เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 มีรายงานการตรวจพบโรงงานผลิตแมงกะพรุนปลอมในทางตะวันออกของจีน ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 10 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 26,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าแมงกะพรุนปลอมเหล่านี้ได้ถูกส่งไปจำหน่ายในตลาดอาหารท้องถิ่นแล้ว
ทั้งนี้ แมงกะพรุนปลอมที่พบทำจากการผสมสารเคมี 3 ชนิด ได้แก่ กรดแอลจินิก (alginic acid) สารส้ม (ammonium alum) และแคลเซียมคลอไรด์ (calcium chloride anhydrous) นอกจากนั้น จากผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบปริมาณอลูมิเนียมสูงถึง 800 mg/kg ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายจีนกำหนดไว้ถึง 8 เท่า โดยองค์การอาหารและยาของจีนกล่าวว่า หากผู้บริโภคได้รับสารอลูมิเนียมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อกระดูกและระบบประสาท โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ
สำหรับ สาเหตุของการผลิตแมงกะพรุนปลอมนั้นก็เนื่องมาจากแมงกะพรุนเป็นอาหารที่นิยมในจีน โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้และตะวันออกของจีน จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ซึ่งเหตุการณ์ปลอมแปลงเช่นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในจีน หากแต่เคยพบกรณีเดียวกันเมื่อปี 2556 และ 2557
อนึ่ง วิธีการสังเกตแมงกะพรุนปลอมนั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะภายนอก กล่าวคือ แมงกะพรุนปลอมจะมีลักษณะเหนียวฉีกขาดยาก มีเนื้อคล้ายเทปกาว ไม่มีกลิ่นและรสชาติ ส่วนแมงกะพรุนจริงจะมีกลิ่นคาวและเนื้อสีเหลือง
ทั้งนี้ แมงกะพรุนปลอมที่พบทำจากการผสมสารเคมี 3 ชนิด ได้แก่ กรดแอลจินิก (alginic acid) สารส้ม (ammonium alum) และแคลเซียมคลอไรด์ (calcium chloride anhydrous) นอกจากนั้น จากผลการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจยังพบปริมาณอลูมิเนียมสูงถึง 800 mg/kg ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายจีนกำหนดไว้ถึง 8 เท่า โดยองค์การอาหารและยาของจีนกล่าวว่า หากผู้บริโภคได้รับสารอลูมิเนียมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อกระดูกและระบบประสาท โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ เด็ก และผู้สูงอายุ
สำหรับ สาเหตุของการผลิตแมงกะพรุนปลอมนั้นก็เนื่องมาจากแมงกะพรุนเป็นอาหารที่นิยมในจีน โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลทางตอนใต้และตะวันออกของจีน จึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ซึ่งเหตุการณ์ปลอมแปลงเช่นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในจีน หากแต่เคยพบกรณีเดียวกันเมื่อปี 2556 และ 2557
อนึ่ง วิธีการสังเกตแมงกะพรุนปลอมนั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะภายนอก กล่าวคือ แมงกะพรุนปลอมจะมีลักษณะเหนียวฉีกขาดยาก มีเนื้อคล้ายเทปกาว ไม่มีกลิ่นและรสชาติ ส่วนแมงกะพรุนจริงจะมีกลิ่นคาวและเนื้อสีเหลือง
ที่มา: BBC สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น