วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

EU Food News_สภาพยุโรปฟันธงห้ามสมาชิก EU แบน GMO โดยอิสระ

ที่ประชุมสภายุโรปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ได้มีข้อพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ว่าด้วยการให้สิทธิ์ประเทศสมาชิกพิจารณานโยบายอนุญาตหรือห้ามสินค้า GMO ได้โดยอิสระ โดยที่ประชุมมีมติยกเลิกข้อเสนอด้วยคะแนนเสียง 577 ต่อ 75 เสียง ซึ่งสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของสหภายุโรป (MEPs) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2558

                ทั้งนี้หน่วยงานด้านอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป COCERAL, FEDIOL และ FEFAC เห็นด้วยกับมติในที่ประชุมสหภาพยุโรป ซึ่งทั้ง 3 องค์กรเห็นว่าการห้ามใช้ GMO จะส่งผลต่อการผลิต ภาคเกษตรทั้งด้านต้นทุนและการแข่งขันในระดับสากล

                ทั้งนี้สามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังได้ที่ :
 
http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=13111&ntype=07
 

ที่มา: http://www.thecattlesite.com/news (17/11/58)
 มกอช.

China Food News_จีนพิจารณายกเครื่องกฎหมายติดฉลาก GMO

กระทรวงเกษตรของจีนเปิดเผยว่าจะมีการพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดภายใต้กฎหมายการติดฉลากสินค้าดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) โดยเห็นว่าต้องพิจารณาข้อกำหนดสัดส่วน ส่วนประกอบ GMO ของผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องติดฉลากภายใต้กฎหมายความปลอดภัยอาหารของจีน 
มาตรการติดฉลากหลายประเทศในปัจจุบัน มีลักษณะดังนี้

                 • ผู้ผลิตของสหรัฐฯ สามารถเลือกได้ว่าจะติดฉลาก GMO หรือไม่

                 • ผลิตภัณฑ์อาหารของญี่ปุ่นบางรายการที่มีปริมาณ GM เกิน 5% ต้องมีการติดฉลาก GMO

                 • ผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ที่มีปริมาณ GM เกิน 0.9% ต้องมีการติดฉลาก GMO

                ผู้เชียวชาญด้าน GM food คาดหวังว่ารัฐบาลจะนำกฎระเบียบของญี่ปุ่นและ EU มาเป็นแหล่งอ้างอิง หากจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย โดยต้องกำหนดเงื่อนไขว่า GM food ทุกชนิดต้องติดฉลากแหล่งกำเนิด เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจสอบปริมาณ GM ได้อย่างแม่นยำ และกฎหมายควรจะระบุรูปแบบของฉลากให้ชัดเจน

ที่มา: http://www.globaltimes.cn/ (17/11/58)
มกอช.


วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

DOF_List of Approved Fish Processing Establishments 12.10.15


click link to download from THDOF

List of Approved Fish Processing Establishments

DOF_รายชื่อสถานแปรรูปสัตว์น้าเบื้องต้นที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง

click link below from THDOF

สรุปฟาร์มมาตรฐานสัตว์น้ำชายฝั่ง


เกาหลีใต้ - จีน ร่วมมือต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย

 เกาหลีใต้และจีนร่วมมือกันดำเนินการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมายทั่วคาบสมุทรเกาหลีใต้เพื่ออนุรักษ์มวลปลา (fish stocks) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 Ministry of Oceans and Fisheries กล่าวว่า    ทั้งสองประเทศได้ออกมาแถลงการณ์ ณ กรุงปักกิ่งว่ามีความตั้งที่จะแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่ไม่มีการรายงานและการควบคุมตามระเบียบ IUU

