หลังจากที่หน่วยงานบริการการตลาดภาคเกษตร (Agricultural Marketing Service: AMS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) เสนอร่างปรับแก้ข้อกำหนดการผลิตสัตว์ปีกและปศุสัตว์อินทรีย์ในประเทศ ทำให้มาตรฐานเกี่ยวกับการผลิตสัตว์อินทรีย์มีแนวโน้มถูกเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นใจในการประยุกต์ใช้ข้อกำหนดและสร้างข้อมูลการผลิตที่ชัดเจนให้แก่ผู้บริโภค
ฝ่ายบริหาร AMS กล่าวว่า ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดนี้ถือเป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วย การกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานและการรับรองที่เข้มงวดและชัดเจนขึ้นสำหรับสัตว์ปีกและปศุสัตว์อินทรีย์ ที่จะเป็นรากฐานของการรับรองสัตว์อินทรีย์โดยคณะกรรมการบริหารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (The National Organic Standards Board) ทั้งยังถือเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องหมายเกษตรอินทรีย์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเกษตรอินทรีย์เติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยมีข้อกำหนดหลัก ได้แก่
การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกให้มีสุขภาพและสวัสดิภาพที่ดี รวมถึงการระบุวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งและการฆ่า
กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสัตว์ที่อนุญาต/ไม่อนุญาตในการผลิต สำหรับการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกอินทรีย์
สร้างข้อกำหนดพื้นที่ขั้นต่ำสำหรับสัตว์ปีกทั้งแบบเลี้ยงกลางแจ้งและเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงแบบปิด
ฝ่ายบริหาร AMS กล่าวว่า ผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนข้อกำหนดนี้ถือเป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันให้แก่ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ด้วย การกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานและการรับรองที่เข้มงวดและชัดเจนขึ้นสำหรับสัตว์ปีกและปศุสัตว์อินทรีย์ ที่จะเป็นรากฐานของการรับรองสัตว์อินทรีย์โดยคณะกรรมการบริหารมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (The National Organic Standards Board) ทั้งยังถือเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของเครื่องหมายเกษตรอินทรีย์เพื่อสนับสนุนให้ภาคเกษตรอินทรีย์เติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยมีข้อกำหนดหลัก ได้แก่
การผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกให้มีสุขภาพและสวัสดิภาพที่ดี รวมถึงการระบุวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งและการฆ่า
กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสัตว์ที่อนุญาต/ไม่อนุญาตในการผลิต สำหรับการผลิตปศุสัตว์และสัตว์ปีกอินทรีย์
สร้างข้อกำหนดพื้นที่ขั้นต่ำสำหรับสัตว์ปีกทั้งแบบเลี้ยงกลางแจ้งและเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงแบบปิด
ที่มา: thepoultrysite สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น