คณะกรรมธิการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของบราซิล (CTNBio) อนุญาตการปลูกอ้อย GM เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยคาดว่าจะสามารถปลูกได้ในพื้นที่อย่างน้อย 1.5 ล้านเฮกเตอร์ และต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะเริ่มส่งออกน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย GM สู่ตลาดได้
ปัจจุบัน บราซิลมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 10 ล้านเฮกเตอร์ และส่งออกน้ำตาลไปยังกว่า 150 ประเทศ ซึ่งกว่าร้อยละ 60 ของประเทศเหล่านี้ไม่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย GM ดังนั้น การที่ CTNBio ให้การรับรองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทั้งนี้ อ้อยสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย (Diatraea saccharalis) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชหลักและทำลายผลผลิตเป็นมูลค่ากว่า 1.52 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี โดยอ้อย GM สายพันธุ์ดังกล่าวมียีนของเชื้อ Bt (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นเชื้อที่ใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมพืชโดยทั่วไป
ปัจจุบัน บราซิลมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 10 ล้านเฮกเตอร์ และส่งออกน้ำตาลไปยังกว่า 150 ประเทศ ซึ่งกว่าร้อยละ 60 ของประเทศเหล่านี้ไม่ต้องขออนุญาตในการนำเข้าน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย GM ดังนั้น การที่ CTNBio ให้การรับรองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทั้งนี้ อ้อยสายพันธุ์ดังกล่าวได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้ต้านทานต่อหนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย (Diatraea saccharalis) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชหลักและทำลายผลผลิตเป็นมูลค่ากว่า 1.52 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี โดยอ้อย GM สายพันธุ์ดังกล่าวมียีนของเชื้อ Bt (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นเชื้อที่ใช้ในการตัดต่อพันธุกรรมพืชโดยทั่วไป
ที่มา: reuters.com สรุปโดย: มกอช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น