           ข้อตกลงล่าสุดของทั้งสองประเทศหลังจากที่มีการประชุมอภิปราย ณ กรุงโซล จะไม่มีการรวมมาตรา IUU เข้าไปในความตกลงการค้าเสรี โดยทั้งสองฝ่ายได้ตั้งคณะกรรมการประมงทำงานร่วมกันเพื่อจัดการปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของชาวประมงจีนในเขตเศรษฐกิจจําเพาะของเกาหลีใต้ (EEZ) ที่สร้างความเสียหายให้แก่ชาวประมงเกาหลีใต้ ถึงแม้จะไม่มีอำนาจควบคุมอย่างเต็มที่ก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงล่าสุด เกาหลีใต้จะเพิ่มค่าปรับเรือประมงของจีนที่ฝ่าฝืนกฎหมายจาก 200 ล้านวอน เป็น 300 ล้านวอน ( 263,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และจะยึดของกลางไว้โดยไม่ส่งเรื่องไปยังเจ้าหน้าที่ของจีน นอกจากนี้เกาหลีใต้จะสร้างฐานข้อมูลผู้กระทำผิดซ้ำๆ และจัดข้อมูลให้จีนเพื่อดำเนินคดีต่อไป และทั้งสองประเทศยังเห็นพ้องกันว่าจะสร้างจุดตรวจเรือประมงทุกลำที่ผ่านน่านน้ำ

             ด้านประเทศจีน ได้ยอมรับข้อตกลงสำหรับการควบคุมที่ดีกว่าเดิมของการทำประมงในน่านน้ำเกาหลีเหนือใกล้กับเส้นแบ่งทะเลกับเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังมีแผนพัฒนาระบบใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดกับระบบควบคุมของเรือประมงใน EEZ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบใบอนุญาต และยังเป็นการป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร Ministry of Oceans and Fisheries ยังกล่าวถึงข้อตกลงปริมาณการทำประมงใน EEZ ประจำปี 2559 ว่า เรือประมงของจีนสามารถเข้ามาใน EEZ ของเกาหลีใต้ได้ เช่นเดียวกับเรือประมงของเกาหลีใต้ก็สามารถเข้ามาในน่านน้ำของีนได้ จำนวน 1,600 ลำ และสามารถจับปลาได้ 60,000 ตัน เช่นเดียวกัน
 
 
 
 
 
ที่มา: http://www.thefishsite.com/ (11/11/58)
มกอช.

Iceland Food News_OIE รายงานโรค VHS ระบาดครั้งแรกในไอซ์แลนด์

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รายงานพบการระบาดของไวรัสสาเหตุของโรค Viral Hemorrhagic Septicemia (VHS) ครั้งแรกในไอซ์แลนด์ โดยพบการระบาดในปลา lumpfish (Cyclopterus lumpus) ที่เตรียมนำมาเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพื่อผลิตปลาพยาบาล (Cleaner fish) ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงแซลมอนแอตแลนติกในเขตปกครอง Hafro Grindavik และ Gullbringu
           
        ผลการตรวจสอบยืนยันโดยหน่วยงาน National veterinary institute (สถาบันสุขภาพสัตว์) ของเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 พบตัวอย่างเชื้อไวรัส VHS ชนิด Genotype IV และก่อนหน้านี้ได้ทำลายปลากลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้ว 5,145 กิโลกรัม
           
        ทั้งนี้ จากประกาศดังกล่าวของ OIE ทำให้หน่วยงาน Sernapesca ซึ่งควบคุมกำกับดูแลด้านสินค้าประมงของชิลี ประกาศระงับการนำเข้าไข่ปลาแซลมอนแอตแลนติกจากไอซ์แลนด์ชั่วคราว โดยจะตรวจรับรองคุณภาพและสุขภาพสัตว์ก่อนการเปิดให้นำเข้าอีกครั้ง
  
ประกาศ OIE: 
http://www.oie.int/wahis_2/public/wahid.php/Reviewreport/Review?reportid=19020
ประกาศชิลี: https://www.sernapesca.cl/index.php?option=com_content&view=article&id=2055%3Asernapesca-suspende-de-manera-precautoria-las-importaciones-de-ovas-de-salmon-atlantico-desde-islandia&catid=1%3Aultimas&Itemid=69
 
 
 
ที่มา: มกอช./OIE

Canada Food News_แคนาดาเปิดนำเข้าเนื้อโค EU รอบ 19 ปี มั่นใจปลอดภัยวัวบ้า

 แคนาดาอนุญาตนำเข้าเนื้อโคจาก EU อีกครั้ง หลังจากประเทศห้ามนำเข้าตั้งแต่ปี 2539 เพื่อลดความเสี่ยงวัวบ้า โดยเบื้องต้นอนุญาตให้นำเข้าจาก 19 ประเทศ

             คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่าการที่แคนาดาอนุญาตให้นำเข้าเนื้อโคครั้งนี้เป็นการรับรองความสำคัญว่าสัตว์ของประเทศสมาชิกมีสุขภาพที่ดีเทียบเท่ากับมาตราฐานของแคนาดาแล้ว และยังเป็นการปรับปรุงที่สำคัญและในอนาคตจะพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับแคนาดาในประเด็นสุขาภิบาลและสุขอนามัยพืช 19 ประเทศสมาชิกที่ถูกอนุญาตให้นำเข้าเนื้อโค ได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี  และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศสมาชิกอื่น ๆ โดย EU และแคนาดาทำงานร่วมกันเพื่อนสร้างการค้าเนื้อโคจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่ห่างไกล อีกทั้งจะเป็นการช่วยสนับสนุนผู้ผลิตและผู้ส่งออกเนื้อโคของ EU

             องค์กรเกษตรของ EU Copa-Cogeca ยินดีกับข่าวที่ว่าการอนุญาตให้นำเข้าเนื้อโคจะช่วยลดแรงกดดันในตลาด ในขณะที่เกษตรกรเผชิญกับช่วงเวลาที่ลำบากและจะต้องมองหาตลาดการส่งออกใหม่

มกอช.

EU Food News_EU กำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของ ergot sclerotia ในธัญพืชที่ไม่ได้แปรรูป

 เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ สหภาพยุโรปออกประกาศ Commission Regulation (EU) 2015/1940 of 28 October 2015 amending Regulation (EU) No 1881/2006 as regards maximum levels for ergot sclerotia in certain unprocessed cereals and the provisions on monitoring and reporting โดยตีพิมพ์ใน EU Official Journal L 283/3 ซึ่งเป็นการกำหนดระดับค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MLs) ของ ergot sclerotia* อันเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเดิม ซึ่งได้แก่ Regulation (EC) No 1881/2006  
           จากที่ EFSA ได้กำหนดค่า Acute Reference Dose : ARD (ค่าอ้างอิงวิกฤติ) ของ ergot alkaloids ที่ระดับ ๑ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว และค่า Tolerable Daily Intake : TDI (ค่าปนเปื้อนสูงสุดที่ร่างกายรับ ได้ต่อวันโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ) ของ ergot alkaloids ที่ระดับ ๐,๖ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของ น้ำหนักตัว ดังนั้น สหภาพยุโรปจึงเห็นควรให้มีการกำหนดค่า MLs ของ ergot sclerotia ในสินค้าที่มีความ เสี่ยงสูง รวมถึงขอความร่วมมือไปยังประเทศสมาชิก EU ให้ช่วยกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ควบคุมการปนเปื้อน ของ ergot alkaloids ในธัญพืช และรายงานผลให้ EU ทราบภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เปรียบเทียบการปนเปื้อนที่สัมพันธ์กับ ergot sclerotia และกำหนดค่า ML ของ ergot alkaloids ในสินค้าธัญพืชเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
             การกำหนดค่า MLs ของ ergot sclerotia ในครั้งนี้ ครอบคลุมเฉพาะธัญพืชที่ยังไม่ได้แปรรูป (unprocessed cereals) ยกเว้นข้าวโพดและข้าว ที่ระดับ ๕,๐ กรัม/กิโลกรัม
             ทั้งนี้ ภายในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ EU จะได้ประเมินความเสี่ยงและกำหนดค่า ML ของ ergot alkaloids เพิ่มเติมในธัญพืชที่ยังไม่ได้แปรรูป (ยกเว้นข้าวโพดและข้าว) ผลิตภัณฑ์จากธัญพืชบด (ยกเว้นข้าว โพดและข้าว)  ขนมปังและขนมเบเกอร์รี่ และอาหารที่ทำจากธัญพืชสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กด้วย  
               รายละเอียดปรากฎตามกฎระเบียบดังแนบหรือสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
             กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันภายหลังจากที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘) และให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่มีผลเป็นต้นไป 
________________________
* ราบนข้าวไรย์ หรือ เออร์กอท (Ergot) เป็นเชื้อราลักษณะเหมือนหงอนไก่ที่เกิดบนเมล็ดธัญพืชหลายชนิด หรือบนข้าวไรย์ เป็นเชื้อราในตระกลู คลาวิเซป (Claviceps) วงศ์ Clavicipitaceae ลักษณะของเชื้่อราที่เกิดขึ้นจะถูกเรียกว่า sclerotia มีลักษณะเป็นเมล็ดแข็งยาว กว่าเมล็ดขา้วปกติประมาณ ๓ เท่า เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร เลือด และระบบประสาท  
                                รายงานโดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป   

