วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

Japan Food News_กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุง แก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 การทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น สรุปสาระสำคัญได้ของการปรับแก้ไข ดังนี้

               1. พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร และยาที่ใช้กับสัตว์ รวม 7 รายการ ได้แก่

                   1.1. สาร Acetochlor (pesticide: herbicide) ไม่อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น โดยพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่อหอมหัวใหญ่ ถั่วแระ ฯลฯ
                    1.2. สาร Bendiocarb (pesticide: insecticide) ไม่อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น โดยพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรเกือบทุกรายการ ยกเว้นกล้วย
                    1.3. สาร Benthiavalicarb-isopropyl (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับพืชตระกูลส้มและเครื่องเทศ
                    1.4. สาร Diethofencarb (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่ข้าวสาลีและใบชา ทำการพิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรส่งออกของไทย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย สับปะรด มะม่วง เครื่องเทศ ฯลฯ
                    1.5. สาร Tepraloxydim (pesticide: herbicide)  อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานรายการต่างๆ ที่ประกาศบังคับใช้ Positive List ในปี 2549 ร่างมาตรฐานใหม่จะเพิ่มความเข้มงวดต่ออาหารและผลผลิตทางการเกษตรส่งออกของไทย เช่น ข้าว ข้าวโพด หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ขิง กล้วย สับปะรด มะม่วง เครื่องเทศ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ฯลฯ
                    1.6. สาร Trifloxystrobin (pesticide: fungicide) อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณากำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับพืชตระกูลส้ม เครื่องเทศ และผลบลูเบอรี่
                    1.7. สาร Ceftiofur (veterinary drug: antibiotic)  เป็นยาที่ใช้กับสัตว์ อนุญาตให้ใช้ในญี่ปุ่น พิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานใหม่ซึ่งเป็นผลมากการวิจัยพัฒนาประสิมธิภาพของตัวยา โดยผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้ว แต่มีข้อระวัง คือ กฎหมายญี่ปุ่นห้ามมีการตกค้างของสารนี้ในอาหารทุกรายการ ยกเว้น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จำนวน 16 รายการ

                2. พิจารณาปรับปรุงมาตรฐานและขึ้นทะเบียนสารปรุงแต่งอาหาร รวม 3 รายการ ได้แก่

                    2.1. ปรับปรุงมาตรฐานการใช้สาร Peracetic acid composition ซึ่งเป็นสารในการฆ่าเชื้อบริเวณผิวนอกของพืชผัก ผลไม้และอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยพิจารณาเห็นควรกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมก่อนการอนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในญี่ปุ่น มีการจำกัดปริมาณการใช้ คุณสมบัติทางเคมีและส่วนประกอบของสารผสมดังกล่าว
                    2.2. ขึ้นทะเบียนสาร Hypobromous Acid Water โดยจำกัดให้ใช้ได้เฉพาะกับการฆ่าเชื้อบนผิวเนื้อสัตว์เท่านั้น มีการจำกัดปริมาณการใช้ คุณสมบัติทางเคมี
                    2.3. ปรับปรุงมาตรฐานการใช้สาร Sodium Chlorite โดยพิจารณาเห็นควรอนุญาตให้ใช้ได้กับเนื้อสัตว์เพิ่มเติม และปรับแก้มาตรฐานเกี่ยวกับปริมาณและวิธีการใช้สารปรุงแต่งดังกล่าวด้วย
                    ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นต่อการปรับแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง รวมทั้งระดับ MRL ที่กำหนดใหม่ (เฉพาะมาตรฐานที่มีความเข้มงวดขึ้น) ถึงกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 หากพ้นกำหนดสามารถส่งข้อคิดเห็นได้ทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS Agreement ต่อไป

          สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ [ เอกสารเพิ่มเติม ]
 
 

ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (สรุปโดย: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น