เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 2017/752 of 28 April 2017 amending and correcting Regulation (EU) No 10/2011 on plastic materials and articles intended to come into contact with food ใน EU Official Journal L 113/18 ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนด-บัญชีรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ปรากฏอยู่ใน Union List ภายใต้กฎระเบียบ Commission Regulation (EU) No 10/2011 เพื่อให้เป็นไปตามการประเมินความปลอดภัยของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA)
๑. สรุปการปรับข้อกำหนดและแก้ไขบัญชีรายชื่อสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑.๑ กำหนดให้ยกเลิกวิธีการตรวจวิเคราะห์หาค่าตกค้างของสารต่อพื้นที่สัมผัสกับอาหาร (residual content per food contact surface area : QMA) หมายเลข FCM ๑๔๒, ๑๖๘, ๒๐๒, ๓๘๗, ๔๖๒, ๔๖๗, ๔๘๑, ๕๐๒, ๖๖๒ และ ๗๗๙ เนื่องจาก ขณะนี้มีการกำหนดวิธีตรวจวิเคราะห์ที่กำหนดค่าถ่ายเทเฉพาะ (specific migration) ได้แล้ว
๑.๒ อนุญาตให้ใช้สาร diethyl[[3,5-bis(1,1-dimethylethyl)-4-hydroxyphenyl] methy l] phosphonate (CAS No ๙๗๖-๕๖-๗ และ FCM No ๑๐๐๗) เป็นสารตั้งต้น เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับความเข้มข้นไม่เกิน ๐.๒% w/w ของน้ำหนักโพลิเมอร์ขั้นสุดท้ายในกระบวนการ polymerisation เพื่อผลิต poly(ethylene terephthalate) (PET) ซึ่งสามารถสัมผัสกับอาหารได้ทุกชนิด โดยไม่จำกัดระยะเวลาและอุณหภูมิ
๑.๓ อนุญาตให้ใช้สาร methacrylic acid, ethyl acrylate, n-butyl acrylate, methyl methacrylate และ butadiene เป็น copolymer ในรูปนาโน (FCM substance No ๑๐๑๖) EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้เป็นสารเสริมที่ระดับไม่เกิน ๑๐% w/w ใน PVC ที่ไม่ใช่พลาสติก หรือใช้ไม่เกิน ๑๕% w/w ใน PLA ที่ไม่ใช่พลาสติก เพื่อใช้สัมผัสกับอาหารทุกชนิดที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น สำหรับการจัดเก็บเป็นเวลานานได้ (long-term storage)
๑.๔ อนุญาตให้ใช้สารเสริม montmorillonite clay ปรับแก้ไขโดย dimethyldialkyl (C16-C18) ammonium chloride (FCM No 1030) เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า สารดังกล่าวไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้เป็นสารเสริมที่ระดับไม่เกิน ๑๒% w/w ใน polyolefins สำหรับบรรจุอาหารแห้ง (simulant E) ที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น และหากค่าถ่ายเทของสาร 1-chlorohexadecane และ 1-chlorooctadecane ที่ปนเปื้อนสิ่งไม่บริสุทธิ์ (impurity) หรือความเสื่อมสภาพ (derogation) ต้องไม่เกินกว่า ๐.๐๕ mg/kg ของอาหาร
๑.๕ อนุญาตให้ใช้สารเสริม α-tocopherol acetate (FCM No 1055, CAS Nos 7695-91-2 และ 58-95-7) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า หากใช้สารดังกล่าวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระใน polyolefins ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค โดยพบว่า สารดังกล่าวมีการสลายตัวออกเป็น α-tocopherol และ acetic acid ซึ่งสารทั้ง ๒ ชนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นสารเสริมในอาหารได้ภายใต้ Regulation (EC) No 1333/2008 หากแต่ต้องควบคุมการใช้งานโดยคำนึงถึงค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของสารดังกล่าวที่มีการกำหนดไว้ด้วยแล้วเช่นกัน
