วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

EU Food News_EU ปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อสินค้าที่ปลอดสารตกค้างและอนุญาตให้นำเข้าจากประเทศที่สาม

EU ปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อสินค้าที่ปลอดสารตกค้างและอนุญาตให้นำเข้าจากประเทศที่สาม

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Implementing Decision (EU) 2016/2092 of 28 November 2016 amending Decision 2011/163/EU on the approval of plans submitted by third countries in accordance with Article 29 of Council Directive 96/23/EC ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่ปลอดสารตกค้าง เนื่องจากประเทศเหล่านั้นได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการตรวจหาสารตกค้างประจำปี ตามเงื่อนไข ที่ EU กำหนดไว้ในมาตราที่ ๒๙ ของกฎระเบียบ Council Directive 96/23/EC และได้ผ่านการพิจารณาให้อยู่ในบัญชีรายชื่อในภาคผนวกของ Decision 2011/163/EU แล้ว
                จากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อประเทศที่สามฉบับใหม่นี้ สำนักงานฯ พบว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย สินค้าที่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าได้ยังคงเป็นรายการเดิม ทั้ง ๓ รายการ คือ
                 ๑. สินค้าเนื้อสัตว์ปีก (poultry)
                 ๒. สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง (aquaculture)
                 ๓. สินค้าน้ำผึ้ง (honey)
                    อย่างไรก็ดี ตามประกาศดังกล่าว EU ได้เพิ่มการอนุญาตนำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศจอร์เจีย ถอนการอนุญาตนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงจากประเทศแกมเบีย ถอนการอนุญาตนำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศ เลบานอน และถอนการอนุญาตนำเข้านมจากประเทศเคนยา   ออกจากบัญชีรายชื่อฯ เนื่องจากไม่ส่งรายงานผลควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างตามข้อกำหนด Council Directive 96/22/EC รวมถึงอนุโลมให้มีการนำเข้า สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้ว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะไม่ได้ส่งมอบรายงาน ผลฯ หากแต่ได้ให้หลักประกันว่าวัตถุดิบสินค้าสัตว์น้ำเป็นสินค้านำเข้ามาจาก EU และประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวไปยัง EU ได้    
                ทั้งนี้ อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับน้ำผึ้งจากประเทศเลบานอนให้สามารถยังคงส่งไปยัง EU ได้จนถึงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ หากผู้นำเข้าสามารถระบุได้ว่า สินค้าดังกล่าวได้มีการออกใบรับรองและถูกจัดส่งมาก่อนวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙              
                กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่  ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษา บัญชีรายชื่อดังกล่าวเพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ดังต่อไปนี้
                                                 โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น