สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ จำนวน ๒ ฉบับ ซึ่งป็นการปรับปรุงบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (Union list food additives) ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในอาหารตามภาคผนวกที่ ๒ (Annex II) ของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 1333/2008 ซึ่ง Union list ดังกล่าวรวบรวมสารที่มีคุณสมบัติเชิงเทคนิค (technical function) และได้รับการอนุญาตให้ใช้ในวัตถุเจือปนอาหาร เอ็นไซม์จากอาหาร และสารแต่งกลิ่น สรุปดังนี้
๑. Commission Regulation (EU) 2015/1739 of 28 September 2015 amending Annex II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council and the Annex to Commission Regulation (EU) No 231/2012 as regards the use of the iron tartrate as an anti-caking agent in salt and its substitutes ใน EU Official Journal L 253/3 เป็นการอนุญาตให้ใช้สาร Iron tartrate ซึ่งเป็นสารช่วยป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน (anti-caking) ในเกลือและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทดแทนเกลือ (substitutes) เนื่องจาก EFSA ประเมินแล้วว่า มีความปลอดภัยและสามารถใช้แทนสารตัวเดิม อาทิ Ferrocyanides (E 535-538) หรือ Silicon dioxide silicates (E 551-553) ได้ โดยกำหนดให้ Iron tartrate มีหมายเลขที่ E 534 โดยรายละเอียด และคุณลักษณะของสารดังกล่าวปรากฏในภาคผนวก II (Annex II)
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศกฎระเบียบดังกล่าวใน EU Official Journal แล้ว (ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘)
๒. Commission Regulation (EU) 2015/1832 of 12 October 2015 amending Annex II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament and of the Council as regards the use of Erythritol (E 968) as a flavour enhancer in energy-reduced or with no added sugars flavoured drinksใน EU Official Journal L 266/27 เป็นการอนุญาตให้ใช้สาร Erythritol ซึ่งเป็นสารช่วยแต่งกลิ่นรสให้เครื่องดื่ม ประเภทให้พลังงานต่ำหรือไม่มีน้ำตาลเจือปน ให้มีรสชาติไม่ต่างกับเครื่องดื่มปกติที่ไม่ได้ลดปริมาณน้ำตาล อย่างไรก็ดี EFSA กำหนดการใช้งานของ Erythritol ในเครื่องดื่มแต่งกลิ่นได้สูงสุดที่ระดับ ๑,๖% เพราะหากใช้ในปริมาณ มากเกินไปอาจส่งผลเป็นยาระบายได้ โดยกำหนดให้ Erythritol มีหมายเลขที่ E 968 โดยรายละเอียดปรากฏ ในภาคผนวก (Annex)
สำหรับรายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลตามกฎหมาย ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศกฎระเบียบดังกล่าวใน EU Official Journal แล้ว (ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๘)
โดย สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น