EU Food News_EU สนับสนุนโครงการวิจัยเกี่ยวกับการนำขยะอาหารกลับมาผลิตเป็นอาหารสัตว์

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ ๑๖ ตุลาคมของ ทุกปี เป็น “วันอาหารโลก หรือ World Food Day” เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ มีจิตสำนึกเกี่ยวกับอาหาร และการพัฒนา รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติและนานาชาติในการต่อสู้กับ ความอดอยาก หิวโหย ทุพโภชนาการ และความยากจน แต่ปัจจุบันยังมีประชากรโลกมากถึง ๘๐๐ ล้านคนที่ตกอยู่ในภาวะ ขาดแคลนสารอาหารเรื้อรัง ในขณะที่ราว ๑ ใน ๓ ของอาหารที่ผลิตขึ้นกลับถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่าระหว่าง ขั้นตอนการผลิตไปจนอาหารถึงมือผู้บริโภคหรือคิดเป็นปริมาณราว ๑.๓ ล้านตันต่อปี
    FAO คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ๒,๐๐๐ ล้านคน เป็น ๙,๐๐๐ ล้านคนภายในปี ๒๕๙๓ (ค.ศ. ๒๐๕๐) นั่นหมายถึง ความต้องการบริโภคอาหารจะเพิ่มขึ้นอีก ๗๐% แต่ปัจจัยเสี่ยงจากทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอลง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้การผลิตอาหารของโลกมีขีดจำกัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศต่างๆ จะต้องร่วมกันหาทางออกเพื่อให้การผลิตอาหารเพียงพอต่อการเลี้ยงดูประชากรโลก ในอนาคต
   ในแต่ละปี EU มีขยะอาหาร (food waste) เกิดขึ้นราว ๑๐๐ ล้านตัน หากปล่อยให้ เป็นเช่นนี้ต่อไป คาดว่าปริมาณขยะอาหารใน EU อาจเพิ่มขึ้นเป็น ๑๒๐ ล้านตันภายในปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐) ปัญหาขยะอาหารไม่ได้เป็นเพียงแค่การขัดต่อจริยธรรมและสร้างความเสียหายต่อ เศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่า EU จึงรณรงค์เรื่องการป้องกัน และลดการทิ้งอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ระดับฟาร์มไปจนถึงผู้บริโภค (from farm to fork) ซึ่งการลดขยะอาหารจะช่วยลดการใช้ทรัพยากร ลดค่าใช้จ่าย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิต และการบริโภค
    ในปี ๒๕๕๗ คณะกรรมาธิการยุโรปออกแผนการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Towards a circular economy : a zero waste programme for Europe)  โดยมุ่งส่งเสริมการเติบโต ทางเศรษฐกิจ ผลิตขยะปริมาณต่ำและรณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุยืนยาวและมีประสิทธิภาพ และในปี เดียวกัน คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอให้มีการทบทวนกฎระเบียบการนำกลับมาใช้ใหม่และเป้า หมายของ ขยะประเภทต่างๆ (Legislative proposal to review recycling and other waste targets) โดย EU ตั้งเป้าหมายจะลดขยะอาหารให้ได้อย่างน้อย ๓๐ภายในปี ๒๕๖๘ (ค.ศ.  ๒๐๒๕)  ซึ่งการลดขยะอาหาร สามารถทำได้ทุกขั้นตอนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในร้านค้าปลีก ร้านอาหาร โรงงานแปรรูปและ ครัวเรือน โดยก่อนจะทิ้งอาหารควรพิจารณาว่าสามารถนำอาหารดังกล่าวไปบริจาคหรือใช้ผลิต เป็นอาหาร สัตว์ได้หรือไม่ ส่วนที่เหลือหลังจากนั้นค่อยนำไปผลิตพลังงานทดแทน ปุ๋ยหมัก ส่วนเศษอาหารที่ไม่สามารถ ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้จึงนำไปฝังกลบ
   งาน Milano Expo 2015 จัดขึ้นที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ ๑ พฤษภาคม – ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ แนวคิดหลักของงานปีนี้ คือ “อาหารหล่อเลี้ยงโลก พลังงานหล่อเลี้ยงชีวิต (Feeding the Planet, Energy for Life)” ภายในงานได้มีการจัดแสดงนวัตกรรมการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร รวมถึงจัดการ อภิปรายหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารโลกและความยั่งยืน
