ญี่ปุ่นประกาศกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้าลงในพระราชกิจจานุเบกษา โดยเพิ่มรายชื่อโรคระบาดในสัตว์น้ำเข้าอีก 13 โรค ที่จะต้องควบคุมและตรวจกักกันที่ด่านนำเข้าของประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศปรับปรุงแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า (Act on Protection of fishery Resources) จำนวน 13 โรค รวมเป็น 24 โรค ขณะนี้ มกอช. ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ปรำกรุงโตเกียว ว่ากฎหมายดังกล่าวได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือน ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป จึงขอให้ผู้ที่ประสงค์จะส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิตไปญี่ปุ่นต้องขอใบรับรองกำกับสัตว์น้ำ (Inspection Certificate) ที่ออกโดยกรมประมงไทยแนบไปพร้อมกับการส่งออกทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถูกกักกันสินค้าที่ด่านนำเข้าญี่ปุ่น ทั้งนี้โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นประกาศเพิ่มอีก 13 โรค มีดังนี้
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศปรับปรุงแก้ไขกฎหมายควบคุมโรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตนำเข้า (Act on Protection of fishery Resources) จำนวน 13 โรค รวมเป็น 24 โรค ขณะนี้ มกอช. ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ปรำกรุงโตเกียว ว่ากฎหมายดังกล่าวได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือน ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป จึงขอให้ผู้ที่ประสงค์จะส่งออกสัตว์น้ำมีชีวิตไปญี่ปุ่นต้องขอใบรับรองกำกับสัตว์น้ำ (Inspection Certificate) ที่ออกโดยกรมประมงไทยแนบไปพร้อมกับการส่งออกทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถูกกักกันสินค้าที่ด่านนำเข้าญี่ปุ่น ทั้งนี้โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นประกาศเพิ่มอีก 13 โรค มีดังนี้
1. Infection with salmonid alphavirus
2. Whirling disease
3. Glugeosis of red sea bream
4. Necrotising hepatopancreatitis : NHP
5. Acute hepatopancreatic necrosis disease: AHPND
6. Infectious myonecrosis: IMN
7. Covert mortality disease of shrimp: CMD
8. Gill-associated virus disease
9. Infection with abalone herpesvirus
10. Pustule disease of abalone/Blister disease of abalone (caused by Vibrio furnissii (= V. fluvialis biotype II))
11. Infection with ostreid herpesvirus 1 microvariants
12. Infection with Perkinsus qugwadi
13. Soft tunic syndrome
ดังนั้นขณะนี้ โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นต้องตรวจกักกันก่อนนำเข้า รวมทั้งสิ้น 24 โรค โดยกลุ่มสัตว์น้ำที่ต้องตรวจกักกันมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. สัตว์น้ำมีชีวิตที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ และสัตว์น้ำวัยอ่อนที่นำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพาะเลี้ยง แต่ไม่รวมถึงสัตว์น้ำที่ทำให้ตายทันทีเพื่อการบริโภค และ 2. สัตว์น้ำที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. Whirling disease
3. Glugeosis of red sea bream
4. Necrotising hepatopancreatitis : NHP
5. Acute hepatopancreatic necrosis disease: AHPND
6. Infectious myonecrosis: IMN
7. Covert mortality disease of shrimp: CMD
8. Gill-associated virus disease
9. Infection with abalone herpesvirus
10. Pustule disease of abalone/Blister disease of abalone (caused by Vibrio furnissii (= V. fluvialis biotype II))
11. Infection with ostreid herpesvirus 1 microvariants
12. Infection with Perkinsus qugwadi
13. Soft tunic syndrome
ดังนั้นขณะนี้ โรคระบาดในสัตว์น้ำมีชีวิตที่ญี่ปุ่นต้องตรวจกักกันก่อนนำเข้า รวมทั้งสิ้น 24 โรค โดยกลุ่มสัตว์น้ำที่ต้องตรวจกักกันมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. สัตว์น้ำมีชีวิตที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ และสัตว์น้ำวัยอ่อนที่นำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพาะเลี้ยง แต่ไม่รวมถึงสัตว์น้ำที่ทำให้ตายทันทีเพื่อการบริโภค และ 2. สัตว์น้ำที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์สำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อและสอบถามได้ที่ กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร 02 561 2277 ต่อ 1324 และ 1328
สามารถศึกษาข้อมูลย้อนหลังได้ที่: http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=13097&ntype=07
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น