มาตรการที่เป็นอุปสรรคและนำสู่การเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)
โดยในส่วนของประเทศ อินโดนีเซียได้มีมาตรการให้ขออนุญาตนำเข้า เช่น ข้าว, น้ำมันหล่อลื่น, เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, เครื่องยนต์, แทรกเตอร์, เครื่องมือ (ใช้งานด้วยมือ), สารให้ความหวานสังเคราะห์, เครื่องยนต์และปั๊ม, แทรกเตอร์, ท่อส่งน้ำมัน และระเบิด เป็นสินค้าที่มีเงื่อนไข/จำกัดการนำเข้า ผู้ที่จะสามารถนำเข้าได้ จะต้องผ่านการรับรอง/จดทะเบียน ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ขาย หรือรัฐวิสาหกิจ เช่น DAHANA, PERTAMINA และ BULOG ส่วนสินค้าเนื้อสัตว์ และสิ่งมีชีวิต ต้องขออนุญาตนำเข้าเพื่อป้องกันโรค, ยาและผลิตภัณฑ์ ต้องมีการจดทะเบียนและขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย
นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีมาตร การใบอนุญาตนำเข้าพิเศษออกโดยกระ ทรวงการค้าของอินโดนีเซีย ในสินค้าเครื่อง ใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ/ของเล่นเด็กเสื้อผ้าสำเร็จรูป/ผ้าผืน/สิ่งทอ/เครื่องหนัง/รองเท้า/ถั่วเหลือง/ข้าวโพด/ข้าว/น้ำตาล, มาตรการกำหนดปริมาณการนำเข้าในสินค้าน้ำตาลทราย ที่กำหนดให้ผู้นำเข้ามี 2 ประเภทคือ ประเภทผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าจดทะเบียนเท่านั้น อีกทั้งยังได้กำหนด โควตาการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว โดยจะเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิตและความต้องการใช้ในประเทศ โดยกำหนดช่วงเวลาส่งมอบระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคมของทุกปี
ส่วนมาเลเซีย มีมาตรการควบคุมการนำเข้าข้าว โดยมอบหมายให้องค์ การข้าวและข้าวเปลือกแห่งชาติ (BERNAS)นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว, มาตรการสุขอนามัยในสินค้าผลไม้ เช่น มะม่วง ทุเรียน ลำไย ในการนำเข้าต้องมีใบรับรองศัตรูพืช ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในสินค้า 19 ชนิดได้แก่ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ยาสูบ กะหล่ำปลี กาแฟ แป้งสาลี และน้ำตาล สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ผักคะน้า และผลิตภัณฑ์สุกร เป็นสินค้าที่มีโควตาภาษี, มาตรการกีดกันด้านเทคนิค (TBT) ในสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก ต้องให้หน่วยงานของมาเลเซียมาตรวจรับรองโรงงานก่อน และเมื่อมีการส่งออกจะต้องแนบใบรับรองผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับการยื่นขอใบรับรองการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า และสินค้าจะถูกสุ่มตรวจทุกล็อต
ด้านฟิลิปปินส์ มีมาตรการ TBT ที่สำคัญคือ สินค้าประมงแช่เย็นและแช่แข็ง ต้องปิดฉลากระบุประเทศที่ผลิต สายพันธุ์สัตว์น้ำ น้ำหนัก ส่วนประกอบ ที่อยู่ผู้จำหน่าย และประทับเครื่องหมายว่าผ่านการตรวจรับสำนักงานประมง และทรัพยากรทางน้ำ (BFAR) ของฟิลิปปินส์แล้ว สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสดและแช่แข็ง เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านการตรวจรับรองจากหน่วยงานของฟิลิปปินส์ และต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า และสินค้าผักและผลไม้สดอนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดได้เฉพาะมะขามและลองกอง
สิงคโปร์ ในสินค้าข้าว ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า และต้องดำเนินการในลักษณะการสำรองข้าว โดยผู้นำเข้าข้าวต้องสำรองข้าวสารในปริมาณ 2 เท่าของปริมาณที่นำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของรัฐ บาล, มาตรการ TBT ในสินค้าอาหาร ต้องติดฉลากเป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร
บรูไน มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและสัตว์ โดยสินค้าพืชต้องได้รับการตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรของบรูไนก่อนนำเข้า และต้องได้รับการตรวจสอบที่ต้นทางก่อนการนำเข้าไม่เกิน 14 วัน ก่อนการขนส่งจริง(ยกเว้น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ เครื่องเทศ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ์) นอกจากนี้ในสินค้าข้าวและน้ำตาล การนำเข้าสินค้าทั้งสองชนิดต้องผ่านการเจรจาระดับรัฐ บาลต่อรัฐบาล และผู้ส่งออกของประเทศนั้นๆ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นกรณีพิเศษด้วย
เวียดนาม สินค้าที่จำหน่ายภาย ใน และสินค้านำเข้าประเภทยา เวชภัณฑ์ รวมถึงยาฆ่าแมลงและสินค้าเคมีภัณฑ์ต่างๆ การติดฉลากจะต้องมีภาษาเวียดนามบอกถึงรายละเอียดของสินค้าและวิธีการใช้, สินค้าเกษตรและอาหารผู้นำเข้าจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตนำเข้าพร้อมเอกสารทางไปรษณีย์ และจะแจ้งผลการพิจารณาทางไปรษณีย์เท่านั้นซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้า
เมียนมาร์มีมาตรการตรวจสอบและกักกันสินค้าอาหาร ที่ต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจในเรื่องคุณภาพความ ปลอดภัย และสุขอนามัยของอาหาร, สินค้าจำเป็น เช่นเครื่องจักร วัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุที่ใช้ในการเกษตร (ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์) วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ วัสดุทางการแพทย์ กำหนดสัดส่วนต้องนำเข้าสินค้าจำเป็น 80% ของการนำเข้าทั้งหมดก่อน จึงจะสามารถนำเข้าสินค้าอื่นๆ ที่กำหนดไว้อีก 20% ได้ และต้องทำการขนส่งสินค้าทั้งหมดพร้อมกัน
ขณะที่กัมพูชา การนำเข้าสินค้าเกษตรทั่วไป และผลิตภัณฑ์ยาต้องมีใบอนุญาตที่ออกจากกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา สินค้าบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตสินค้าจะต้องปิดฉลากเป็นภาษาเขมร และระบุรายละเอียดของสินค้า และลาว ส่วนใหญ่เป็นมาตรการป้องกันและควบคุมสินค้านำเข้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทย มีการออกกฎระเบียบใหม่ๆ ในสินค้าเกษตรหลายรายการ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง หอมแดง ยางรถยนต์ใหม่ ที่ทำให้สินค้าของประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายากขึ้น
มาตรการต่างๆ ที่กล่าวมาถือเป็น มาตรการทางการค้า หรือ NTMs (Non- Tariff Measures) ที่ออกมาเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งถือว่าไม่ขัดกับข้อยกเว้นทั่วไปของความตกลงองค์การการค้าโลก หรือ WTO ที่แต่ละประเทศสามารถออกกฎระเบียบได้ แต่หากออกมาแล้วกลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ประเทศคู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติได้ถือเป็นมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs (Non- Tariff Barriers)
ทีมาข่าว คัดลอกบางส่วนจากข่าวสภาหอการค้าแผ่งประเทศไทย
หากจะทำการค้ากับประเทศเหล่านี้คงต้องหารายละเอียดรายประเทศเพิ่มเติมนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น