    หนึ่งในโครงการลดขยะอาหารที่ได้รับความสนใจในงานนี้ ก็คือ  NOSHAN ซึ่งศึกษาเรื่อง การนำขยะอาหารมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ (turning food waste into feed) โครงการ NOSHAN ได้รับเงิน อุดหนุนจาก EU’s Seventh Framework Programme รวม ๓ ล้านยูโร เป็นโครงการศึกษาที่นำโดย  สถาบัน LEITAT Technology Center ในประเทศสเปน ร่วมกับมือสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย SMEs และ อุตสาหกรรมอาหารในประเทศอื่นๆ อีก ๗ ประเทศ
    จุดมุ่งหมายของโครงการ NOSHAN คือ การค้นคว้าหาเทคโนโลยีและวิธีแปรรูปที่ดีที่สุด เพื่อดึงพลังงานและองค์ประกอบที่มีประโยชน์ในขยะอาหารกลับมาใช้ใหม่ (เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน โมเลกุล ที่ประกอบด้วยสาร antioxidant หรือสารต้านการอักเสบ) โดยนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ ใช้ พลังงานผลิตน้อยและเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบตั้งต้น  การศึกษาเน้นใช้ขยะอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะเป็นกลุ่มอาหารที่ถูกทิ้งมากที่สุด แต่การผลิตอาหารเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากร ทั้งน้ำ ที่ดิน พลังงาน แรงงาน และทุนเป็นจำนวนมาก การที่อาหารเหล่านี้ถูกทิ้งโดยไม่ได้บริโภคจึงเท่ากับ มีทรัพยากรที่ถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่า โครงการ NOSHAN จึงให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณค่า ทางโภชนาการและเหมาะกับความต้องการสารอาหารของสัตว์ (สุกรและสัตว์ปีก) รวมทั้งคำนึงถึงเรื่องความ ปลอดภัยและคุณภาพอาหารสัตว์เป็นหลัก
    โครงการ NOSHAN เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๕ และมีกำหนดการสิ้นสุดในปี ๒๕๕๙  โดยความรู้ที่ได้จากโครงการ เช่น องค์ประกอบในอาหารสัตว์ที่ผลิตขึ้น เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด ต้นทุน และความปลอดภัยของอาหารสัตว์ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเกษตร ทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีกของ EU ดีขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการพึ่งพา การนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในขั้นตอนเก็บรวบรวมขยะอาหาร การผลิตและแปรรูปอาหารสัตว์ กระตุ้นให้เศรษฐกิจในชนบทเจริญเติบโตจากการดำเนินงานของโรงงานผลิต อาหารสัตว์ นอกจากนี้ การนำขยะอาหารกลับมาใช้ใหม่ยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้พลังงาน และทรัพยากรที่ใช้ไปกระบวนการผลิตอาหารถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า รวมทั้งทำให้ปัญหาการแก่งแย่งการ ใช้น้ำและที่ดินระหว่างพืชอาหารคนและพืชอาหารสัตว์ลดลง
    การนำขยะอาหารมารีไซเคิลผลิตเป็นอาหารสำหรับสุกรและสัตว์ปีก จึงเป็นแนวทางที่ควร นำมาศึกษาความเป็นไปได้ในประเทศไทย เพราะนอกจากทำให้ขยะอาหารมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วย ประหยัดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ของเกษตรกร ลดการนำเข้าอาหารสัตว์ ลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นการนำทรัพยากรหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ภายในห่วงโซ่อาหารคน และอาหารสัตว์ ทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ดี ขยะอาหารที่เลือกใช้ควรมาจากแหล่ง ที่มีความปลอดภัยและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้  เช่น เศษอาหารจากโรงงานอุตสาหกรรม ร้านค้า ปลีกหรือซุเปอร์มาร์เก็ต ส่วนขยะอาหารจากภาคครัวเรือนมักอยู่ในสภาพไม่ดีนักและไม่ได้มีการคัดแยก จึง อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพสัตว์หรือทำให้เกิดโรค
ที่มา thaieurope.net กระทรวงการต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

FTA : Thailand-Chile จับตา FTA ไทย – ชิลี มีผล 5 พ.ย. 58 นี้

 ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี ซึ่งได้ลงนามตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2556 จะมีผลบังคับใช้  ซึ่งส่งผลให้เกิดการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยเฉพาะสินค้านำเข้าจากทั้งสองประเทศ ร่วม 90% ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าจะลดภาษีเหลือ 0% ทันที ส่วนสินค้าที่เหลืออีก 10% ทั้งสองฝ่ายจะทยอยลดภาษีเป็น 0% ภายในระยะเวลา 8 ปี
 ทั้งนี้ในส่วนของสินค้าเกษตร สินค้าที่ได้รับการลดภาษีส่งออกไปชิลีเป็น 0% ทันที ได้แก่ ปลาแปรรูป (ปลากระป๋อง) และยางและผลิตภัณฑ์จากยาง สำหรับสินค้าข้าวของไทย ชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าภายในระยะเวลา 5 ปี และในส่วนของสินค้าไทยที่นำเข้าจากชิลีหลายรายการรวมทั้งไวน์จะได้รับการยกเลิกภาษีด้วย
           
           การค้าระหว่างไทย – ชิลี ในปี 2557 มีมูลค่ากว่า 960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปัจจุบันชิลียังเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของไทยในภูมิภาคอเมริกาใต้ มีมูลค่าการค้าคิดเป็น 10% ของมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และอาร์เจนตินา
(ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลรายการสินค้าและอัตราภาษีได้ที่: http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=161&ctl=DetailUserContent&mid=683&contentID=7552)


ที่มา : มกอช.(4/11/58)

EU Food News_คาดการณ์อุตฯ เนื้อสัตว์ปีกใน EU ขยายตัวต่อไป

 รายงานคาดการณ์ระยะสั้นของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เผยปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ปีกในปี 2558 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2557 และคาดว่าอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกจะลดลงในปี 2559 ทั้งนี้ในส่วนของปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์ปีกใน EU ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 และคาดว่าปริมาณการผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น 2.6% ในปี 2558 ซึ่งมากกว่าปี 2557 (13.6 ล้านตัน)
            
             ปริมาณการส่งออกของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ใน EU ในครึ่งปีแรกของปี 2558 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2% แม้จะมีการสูญเสียตลาดรัสเซียแต่ก็มีการขยายตัวของตลาดส่งออกทดแทนในประเทศฟิลิปปินส์ เบนิน ซาอุดิอาระเบียและกานา โดยเฉพาะการส่งออกไปยังยูเครนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 27,500 ตัน และการส่งออกเนื้อหมูไปฮ่องกงและจีนก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

              สำหรับปริมาณส่งออกเนื้อสัตว์ตลอดปี 2558 จะมีการขยายตัวประมาณ 3.5% ไปอยู่ที่ 1.4 ล้านตัน ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นของหลายประเทศในทวีปเอเชียและแอฟริกา ถึงแม้แอฟริกาใต้จะมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกับประเทศใน EU เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศก็ตาม โดยรวมแล้วในปี 2559 คาดว่าการส่งออกจะมีปริมาณการขยายตัวไม่เกิน 25,000 ตัน
             