๑.๖ อนุญาตให้ใช้เปลือกเมล็ดดอกทานตะวันบด (ground sunflower seed hulls) (FCM No 1060) เป็นสารเสริม เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า หากใช้สารดังกล่าวเป็นสารเสริมในพลาสติกสำหรับบรรจุอาหารแห้ง ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับอุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่านั้น รวมถึงเปลือกเมล็ดดอกทานตะวันจะต้องมาจากเมล็ดทานตะวันที่บริโภคได้ และพลาสติกจะต้องผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่ไม่เกินกว่า ๒๔๐°C และไม่สามารถสัมผัสกับอาหารกลุ่ม simulant E ใน Table 2 Annex III
๑.๗ อนุญาตให้ใช้ส่วนผสม FCM No 1062 ที่มีส่วนผสม 97% tetraethyl orthosilicate (TEOS) (CAS No 78-10-4) และ 3% hexamethyldisilazane (HMDS) (CAS No 999-97-3) เนื่องจาก EFSA ลงความเห็นว่า ส่วนผสมดังกล่าว ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค หากใช้ที่ระดับไม่เกิน ๐.๑๒% w/w เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการรีไซเคิลพลาสติก PET
๑.๘ EFSA ลงความเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของนิกเกิล (nickel) ในอาหารและน้ำดื่ม โดยได้กำหนดค่าปริมาณสารที่ควรได้รับประจำวัน (Tolerable Daily Intake TDI) ที่ ๒.๘ มิลลิกรัมของอลูมิเนียม/กิโลกรัมของน้ำหนัก/วัน โดยพบว่า ความเสี่ยงวัสดุที่สัมผัสกับอาหารที่มีนิกเกิลขั้นรุนแรงเกินกว่าค่า TDI กำหนด มักพบในคนหนุ่มสาว ดังนั้น จึงควรจำกัดความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้การสมดุลปันส่วน (allocation factor) ๑๐% ของค่า migration สูงสุดจากการคำนวณปกติ ทั้งนี้ ได้กำหนดสำหรับวัสดุพลาสติกที่สัมผัสกับอาหารให้มีค่า migration สูงสุดของนิกเกิล ที่ระดับ ๐.๐๒ มิลลิกรัม/กิโลกรัมของอาหาร
๑.๙ ขยายเนื้อความในข้อ ๔ ของภาคผนวก III ที่กำหนดส่วนประกอบของ simulants representative สำหรับอาหารหลายๆ ชนิด ว่าควรใช้สำหรับการทดลองหาค่าถ่ายเทรวม (overall migration testing)
๑.๑๐ ข้อ ๘ iii) ในภาคผนวก IV กำหนดว่า Declaration of Compliance ที่กำหนดโดยผู้ประกอบการควรที่จะระบุสัดส่วนพื้นที่ที่สัมผัสกับอาหาร/ปริมาณ (volume) เพื่อใช้กำหนดหลักเกณฑ์ของวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์นั้นๆ โดยขอให้กำหนดจากพื้นที่สัมผัสกับอาหาร/ปริมาณที่มากที่สุด เพื่อใช้ในการกำหนดหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๗ และ ๑๘ หรือข้อมูลที่มีความเท่าเทียมกัน
๒. กฎระเบียบดังกล่าวประกาศในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ และจะมีผลบังคับใช้ ๒๐ วันหลังจากวันที่ประกาศใน EU Official Journal หากแต่อนุโลมให้มีช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านสำหรับวัสดุหรือผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ปฎิบัติตามกฎระเบียบเดิม (Regulation (EU) No 10/2011) ที่มีการผลิตก่อนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ ให้สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ และให้ยังคงสามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
เฉพาะสำหรับในกรณีของการกำหนดค่า migration เฉพาะของนิกเกิลในข้อ ๒ ของภาคผนวก ให้มีการปรับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป
๓. รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากเวปไซต์ ดังนี้
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป