเป็นส่วนประกอบ ตลอดจนในสินค้าอาหาร ที่ทำจากกัญชง หรือที่มีกัญชงเป็นส่วนประกอบ หรือที่มีส่วนผสมที่มาจากกัญชงด้วย เพื่อวิเคราะห์หาตัวตั้ง ต้น non-psychoactive ซึ่งได้แก่ delta-9-tetrahydrocannabinolic acids (2-COOH-Δ9-THC termed Δ9-THCA-A และ 4-COOH-Δ9-THC termed Δ9-THCA-B) และ  cannabinoids อื่นๆ อาทิ delta-8-tetrahydrocannabinol (Δ8-THC), cannabinol (CBN), cannabidiol (CBD) และ delta-9-tetrahydrocannabivarin (Δ9-THCV) 
                    ทั้งนี้ EU กำหนดให้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Commission Regulation (EC) No 401/2006 รวมถึงให้อิงใช้วิธีตรวจวิจัย chromatographic separation coupled with mass spectrometry (LC-MS or GC-MS) ตามด้วย clean-up step (liquid-liquid LLE) หรือ solid phase extraction (SPE) โดยเสนอว่าควรใช้เทคนิค chromatographic ที่สามารถกำหนดแยกค่าของ Δ9-THC ออกจากสารตั้งต้นและ cannabinoids อื่นๆ ในอาหารได้ด้วย
                    โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิก EU ต้องส่งมอบผลการสุ่มตรวจหาสารดังกล่าวในอาหาร อย่างสม่ำเสมอ และรวบรวมส่งผลอย่างช้าสุดภายในเดือนตุลาคม  ๒๕๖๒ ตามแบบฟอร์มที่ EFSA กำหนดไว้ใน “Guidance of EFSA on Standard Sample Description for Food and Feed” และข้อกำหนดเฉพาะ อื่นๆ ของ EFSA ร่วมด้วย
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อแนะนำดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
                                                                                                                โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

* ค่าอ้างอิงวิกฤติ (Acute Reference Dose-ARfD) 

:  ค่าอ้างอิงวิกฤติ (ARJD) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องทำในการประเมินความปลอดภัย ของสารเคมีเกษตรทุกชนิด ค่าARJD นี้ เป็นการประมาณค่าปริมาณของสารใดสารหนึ่งในอาหาร หรือน้ำดื่ม ที่สามารถบริโภคได้ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น ต่อมื้อ หรือ ต่อวันโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซนต์ (หรือร้อยละ) ของน้ำหนักตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น