              ในส่วนของปริมาณนำเข้าสัตว์ปีกจากบราซิลพบว่าลดลงถึง 25,000 ตัน โดยพบว่าบราซิลขยายการส่งออกไปนอกตลาด EU เพิ่มขึ้น ซึ่ง EU ได้นำเข้าจากประเทศไทยเป็นการทดแทน ทั้งนี้ราคาของเนื้อสัตว์ปีกมีการฟื้นตัวและลอยตัวในเดือนที่ผ่านมาประมาณ 190-195 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 100 kg และคาดว่าราคาจะลดลงตามฤดูกาลในเดือนกันยายนและตุลาคม ปี 2558 ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ของประชากร EU ถูกคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือ 22.5 kg และ 22.7 kg ในปี 2558 และปี 2559 ตามลำดับ
 

ที่มา : http://www.thepoultrysite.com/ (4/11/58)
มกอช.

WHO Food News_WHO ชี้เนื้อแดง เนื้อสัตว์แปรรูปตัวการก่อมะเร็ง

องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปมีความเชื่อมโยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง จากผลวิจัยของ The WHO International Agency for Research on Cancer (IARC) โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบงานวิจัยที่มีความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปกับโรคมะเร็งมากกว่า 800 งานวิจัย พบว่าการบริโภคเนื้อแดง 100 กรัมต่อวัน และการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป 50 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงในการก่อมะเร็งลำไส้ขึ้น 17% และ 18% ตามลำดับ โดยพบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปอาจมีผลก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งกระเพาะ ในขณะที่การบริโภคเนื้อแดงมีความเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งตับอ่อนและมะเร็งต่อมลูกหมาก 

                ทั้งนี้ The North American Meat Institute (NAMI) ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการค้นพบของ IARC ว่า การระบุว่าเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปอยู่ในกลุ่มอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็งถือเป็นการให้ความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่คัดค้านกับผลงานวิจัยอื่นๆ ที่ไม่พบความเชื่อมโยงกันระหว่างเนื้อสัตว์และมะเร็ง รวมทั้งงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคอาหารและเนื้อในสัดส่วนพอดีจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ที่มา: http://www.thepigsite.com (30/10/58)
มกอช.

US Food News_US จัดพิมพ์คู่มือการใช้ยาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

U.S. Fish and Wildlife Service (USFWS) ได้ตีพิมพ์คู่มืออ้างอิงรายการยาสัตว์น้ำที่อนุญาติให้ใช้ในสัตว์น้ำแต่ละชนิด โดยระบุปริมาณ ข้อกำหนดการใช้ และข้อบ่งชี้ของยาแต่ละรายการไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของสหรัฐฯ

                นอกจากนี้ ยังมีการระบุในส่วนของการคำนวณปริมาณยา ความเข้มข้นของยา และระยะเวลาในการใช้ยาในแต่ละกรณี ซึ่งประกอบไปด้วยสูตรการผสมตัวยาและตารางอ้างอิงปริมาณการใช้ยาหรือความเข้มข้นที่เหมาะสมกับการใช้แต่ละกรณี
(ทั้งนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: http://www.fws.gov/fisheries/aadap/PDF/2nd-Edition-FINAL.pdf)

ที่มา: http://www.thefishsite.com (29/10/58)
มกอช.

EU Food News_19 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเลือกห้ามปลูกพืช GM

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 58 ที่ผ่านมาเป็นวันครบกำหนดที่ คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดทางเลือกให้ประเทศสมาชิกอียู 28 ประเทศเลือกที่จะปลูกหรือห้ามปลูกพืช GM ที่ได้รับการอนุญาตในระดับอียูแล้ว ผลปรากฎว่า จำนวนประเทศที่เลือกที่จะห้ามปลูกพืช GM (opt-out) มี 19 ประเทศ ดังนี้ ออสเตรีย ภูมิภาควาโลเนียของเบลเยียม สหราชอาณาจักรเฉพาะสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ บัลกาเรีย โครเอเชีย ไซปรัส เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี (ยกเว้นการปลูกเพื่อการวิจัย) กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเวีย ลิทูเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลต้า เนเธอแลนด์ โปแลนด์ และ สโลเวเนีย
            การยื่นคำร้องขอ opt-out นี้ เป็นการห้ามไม่ให้ปลูกข้าวโพด MON810 ของบริษัท Monsanto ซึ่งเป็นพืช GM ชนิดเดียวที่ปลูกเพื่อการค้าในสหภาพยุโรป โดยบริษัท Monsanto มีเวลา 1 เดือนเพื่อจะดำเนินการต่อคำร้องดังกล่าว
            แรงต้านทานไม่ให้มีการปลูกพืช GM จากจำนวนประเทศสมาชิกที่มีมากกว่าครึ่งจะเพิ่มแรงกดดันให้แก่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ที่เป็นผู้ผลิตสินค้า GM เช่น Monsanto และ Syngenta เพื่อต้านทานไม่ให้มีการปลูกพืช GM และอาจมีผลกระทบต่อกระบวนการอนุมัติที่ยากลำบากขึ้น ถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตจะสามารถยื่นคำร้องคัดค้านต่อการสั่งห้ามเพาะปลูกพืช GM ได้ หากแต่ประเทศสมาชิกยังสามารถอ้างถึงเหตุผลที่เป็นรูปธรรมเพื่อใช้สั่งห้ามได้ เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อปัญหาด้านการเกษตร

            ปัจจุบัน อียูรับรองและอนุมัติพืชและผลิตภัณฑ์ GM กว่า 70 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย พืชที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ ใช้เป็นอาหารสัตว์และ ไม้ตัดดอก อย่างไรก็ตาม จากการแก้ไขระเบียบเมื่อเดือนมีนาคม 2558 ทำให้ประเทศสมาชิกสามารถสั่งห้ามปลูกพืช GM ได้โดยใช้เหตุผลที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ส่วนเหตุผลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์นั้น หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) เป็นผู้ดูแลโดยตรง สาเหตุสำคัญที่พืช GM ยังคงไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสมาชิกเป็นเพราะบางประเทศเกรงว่า พืช GM จะเป็นภัยต่อสาธารณสุข และอาจส่งผลกระทบต่อพืชพันธุ์ท้องถิ่น ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้สนับสนุนมองว่า ผลิตภัณฑ์ GM เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นกุญแจสำคัญในการเลี้ยงดูประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น
            นอกจากนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 58 นายVytenis Andriukaitis กรรมาธิการยุโรปด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหาร (Health&Food Safety)ได้ยื่นเรื่องเสนอต่อสภายุโรปให้พิจารณาร่างกฎหมายที่จะอนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถห้ามพืช GM ที่ได้รับอนุญาตในระดับสหภาพยุโรปนำเข้าหรือใช้ในอาณาเขตของตน หลังจากที่มีประเทศสมาชิก 19 ประเทศเลือกที่จะห้ามปลูกพืชชนิดนี้ไปแล้ว การร้องขอนี้เป็นการเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้แก่ประเทศสมาชิกในเรื่องพืช GM แต่ผลปรากฏว่า รัฐสภายุโรปไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของกรรมาธิการยุโรป โดยให้เหตุผลว่า การให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกที่จะห้ามขายหรือใช้พืช GM ซึ่งขายในประเทศสมาชิกอื่นและได้รับอนุญาตโดยสหภาพยุโรป จะทำให้เกิดคำถามต่อหลักการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของนโยบายตลาดร่วมของยุโรป และยากต่อการควบคุมแนวชายแดนได้ในทางปฏิบัติ เช่น ฝรั่งเศสจะป้องกันสินค้า GM ที่ส่งเข้ามาทางท่าเรือที่อันตเวิร์ปไม่ให้เข้ามาในฝรั่งเศสได้อย่างไร และมีวิธีไหนที่ใช้ตรวจสอบ อีกทั้งสภายุโรปยังให้เหตุผลด้วยว่าข้อเสนอจากกรรมาธิการยุโรปนั้นขาดข้อมูลการประเมินด้านผลกระทบที่จะเกิดตามมา
                                                                                                              เรียบเรียงโดยทีมงานไทยยุโรป
- See more at: http://www2.thaieurope.net/